ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เหตุฟ้องหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า

 

 

 

 

 

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

 

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

 

เหตุหย่าให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า

สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายเป็นคนสัญชาติอื่นแต่มาฟ้องหย่าในประเทศไทย ศาลไทยจะพิพากษาให้หย่ากันได้ต่อเมื่อกฎหมายของประเทศสามีหรือภริยาหรือทั้งสองฝ่ายยินยอมให้สามีภริยาที่สมรสกันตามกฎหมายแล้วสามารถหย่ากันได้

ศาลไทยจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้ เหตุหย่าต้องเป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า ในกรณีที่คู่หย่า(คู่สมรส)ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นบุคคลสัญชาติอื่นหรือทั้งสองฝ่ายเป็นคนสัญชาติอื่นที่มาฟ้องหย่าในประเทศไทย ศาลไทยจะพิพากษาให้หย่ากันได้ต่อเมื่อกฎหมายของประเทศสามีหรือภริยาหรือทั้งสองฝ่ายยินยอมให้สามีภริยาที่สมรสกันตามกฎหมายแล้วสามารถหย่ากันได้

 ข้อกฎหมายของประเทศอังกฤษเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องนำสืบเพราะกฎหมายของต่างประเทศถือเป็นข้อเท็จจริงและไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลไทยรับรู้ได้เอง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่ากฎหมายอังกฤษอันเป็นกฎหมายสัญชาติของจำเลยผู้เป็นคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมให้หย่าได้และต้องมีเหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายไทยซึ่งเป็นกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า 

เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่ากฎหมายสัญชาติของจำเลยยอมให้คู่สมรสหย่ากันได้ ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลไทยจึงไม่อาจพิพากษาให้หย่ากันได้ 

 

การหย่าระหว่างโจทก์ซึ่งมีสัญชาติไทยกับจำเลยซึ่งเป็นคนสัญชาติอังกฤษในประเทศไทยนั้นมีลักษณะเป็นนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชนที่เกี่ยวพันกับกฎหมายระหว่างประเทศอันตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 โดย พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 27 บัญญัติว่า “ศาลไทยจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้ เหตุหย่า ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า” ซึ่งมีความหมายว่า ในกรณีที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นบุคคลสัญชาติอื่นหรือทั้งสองฝ่ายเป็นคนสัญชาติอื่นแต่มาฟ้องหย่าในประเทศไทย ศาลไทยจะพิพากษาให้หย่ากันได้ต่อเมื่อกฎหมายของประเทศสามีหรือภริยาหรือทั้งสองฝ่ายยินยอมให้สามีภริยาที่สมรสกันตามกฎหมายแล้วสามารถหย่ากันได้ ดังนั้นข้อที่ว่ากฎหมายแห่งประเทศอังกฤษอนุญาตให้บุคคลที่มีสัญชาติอังกฤษหย่าได้หรือไม่ จึงเป็นข้อสำคัญที่ศาลต้องพิจารณาเสียก่อน และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องนำสืบให้ปรากฏ เพราะกฎหมายของต่างประเทศถือเป็นข้อเท็จจริงและไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลไทยรับรู้ได้เอง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่ากฎหมายอังกฤษอันเป็นกฎหมายสัญชาติของจำเลยผู้เป็นสามียินยอมให้หย่าได้และมีเหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายไทยซึ่งเป็นกฎหมายสัญชาติของโจทก์ผู้เป็นภริยาและเป็นกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษอันเป็นกฎหมายสัญชาติของจำเลยยอมให้คู่สมรสหย่ากันได้ ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลไทยจึงไม่อาจพิพากษาให้หย่ากันได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ หรือจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษก็สามารถยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2566

การหย่าระหว่างโจทก์ซึ่งมีสัญชาติไทยกับจำเลยซึ่งเป็นคนสัญชาติอังกฤษในประเทศไทยนั้นมีลักษณะเป็นนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชนที่เกี่ยวพันกับกฎหมายระหว่างประเทศอันตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 โดย พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 27 บัญญัติว่า “ศาลไทยจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้ เหตุหย่า ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า” ซึ่งมีความหมายว่า ในกรณีที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นบุคคลสัญชาติอื่นหรือทั้งสองฝ่ายเป็นคนสัญชาติอื่นแต่มาฟ้องหย่าในประเทศไทย ศาลไทยจะพิพากษาให้หย่ากันได้ต่อเมื่อกฎหมายของประเทศสามีหรือภริยาหรือทั้งสองฝ่ายยินยอมให้สามีภริยาที่สมรสกันตามกฎหมายแล้วสามารถหย่ากันได้ ดังนั้นข้อที่ว่ากฎหมายแห่งประเทศอังกฤษอนุญาตให้บุคคลที่มีสัญชาติอังกฤษหย่าได้หรือไม่ จึงเป็นข้อสำคัญที่ศาลต้องพิจารณาเสียก่อน และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องนำสืบให้ปรากฏ เพราะกฎหมายของต่างประเทศถือเป็นข้อเท็จจริงและไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลไทยรับรู้ได้เอง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่ากฎหมายอังกฤษอันเป็นกฎหมายสัญชาติของจำเลยผู้เป็นสามียินยอมให้หย่าได้และมีเหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายไทยซึ่งเป็นกฎหมายสัญชาติของโจทก์ผู้เป็นภริยาและเป็นกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษอันเป็นกฎหมายสัญชาติของจำเลยยอมให้คู่สมรสหย่ากันได้ ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลไทยจึงไม่อาจพิพากษาให้หย่ากันได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ หรือจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษก็สามารถยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน ให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองดูแลของโจทก์ และให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว

จำเลยให้การและฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้อง และบังคับโจทก์มิให้กีดกันการที่จำเลยพบบุตรผู้เยาว์ และให้โจทก์ส่งมอบบุตรผู้เยาว์ให้จำเลยเป็นผู้ดูแลจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์หรือจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะจบการศึกษาระดับปริญญาตรี

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน ให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองดูแลของโจทก์และให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว แต่จำเลยสามารถพบและเยี่ยมเยียนบุตรผู้เยาว์ได้ตามสมควร กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท ฟ้องแย้งของจำเลยให้ยกเสีย ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องแย้งให้เป็นพับ

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนฟ้องหย่า นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมตามฟ้องและฟ้องแย้งในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยเป็นคนสัญชาติอังกฤษ โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยาชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กหญิง ก. เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2556 โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยขอหย่าโดยอ้างเหตุว่าจำเลยทอดทิ้งโจทก์และบุตรผู้เยาว์ไปโดยจำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์และบุตรผู้เยาว์ การกระทำของจำเลยเป็นการจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไปเกิน 1 ปี ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนและอับอายอย่างร้ายแรง ทั้งยังเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (4) และ (6) มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาเพียงประการเดียวว่า การที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหยิบยกพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 27 มาพิพากษายกฟ้องโจทก์ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า กฎหมายประเทศอังกฤษห้ามมิให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดกัน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าวแล้ว ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าว จึงไม่ต้องนำพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 27 มาใช้บังคับ เห็นว่า การหย่าระหว่างโจทก์ซึ่งมีสัญชาติไทยกับจำเลยซึ่งเป็นคนสัญชาติอังกฤษในประเทศไทยนั้นมีลักษณะเป็นนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชนที่เกี่ยวพันกับกฎหมายระหว่างประเทศอันตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 27 บัญญัติว่า “ศาลไทยจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้ เหตุหย่า ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า” ซึ่งมีความหมายว่า ในกรณีที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นบุคคลสัญชาติอื่นหรือทั้งสองฝ่ายเป็นคนสัญชาติอื่นแต่มาฟ้องหย่าในประเทศไทย ศาลไทยจะพิพากษาให้หย่ากันได้ต่อเมื่อกฎหมายของประเทศสามีหรือภริยาหรือทั้งสองฝ่ายยินยอมให้สามีภริยาที่สมรสกันตามกฎหมายแล้วสามารถหย่ากันได้ ดังนั้นในเบื้องต้นต้องได้ความก่อนว่า กฎหมายของประเทศอังกฤษซึ่งเป็นสัญชาติของจำเลยมีบทบัญญัติให้บุคคลที่มีสัญชาติอังกฤษสามารถหย่าหรือฟ้องหย่ากันได้ ศาลจึงจะพิจารณาเหตุหย่าตามกฎหมายไทยอันเป็นกฎหมายแห่งถิ่นที่ฟ้องหย่าต่อไป ดังนั้นข้อที่ว่ากฎหมายแห่งประเทศอังกฤษอนุญาตให้บุคคลที่มีสัญชาติอังกฤษหย่าได้หรือไม่ จึงเป็นข้อสำคัญที่ศาลต้องพิจารณาเสียก่อน และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องนำสืบให้ปรากฏ เพราะกฎหมายของต่างประเทศถือเป็นข้อเท็จจริงและไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลไทยรับรู้ได้เอง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ว่ากฎหมายอังกฤษอันเป็นกฎหมายสัญชาติของจำเลยผู้เป็นสามียินยอมให้หย่าได้และมีเหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายไทยซึ่งเป็นกฎหมายสัญชาติของโจทก์ผู้เป็นภริยาและเป็นกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษอันเป็นกฎหมายสัญชาติของจำเลยยอมให้คู่สมรสหย่ากันได้ ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลไทยจึงไม่อาจพิพากษาให้หย่ากันได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ หรือจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษก็สามารถยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182 ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลไทยไม่อาจพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่ากันได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 27 และพิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนฟ้องหย่ามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 

ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นบุคคลสัญชาติอื่นหรือทั้งสองฝ่ายเป็นคนสัญชาติอื่นที่มาฟ้องหย่าในประเทศไทย ศาลไทยจะพิพากษาให้หย่ากันได้ต่อเมื่อกฎหมายของประเทศสามีหรือภริยาหรือทั้งสองฝ่ายยินยอมให้สามีภริยาที่สมรสกันตามกฎหมายแล้วสามารถหย่ากันได้




การสิ้นสุดแห่งการสมรส

คดีฟ้องหย่าและการแบ่งทรัพย์สิน, สิทธิการเรียกค่าเลี้ยงดูของโจทก์, การชำระค่าทดแทนในคดีแพ่ง, การบังคับคดีและสิทธิทายาทในมรดก
เรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น(เมียน้อย), ยกย่องผู้อื่นฉันภริยา
ข้อตกลงแบ่งค่าเช่าที่ดินในสัญญาหย่า
ฟ้องหย่าคู่สมรสวิกลจริต, คนไร้ความสามารถกับการหย่า, แบ่งทรัพย์สินหลังหย่าในกรณีคนวิกลจริต
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำอย่างไร?, หนังสือหย่า
การหย่าโดยความยินยอม, บันทึกเป็นหนังสือประสงค์หย่าขาด
การฟ้องและเรียกค่าทดแทนคดีครอบครัว
สามีภริยาจะต้องมีการร่วมประเวณีกันบ้างแต่ต้องเกิดจากความยินยอม
ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์
ไม่เกิดสิทธิฟ้องหย่าเพราะโจทก์มีพฤติกรรมนอกใจจำเลยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปี เหตุฟ้องหย่า
สมัครใจแยกกันอยู่, จงใจละทิ้งร้าง, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง
แบ่งสินสมรส, สินสมรสที่เป็นเงินตรา, แบ่งสินสมรสหลังหย่า สิทธิและหน้าที่, สินส่วนตัวกับสินสมรส
อายุความฟ้องหย่า, บันทึกข้อตกลงหย่า, หลักกฎหมายมาตรา 1515,
สิทธิฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูอันจะอยู่ในอายุความ 5 ปี , หน้าที่บิดามารดาในการเลี้ยงดูบุตร
การฟ้องหย่าด้วยเหตุหมิ่นประมาท, สิทธิการฟ้องหย่าหมดอายุความ
นำตำรวจจับกุมภริยา หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรง
จงใจละทิ้งร้างภริยาไปเกินหนึ่งปีฟ้องหย่าได้, สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
การจงใจทิ้งร้างไปเกินกว่า 1 ปีต้องในลักษณะที่ไม่หวนกลับไปหาคู่สมรสอีก
ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร
สิทธิฟ้องหย่าระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีเว้นแต่เหตุฟ้องเกิดขึ้นต่อเนื่อง
เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ สิทธิเรียกร้องกำหนดอายุความ 5 ปี
สามีฟ้องหย่า,จงใจละทิ้งร้าง,เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ, อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเป็นภริยา
สมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี ต้องเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุขด้วย
แยกกันอยู่เพราะสามีรับราชการที่อื่น, ไม่ถือว่าเป็นการแยกกันอยู่โดยความสมัครใจ
ทะเลาะกันและทำร้ายร่างกายยังไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า
แยกกันอยู่เพราะสามียกย่องหญิงอื่น, เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
ฟ้องหย่าจงใจละทิ้งร้างเรียกสินสอดทองหมั้นคืน
สามีหรือภริยาประพฤติชั่วอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
รู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่าจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
พี่น้องของผู้ตายขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้
อำนาจฟ้องขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัว
ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก-ได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ฟ้องหย่าได้
สิทธิฟ้องหย่าระงับเมื่ออีกฝ่ายให้อภัยแล้ว
สมัครใจแยกกันอยู่เกินสามปีฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์
ไม่อาจร่วมประเวณีได้ ต้องการฟ้องหย่า
แยกกันอยู่หรือจงใจละทิ้งร้าง? -อยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่
กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง
ไม่ถือว่าจำเลยประพฤติชั่วทำให้โจทก์อับอายถูกเกลียดชังจนเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนชู้สาวนั้นต้องแสดงตนโดยเปิดเผย
เหตุแห่งการฟ้องหย่าทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลงขอให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าเลี้ยงชีพได้
ฟ้องซ้ำ ค่าอุปการะเลี้ยงดู หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนด
การแบ่งสินสมรสและกรรมสิทธิ์รวม
หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามสามีหรือบุพการี
สัญญาระหว่างสมรสให้ทรัพย์สินของสามีตกเป็นของภริยาห้ามบอกล้าง
ขอเพิกถอนทะเบียนสมรสซ้อน สมรสซ้อนโดยไม่สุจริต
ทะเบียนสมรส ลงชื่อฝ่ายชายคนเดียว, เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่
ทำร้ายร่างกายถ้าเป็นการร้ายแรงฟ้องหย่าได้, ศาลปรับหนึ่งพันไม่เป็นการร้ายแรง
ฟ้องหย่าอ้างว่าจำเลยดูหมิ่นโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรง
การกระทำของจำเลยถือไม่ได้ว่าเป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุฟ้องหย่า
โจทก์ได้ให้อภัยจำเลยเรื่องทำร้ายร่างกายแล้วถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไป
ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง
เป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน, การทำร้ายคู่สมรส
เหตุฟ้องหย่า เหตุที่ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ มีอะไรบ้าง
ความสมบูรณ์ของการสมรส, ฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ
การละเมิดเกิดขึ้นต่อเนื่องอายุความจึงยังไม่เริ่มนับคดีไม่ขาดอายุความ
การฟ้องหย่าและหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี ไม่ฟ้องหย่า
ฟ้องหย่าอ้างสิทธิที่จะเลือกคู่ครองตามรัฐธรรมนูญ
รู้ว่าสามีไปมีหญิงอื่นเกินหนึ่งปีก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้,อายุความ
จงใจละทิ้งร้างไปเกินหนึ่งปี
ฟ้องหย่าได้ที่ศาลใด
สามีโจทก์เข้าออกบ้านของจำเลยในเวลากลางคืนบ่อยครั้ง
การหย่าโดยคำพิพากษาจะมีผลต่อเมื่อเวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด
หนังสือร้องเรียนผู้บังคับบัญชาเรื่องความสัมพันธ์กับหญิงอื่น
ฟ้องหย่าอ้างแยกกันอยู่เกินสามปีต้องเพราะไม่อาจอยู่ร่วมกันได้โดยปกติสุข
เหตุฟ้องหย่าอ้างว่าใช้วาจาไม่สุภาพและทะเลาะโดยไม่มีเหตุผล
หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพหลังการหย่า
สิทธิฟ้องหย่าของโจทก์หมดไปโจทก์ให้ความยินยอมและรู้เห็นเป็นใจ
คำสั่งขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวด้วยดอกผลของสินสมรส
แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบเรื่องอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้
จดทะเบียนสมรสโดยต่างไม่ได้ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง
ความหมายว่า"ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าจะสมรสใหม่และจนกว่าการสมรสสิ้นสุดลง"
ฟ้องหย่าคดีอยู่ระหว่างฎีกาฟ้องคดีใหม่เป็นฟ้องซ้อน
สำนักงานการปฏิรูปฯ (ส.ป.ก.)ขอออกโฉนดโดยมิชอบ
พักโรงแรมห้องเดียวกับสามี ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงชู้โดยไม่ต้องฟ้องหย่า
โจทก์ไม่ทราบแน่ชัดเรื่องชู้สาวจึงไม่เป็นการยินยอมและให้อภัยของโจทก์
บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าว่าให้ที่ดินตกเป็นของบุตรเมื่อตายไม่ใช่พินัยกรรม
คดีฟ้องหย่าฟ้องชู้สาวไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังแผ่นบันทึกเสียงที่แอบบันทึกไว้
สมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
การจดทะเบียนหย่าด้วยการแสดงเจตนาลวง
จดทะเบียนหย่าแล้วก็ฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สาวได้
ขับไล่โจทก์ออกจากบ้านเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง