การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์ การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
• การฟ้องหย่า มาตรา 1516
• เหตุผลการหย่า ทิ้งร้าง
• ปัญหาการหย่าในศาลไทย
• สิทธิฟ้องหย่า คู่สมรส
• การทิ้งร้าง ข้อกฎหมายหย่า
• หลักเกณฑ์ฟ้องหย่า กฎหมายครอบครัว
สรุปคำพิพากษาศาลฎีกากรณีการฟ้องหย่าระหว่างโจทก์และจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516 ข้อ 4 และข้อ 6 ดังนี้:
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทิ้งร้างและกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาเพื่อขอหย่า โดยระบุว่าจำเลยออกจากบ้านไปตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2555 โดยไม่กลับมาอีก แต่ในระหว่างวันที่ 11-15 กันยายน 2555 จำเลยกลับเข้ามาพักที่บ้านกับโจทก์อีกครั้ง ทำให้ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข "ทิ้งร้างเกินกว่า 1 ปีโดยไม่มีเจตนาจะกลับไปอยู่ร่วมกัน" และในเวลาต่อมา โจทก์ได้เปลี่ยนกุญแจบ้านและตัดความสัมพันธ์ ซึ่งแสดงว่าโจทก์เป็นฝ่ายไม่ต้องการอยู่ร่วมกับจำเลย ในขณะที่จำเลยแสดงความประสงค์จะคืนดีและขอโทษต่อมารดาโจทก์ แต่ฝ่ายโจทก์ไม่ยอมคืนดีกับจำเลย
จากข้อเท็จจริงนี้ ศาลพิจารณาว่าจำเลยไม่มีเจตนาทิ้งร้างโจทก์อย่างถาวร และการไม่ต้อนรับมารดาโจทก์ถือเป็นเพียงพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น ไม่เป็นการทรมานจิตใจที่ร้ายแรงเพียงพอให้ใช้เป็นเหตุฟ้องหย่าได้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกา แต่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะฟังขึ้น จึงพิพากษายืนตามศาลล่าง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
หลักกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 ข้อ 4 และข้อ 6 เกี่ยวข้องกับเหตุในการฟ้องหย่า ซึ่งมีเงื่อนไขและรายละเอียดที่กำหนดชัดเจน เพื่อป้องกันการฟ้องหย่าโดยไม่มีเหตุอันสมควร โดยแต่ละข้อสามารถอธิบายได้ดังนี้:
มาตรา 1516 ข้อ 4: การทิ้งร้าง
หลักการตามมาตรานี้กล่าวถึงการที่คู่สมรสคนใดคนหนึ่งทิ้งร้างอีกฝ่ายเป็นเวลาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี และไม่มีเจตนาที่จะกลับมาอยู่ร่วมกันอีก ความหมายของ "ทิ้งร้าง" ในทางกฎหมายจึงไม่เพียงแค่การออกจากบ้านหรืออยู่ห่างกันทางกายภาพ แต่ต้องมี "เจตนาไม่กลับมาอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา" อย่างต่อเนื่องตลอดหนึ่งปีด้วย การที่คู่สมรสแยกกันอยู่โดยไม่ได้มีเจตนาทิ้งร้าง เช่น มีเหตุจำเป็นต้องแยกกันอยู่หรือมีการกลับมาอยู่ร่วมกันบ้างในระหว่างนั้น ถือว่าไม่เข้าเกณฑ์ตามมาตรา 1516 ข้อ 4 ดังนั้นจึงต้องพิจารณาทั้ง "ระยะเวลา" และ "เจตนา" ของผู้ที่ทิ้งร้างเป็นสำคัญ
มาตรา 1516 ข้อ 6: การกระทำเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ตามหลักกฎหมายข้อ 6 กล่าวถึงการที่คู่สมรสทำสิ่งใด ๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง ซึ่งอาจรวมถึงการกระทำที่ไม่เคารพในความสัมพันธ์หรือทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อจิตใจหรือความรู้สึกของอีกฝ่าย การกระทำดังกล่าวต้องถึงขั้นรุนแรงจนทำให้อีกฝ่ายไม่สามารถดำรงชีวิตคู่ร่วมกันได้ เช่น การทำร้ายร่างกายหรือการกระทำอื่น ๆ ที่สร้างความทุกข์ทางจิตใจอย่างมาก อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเพียงเล็กน้อย เช่น การโต้เถียงหรือไม่ต้อนรับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง (เช่น พ่อแม่ของคู่สมรส) ยังไม่ถือว่าเป็นเหตุร้ายแรงที่สามารถฟ้องหย่าตามมาตรานี้
สรุปหลักกฎหมาย
การฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 ข้อ 4 และ ข้อ 6 ต้องอาศัยทั้งข้อเท็จจริงและเจตนา หากไม่เข้าข่ายตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ศาลอาจพิจารณายกฟ้องเพื่อรักษาสิทธิ์ของทั้งสองฝ่าย
การที่คู่สมรสฝ่ายใดจงใจทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี อันเป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้นั้นจะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าคู่ความนั้นจงใจทิ้งร้างไปในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี โดยไม่ประสงค์ที่จะอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาอีกต่อไป การที่จำเลยกลับมาระหว่าง 1 ปีแต่โจทก์ไม่ยอมพูดคุยด้วยหรือการที่โจทก์เปลี่ยนกุญบ้านไม่ต้องการให้จำเลยกลับมาก็ตาม จำเลยโทรศัพท์ขอโทษมารดาโจทก์แล้วก็ตามแสดงว่าจำเลยยังมีเยื่อใยต่อโจทก์จึงไม่ถือว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4404/2558 การทิ้งร้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) นั้น จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าคู่ความนั้นจงใจทิ้งร้างไปในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ประสงค์ที่จะอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาอีกต่อไป เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี จำเลยออกไปจากบ้านตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2555 แต่จำเลยกลับมาพักอยู่กับโจทก์ระหว่างวันที่ 11 ถึง 15 กันยายน 2555 อีก จึงยังไม่เกินกว่ากำหนดเวลา 1 ปี และย่อมแสดงว่า จำเลยยังประสงค์จะอยู่กินกับโจทก์ต่อไป แต่โจทก์เป็นฝ่ายเปลี่ยนกุญแจบ้านไม่ให้จำเลยเข้าไปอยู่ในบ้าน และไม่ยอมพูดคุยกับจำเลยเพื่อปรับความเข้าใจ ในขณะที่จำเลยยอมโทรศัพท์ขอโทษมารดาโจทก์และยอมรับผิดกับมารดาโจทก์ มารดาจำเลยก็ไม่ต้องการให้โจทก์จำเลยหย่ากัน โดยนัดโจทก์และมารดาโจทก์มาพูดคุย แต่มารดาโจทก์ก็ไม่ยอมช่วย และบอกว่าโจทก์กับจำเลยต้องแยกกันอยู่ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยยังมีเยื่อใยต่อโจทก์ ต้องการอยู่กับโจทก์ต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ หรือกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) และ (6) การที่จำเลยแสดงอาการไม่ต้อนรับ ไม่พูดคุยกับมารดาโจทก์ ทั้งไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆ ในการที่มารดาโจทก์มาพักอาศัยอยู่กับโจทก์นั้น เป็นเพียงพฤติการณ์หรือการกระทำที่ไม่เหมาะสมของจำเลยเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการทรมานจิตใจโจทก์อย่างร้ายแรงอันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (3)
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน และแบ่งสินสมรสคือที่ดินโฉนดเลขที่ 64294 เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ ที่ดินโฉนดเลขที่ 70114 เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านไม้ 1 หลัง บ้านคอนกรีต 1 หลัง และที่ดินโฉนดเลขที่ 52942 เนื้อที่ประมาณ 66 ตารางวา ให้โจทก์และจำเลยได้รับคนละส่วนเท่ากันคือคนละ 600,000 บาท จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์กับจำเลยจดทะเบียนสมรสกันและอยู่กินด้วยกันที่กรุงเทพมหานคร โจทก์และจำเลยทำงานอยู่ที่เดียวกัน คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยหรือไม่ โจทก์นำสืบว่า เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555 จำเลยเก็บของออกจากบ้านแล้วไม่กลับมาหาโจทก์ที่บ้านอีก โจทก์กับจำเลยแยกกันอยู่และไม่พูดคุยกัน เมื่อคิดถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ได้ความจากคำเบิกความของโจทก์และนางศรีวรรณ มารดาโจทก์ เมื่อระหว่างวันที่ 11 ถึง 15 กันยายน 2555 จำเลยกลับเข้าไปพักอยู่กับโจทก์ที่บ้านโดยจำเลยได้เข้าไปอยู่ในห้องที่โจทก์เตรียมไว้ให้นางศรีวรรณอยู่ แต่ขณะนั้นนางศรีวรรณยังไม่กลับจากต่างประเทศ ต่อมาอีก 2 วัน โจทก์แจ้งเรื่องดังกล่าวให้นางศรีวรรณทราบ นางศรีวรรณจึงบอกให้โจทก์เปลี่ยนกุญแจบ้านเพื่อไม่ให้จำเลยกลับเข้าบ้านได้ เมื่อโจทก์เปลี่ยนกุญแจบ้านแล้วก็ส่งข้อความผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ (SMS) แจ้งให้จำเลยทราบว่าไม่ต้องกลับเข้ามาที่บ้านอีก เมื่อนางศรีวรรณ กลับมาอยู่บ้าน จำเลยโทรศัพท์ไปหานางศรีวรรณพูดขอโทษและยอมรับผิดทุกอย่าง แต่นางศรีวรรณบอกว่าสายไปแล้ว ฝ่ายจำเลยและนางศุภรางค์ มารดาจำเลยเบิกความว่า เมื่อโจทก์ขอหย่ากับจำเลย โดยโจทก์โทรศัพท์มาบอกกับมารดาจำเลย มารดาจำเลยได้นัดเจรจากับมารดาของโจทก์แต่มารดาโจทก์ใช้มือทุบโต๊ะ และบอกว่าโจทก์จำเลยไม่อาจอยู่ด้วยกันได้ ต้องแยกกันอยู่ การเจรจาจึงตกลงกันไม่ได้ เห็นว่า การที่คู่สมรสฝ่ายใดจงใจทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี อันเป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (4) นั้น จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าคู่ความนั้นจงใจทิ้งร้างไปในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี โดยการไม่หวนกลับไปหานั้น มีความหมายว่าไม่ประสงค์ที่จะอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาอีกต่อไป ข้อเท็จจริงที่ได้จากทางนำสืบของโจทก์และจำเลยแสดงว่า จำเลยออกไปจากบ้านตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2555 แต่จำเลยกลับมาพักอยู่กับโจทก์ระหว่างวันที่ 11 ถึง 15 กันยายน 2555 อีก ข้อเท็จจริงจึงได้ความว่า จำเลยทิ้งร้างไปยังไม่เกินกว่ากำหนดเวลา 1 ปี และจากข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมแสดงว่า จำเลยยังประสงค์จะอยู่กินกับโจทก์ต่อไป แต่โจทก์เป็นฝ่ายไม่ต้องการให้จำเลยกลับมาอยู่กินกับโจทก์ โดยเปลี่ยนกุญแจบ้านไม่ให้จำเลยเข้าไปอยู่ในบ้าน และโจทก์ไม่ยอมพูดคุยกับจำเลยปรับความเข้าใจ ในขณะที่จำเลยยอมโทรศัพท์ขอโทษมารดาโจทก์และยอมรับผิดกับมารดาโจทก์ มารดาจำเลยก็ไม่ต้องการให้โจทก์จำเลยหย่ากัน ได้นัดโจทก์และมารดาโจทก์มาพูดคุย แต่มารดาโจทก์ก็ไม่ยอมช่วย และบอกว่าโจทก์กับจำเลยต้องแยกกันอยู่ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยยังมีเยื่อใยต่อโจทก์ ต้องการอยู่กับโจทก์ต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ หรือกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (4) และ (6) ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่า การที่จำเลยแสดงอาการไม่ต้อนรับ ไม่พูดคุยกับมารดาโจทก์ ทั้งไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆ ในการที่มารดาโจทก์มาพักอาศัยอยู่กับโจทก์เป็นการทรมานจิตใจโจทก์อย่างร้ายแรงนั้น เห็นว่า เป็นเพียงพฤติการณ์หรือการกระทำที่ไม่เหมาะสมของจำเลยเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการทรมานจิตใจโจทก์อย่างร้ายแรงอันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (3) โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับของจำเลยเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการทรมานจิตใจโจทก์อย่างร้ายแรงอันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (3) โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
|