ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258
 
-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th 
 
-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :
 
  (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

 QR CODE

 ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"

 สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่จำเลยนั้น เมื่อศาลมิได้มีคำพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกัน สิทธิหน้าที่ของโจทก์จำเลยที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูกันจะหมดไปเมื่อการสมรสสิ้นสุดลง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่จำเลยจนกว่าจำเลยจะสมรสใหม่ด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่จำเลยจนกว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง ตามมาตรา 1501 การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน 
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2557
 
โจทก์จำเลยมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันของกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 24 บัญญัติว่า "ศาลสยามจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้กระทำได้ เหตุหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า" เมื่อได้ความว่า กฎหมายสัญชาติของโจทก์และจำเลยอนุญาตให้คู่สมรสหย่าขาดจากกันได้ ศาลไทยจึงมีอำนาจพิจารณาเหตุหย่าตามคำฟ้องของโจทก์ต่อไปว่าเป็นเหตุตามกฎหมายแห่งท้องถิ่นที่ยื่นฟ้อง คือ เหตุหย่าที่โจทก์อ้างมาในฟ้องเข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือไม่
 
ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่จำเลยนั้น เมื่อศาลมิได้มีคำพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกัน สิทธิหน้าที่ของโจทก์จำเลยที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูกันจะหมดไปเมื่อการสมรสสิ้นสุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง และมาตรา 1501 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่จำเลยจนกว่าจำเลยจะสมรสใหม่จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

โจทก์ฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งขอให้โจทก์จ่ายเงินเพื่อการศึกษาและการครองชีพของบุตรผู้เยาว์เป็นรายปี ปีละ 1,500,000 บาท จนกว่าจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพแก่จำเลยเป็นรายปี ปีละ 3,000,000 บาท จนกว่าจำเลยจะสมรสใหม่
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง
 
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่จำเลยในอัตรา 110,000 บาท ต่อเดือน นับแต่วันฟ้องแย้ง (วันที่ 25 พฤศจิกายน 2553) เป็นต้นไป จนกว่าจำเลยจะสมรสใหม่หรือจนกว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง และให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ให้แก่จำเลยในอัตรา 100,000 บาท ต่อเดือน นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ คำขออื่นตามฟ้องแย้งของจำเลยให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
 
ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ฎีกา
 
ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในชั้นฎีการับฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์เป็นคนมีสัญชาติไอร์แลนด์เหนือ จำเลยเป็นคนมีสัญชาติสก๊อตแลนด์ โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย โดยจดทะเบียนสมรสกันที่โบสถ์เซนต์แมรี่แอนด์ ออล เซนต์ส ปีคอนสฟิลด์ บัคกิ้งแฮม สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2530 โจทก์กับจำเลยมีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ นางสาววิคตอเรีย อายุ 23 ปี นางสาวสเตฟานี่ อายุ 21 ปี และนายวิลเลี่ยม อายุ 17 ปี โจทก์จำเลยเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2537 จนถึงขณะฟ้องคดีนี้ ตามกฎหมายของประเทศไอร์แลนด์เหนือและประเทศสก๊อตแลนด์ อนุญาตให้คู่สมรสหย่าขาดกันได้ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2553 ขณะที่โจทก์อยู่ในประเทศไทย ส่วนจำเลยอยู่ที่สหราชอาณาจักร โจทก์กับจำเลยได้ส่งข้อความทางโทรศัพท์เคลื่อนที่โต้ตอบกัน มีข้อความว่า "You cold hearted bastard. Just like your father" แปลเป็นภาษาไทยว่า "คนไร้น้ำใจ คนสารเลว เหมือนพ่อแก ..."
 
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยส่งข้อความถึงโจทก์โดยมีเจตนาหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (3) หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์จำเลยมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันของกฎหมาย พุทธศักราช 2481 มาตรา 24 บัญญัติว่า "ศาลสยามจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้กระทำได้ เหตุหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า" ดังนั้น เมื่อได้ความว่า กฎหมายของประเทศไอร์แลนด์เหนือและประเทศสก๊อตแลนด์อันเป็นกฎหมายสัญชาติของโจทก์และจำเลยอนุญาตให้คู่สมรสหย่าขาดจากกันได้ ศาลไทยจึงมีอำนาจพิจารณาเหตุหย่าตามคำฟ้องของโจทก์ว่าเป็นเหตุตามกฎหมายแห่งท้องถิ่นที่ยื่นฟ้อง คือ เหตุหย่าที่โจทก์อ้างมาในฟ้องเข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ หากเข้าหลักเกณฑ์ศาลไทยมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่ากันได้
สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่จำเลยนั้น เมื่อศาลมิได้มีคำพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกัน สิทธิหน้าที่ของโจทก์จำเลยที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูกันจะหมดไปเมื่อการสมรสสิ้นสุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 วรรคสอง และมาตรา 1501 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่จำเลยจนกว่าจำเลยจะสมรสใหม่ด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 247 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
 
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่จำเลยจนกว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง ค่าฤชาธรรมเนียมส่วนฟ้องแย้งในศาลชั้นต้นและค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
 
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501
พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
 
 
ผู้พิพากษา
จรูญ ชีวิตโสภณ
พฤษภา พนมยันตร์
บุญไชย ธนาพันธุ์สิน
 
มาตรา 1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา 
     สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและ ฐานะของตน



การสิ้นสุดแห่งการสมรส

สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว โทร0859604258
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
ฟ้องหย่าขอแบ่งสินสมรส การจัดการสินสมรสที่เป็นเงินตรา(เงินสด)
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
พฤติการณ์อย่างไรเรียกว่ายกย่องเมียน้อยฉันภริยา
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
สามีบังคับภริยาให้ยอมร่วมประเวณีโดยใช้มีดขู่ฆ่าอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่, สามีเป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
แยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
การสมรส, การหมั้น, ผิดสัญญาหมั้น, เรียกคืนสินสอดของหมั้น
อำนาจปกครองบุตร
การบอกล้างสัญญาระหว่างสมรส แบ่งสินสมรส
จดทะเบียนรับรองบุตร บิดานอกสมรส-ขอรับเด็กเป็นบุตร
อายุความฟ้องร้องคดี
บิดา มารดา กับ บุตร