

สินสอดเป็นทรัพย์สินให้บิดามารดา ข้อแตกต่างและข้อเหมือนสินสอดและของหมั้น สินสอดเป็นทรัพย์สินให้บิดามารดา 1. กรณีที่ไม่มีการสมรสเพราะมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง 2. การณีที่ไม่มีการสมรสเพราะมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ในทางคดีมักมีความสับสนกันในสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับสินสอดและของหมั้น สินสอดและของหมั้นนั้นมีข้อเหมือนกันอยู่ประการหนึ่งคือ เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้มอบให้โดยที่ชายและหญิงนั้นต้องมีเจตนาต้องไปจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย หากชายหญิงไม่มีเจตนาจะไปจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายแล้ว ก็ไม่ถือว่าทรัพย์สินที่ได้ให้ไปนั้นเป็นสินสอดและของหมั้นตามความหมายของกฎหมาย ฝ่ายชายจึงเรียกคืนไม่ได้ สำหรับข้อแตกต่างนั้นก็อยู่ที่ว่าการหมั้นจะต้องมีการส่งมอบของหมั้นให้แก่กันแล้ว การหมั้นจึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย การทำสัญญากู้จึงเป็นเพียงตกลงจะให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นของหมั้นในวันข้างหน้า จึงไม้่มีผลบังคับในระหว่างกัน ต่างกับสินสอดซึ่งไม่จำต้องส่งมอบในขณะทำสัญญาหมั้น จึงสามารถทำสัญญากู้ไว้แทนการให้สินสอดได้ สัญญากู้นั้นก็มีผลบังคับในระหว่างกัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2518 อันสินสอดนั้นตามกฎหมายเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสและเมื่อมีข้อตกลงจะให้สินสอดแก่กันแล้ว การให้สินสอดภายหลังการสมรสย่อมทำได้เพราะไม่มีอะไรห้ามซึ่งต่างกับของหมั้นอันจะต้องให้กันในเวลาทำสัญญาหมั้นคือก่อนสมรส บิดามารดาโจทก์จัดให้โจทก์และ ว. ทำพิธีแต่งงานกัน และโจทก์เต็มใจยอมสมรสมารดาโจทก์ได้เตือนให้โจทก์และ ว ไปจดทะเบียนสมรส แต่ทั้งสองคนละเลยไม่ดำเนินการจดทะเบียนโดยว่าจะไปจดวันหลังก็ได้ ครั้นอยู่ด้วยกัน 3 เดือนก็มีเหตุต้องเลิกร้างกันไปโดยไม่ได้จดทะเบียน ดังนี้จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวย่อมไม่ได้ ชายเรียกสินสอดคืนไม่ได้ จำเลยและ ว. บุตรชายตกลงหมั้นโจทก์และตกลงจะให้เงินจำนวนหนึ่งเป็นสินสอดแก่บิดามารดาโจทก์ในวันสมรส ถึงกำหนดจำเลยขอผัดให้เงินสินสอดภายหลัง มารดาโจทก์ยินยอมให้โจทก์แต่งงานกับ ว. เพื่อมิให้เสียพิธี แต่มิได้มีการจดทะเบียนสมรสกันหลังจากสมรสแล้วจำเลยขอทำสัญญากู้ให้มารดาโจทก์แทนเงินสินสอดที่ตกลงจะให้ มารดาโจทก์ต้องการเอาเงินนั้นให้โจทก์ จึงให้โจทก์ลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ในสัญญากู้ ดังนี้ แม้โจทก์กับ ว. จะมิได้จดทะเบียนสมรสกันแต่เมื่อการที่มิได้จดทะเบียนสมรสนั้น จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวไม่ได้แล้ว ชายย่อมเรียกสินสอดคืนไม่ได้ สัญญากู้จึงมีมูลหนี้เนื่องมาจากเงินสินสอดอันเป็นมูลหนี้ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดามารดาโจทก์ตกลงยกให้โจทก์ และจำเลยยินยอมทำสัญญากับโจทก์เพราะมูลหนี้นี้แล้ว จำเลยย่อมต้องถูกผูกพันให้รับผิดตามสัญญากู้ที่แปลงหนี้มานี้ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับนางจิตร มารดาโจทก์จัดให้มีการแต่งงานระหว่างนายวิชาญ บุตรชายจำเลยกับโจทก์ โดยนางจิตร เรียกเงินค่าสินสอดจากจำเลย 8,000 บาท ครั้นถึงวันทำพิธีแต่งงานจำเลยบอกนางจิตร ว่าจัดหาเงินสินสอดไม่ทัน ขอให้ทำพิธีแต่งงานไปก่อน จะนำเงินค่าสินสอดมาให้ในเดือน 5 พ.ศ. 2513 เพื่อมิให้เสียพิธีแต่งงานนางจิตรได้ยินยอม ครั้นถึงกำหนดจำเลยมาบอกนางจิตรว่า จัดหาเงินค่าสินสอดไม่ทันขอแปลงหนี้ ใหม่ โดยขอทำเป็นสัญญากู้ไว้และขอผัดชำระเงินภายใน 19 เดือน นางจิตร ยินยอม แต่ขอโอนเงินดังกล่าวให้โจทก์ จำเลยตกลงและทำสัญญากู้ทั้งยอมเสียดอกเบี้ยตามกฎหมายให้โจทก์ยึดถือไว้ บัดนี้กำหนดเวลาตามสัญญากู้ล่วงเลยมานานแล้วโจทก์ทวงถามก็เพิกเฉย ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระเงิน 8,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า ไม่เคยจัดให้มีการแต่งงานระหว่างนายวิชาญกับโจทก์มารดาโจทก์ไม่เคยเรียกเงินสินสอด จำเลยไม่เคยรับจะชำระเงินสินสอด โจทก์กับนายวิชาญ ไปอยู่กินร่วมกันเอง จำเลยไม่เคยทำสัญญากู้ให้โจทก์ ลายเซ็นชื่อในสัญญาไม่ใช่ของจำเลย หากเป็นลายเซ็นชื่อของจำเลย จำเลยก็ถูกหลอกลวงให้ทำขึ้นโดยสำคัญผิดในสารสำคัญ การสมรสตามกฎหมายมิได้มีขึ้น หากมีการตกลงจะให้ทรัพย์ก็ไม่มีลักษณะเป็นสินสอดตามกฎหมาย กรณีเป็นเพียงการจะให้ทรัพย์โดยเสน่หาเท่านั้น ซึ่งฟ้องร้องบังคับกันมิได้ ทั้งมูลหนี้ก็หาได้มีอยู่ไม่หรือมีก็ไม่สมบูรณ์ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน จำนวน 8,000 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์ไว้จริงและแทนเงินสินสอดซึ่งมีข้อตกลงกันไว้ว่าจะให้แก่มารดาโจทก์แล้ววินิจฉัยว่า อันสินสอดนี้ตามกฎหมายเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ทั้งศาลฎีกาเห็นต่อไปว่า หากมีข้อตกลงจะให้สินสอดต่อกันแล้วการให้สินสอดภายหลังการสมรสย่อมทำได้เพราะไม่มีอะไรห้าม ซึ่งไม่เหมือนกับของหมั้นอันจะต้องให้กันในเวลาทำสัญญาหมั้นคือก่อนสมรสฉะนั้นเมื่อบิดามารดาโจทก์จัดให้โจทก์และนายวิชาญ ทำพิธีแต่งงานกันและโจทก์เต็มใจยอมสมรสแล้ว มารดาโจทก์ยังได้เตือนให้โจทก์และนายวิชาญ ไปจดทะเบียนสมรสอีก แต่ทั้งสองคนละเลยไม่ดำเนินการจดทะเบียน โดยว่าจะไปจดวันหลังก็ได้ ครั้นอยู่ด้วยกัน 3 เดือน ก็มีเหตุให้ต้องเลิกร้างกันไปโดยไม่ได้จดทะเบียนเช่นนี้ จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวย่อมไม่ได้ ชายเรียกสินสอดคืนไม่ได้ สัญญากู้ตามเอกสารศาลหมาย จ.1จึงมีมูลหนี้เนื่องมาจากเงินสินสอดดังกล่าวอันเป็นมูลหนี้ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดามารดา โจทก์ได้ตกลงยกให้โจทก์และจำเลยยินยอมทำสัญญากับโจทก์เพราะมูลหนี้อันนี้แล้ว จำเลยย่อมต้องถูกผูกพันให้รับผิดตามสัญญากู้เงินที่แปลงหนี้ใหม่ ตามเอกสารศาลหมาย จ.1 ทุกประการ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคล ดังต่อไปนี้ การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ ข้อสังเกตุ แต่อย่างไรก็ตาม เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2237/2519 วินิจฉัยไว้ว่า แม้จะแต่งงานกันตามประเพณีโดยไม่จดทะเบียนสมรสทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายตกลงจะให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่ใช่สินสอดตามความหมายของกฎหมายก็สามารถเรียกทรัพย์สินนั้นจากฝ่ายชายได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2237/2519 ให้สินสอดโดยทำสัญญากู้ให้ แม้เงินที่ลงไว้ในสัญญากู้จะไม่ใช่สินสอดตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1436 เพราะเป็นการแต่งงานกันตามประเพณีโดยคู่กรณีไม่ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญก็ตาม แต่เมื่อจำเลยตกลงจะให้เงินตอบแทนแก่โจทก์ในการที่บุตรสาวของโจทก์จะแต่งงานอยู่กินกับบุตรชายของจำเลยโดยทำสัญญากู้ให้ไว้ดังกล่าว เมื่อได้มีการแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันแล้วจำเลยก็ต้องชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ได้ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสู่ขอบุตรสาวโจทก์เพื่อให้สมรสกับบุตรชายของจำเลยในวันทำพิธีแต่งงาน จำเลยนำเงินค่าสินสอดที่ตกลงกันไว้ว่าเป็นจำนวน 10,000 บาท มาชำระให้โจทก์ 2,000 บาทก่อน อีก 8,000 บาทอ้างว่ายังไม่มีขอผัดไปชำระภายหลังโดยทำสัญญากู้มอบให้โจทก์ไว้ ครบกำหนด ทวงถามแล้ว จำเลยไม่ชำระขอศาลบังคับให้จำเลยชำระเงิน 8,000 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมค่าทนายความแทนโจทก์ด้วย จำเลยให้การว่า บุตรชายจำเลยและบุตรสาวโจทก์แต่งงานกันตามประเพณีโดยฝ่ายโจทก์เรียกของหมั้นเป็นทองคำหนัก 12 บาท เข็มขัดนาก1 เส้นหนัก 9 บาท เงินสินสอด 40 บาท และเงินกองทุนให้แก่คู่บ่าวสาว12,000 บาท โดยโจทก์กับภรรยาให้คำมั่นว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์กับภรรยาให้คู่บ่าวสาว 1 ใน 3 ภายใน 3 ปี และจะจัดให้ทั้งคู่จดทะเบียนสมรสภายหลังแต่งงานแล้ว วันแต่งงานจำเลยได้นำทองหมั้นและเงินสินสอดไปให้โจทก์และภรรยาครบถ้วน ส่วนเงินกองทุนมีไปให้เพียง 4,000 บาทอีก 8,000 บาท ได้ทำสัญญากู้ให้โจทก์ยึดถือไว้ตั้งแต่คืนวันสุกดิบ ภายหลังแต่งงานแล้วบุตรสาวโจทก์ไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรส ต่อมาโจทก์กับภรรยากลับด่าว่าและขับไล่บุตรจำเลยออกจากบ้าน บุตรสาวโจทก์ก็ไม่ยอมมาอยู่กินกับบุตรจำเลยที่บ้านจำเลย โจทก์ทวงถามเงินตามสัญญากู้และร้องเรียนต่อนายอำเภอ จำเลยต่อสู้ว่าเป็นเงินกองทุน จะยอมให้ต่อเมื่อโจทก์จัดการให้บุตรโจทก์ไปอยู่กินและจดทะเบียนสมรสกับบุตรจำเลย บุตรโจทก์ไม่ยอม จำเลยจึงไม่จำต้องจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์ ขอให้ยกฟ้องและให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมค่าทนายความแทนจำเลย ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังว่า การแต่งงานระหว่างบุตรโจทก์จำเลยต่างฝ่ายต่างมิได้ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญมาแต่แรก แม้จะรับฟังได้ว่า เงินตามสัญญากู้เป็นเงินสินสอด แต่เมื่อมิได้มีการจดทะเบียนสมรสโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอากับจำเลยได้ และกรณีไม่ถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่พิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ 150บาทแทนจำเลย โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วฟังว่า สัญญากู้เกิดจากเงินสินสอดที่ค้างชำระ และเมื่อคู่กรณีไม่ถือเอาการจดทะเบียนสมรสกันเป็นสารสำคัญ เมื่อบุตรของทั้งสองฝ่ายได้แต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากัน ก็ต้องชำระค่าสินสอดตามที่ตกลงกันไว้ สัญญากู้ใช้บังคับได้ พิพากษากลับ ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์8,000 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จและให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 400 บาท จำเลยฎีกาว่าเป็นเงินกองทุน และจำเลยไม่จำต้องชำระให้โจทก์ ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า ในการสู่ขอบุตรสาวโจทก์ให้แก่บุตรชายจำเลยจำเลยได้ทำสัญญากู้ไว้ให้โจทก์จริง บุตรจำเลยและบุตรโจทก์แต่งงานกันตามประเพณี และอยู่กินด้วยกันที่บ้านโจทก์เป็นเวลา 1 ปีเศษ มีบุตรด้วยกัน 1 คนโดยต่างฝ่ายต่างมิได้ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญมาแต่แรกคดีฟังได้ว่าสัญญากู้เกิดจากเงินสินสอดที่ค้างชำระกันอยู่มิใช่เงินกองทุนดังจำเลยต่อสู้แม้เงินที่ลงไว้ในสัญญากู้จะไม่ใช่สินสอดตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 เพราะเป็นการแต่งงานกันตามประเพณีโดยคู่กรณีไม่ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญ แต่จำเลยก็ตกลงจะให้เงินตอบแทนแก่โจทก์ในการที่บุตรสาวของโจทก์จะแต่งงานอยู่กินกับบุตรชายของจำเลย โดยทำสัญญากู้ให้ไว้ เมื่อได้มีการแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันแล้ว จำเลยก็ต้องชำระเงินดังกล่าวตามที่ตกลงไว้ให้แก่โจทก์ สัญญากู้จึงใช้บังคับได้ พิพากษายืน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ ถ้าได้มีข้อตกลงกันไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้นข้อตกลงนั้น เป็นโมฆะ มาตรา 1439 เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญา หมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย ข้อสังเกต นอกจากนี้มีข้อสังเกตว่า สินสอดเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าวแล้ว ทรัพย์สินดังกล่าวก็มิใช่สินสอดตามความหมายของกฎหมายเช่นกัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2526 โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันและทำบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ที่ด้านหลังทะเบียนการสมรสว่า ฝ่ายชายยกที่ดินพิพาทเป็นสินสอดฝ่ายหญิง เมื่อปรากฏว่าบิดามารดาโจทก์ถึงแก่กรรมก่อนที่โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันและไม่ปรากฏว่าโจทก์มีผู้ปกครองในขณะจดทะเบียนสมรส การที่จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ในลักษณะที่เป็นสินสอด. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1437 แต่การที่จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาทให้ โจทก์ก็เพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมสมรสกับจำเลย ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา เมื่อโจทก์จดทะเบียนสมรสและอยู่กินกับจำเลยฉันสามีภริยาแล้ว. จำเลยก็มีหน้าที่ต้องโอนที่ดินให้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามบันทึกดังกล่าวได้ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน ก่อนที่จำเลยจะสมรสกับโจทก์ จำเลยตกลงยกที่นาฟาง โฉนดเลขที่ 4665 และที่อยู่อาศัยตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 55 พร้อมด้วยสิ่งก่อสร้างให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนที่โจทก์ยอมสมรส หลังจากอยู่กินด้วยกันแล้วจำเลยทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง โจทก์ไม่สามารถอยู่กินกับจำเลยต่อไป แจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่า จำเลยก็ไม่ไปและไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ และโอนที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ ถ้าไม่ไปทำการโอนก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย จำเลยให้การว่า ได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์จริง แต่ไม่ได้ตกลงเรื่องทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในทะเบียนสมรส จำเลยออกจากบ้านเพราะโจทก์ขับไล่จำเลยไม่เคยดุด่าว่ากล่าวโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยแถลงว่ายอมหย่ากับโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ และให้จำเลยโอนที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 55 พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ภายใน 30 วัน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 4665 แก่โจทก์ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตามบันทึกที่เกี่ยวกับที่ดินนาฟาง (ที่ดินโฉนดเลขที่ 4665) มีความว่า "กรณีทรัพย์สิน ฝ่ายชายยกนาฟางจำนวน 1 แปลงเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 21 ตำบลดงมะดะ อำเภอเมืองเชียงรายเป็นสินสอดฝ่ายหญิง" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคสาม เมื่อบิดามารดาโจทก์ถึงแก่กรรมก่อนที่โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีผู้ปกครองในขณะจดทะเบียนสมรส การที่จำเลยตกลงยกนาฟางให้โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ในลักษณะที่เป็นสินสอดแต่อย่างไรก็ดีการที่จำเลยตกลงยกนาฟางให้โจทก์ก็เพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมสมรสกับจำเลย ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา เมื่อโจทก์จดทะเบียนสมรสและอยู่กินกับจำเลยฉันสามีภริยาแล้ว จำเลยก็มีหน้าที่ต้องโอนที่ดินให้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้โอนที่ดินนาฟางให้แก่โจทก์ตามบันทึกดังกล่าวได้ พิพากษายืน สัญญากู้ไม่ใช่ของหมั้น-ไม่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงในสภาพของหมั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2506
จำเลยให้การว่า ได้ตกลงให้นายสวัสดิ์สมรสกับนางสาวเจียมน้องสาวจำเลยจริง โดยโจทก์เรียกสินสอดให้จำเลยปลูกเรือนหอให้โจทก์ก่อนทำการสมรส โจทก์ให้จำเลยทำสัญญากู้ตามฟ้องให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นหลักประกัน จำเลยไม่เคยขอหมั้นนางสาวเจียม สัญญากู้ตามฟ้องไม่ใช่ของหมั้นและเกิดขึ้นโดยการฉ้อฉลของโจทก์ จำเลยจะปลูกเรือนหอโจทก์ไม่ยอมให้ปลูกและไม่ยอมให้นางสาวเจียมสมรสกับนายสวัสดิ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินกู้รายนี้ ขอให้ยกฟ้อง วันชี้สองสถาน ศาลจังหวัดพัทลุงเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ให้งดสืบพยาน และพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกาเห็นว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436วรรคแรกบัญญัติว่า ของหมั้นคือทรัพย์สินซึ่งฝ่ายขายให้ไว้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นหลักฐานและประกันว่าชายจะสมรสกับหญิงนั้นแต่สัญญากู้ท้ายฟ้องคดีนี้เป็นเพียงสัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นกันในวันข้างหน้า ยังมิได้มีการมอบหมายทรัพย์สินให้กันอย่างแท้จริง เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาก็มิได้มุ่งต่อการให้สัญญากู้ตกเป็นของอีกฝ่ายหนึ่งในสภาพของของหมั้น และไม่มีความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสแล้ว แม้หากจะฟังว่าคู่กรณีมีเจตนาจะให้เป็นเบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรค 2 ก็ได้บัญญัติว่า ถ้าได้มีคำมั่นไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้นคำมั่นนั้นก็เป็นโมฆะ ในกรณีเช่นนี้จึงถือไม่ได้ว่าได้มีการให้ของหมั้นกันตามกฎหมาย โจทก์จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ในฐานะเป็นของหมั้นหาได้ไม่ ทั้งสัญญากู้รายนี้ไม่มีมูลหนี้เดิมอันจะมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามสัญญา ตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนฐานผิดสัญญาหมั้นหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการที่นายสวัสดิ์บุตรจำเลยได้ละเมิดทำอนาจารนางสาวเจียมน้องสาวโจทก์ และรูปคดีไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าสัญญากู้รายนี้เป็นเงินสินสอดตามข้อต่อสู้ของจำเลยหรือไม่ ดังที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัย เพราะหากสัญญากู้ดังกล่าวจะเป็นเงินสินสอดตามข้อต่อสู้ของจำเลย สัญญากู้ดังกล่าวก็เป็นเพียงประกันว่าจะมีการให้เงินสินสอดซึ่งเข้าลักษณะจะให้กันโดยเสน่หาเท่านั้น เมื่อยังไม่มีการส่งทรัพย์ให้แก่กัน ก็ไม่สมบูรณ์จะฟ้องเรียกทรัพย์ต่อกันมิได้เช่นกันที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว จึงพร้อมกันพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้โจทก์เสียค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ฎีกา และค่าทนายความสองศาล 200 บาทแก่จำเลยด้วย ไม่มีเจตนาจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย, ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมาย ขณะหมั้นหญิงคู่หมั้นอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ หลังแต่งงานและอยู่กินด้วยกันนานประมาณ 1 เดือน ตลอดเวลาที่อยู่กินด้วยกัน ชายมุ่งประสงค์จะแต่งงานอยู่กินกับตามประเพณีเป็นสำคัญ หาได้นำพาต่อการจดทะเบียนสมรสไม่ เงินทั้งหลายที่ชายมอบให้แก่หญิงจึงไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายแม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กัน ชายก็หามีสิทธิเรียกคืนไม่ สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่ง ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ |