ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

บันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดในคดีก่อนนำมาฟ้องใหม่ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแต่ศาลพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์ 160,000 บาท ยังค้างชำระอยู่อีก 90,000 บาท ศาลไม่พิพากษาให้ เนื่องจากหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ภายหลังจากหนี้ส่วนที่เหลือถึงกำหนดจำเลยไม่ชำระโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้ชำระเงิน 90,000 บาท แก่โจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1566/2552
 
         
คดีเดิมโจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดในค่าอุปการะเลี้ยงดูทั้งหมดโดยอาศัยสัญญาตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า อ้างเหตุว่าจำเลยผิดนัดไม่ผ่อนชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ครบถ้วน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบางส่วนเฉพาะงวดหนี้ที่ถึงกำหนดชำระ คดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาเมื่อหนี้ส่วนที่เหลือถึงกำหนดชำระจำเลยก็ผิดนัดไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูตามสัญญาดังกล่าวอีกจึงเกิดมูลหนี้ใหม่ แม้จะโดยสาเหตุจำเลยผิดนัดเหมือนกันกับในคดีเดิม แต่ก็เป็นเพราะจำเลยไม่ผ่อนชำระหนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามสัญญาในยอดหนี้ส่วนที่เหลือ จึงเป็นหนี้คนละจำนวนกัน เมื่อขณะโจทก์ฟ้องคดีเดิมจำเลยยังมิได้ผิดนัดในยอดหนี้คงค้างที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยในคดีนี้เพราะเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระโจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวและศาลชั้นต้นในคดีเดิมยังมิได้วินิจฉัยประเด็นหรือเนื้อหาแห่งคดีในส่วนยอดหนี้ดังกล่าว ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้มิใช่ประเด็นข้อพิพาทที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีเดิม การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามมาตรา 148
 
          โจทก์ฟ้องว่า เดิมโจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายต่อมาจดทะเบียนหย่ากันเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2542 โดยทำบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าไว้ส่วนหนึ่งว่า ฝ่ายจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง 300,000 บาท โดยชำระในวันหย่าแล้ว 50,000 บาท ที่เหลือผ่อนชำระให้เป็นรายเดือนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 5,000 บาท จนกว่าจะครบ หลังจากนั้นจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูจนโจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูดังกล่าวซึ่งศาลพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์ไป 160,000 บาท แล้ว ยังค้างชำระอยู่อีก 90,000 บาท ศาลยังไม่พิพากษาให้จำเลยจ่ายให้โจทก์เนื่องจากหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ต่อมาเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระเงินดังกล่าว จำเลยเพิกเฉย ขอให้จำเลยชำระเงิน 90,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2544 เป็นต้นไป ดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน 12,093.75 บาท รวมเป็นเงิน 102,093.75 บาท
          จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ เพราะโจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 159/2546 ของศาลชั้นต้นโดยอ้างใบสำคัญการหย่าและบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าในคดีนี้เป็นหลักแห่งข้อหา โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญา ขอให้บังคับจำเลยเต็มตามสัญญา ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 160,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่างๆ แล้ว โจทก์นำคดีมาฟ้องโดยอ้างสัญญาท้ายทะเบียนการหย่าอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ขอให้ยกฟ้อง
          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 102,093.75 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของ ต้นเงิน 90,000 บาท นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 19 กรกฎาคม 2547) เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความให้ 1,500 บาท

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          จำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เห็นว่า แม้ในคดีเดิมคือคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 159/2546 ของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดในค่าอุปการะเลี้ยงดูมาทั้งหมดโดยอาศัยสัญญาตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า ลงวันที่ 3 มีนาคม 2542 อ้างเหตุว่าจำเลยผิดนัดสัญญาไม่ผ่อนชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ครบถ้วนครบตามข้อตกลงในสัญญา แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบางส่วนเฉพาะงวดหนี้ที่ถึงกำหนดชำระตามสัญญาดังกล่าว ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาเมื่อหนี้ส่วนที่เหลือถึงกำหนดชำระจำเลยก็ผิดนัดไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูตามสัญญาดังกล่าวอีกจึงเกิดมูลหนี้ใหม่แม้จะโดยสาเหตุจำเลยผิดนัดเหมือนกันกับในคดีเดิม ทั้งการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยอาศัยสัญญาตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่าและอ้างเหตุจำเลยผิดนัดผิดสัญญาเช่นเดิม แต่ก็เป็นเพราะจำเลยไม่ผ่อนชำระหนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามสัญญาในยอดหนี้ส่วนที่เหลือ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่ายอดหนี้ในคดีเดิมและคดีนี้เป็นหนี้คนละจำนวนกัน เมื่อขณะโจทก์ฟ้องคดีเดิมจำเลยยังมิได้ผิดนัดผิดสัญญาในยอดหนี้คงค้างที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยในคดีนี้เพราะเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระโจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว และศาลชั้นต้นในคดีเดิมยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นหรือเนื้อหาแห่งคดีในส่วนยอดหนี้ดังกล่าว ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้มิใช่ประเด็นข้อพิพาทที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับในคดีเดิม การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น”
          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 
( สุรภพ ปัทมะสุคนธ์ - นพวรรณ อินทรัมพรรย์ - สิริรัตน์ จันทรา )
 
 
หมายเหตุ
          บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าจำเลยยอมจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง 300,000 บาท ชำระในวันหย่า 50,000 บาท คงเหลือ 250,000 บาท ผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละ 5,000 บาท จนกว่าจะครบ จำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกเลย โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแต่ศาลพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์ 160,000 บาท ยังค้างชำระอยู่อีก 90,000 บาท ศาลไม่พิพากษาให้ เนื่องจากหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ภายหลังจากหนี้ส่วนที่เหลือถึงกำหนด จำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้ชำระเงิน 90,000 บาท แก่โจทก์

           ปัญหาว่าเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 หรือไม่ นั้น แม้ทั้งสองคดีจะมีประเด็นอย่างเดียวกันว่าจำเลยต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์หรือไม่ก็ตาม แต่คดีก่อนศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูจำนวน 90,000 บาท โดยเห็นว่ายังไม่ถึงกำหนดชำระ ซึ่งอาจเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องก็ได้ เนื่องจากการฟ้องคดีก่อนเป็นการฟ้องบังคับตามข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ทั้งจำนวน แม้จะมีการตกลงผ่อนชำระเป็นงวดๆ เมื่อมีการผิดนัดงวดใด ถือว่าผิดนัดทั้งหมด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องทั้งจำนวน แต่การที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและพิพากษายกคำขอในส่วนของเงิน 90,000 บาท ก็ไม่อาจถือได้ว่าส่วนของเงิน 90,000 บาท ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีไว้ในคดีก่อนแล้ว ทั้งเมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังจากหนี้จำนวนนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว ประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องในคดีหลังย่อมไม่มี ดังนั้นการฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตามมาตรา 148
         
            ไพโรจน์ วายุภาพ

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ป.วิ.พ.) มาตรา 148
มาตรา 148 คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้ คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัย เหตุอย่างเดียวกันเว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือ คำสั่งของศาล
(2) เมื่อคำพิพากษา หรือคำสั่งได้กำหนดวิธีการชั่วคราวให้อยู่ ภายในบังคับที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเสียได้ตามพฤติการณ์
(3) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้ยกคำฟ้องเสียโดยไม่ตัดสิทธิ โจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ ในศาลเดียวกันหรือในศาลอื่น ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ

 

ปรึกษาทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 0859604258
 




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว โทร0859604258
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส การจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรา(เงินสด)
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
พฤติการณ์อย่างไรเรียกว่ายกย่องเมียน้อยฉันภริยา
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
สามีบังคับภริยาให้ยอมร่วมประเวณีโดยใช้มีดขู่ฆ่าอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่, สามีเป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
แยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
การสมรส, การหมั้น, ผิดสัญญาหมั้น, เรียกคืนสินสอดของหมั้น
อำนาจปกครองบุตร
การบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส แบ่งสินสมรส
จดทะเบียนรับรองบุตร บิดานอกสมรส-ขอรับเด็กเป็นบุตร
อายุความฟ้องร้องคดี
บิดา มารดา กับ บุตร