ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ผิดสัญญาหมั้นเรียกสินสอดคืน

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

QR CODE 

 ผิดสัญญาหมั้นเรียกสินสอดคืน 

ทำสัญญาหมั้น และแต่งงานตามประเพณีแล้ว ได้อยู่กินร่วมหลับนอนกันนาน 8 เดือนโดยมิได้ไปจดทะเบียนสมรส จึงเกิด จากการละเลยของทั้งสองฝ่ายที่มิได้ยึดถือเอาการจดทะเบียนสมรส เป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการที่จะได้อยู่กินด้วยกันตามประเพณี เท่านั้น จึงมิอาจกล่าวโทษได้ว่าการที่มิได้ไปจดทะเบียนสมรส เกิดจากความผิดของฝ่ายใด 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2542 

ภายหลังจากโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาหมั้น และแต่งงานตามประเพณีแล้ว ได้อยู่กินร่วมหลับนอนกันที่บ้านของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาจำเลยที่ 1 นานถึง 8 เดือนโดยโจทก์มิได้ประกอบอาชีพใด เอาแต่เที่ยวเตร่และเล่นการพนัน แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้รังเกียจในตัวโจทก์นอกจาก ความประพฤติ การที่ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 สมัครใจอยู่กิน ด้วยกันเป็นเวลานาน โดยมิได้ไปจดทะเบียนสมรส จึงเกิด จากการละเลยของทั้งสองฝ่ายที่มิได้ยึดถือเอาการจดทะเบียนสมรส เป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการที่จะได้อยู่กินด้วยกันตามประเพณี เท่านั้น จึงมิอาจกล่าวโทษได้ว่าการที่มิได้ไปจดทะเบียนสมรส เกิดจากความผิดของฝ่ายใด แม้ต่อมามีการทำบันทึกตกลงกัน ว่าทั้งสองฝ่ายจะไปจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป แต่เมื่อโจทก์ยังมิได้ปลูกบ้านในที่ดินของจำเลยที่ 2 ตาม ข้อตกลงการที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรส กับโจทก์ จึงยังไม่อาจถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น 

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินค่าสินสอดจำนวน 35,020 บาท กับคืนทองหมั้นหรือใช้ราคา 10,000 บาทให้แก่โจทก์ และให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปีของต้นเงิน 45,020 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเสร็จแก่โจทก์ 

จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดและของหมั้นคืนเพราะเหตุที่ไม่มีการจดทะเบียนสมรสเป็นความผิดของโจทก์เอง ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน39,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นให้ยก 

จำเลยอุทธรณ์ โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับให้ยกฟ้อง 

โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่า เมื่อวันที่6 มีนาคม 2538 โจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 2ทำสัญญาหมั้นและแต่งงานกันตามประเพณีที่บ้านของจำเลยที่ 2ในพิธีแต่งงานดังกล่าวโจทก์นำเงินสินสอดจำนวน 22,000 บาททองหมั้นหนัก 2 บาท และเงินค่าสุกร 2 ตัว ราคา 7,000 บาทมอบให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นสินสอดและของหมั้นหลังจากแต่งงานแล้วโจทก์และจำเลยที่ 1 อยู่กินเป็นสามีภริยากันที่บ้านของจำเลยที่ 2 ต่อมาวันที่ 21 พฤศจิกายน 2538 โจทก์และจำเลยที่ 1และญาติทั้งสองฝ่ายไปเจรจาตกลงกันในเรื่องการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่บ้านของกำนันในท้องที่ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่า จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นและจะต้องคืนสินสอดของหมั้นให้แก่โจทก์หรือไม่ เห็นว่าพยานโจทก์คงมีลำพังตัวโจทก์และบิดาโจทก์ที่เบิกความว่าโจทก์ไม่ได้มีความประพฤติเสียหาย จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์จนถึงกับต้องไปทำบันทึกข้อตกลงกันไว้ที่บ้านกำนันแห่งท้องที่แต่ตามคำเบิกความของบิดาโจทก์ระบุว่าบิดาโจทก์ไม่ทราบสาเหตุที่ไม่ได้ไปจดทะเบียนสมรสว่าเป็นความผิดของฝ่ายใด จึงเป็นพิรุธ ผิดวิสัยผู้ที่เป็นบิดาและเป็นบุคคลใกล้ชิดกับโจทก์ ที่จะต้องรู้สาเหตุความเป็นมาต่าง ๆ ได้ดีกว่าบุคคลภายนอก นอกจากนี้ปรากฏจากคำเบิกความของโจทก์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า โจทก์ยังไม่ได้ประกอบอาชีพรับจ้างที่อื่น แต่เบิกความต่อมาขัดแย้งกันเองว่า ไปทำงานรับจ้างที่กรุงเทพมหานครบ้าง รับจ้างเป็นกรรมกรในหมู่บ้านบ้าง คำเบิกความของโจทก์จึงสับสนฟังไม่ได้แน่นอนว่าโจทก์ประกอบสัมมาชีพเป็นกิจจะลักษณะเยี่ยงสามีหรือผู้นำครอบครัวทั้งหลายได้ปฏิบัติกันหรือไม่ พยานจำเลยนอกจากตัวจำเลยทั้งสองแล้วยังมีนายสมโภชน์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองท้องที่และเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีผลประโยชน์ได้เสียร่วมกับฝ่ายใด จึงไม่มีเหตุระแวงว่านายสมโภชน์จะเบิกความเข้าข้างช่วยเหลือฝ่ายจำเลยทั้งสอง คำเบิกความของนายสมโภชน์ที่เบิกความสอดคล้องถึงความประพฤติของโจทก์อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสด้วย พยานจำเลยทั้งสองจึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้มากกว่าพยานโจทก์ และเมื่อพิเคราะห์ถึงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 อยู่กินกันฉันสามีภริยานานถึง 8 เดือน โดยอยู่ร่วมกันตลอดเวลา จึงมีเหตุน่าเชื่อตามคำเบิกความของจำเลยที่ 1ว่าโจทก์ร่วมหลับนอนกับจำเลยที่ 1 เกินกว่า 20 ครั้ง และหากจำเลยที่ 1 ไม่เต็มใจให้โจทก์ร่วมหลับนอนด้วยดังอ้างแล้วโจทก์คงไม่มีโอกาสร่วมหลับนอนกับจำเลยที่ 1 ได้ดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงแสดงอยู่ในตัวว่า จำเลยที่ 1 มิได้มีความรังเกียจตัวโจทก์นอกจากความประพฤติของโจทก์ดังกล่าวข้างต้น โจทก์เบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านว่า โจทก์เรียกร้องที่จะจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 เพียงครั้งเดียวก่อนที่จะออกจากบ้าน แสดงว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 สมัครใจอยู่กินด้วยกันเป็นระยะเวลานานโดยมิได้มีฝ่ายใดกล่าวอ้างหรือเรียกร้องให้ไปจดทะเบียนสมรสด้วยกันมาก่อน เหตุแห่งการที่มิได้ไปจดทะเบียนสมรสจึงเกิดจากการละเลยของทั้งสองฝ่ายที่มิได้ยึดถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการที่จะได้อยู่กินด้วยกันตามประเพณีเท่านั้น จึงมิอาจกล่าวโทษได้ว่า การที่ไม่ได้ไปจดทะเบียนสมรสเกิดจากความผิดของฝ่ายใด โจทก์เพิ่งจะมาเรียกร้องให้จำเลยที่ 1จดทะเบียนสมรส เมื่อโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 ต่อว่าที่เอารถจักรยานยนต์ไปเที่ยวไม่กลับบ้าน และโจทก์ออกจากบ้านที่อยู่อาศัยไปในวันที่21 พฤศจิกายน 2538 จึงได้ไปตกลงกันที่บ้านกำนันและทำบันทึกไว้ว่าทั้งสองฝ่ายจะไปจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไปและตามบันทึกดังกล่าวจำเลยทั้งสองนำสืบว่าได้ตกลงกันให้โจทก์ปลูกบ้านในที่ดินของจำเลยที่ 2 ก่อนที่จะไปจดทะเบียนสมรส แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะไม่ได้มีการบันทึกไว้ในเอกสารหมาย จ.1 ก็ตามแต่จำเลยก็มีนายสมโภชน์เป็นพยานบุคคลยืนยันว่าได้มีการตกลงกันดังกล่าวจริง ประกอบกับโจทก์เบิกความกลับไปกลับมา ยอมรับแล้วปฏิเสธในเรื่องข้อตกลงดังกล่าว ทำให้เชื่อว่าได้มีการตกลงดังที่จำเลยทั้งสองนำสืบ พฤติการณ์ของโจทก์จึงเจือสมกับพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสอง เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาโดยปลูกบ้านในที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้เรียบร้อยก่อน การที่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ จึงยังไม่อาจถือว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกสินสอดและของหมั้นคืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชอบแล้วฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น" 

พิพากษายืน 

( อัธยา ดิษยบุตร - ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ - อภิชาต สุขัคคานนท์ )

 

 กฎหมายที่เกี่ยวข้องเรื่องผิดสัญญาหมั้น,ค่าทดแทน

มาตรา 1438  การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ ถ้าได้มีข้อตกลงกันไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้น ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ

มาตรา 1439  เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย

มาตรา 1444  ถ้าเหตุอันทำให้คู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้นเป็นเพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งได้กระทำภายหลังการหมั้น คู่หมั้นผู้กระทำชั่วอย่างร้ายแรงนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนแก่คู่หมั้นผู้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นเสมือนเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น

มาตรา 1447/1  สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามมาตรา 1439 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วันที่ผิดสัญญาหมั้น
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามมาตรา 1444 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วันรู้หรือควรรู้ถึงการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุให้บอกเลิกสัญญาหมั้น แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันกระทำการดังกล่าว
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามมาตรา 1445 และมาตรา 1446 ให้มีอายุความหกเดือน นับแต่วันที่ชายหรือหญิงคู่หมั้นรู้หรือควรรู้ถึงการกระทำของผู้อื่นอันจะเป็นเหตุให้เรียกค่าทดแทน และรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าทดแทนนั้น แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ผู้อื่นนั้นได้กระทำการดังกล่าว[82]
 
มาตรา 1447/2  สิทธิเรียกคืนของหมั้นตามมาตรา 1439 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วันที่ผิดสัญญาหมั้น

 

 

 

 

จดทะเบียนสมรสกันแล้วเรียกค่าสินสอด,ของหมั้นคืนไม่ได้

กรณีที่ฝ่ายชายจะมีสิทธิเรียกค่าสินสอดของหมั้นและค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากฝ่ายหญิงได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีการหมั้นแล้ว แต่ไม่มีการสมรสโดยเป็นความผิดของฝ่ายหญิง  เมื่อปรากฏว่า ทั้งสองได้แต่งงานกันตามประเพณีและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว สามีจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทน ค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากภริยาได้

 

ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมาย, เรียกสินสอดของหมั้นคืนไม่ได้

ขณะหมั้นหญิงคู่หมั้นอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ หลังแต่งงานและอยู่กินด้วยกันนานประมาณ 1 เดือน  ตลอดเวลาที่อยู่กินด้วยกัน ชายมุ่งประสงค์จะแต่งงานอยู่กินกับตามประเพณีเป็นสำคัญ หาได้นำพาต่อการจดทะเบียนสมรสไม่ เงินทั้งหลายที่ชายมอบให้แก่หญิงจึงไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายแม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กัน ชายก็หามีสิทธิเรียกคืนไม่

  

 แต่งงานแล้วไม่ยอมร่วมหลับนอนด้วย,เรียกสินสอดคืน, ไม่ยอมจดทะเบียนสมรส,บิดามารดาไม่ให้ควมยินยอม

โจทก์ฟ้องเรียกสินสอดคืนเนื่องจากหญิงคู่หมั้นไม่ไปจดทะเบียนสมรส และบิดา มารดา หญิงคู่หมั้นไม่ไปให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ หญิงคู่หมั้นไม่ให้ร่วมหลับนอน  จำเลยให้การว่าไม่มีการหมั้น ชายคู่หมั้นไม่เคยนัดหมายให้ไปจดทะเบียนสมรส ไปอยู่กินฉันสามีภริยากันที่บ้านฝ่ายชายแล้ว ชายคู่หมั้นมีความบกพร่องทางร่างกายและจิตใจไม่อาจร่วมประเวณีได้

 

ของหมั้นและสินสอด, มิได้มีเจตนาสมรสกันตามกฎหมาย, สิทธิเรียกคืนของหมั้นและสินสอด

โจทก์ไม่นำพาต่อการที่จะจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 เหตุที่โจทก์เพิ่งมาขอให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนสมรสด้วยก็โดยคำแนะนำของนายเบิ้ม เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1เพียงแต่ประกอบพิธีสมรสโดยมิได้มีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมายเงินที่โจทก์อ้างว่าได้มอบให้แก่ฝ่ายหญิง จึงหาได้ให้ในฐานะเป็นของหมั้นและสินสอดตามกฎหมายไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันรับผิดคืนเงินหมั้นและสินสอดแก่โจทก์นั้น

 

 

 




การสมรส การหมั้น

หลักเกณฑ์การหมั้นและเงื่อนไข อายุของคู่หมันฝ่าฝืนเป็นโมฆะ
ฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินฐานผิดสัญญาหมั้น
ของหมั้นและสินสอด, มิได้มีเจตนาสมรสกันตามกฎหมาย, สิทธิเรียกคืนของหมั้นและสินสอด
สิทธิเรียกค่าเสียหาย,ค่าทดแทน,โดยไม่มีการหมั้น, แบบของสัญญาหมั้น
แต่งงานแล้วไม่ยอมหลับนอนด้วย,เรียกสินสอดคืน
ขณะสู่ขอไม่มีการตกลงเรื่องจดทะเบียนสมรส
ผู้มีสิทธิฟ้องคดีเรียกค่าทดแทน
ค่าทดแทน | ผิดสัญญาหมั้น
การหมั้นและสิทธิเรียกค่าทดแทนในกรณีผิดสัญญาหมั้น
เรียกค่าสินสอดคืนโดยไม่มีการหมั้น
ร่วมประเวณีกับชายหรือหญิงคู่หมั้น
ผิดสัญญาไม่จดทะเบียนสมรส
สินสอดเป็นทรัพย์สินให้บิดามารดา ข้อแตกต่างและข้อเหมือนสินสอดและของหมั้น
ความยินยอมของบิดามารดาในการหมั้น
การบอกเลิกสัญญาหมั้น
จดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ความเป็นโมฆะมีผลย้อนหลัง
ยินยอมเป็นสามีภริยากันต่อหน้านายทะเบียน
สัญญาระหว่างสมรส