ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ขณะสู่ขอไม่มีการตกลงเรื่องจดทะเบียนสมรส

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

ขณะสู่ขอไม่มีการตกลงเรื่องจดทะเบียนสมรส,  เรียกคืนของหมั้นและสินสอด

แจ้งความว่าหญิงคู่หมั้นหลอกลวงไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วย จัดงานแต่งใหญ่โต คู่หมั้นมีเพศสัมพันธ์กันแล้ว การเลิกรากันย่อมทำให้เป็นที่อับอายเสื่อมเสียแก่ฝ่ายหญิงมากกว่า เวลาไปสู่ขอก็ไม่ได้ตกลงกันว่าจะไปจดทะเบียนสมรสกันเมื่อใด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของหญิงคู่หมั้น เพราะคู่หมั้นไม่ได้ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าที่จะได้อยู่กินกันฉันสามีภริยาตามประเพณีเท่านั้น ชายคู่หมั้นจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดและของหมั้นคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1366/2552

          การที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีเรื่องทะเลาะกันทั้งๆ ที่โจทก์กับจำเลยได้จัดงานแต่งงานใหญ่โต มีแขกไปในงานมากมายและโจทก์กับจำเลยก็ได้มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันแล้ว ซึ่งการเลิกรากันก็ทำให้เป็นที่อับอายและเสื่อมเสียต่อเกียรติยศชื่อเสียงของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นหญิง ทั้งโจทก์กับจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาเป็นไปโดยไม่ราบรื่น เพราะต่างต้องแยกกันทำงานคนละจังหวัด แทนที่โจทก์จะพยายามทำความเข้าใจกับจำเลยให้ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันตามสภาพแต่โจทก์กลับไปแจ้งความว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์โดยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วยทั้งที่เวลาสู่ขอกันไม่มีการตกลงเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่ากรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น ทำให้โจทก์ไม่สมควรสมรสกับจำเลย เพราะตามพฤติการณ์แสดงว่าต่างมิได้ยึดถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าที่จะได้อยู่กินด้วยกันตามประเพณีเท่านั้น จึงไม่อาจกล่าวโทษได้ว่า การที่มิได้ไปจดทะเบียนสมรสเกิดจากความผิดของฝ่ายใด ดังนั้น กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของจำเลย จำเลยจึงมิได้ผิดสัญญาหมั้น โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดและของหมั้นคืนจากจำเลยได้
 
มาตรา 1437  การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น
เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง
สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงหรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้
ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา 412 ถึงมาตรา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
 
มาตรา 1438  การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ ถ้าได้มีข้อตกลงกันไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้น ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
 
มาตรา 1439  เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย
 
มาตรา 1442  ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิงนั้น ชายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้และให้หญิงคืนของหมั้นแก่ชาย
 
          โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันนำสร้อยคอทองคำ 2 เส้น น้ำหนักเส้นละ 4 บาท สร้อยข้อมือทองคำ 1 เส้น น้ำหนัก 2 บาท และแหวนทองคำ 2 วง น้ำหนัก 2 สลึง คืนให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาเป็นเงิน 100,000 บาท และคืนสินสอดเป็นเงินจำนวน 239,800 บาท กับชำระค่าเสียหายในการเตรียมการสมรสจำนวน 24,900 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 364,700 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

          จำเลยที่ 1 ให้การ ขอให้ยกฟ้อง
          จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การเกินกำหนด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำให้การ และมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ

          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับ ให้จำเลยที่ 1 คืนสร้อยคอทองคำ 2 เส้นน้ำหนักเส้นละ 4 บาท และสร้อยข้อมือทองคำ 1 เส้น น้ำหนัก 2 บาท หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา 92,000 บาท และเงินจำนวน 139,800 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 231,800 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ 2 คืนเงินจำนวน 100,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 8,000 บาท คำขอเรื่องค่าทดแทนให้ยก

          จำเลยทั้งสองฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกันฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุตรของจำเลยที่ 2 โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นคนหมู่บ้านเดียวกัน มีบ้านอยู่ห่างกันไม่ถึง 1 กิโลเมตร เมื่อปลายปี 2545 จำเลยที่ 1 ไปเที่ยวงานปีใหม่ที่บ้านโจทก์หลังจากนั้นได้ติดต่อพูดคุยกันทางโทรศัพท์และเกิดชอบพอกัน โจทก์จึงให้มารดาของโจทก์ไปสู่ขอจำเลยที่ 1 จากจำเลยที่ 2 โดยตกลงให้สินสอดแก่จำเลยที่ 2 เป็นเงิน 100,000 บาท และให้ของหมั้นเป็นสร้อยคอทองคำ 2 เส้น น้ำหนักเส้นละ 4 บาท และสร้อยข้อมือทองคำ 1 เส้น น้ำหนัก 2 บาท แก่จำเลยที่ 1 และโจทก์ยังให้เงินอีกจำนวน 130,800 บาท เพื่อชำระหนี้แก่บุคคลอื่นแทนจำเลยที่ 1 ต่อมาวันที่ 16 มีนาคม 2546 โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำพิธีสู่ขอและหมั้นกัน โดยจัดพิธีแต่งงานในวันเดียวกันที่บ้านจำเลยที่ 2 โดยจัดเลี้ยงแขกที่มาในงานด้วยโต๊ะจีนจำนวน 100 โต๊ะ ภายหลังแต่งงานโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้อยู่กินฉันสามีภริยาที่บ้านจำเลยที่ 2 เป็นเวลา 3 วัน แต่คืนแรกมีเพื่อนของน้องชายจำเลยที่ 1 นอนอยู่ในห้องด้วย โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางเพศและเพิ่งมีสัมพันธ์ทางเพศกันในคืนที่สอง หลังจากนั้นโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ไปพักอาศัยอยู่ที่ห้องเช่าของจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากจำเลยที่ 1 ทำงานเป็นลูกจ้างอยูที่บริษัทมินิแบร์ จำกัด (มหาชน) ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเพศสัมพันธ์กันในคืนนั้น แต่วันต่อมาน้องชายจำเลยที่ 1 กับเพื่อนไปร่วมพักอยู่ด้วย โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางเพศกันอีก โจทก์ได้พักอยู่ที่ห้องเช่าของจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 4 วัน จึงเดินทางกลับไปทำงานที่จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาโจทก์โทรศัพท์ติดต่อกับจำเลยที่ 1 แต่ไม่ได้พูดคุยกันเหมือนเดิม และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ไปหาโจทก์ โจทก์ได้ไปหาจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 บอกว่าจะไปทำงานต่างประเทศ ครั้นเดือนพฤษภาคม 2546 โจทก์ไปหาจำเลยที่ 1 ที่ห้องเช่า ไม่พบจำเลยที่ 1 โจทก์จึงกลับบ้านที่จังหวัดชัยนาทและไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าจำเลยที่ 1 หลอกลวงไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองผิดสัญญาหมั้นกับโจทก์หรือไม่ เห็นว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้จัดงานแต่งงานใหญ่โต มีแขกไปในงานมากมาย และโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ได้มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันแล้ว ซึ่งโจทก์เองก็เบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านว่า ขณะสู่ขอไม่มีการตกลงเรื่องจดทะเบียนสมรส และไม่ได้ความว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้วางแผนดำเนินชีวิตคู่กันแต่อย่างใด เพราะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างทำงานอยู่คนละจังหวัด การใช้ชีวิตคู่ต่างจะต้องสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปหากัน หากจำเลยที่ 1 มีเจตนาหลอกลวงจริง จำเลยที่ 1 ก็น่าจะบ่ายเบี่ยงไม่ยอมมีเพศสัมพันธ์กับโจทก์ ทั้งการเลิกรากันก็ทำให้เป็นที่อับอายและเสื่อมเสียต่อเกียรติยศชื่อเสียงของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นหญิง การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้วางแผนการครองชีวิตคู่ไว้แต่แรกทำให้การอยู่กินฉันสามีภริยาเป็นไปโดยไม่ราบรื่น แทนที่โจทก์จะพยายามทำความเข้าใจกับจำเลยที่ 1 ให้ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันตามสภาพที่ต่างต้องแยกกันทำงานคนละจังหวัดแต่โจทก์กลับไปแจ้งความว่าจำเลยที่ 1 หลอกลวงโจทก์โดยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วย ทั้งที่เวลาสู่ขอไม่มีการตกลงเช่นนั้น การที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีเรื่องทะเลาะกัน จึงถือไม่ได้ว่ากรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น ทำให้โจทก์ไม่สมควรสมรสกับจำเลยที่ 1 เพราะต่างมิได้ยึดถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าที่จะได้อยู่กินด้วยกันตามประเพณีเท่านั้น จึงมิอาจกล่าวโทษได้ว่าการที่มิได้ไปจดทะเบียนสมรสเกิดจากความผิดของฝ่ายใด ดังนั้น กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองจึงมิได้ผิดสัญญาหมั้น โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นและเรียกร้องสินสอดและของหมั้นคืนจากจำเลยทั้งสองได้ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของจำเลยทั้งสองอีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังขึ้น”
          พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
 
 ไม่มีเจตนาจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย,  ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมาย

ขณะหมั้นหญิงคู่หมั้นอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ หลังแต่งงานและอยู่กินด้วยกันนานประมาณ 1 เดือน  ตลอดเวลาที่อยู่กินด้วยกัน ชายมุ่งประสงค์จะแต่งงานอยู่กินกับตามประเพณีเป็นสำคัญ หาได้นำพาต่อการจดทะเบียนสมรสไม่ เงินทั้งหลายที่ชายมอบให้แก่หญิงจึงไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายแม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กัน ชายก็หามีสิทธิเรียกคืนไม่
 
จดทะเบียนสมรสกันแล้วเรียกค่าสินสอด,ของหมั้นคืนไม่ได้

กรณีที่ฝ่ายชายจะมีสิทธิเรียกค่าสินสอดของหมั้นและค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากฝ่ายหญิงได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีการหมั้นแล้ว แต่ไม่มีการสมรสโดยเป็นความผิดของฝ่ายหญิง  เมื่อปรากฏว่า ทั้งสองได้แต่งงานกันตามประเพณีและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว สามีจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทน ค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากภริยาได้

 

ฝ่ายชายมีสิทธิเรียกร้องเอาของหมั้นและสินสินสอดคืนได้

สัญญาหมั้นที่เป็นโมฆะเพราะชายและหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ถือว่าเสียเปล่าเสมือนไม่มีสัญญาหมั้นเกิดขึ้นเลย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายคงอยู่ในฐานะเดิมเหมือนอย่างเช่น มิได้เข้าทำสัญญาหมั้นและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะกล่าวอ้างความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมได้ มาตรา 172 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้
ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม  ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ" - เมื่อถือว่าไม่มีสัญญาหมั้นเกิดขึ้นจึงไม่มีการที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนโมฆียะกรรมที่ถูกบอกล้าง หากมีการให้ของหมั้นและสินสอดแก่ฝ่ายหญิงก็ถือว่าเป็นการกระทำอันปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ฝ่ายชายจึงมีสิทธิเรียกร้องเอาของหมั้นและสินสินสอดคืนได้ ตามหลักกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้ มาตรา 412 ซึ่งบัญญัติว่า "ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่งท่านว่าต้องคืนเต็มจำนวนนั้น เว้นแต่เมื่อบุคคลได้รับไว้โดยสุจริต จึงต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน"   ---หรือ ตามมาตรา 413 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อทรัพย์สินอันจะต้องคืนนั้นเป็นอย่างอื่นนอกจากจำนวนเงิน และบุคคลได้รับไว้โดยสุจริต ท่านว่าบุคคลเช่นนั้นจำต้องคืนทรัพย์สินเพียงตามสภาพที่เป็นอยู่ และมิต้องรับผิดชอบในการที่ทรัพย์นั้นสูญหายหรือบุบสลาย แต่ถ้าได้อะไรมาเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อการสูญหายหรือบุบสลายเช่นนั้นก็ต้องให้ไปด้วยอยู่นั่นเอง"
ถ้าบุคคลได้รับทรัพย์สินไว้โดยทุจริต ท่านว่าจะต้องรับผิดชอบในการสูญหายหรือบุบสลายนั้นเต็มภูมิ แม้กระทั่งการสูญหายหรือบุบสลายจะเกิดเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ทรัพย์สินนั้นก็คงต้องสูญหายหรือบุบสลาย

แต่ทั้งนี้ฝ่ายชายจะต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งเรียกของหมั้นและสินสอดคืน ศาลจะสั่งคืนเองไม่ได้ แม้สัญญาหมั้นจะเป็นโมฆะก็ตาม นอกจากนี้ แม้ชายไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับหญิง หรือหญิงไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับชาย ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงก็จะเรียกค่าทดแทนอย่างใด ๆ จากกันมิได้ อย่างไรก็ดีการที่ฝ่ายชายจะเรียกร้องเอาของหมั้นและสินสอดคืนในเหตุที่สัญญาหมั้นเป็นโมฆะเพราะคู่หมั้นอายะไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ฝ่ายชายไม่รู้ว่าหญิงคู่หมั้นอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ หากตัวชายคู่หมั้นอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรือฝ่ายชายก็รู้ดีว่าหญิงคู่หมั้นอายุไม่ครบ 17 ปี บริบูรณ์ แต่ทำสัญญาหมั้นและให้ของหมั้นและสินสอดแก่ฝ่ายหญิง เช่นนี้ ต้องถือว่าฝ่ายชายได้ทำการชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ตาม มาตรา 411 ซึ่งบัญญัติว่า "มาตรา 411  บุคคลใดได้กระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ท่านว่าบุคคลนั้นหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่"  ฝ่ายชายจึงไม่มีสิทธิเรียกของหมั้นและสินสอดคืน นอกจากนี้ หากชายและหญิงคู่หมั้นที่อายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์นี้ได้ทำการสมรสตามประเพณี และอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาแล้วไดยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ทรัพย์ที่ฝ่ายชายให้แก่ฝ่ายหญิงดังกล่าวไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมาย ฝ่ายชายจึงไม่มีสิทธิเรียกคืนเช่นเดียวกัน

 ของหมั้น, ชายคู่หมั้น, หญิงคู่หมั้น, ของหมั้นตกเป็นสิทธิของหญิงคู่หมั้น, บอกเลิกสัญญาหมั้น

ของหมั้นนั้นฝ่ายชายจะต้องได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงไว้เป็นกรรมสิทธิ์ของหญิง และของหมั้นนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของหญิงนั้นทันทีที่ได้ส่งมอบให้แก่หญิงคู่หมั้นตาม มาตรา 1437 วรรคสอง ของหมั้นเป็นทรัพย์สินที่ให้หญิงเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและ ประกันว่าจะสมรสกับหญิง เมื่อให้กรรมสิทธิ์ ในของหมั้นตกไปยังหญิงคู่หมั้น ตั้งแต่วันที่ทำการหมั้นแล้ว หญิงคู่หมั้นจึงมีสิทธิที่จะใช้สอยของหมั้น หรือจำหน่ายจ่ายโอนได้ตามใจชอบ แต่ต้องรับผิดที่จะต้องคืนให้แก่ชายคู่หมั้นเมื่อหญิงผิดสัญญาหมั้นไม่ยอมสมรสกับชาย หรือในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นและทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิง เช่น หญิงไปมีความสัมพันธ์ร่วมประเวณีกับชายอื่น ในกรณีแบบนี้ ชายคู่หมั้นก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้และหญิงคู่หมั้นก็ต้องคืนของหมั้นให้แก่ชายคู่หมั้นด้วย ในทางกลับกันหากเหตุสำคัญนั้นเกิดแก่ชายคู่หมั้น เช่น ชายคู่หมั้นเกิดวิกลจริต เป็นบ้ารักษาไม่หาย หญิงคู่หมั้นก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยไม่ต้องคืนของหมั้นให้แก่ชายคู่หมั้น - มีปัญหาว่า ถ้าชายคู่หมั้นยืมทรัพย์มาเป็นของหมั้นโดยที่เจ้าของทรัพย์ให้ยืมทรัพย์ของตนไปทำการหมั้น และฝ่ายหญิงคู่หมั้นไม่รู้เรื่องการยืมนั้นของหมั้นนั้นก็ตกเป็นสิทธิแก่หญิงคู่หมั้น




การสมรส การหมั้น

หลักเกณฑ์การหมั้นและเงื่อนไข อายุของคู่หมันฝ่าฝืนเป็นโมฆะ
การบอกเลิกสัญญาหมั้น
ร่วมประเวณีกับชายหรือหญิงคู่หมั้น
ผิดสัญญาไม่จดทะเบียนสมรส
สินสอดเป็นทรัพย์สินให้บิดามารดา ข้อแตกต่างและข้อเหมือนสินสอดและของหมั้น
ความยินยอมของบิดามารดาในการหมั้น
จดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ความเป็นโมฆะมีผลย้อนหลัง
ยินยอมเป็นสามีภริยากันต่อหน้านายทะเบียน
ฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินฐานผิดสัญญาหมั้น
ของหมั้นและสินสอด, มิได้มีเจตนาสมรสกันตามกฎหมาย, สิทธิเรียกคืนของหมั้นและสินสอด
สิทธิเรียกค่าเสียหาย,ค่าทดแทน,โดยไม่มีการหมั้น, แบบของสัญญาหมั้น
แต่งงานแล้วไม่ยอมหลับนอนด้วย,เรียกสินสอดคืน
ผู้มีสิทธิฟ้องคดีเรียกค่าทดแทน
ค่าทดแทน | ผิดสัญญาหมั้น
การหมั้นและสิทธิเรียกค่าทดแทนในกรณีผิดสัญญาหมั้น
ผิดสัญญาหมั้นเรียกสินสอดคืน
เรียกค่าสินสอดคืนโดยไม่มีการหมั้น