ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




หลักเกณฑ์การหมั้นและเงื่อนไข อายุของคู่หมันฝ่าฝืนเป็นโมฆะ

เงื่อนไขของการหมั้น

ในการที่ชายและหญิงจะทำการหมั้นกันนั้นกฎหมายกำหนดเงื่อนไขของการหมั้นไว้ 2 ประการ คือ
1. อายุของคู่หมั้น
2. ความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง

ชายและหญิงคู่หมั้นคู่หมั้นต้องมีอายุอย่างต่ำ 17 ปีบริบูรณ์

การที่ชายจะทำการหมั้นหญิงนั้นกฎหมายกำหนดอายุของคู่หมั้นไว้ว่า ชายและหญิงต้องมีอายุอย่างต่า 17 ปี บริบูรณ์ อายุที่กำหนดตาม มาตรา 1435 นี้เป็นเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ การหมั้นที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขนี้จึงเป็นโมฆะ เหตุที่กฎหมายกำหนดอายุขั้นต่าของชายและหญิงที่จะเป็นคู่หมั้นกันไว้ก็เพราะการหมั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของชายและหญิง เมื่อจะทำสัญญาหมั้นกันจึงควรให้ชายและหญิงที่จะเป็นคู่หมั้นอยู่ในวัยที่รู้เรื่องการหมั้นได้ตามสมควร  กฎหมายถือว่าชายและหญิงที่มี อายุต่ำกว่า 17 ปี บริบูรณ์ยังไม่เจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจเพียงพอที่จะทำการหมั้นหรือการสมรส จึงทำการหมั้นไม่ได้ แม้บิดามารดาหรือผู้ปกครองจะให้ความยินอยมก็ตาม การหมั้นที่ชายและหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปี บริบูรณ์อันเป็นโมฆะตาม มาตรา 1435 วรรคสองนี้ แม้ต่อมา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มตรา 172 ซึ่งบัญญัติว่าโมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ เพราะฉะนั้นหากจะให้การหมั้นสมบูรณ์ก็ต้องมาทำการหมั้นกันใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ชายและหญิงที่มีอายุต่ากว่า 17 ปี บริบูรณ์จะขออนุญาติศาลทำการหมั้นไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ผิดกับการสมรสซึ่งหากมี่เหตุอันสมควร มาตรา 1448 ให้อำนาจศาลที่จะอนุญาตให้ชายหรือหญิงที่อายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ทำการสมรสได้ในกรณีที่ชายหรือหญิงซึ่งอายุต่ากว่า 17 ปีบริบูรณ์ทำการสมรสโดยได้รับอนุญาตจากศาล หากต่อมาขาดจากการสมรสเดิมและประสงค์จะทำการหมั้นใหม่ในขณะที่ตนอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ก็ไม่อาจจะกระทำได้ เพราะขัดต่อ มาตรา 1435 ที่บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดว่า ชายและหญิงต้องอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์แล้วทั้งสองคนจึงจะทำการหมั้นได้ หากฝ่าฝืนทำการหมั้นกันการหมั้นนี้เป็นโมฆะ

หลักเกณฑ์การหมั้น
เงื่อนไขเรื่องอายุ

มาตรา 1435 การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์แล้ว
การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่งเป็นโมฆะ


เงื่อนไขเรื่องความยินยอม
มาตรา 1436 ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคล ดังต่อไปนี้
(1) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา
(2) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจ ปกครอง หรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดย พฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้
(3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
(4) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม (1)(2) และ (3) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง
 
การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ

ผู้เยาว์ทำการหมั้นจะต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองด้วย

ในกรณีที่ผู้เยาว์จะทำการหมั้นนั้น มาตรา 1436 ได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ว่า ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บิดาและมารดา  ในการณีที่ผู้เยาว์มีทั้งบิดาและมารดา เพราะบิดา และมารดาทั้งสองคนเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ จึงต้องได้รับความยินยอมจากทั้งสองคน
(2)  บิดาหรือมารดาเพียงคนเดียว  ในกรณีที่มารดาหรือบิดาอีกฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย หรือถูกถอนอำนาจปกครอง หรือไม่อยู่ในสภาพ หรือ ฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดา หรือบิดาได้ ผู้เยาว์ก็มีสิทธิทำการหมั้นโดยได้รับความยินยอมจากบิดาหรือมารดาที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวได้ กล่าวคือ

(ก) มารดา หรือบิดา ถึงแก่ความตาย หรือถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้ว บิดา หรือมารดาที่เหลืออยู่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์เพียงคนเดียวจึงมีอำนาจที่จะให้ความยินยอมให้ผู้เยาว์ทำการหมั้นโดยลำพังคนเดียว
(ข)  มารดา หรือบิดา ไม่อยู่ในสภาพ หรือฐานะที่อาจให้ความยินยอมได้ กรณีการไม่อยู่ในสภาพ หรือฐานะที่อาจให้ความยินยอมได้เป็นกรณีเกี่ยวกับการให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อยู่กับบิดา หรือมารดา แต่เพียงฝ่ายเดียวตาม มาตรา 1566 วรรคสอง คือ การที่มารดา หรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับ บิดา หรือมารดา หรือบิดา และมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้ตกลงกันได้ว่าให้ใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียว นอกจากนี้ การที่มารดา หรือบิดา เป็นคนวิกลจริตจนไม่สามารถให้ความยินยอมให้บุตรผู้เยาว์ทำการหมั้นได้ หรือเจ็บป่วยเข้าขั้นโคม่าสลบไสลไม่ได้สติสรัง เหล่านี้ก็ถือได้ว่าไม่อยู่ในสภาพที่อาจให้ความยินยอมได้เช่นเดียวกัน กรณีเช่นนี้บุตรผู้เยาว์ขอความยินยอมแต่เฉพาะบิดา หรือมารดาที่เป็นปกติอยู่แต่ผู้เดียวให้ตนทำการหมั้นได้
(ค) โดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดา หรือบิดาได้ พฤติการ์ที่ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดา หรือบิดาให้ตนทำการหมั้นได้นั้นหมายถึง กรณีที่มารดาหรือบิดาอาจจะยังมีชีวิตอยู่และอยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอมได้ แต่มารดา หรือบิดานั้นได้หายไปจากถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครทราบว่าไปอยู่ ณ ที่ใด อันเป็นการไม่แน่นอนว่ายังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว หรือเดินทางไปต่างประเทศแล้วไม่ยอมส่งข่าวคราวกลับมาเลย เช่นนี้ บุตรผู้เยาว์ก็ขอความยินยอมจากบิดา หรือมารดาที่ยังเหลืออยู่เพียงคนเดียวให้ตนทำการหมั้นได้

การที่ผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากบิดา หรือมารดาเพียงคนเดียวให้ตนทำการหมั้นได้นี้เป็นทำนองเดียวกับการที่ผู้เยาว์มาร้องขอต่อศาลเพื่ออนุญาตให้ตนทำการสมรสเพราะไม่มีบิดามารดาให้ความยินยอมตาม มาตรา 1456 สำหรับกรณีที่บิดามารดา แยกกันอยู่ไม่ว่าจะตกลงแยกกันอยู่ระหว่างกันเอง หรือศาลมีคำสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่เป็นการชั่วคราวก็ตาม เนื่องจากบิดาและมารดายังมิได้หย่าขาดจากกัน  บิดา และมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อยู่ ฉะนั้น หากผู้เยาว์จะทำการหมั้นก็จะต้องได้รับความยินยอจากบิดาและมารดาทั้งสองคน จะได้รับความยินยอมแต่เฉพาะบิดา หรือมารดาที่ตนอยู่ด้วยเพียงคนเดียวไม่ได้

(3)  ผู้รับบุตรบุญธรรม ในการ๊ที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม เพราะบิดา มารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองผู้เยาว์ไปตั้งแต่ที่ได้มีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1598/28 ฉกะนั้น เมื่อบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์จะทำการหมั้นจึงต้องได้รับความยินยอมของผู้รับบุตรบุญธรรมแต่เพียงผู้เดียว
(4)  ผู้ปกครอง  ในกรณีที่ไม่มีบิดามารดา หรือผู้รับบุตรบุญธรรม หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้ว เพราะเมื่อบิดาและมารดา ถึงแก่ความตายไปในขณะที่บุตรยังเป็นผู้เยาว์ หรือบิดาและมารดาประพฤติชั่วร้ายต่อบุตรผู้เยาว์จนถูกถอนอำนาจปกครองจะต้องมีการตั้งผู้ปกครองโดยคำสั่งศาล ผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ การที่ผู้เยาว์จะทำการหมั้นจึงต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง บิดามารดาที่ถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้วนั้นไม่มีสิทธิมาให้ความยินยอมอีกต่อไปแล้ว ฉะนั้น ผู้เยาว์ที่บิดา และมารดาถึงแก่ความตายไปแล้วทั้งสองคนหากจะทำการหมั้นจะต้องมีการตั้งผู้ปกครองเสียก่อน  เมื่อมีผู้ปกครองแล้วผู้เยาว์จึงมาขอความยินยอมจากผู้ปกครองให้ทำการหมั้น ผู้เยาว์เช่นว่านี้จะมาขออนุญาตศาลให้ตนทำการหมั้นไม่ได้เพราะกฎหมายไม่ได้มีบทบัญญัติไว้ จะอนุโลมใช้ มาตรา 1456 ในกรณีขออนุญาตศาลให้ทำการสมรสไม่ได้

สำหรับกรณีที่บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงผู้เดียว บุตรผู้เยาว์หากจะทำการหมั้นจึงต้องได้รับความยินยอมแต่เฉพาะจากมารดาเพียงคนเดียวเท่านั้น

การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองดังกล่าวเป็นโมฆียะ ซึ่งหมายความว่าผู้เยาว์มีสิทธิที่จะบอกล้างการหมั้นนั้นได้ตาม มาตรา 175 (1) แม้ในระหว่างเป็นผู้เยาว์ก็บอกล้างได้ ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อบอกล้างแล้วก็ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่แรกเริ่ม ผู้เยาว์อาจให้สัตยาบันในสัญญาหมั้นนั้นได้ เมื่อตนได้บรรลุนิติภาวะแล้ว ตาม มาตรา 177 สำหรับบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือ ผู้ปกครอง ก็อาจจะให้สัตยาบันสัญญาหมั้นที่เป็นโมฆียะซึ่งทำให้การหมั้นนั้นสมบูรณ์มาแต่แรกเริ่มได้ตาม มาตรา 177 แต่ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในเรื่องการให้ความยินยอม กล่าวคือ ถ้ากรณีที่จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดาทั้งสองคนนั้น การให้สัตยาบันก็ต้องให้ทั้งสองคนเป็นต้น แต่สำหรับเรื่องบอกล้างสัญญาหมั้นที่เป็นโมฆียะนั้นเป็นไปตาม มาตรา 175 (1) คือบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองคนใดคนหนึ่งมีสิทธิบอกล้างการหมั้นที่เป็นโมฆียะนี้ได้โดยลำพัง

เงื่อนไขเกี่ยวกับการหมั้น
มาตรา 1437 การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์ สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น

เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง
สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่ง ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้
ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 412 ถึง มาตรา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้ บังคับโยอนุโลม

ข้อสังเกต
การหมั้นจะต้องมีของหมั้นเสมอและของหมั้นนั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันทีที่หมั้นกัน นอกจากนี้ ของหมั้นนั้นต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้ให้กันโดยชายหญิงมีเจตนาจะไปจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย หากให้ทรัพย์สินกันโดยที่ชายหญิงไม่มีเจตนาจะไปจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายแล้วก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของหมั้นตามความหมายของกฎหมาย ฝ่ายชายจะเรึยกคือไม่ได้

ในวันหมั้นและแต่งงานตามประเพณีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีการจัดงานเลี้ยงแขกจำนวนมากโดยไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเตรียมการเพื่อจดทะเบียนสมรสไว้เลย แสดงว่าต่างฝ่ายต่างมุ่งหมายในการให้สินสอดทองหมั้นและการจัดการงานแต่งงานก็เพื่อให้ได้อยู่กินมากกว่าการไปจดทะเบียนสมรสกัน ทั้งสองฝ่ายจึงไม่นำพาต่อการจดทะเบียนสมรส โจทก์จึงไม่อาจอ้างการไม่ได้จดทะเบียนสมรสเป็นเหตุว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่อาจเรียกสินสอดทองหมั้นคืนจากจำเลยทั้งสามได้

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2540

โจทก์ตกลงแต่งานกับจำเลยที่3โดยวิธีผูกข้อมือแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่3มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1457ดังนั้นทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่ของหมั้นเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับจำเลยที่3และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ให้แก่จำเลยที่1และที่2บิดามารดาของจำเลยที่3เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่3ยอมสมรสตามมาตรา1437โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน การที่จำเลยที่3ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่3เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่3จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่3ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1457การที่จำเลยที่3ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือผิดสัญญาหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1439และมาตรา1440

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2538 โจทก์แต่งงานโดยวิธีผูกข้อมือกับจำเลยที่ 3 มีจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นบิดามารดาจำเลยที่ 3 ยินยอม โจทก์เสียเงินสินสอด 20,000 บาททองหมั้นหนัก 2 บาท ราคา 10,000 บาท โจทก์และจำเลยที่ 3ได้รับทรัพย์รับไหว้จากญาติเป็นเงิน 7,739 บาท เป็นส่วนของโจทก์2,369.50 บาท โจทก์เสียค่าใช้จ่ายเนื่องในการเตรียมการสมรสเป็นเงิน 6,600 บาท ครั้นโจทก์ไปบ้านจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1และที่ 2 ขัดขวางไม่ยอมให้ขึ้นบ้านเพื่อหลับนอนฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 3 ทั้งจำเลยที่ 3 ก็ไม่ยอมเช่นกัน การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์รับความอับอายขอคิดค่าเสียหายต่อชื่อเสียงเป็นเงิน 20,000 บาท จำเลยทั้งสามต้องคืนสินสอดทองหมั้นและทรัพย์รับไหว้ส่วนของโจทก์กับชดใช้ค่าใช้จ่ายเนื่องในการเตรียมการสมรสเป็นเงิน 6,600 บาทโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามคืนเงินสินสอด 20,000 บาท ทองหมั้นหนัก 2 บาท หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา 10,000 บาท ทรัพย์รับไหว้ 2,369.50 บาท กับชดใช้ค่าใช้จ่ายเนื่องในการเตรียมการสมรส 6,600 บาท ค่าเสียหายต่อชื่อเสียง 20,000 บาท รวมเป็นเงิน 58,696.50 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการกระทำละเมิดโจทก์รวมทั้งไม่ถือว่ามีการผิดสัญญาหมั้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้ยกฟ้อง

โจทก์ อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้รับฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับคำขอให้จำเลยทั้งสามชำระเงินค่าผูกข้อมือจำนวน 2,369.50บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ไว้พิจารณาต่อไป และมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์ ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ฎีกาข้อเดียวว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินสินสอด ทองหมั้น และค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามขอให้ศาลฎีกาสั่งรับฟ้องของโจทก์ทั้งหมด ปรากฏว่า โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม2538 โจทก์ได้แต่งงานโดยวิธีผูกข้อมือกับจำเลยที่ 3 โดยเสียสินสอดไป 20,000 บาท ทองหมั้นหนัก 2 บาท คิดเป็นเงิน 20,000 บาทจำเลยที่ 1 และที่ 2 กีดกันไม่ให้โจทก์หลับนอนกับจำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 ก็ไม่ยอมหลับนอนกับโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหาย ค่าสินสอดและทองหมั้นให้โจทก์ เห็นว่า โจทก์ตกลงแต่งงานกับจำเลยที่ 3 โดยวิธีผูกข้อมือแสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457ฉะนั้น ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามจึงไม่ใช่ของหมั้นเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับจำเลยที่ 3 และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 บิดามารดาของจำเลยที่ 3 เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่ 3 ยอมสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน ส่วนการที่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่ 3 เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 3 ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 การที่จำเลยที่ 3ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ หรือผิดสัญญาหมั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439และมาตรา 1440
พิพากษายืน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1117/2535

ชายและหญิงเพียงแต่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่ออยู่กินกันตามประเพณีโดย ไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย เงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงจึงไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายแม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กันในขณะหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ก็ตาม ฝ่ายชายก็ไม่มีสิทธิเรียกคืน

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบิดาโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นบิดามารดาจำเลยที่ 3 โจทก์ที่ 1 ได้สู่ขอและหมั้นจำเลยที่ 3 ให้โจทก์ที่ 2 ด้วยเงินสด 4,000 บาท ต่อมาในวันทำพิธีสมรสโจทก์ทั้งสองได้มอบเงินค่าสินสอดให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 อีก11,000 บาท และต้องเสียค่าอาหารและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการทำพิธีสมรสเป็นเงิน 10,150 บาท แต่เมื่อทำพิธีสมรสแล้วจำเลยที่ 3ไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสและไม่ยอมอยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์ที่ 2 ขณะหมั้นจำเลยที่ 3 อายุไม่ครบ 17 ปี การหมั้นจึงตกเป็นโมฆะ จำเลยทั้งสามต้องคืนเงินของหมั้นและสินสอดกับชดใช้ค่าอาหารและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่โจทก์ แต่จำเลยทั้งสามไม่คืนและไม่ชดใช้ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 25,150 บาทกับดอกเบี้ย 396 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงิน 25,150 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยทั้งสามให้การว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้แต่เรียกสินสอดจากโจทก์อย่างเดียวเป็นเงิน 15,000 บาท หลังทำพิธีสมรสโจทก์ที่ 2 อยู่กินกับจำเลยที่ 3 เป็นเวลา 2 เดือนเศษ แล้วออกจากบ้านจำเลยไปเอง โจทก์ที่ 2 ไม่เคยเรียกร้องให้มีการจดทะเบียนสมรสจำเลยที่ 3 ยังพร้อมที่จะจดทะเบียนสมรสและอยู่กินกับโจทก์ที่ 2 จำเลยทั้งสามไม่ผิดสัญญา ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินจำนวน15,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นให้ยก จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสามไม่ต้องคืนเงินของหมั้นและเงินสินสอดแก่โจทก์ทั้งสอง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์ทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงตามที่ทั้งสองฝ่ายนำสืบไม่โต้เถียงกันรับฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ได้หมั้นกันเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2529 และแต่งงานกันเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2530 โดย โจทก์ที่ 2 มอบเงินจำนวน 4,000 บาทให้จำเลยที่ 3 เป็นของหมั้น และโจทก์ที่ 1 มอบเงินจำนวน 11,000 บาทให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสินสอด ขณะหมั้นจำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ หลังแต่งงานและอยู่กินด้วยกันนานประมาณ1 เดือน โจทก์ที่ 2 ได้หนีออกจากบ้านจำเลยทั้งสามไป แต่ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสนั้นศาลฎีกาเห็นว่า ทางพิจารณาข้อเท็จจริงไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์เลยว่า ทั้งก่อนและในวันแต่งงานฝ่ายโจทก์ได้เคยพูดกับทางฝ่ายจำเลยถึงเรื่องการจดทะเบียนสมรสให้เป็นกิจจะลักษณะ ตลอดเวลาที่อยู่กินด้วยกันประมาณ 1 เดือน โจทก์ที่ 2 ก็ไม่เคยขอให้จำเลยที่ 3 ไปจดทะเบียนสมรส กลับได้ความจากโจทก์ที่ 2 เองว่า โจทก์ที่ 2 ไม่เคยมีความคิดที่จะจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 3 มาก่อนโจทก์ที่ 2 ไปขอให้จำเลยที่ 3 ไปจดทะเบียนสมรสตามคำแนะนำของทนายความ นอกจากนั้นโจทก์ที่ 2 ยังเบิกความว่า แม้จำเลยที่ 3อายุไม่ครบ 17 ปี โจทก์ที่ 2 ก็จะแต่งงานด้วย ซึ่งแสดงว่าโจทก์ที่ 2 มุ่งประสงค์จะแต่งงานอยู่กินกับจำเลยที่ 3 ตามประเพณีเป็นสำคัญ หาได้นำพาต่อการจดทะเบียนสมรสไม่ เมื่อโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เพียงแต่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่ออยู่กินกันตามประเพณี ไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย เงินทั้งหลายที่ฝ่ายโจทก์มอบให้แก่ฝ่ายจำเลยจึงไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมาย แม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กันในขณะจำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกคืนไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามาชอบแล้ว"

พิพากษายืน

ข้อสังเกต
มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการหมั้นต่อไปว่า การหมั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง ดังนั้น ทรัพย์สินที่จะถือว่าเป็นของหมั้นได้นั้นจึงต้องมีการส่งมอบให้แก่ฝ่ายหญิงอย่างแท้จริงด้วย การสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินหรือเพียงแต่ทำสัญญากู้ยืมเงินกันไว้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ของหมั้นแก่กันแล้ว




การสมรส การหมั้น

ผิดสัญญาไม่จดทะเบียนสมรส
สินสอดเป็นทรัพย์สินให้บิดามารดา ข้อแตกต่างและข้อเหมือนสินสอดและของหมั้น
ความยินยอมของบิดามารดาในการหมั้น
การบอกเลิกสัญญาหมั้น
จดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ความเป็นโมฆะมีผลย้อนหลัง
ยินยอมเป็นสามีภริยากันต่อหน้านายทะเบียน
ฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินฐานผิดสัญญาหมั้น
ของหมั้นและสินสอด, มิได้มีเจตนาสมรสกันตามกฎหมาย, สิทธิเรียกคืนของหมั้นและสินสอด
สิทธิเรียกค่าเสียหาย,ค่าทดแทน,โดยไม่มีการหมั้น, แบบของสัญญาหมั้น
แต่งงานแล้วไม่ยอมหลับนอนด้วย,เรียกสินสอดคืน
ขณะสู่ขอไม่มีการตกลงเรื่องจดทะเบียนสมรส
ผู้มีสิทธิฟ้องคดีเรียกค่าทดแทน
ค่าทดแทน | ผิดสัญญาหมั้น
การหมั้นและสิทธิเรียกค่าทดแทนในกรณีผิดสัญญาหมั้น
ผิดสัญญาหมั้นเรียกสินสอดคืน
เรียกค่าสินสอดคืนโดยไม่มีการหมั้น
ร่วมประเวณีกับชายหรือหญิงคู่หมั้น