ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




จดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ความเป็นโมฆะมีผลย้อนหลัง

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

จดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นโมฆะ, ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้

       ชายที่มีภริยาชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้วจึงถือว่ามีคู่สมรสอยู่แล้ว แต่กลับมาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับหญิงอื่นอีก การสมรสครั้งใหม่ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ประกอบมาตรา 1497 เมื่อบทบัญญัติในมาตรา 1497 ให้สิทธิบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ หญิงที่จดทะเบียนสมรสซ้อน จึงชอบที่จะเสนอคดีของผู้ร้องโดยทำเป็น คำร้องขอได้ ไม่ต้องยื่นฟ้องเป็นคดีเหมือนกับคดีมีข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4981/2541

       ผู้ร้องอ้างว่า ส. มีคู่สมรสอยู่แล้ว แต่กลับมาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับผู้ร้องอีก การสมรสระหว่าง ส. กับผู้ร้องย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ประกอบมาตรา 1497 เมื่อบทบัญญัติในมาตรา 1497 ให้สิทธิผู้ร้องในฐานะบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ผู้ร้องจึงชอบที่จะเสนอคดีของผู้ร้องโดยทำเป็น คำร้องขอได้

คดีสืบเนื่องจากผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2536 ผู้ร้องและนายสมชาย พินิจ จดทะเบียนสมรสกัน ณ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยนายสมชายยืนยันว่าตนไม่มีคู่สมรส นายทะเบียนหลงเชื่อจึงจดทะเบียนให้ปรากฏภายหลังว่าขณะนายสมชายจดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องนายสมชายมีคู่สมรสอยู่แล้ว การสมรสระหว่างนายสมชายกับผู้ร้องจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497ประกอบมาตรา 1452 ต่อมาวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2540 ผู้ร้องในฐานะผู้มีส่วนได้เสียจึงกล่าวอ้างขึ้นโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมาซึ่งมูลคดีเกิด ขอให้มีคำสั่งว่าการสมรสเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

          ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องแล้วมีคำสั่งว่า กรณีต้องทำเป็นคำฟ้องไม่รับคำร้องขอของผู้ร้อง คืนค่าขึ้นศาลให้ผู้ร้อง

  ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่ง

 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน

   ผู้ร้องฎีกา

 ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า กรณีเป็นเรื่องที่ผู้ร้องอ้างว่านายสมชาย พินิจ มีคู่สมรสอยู่แล้ว แต่กลับมาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับผู้ร้องอีก เช่นนี้การสมรสระหว่างนายสมชายกับผู้ร้องย่อมเป็นโมฆะ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ประกอบมาตรา 1497 และในมาตรา 1497 นั้นเอง ก็ให้สิทธิผู้ร้องในฐานะบุคคลผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เช่นนี้การเสนอคดีของผู้ร้องโดยทำเป็นคำร้องขอนั้นจึงชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497 แล้ว

 พิพากษายกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขอของผู้ร้องไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

ความเป็นโมฆะของการจดทะเบียนสมรสซ้อนย่อมมีผลไปถึงวันจดทะเบียนสมรสซ้อน

พ.อ.หญิง เอกอรสมรสกับ พ.ต. จำรัส ในขณะที่ พ.ต. จำรัส มีคู่สมรสอยู่แล้วย่อมตกเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งรวมถึง พ.อ. เอกอร ย่อมมีสิทธิที่จะกล่าวอ้างหรือมีคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ซึ่งความเป็นโมฆะของการสมรสย่อมมีผลไปถึงวันที่ พ.อ.เอกอร จดทะเบียนสมรสกับ พ.ต. จำรัส   ฉะนั้นในขณะที่ พ.อ. หญิง เอกอร จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย(พลเอก นิพนธ์)จึงถือไม่ได้ว่าในขณะนั้น พ.อ. หญิง เอกอร ยังมีคู่สมรสอยู่ การสมรสระหว่าง พ.อ. หญิง เอกอร กับผู้ตาย(พลเอก นิพนธ์) จึงไม่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 เมื่อจำเลย(นางจรีรัตน์) จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย(พลเอก นิพนธ์) ในปี 2533 โดยโจทก์(พ.อ.หญิง เอกอร) กับผู้ตาย(พลเอก นิพนธ์) ยังเป็นคู่สมรสกันอยู่การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6331 - 6332/2556

             โจทก์สมรสกับพันตรี จ. ในขณะที่พันตรี จ. มีคู่สมรสอยู่แล้วเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งรวมถึงโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะกล่าวอ้างหรือมีคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1497 ซึ่งความเป็นโมฆะของการสมรสย่อมมีผลไปถึงวันที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับพันตรี จ. หาใช่มีผลนับตั้งแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนหย่าในปี 2532 ไม่ ฉะนั้นในขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายจึงถือไม่ได้ว่าในขณะนั้นโจทก์ยังมีคู่สมรสอยู่ การสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตาย จึงไม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 1452 เมื่อจำเลยจดทะเบียนสมรสกับผู้ตายในปี 2533 โดยโจทก์กับผู้ตายยังเป็นคู่สมรสกันอยู่การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495

  การร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 มิใช่เรื่องอายุความในกรณีใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ที่ให้มีกำหนด 10 ปี ผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะเมื่อใดก็ได้

 สำนวนแรก โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตาย เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2533 เป็นโมฆะ

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

สำนวนที่สอง โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้พิพากษาว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2529 ณ สำนักงานเขตบางกอกใหญ่เป็นโมฆะ

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยให้คงเรียกโจทก์สำนวนแรกซึ่งเป็นจำเลยสำนวนที่สองว่า โจทก์ เรียกจำเลยสำนวนแรกซึ่งเป็นโจทก์สำนวนที่สองว่า จำเลย

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การสมรสระหว่างพลเอกนิพนธ์ กับพันเอกหญิงเอกอรหรือเสาวนีย์ (โจทก์) ที่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2529 ณ สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ เป็นโมฆะ ให้แจ้งนายทะเบียนสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เพื่อบันทึกความเป็นโมฆะไว้ในทะเบียนสมรสเมื่อคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสระหว่างพลเอกนิพนธ์ กับพันเอกหญิงเอกอร ถึงที่สุด ให้ยกฟ้องโจทก์สำนวนแรก ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองสำนวนให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลย (โจทก์ในสำนวนที่สอง) ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ทั้งสองสำนวนให้เป็นพับ

โจทก์และจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามประเด็นที่จำเลยฎีกาว่า การสมรสของโจทก์กับผู้ตายเป็นโมฆะเพราะเป็นการสมรสซ้อนหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า แม้โจทก์จะจดทะเบียนหย่ากับพันตรีจำรัสปี 2532 ก็ไม่ทำให้การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายในปี 2529 มีผลสมบูรณ์และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การสมรสระหว่างโจทก์กับพันตรีจำรัสเป็นโมฆะไม่ชอบเพราะมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้นนั้น เห็นว่า ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยกเอาข้ออ้างตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับพันตรีจำรัสเป็นโมฆะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวกับคำให้การและคำฟ้องของจำเลยในสำนวนคดีหลังซึ่งเป็นข้อที่โจทก์ไม่สามารถยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นได้และเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวพันกับปัญหาข้อกฎหมายว่า การสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และการสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายเป็นการสมรสซ้อนหรือไม่ นับว่าเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ต้องพิจารณาต่อไปว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายเป็นโมฆะได้หรือไม่ ปัญหาดังกล่าวแม้เป็นข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่ก็ต้องด้วยบทยกเว้นที่ให้คู่ความที่เกี่ยวข้องมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างเป็นปัญหาในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมาตรา 6 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยให้จึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์สมรสกับพันตรีจำรัสในขณะที่พันตรีจำรัสมีคู่สมรสอยู่แล้วการสมรสระหว่างพันตรีจำรัสกับโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 1495 ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งรวมถึงโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะกล่าวอ้างหรือจะมีคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497 แม้ในคดีนี้จำเลยฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายเป็นโมฆะ โดยอ้างว่าโจทก์เป็นคู่สมรสกับพันตรีจำรัสในขณะจดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แต่โจทก์ให้การว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับพันตรีจำรัสเป็นโมฆะเนื่องจากพันตรีจำรัสจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นและยังมิได้จดทะเบียนหย่า ย่อมมีผลถึงการกล่าวอ้างถึงการเป็นโมฆะของการสมรสระหว่างโจทก์กับพันตรีจำรัส ซึ่งคดีนี้ย่อมมีประเด็นว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับพันตรีจำรัสเป็นโมฆะหรือไม่ เพื่อจะนำไปสู่การวินิจฉัยว่า การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายเป็นโมฆะหรือไม่ ตามคำฟ้องของโจทก์เมื่อพิเคราะห์ถึงพยานหลักฐานในสำนวนคดีนี้และข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติข้างต้น ได้ความว่าในขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับพันตรีจำรัสนั้น พันตรีจำรัสมีคู่สมรสเป็นหญิงอื่นอยู่แล้วการสมรสระหว่างโจทก์กับพันตรีจำรัสย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ประกอบมาตรา 1495 ซึ่งความเป็นโมฆะของการสมรสดังกล่าวย่อมมีผลไปถึงวันที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับพันตรีจำรัส หาใช่มีผลนับแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนหย่ากับพันตรีจำรัสในปี 2532 ไม่ ฉะนั้นในขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายจึงถือไม่ได้ว่าในขณะนั้นโจทก์ยังมีคู่สมรสอยู่ การสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายจึงไม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 1452 ย่อมมีผลสมบูรณ์และโจทก์มีฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยจดทะเบียนสมรสกับผู้ตายในปี 2533 โดยโจทก์กับผู้ตายยังเป็นคู่สมรสกันอยู่เช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นการไม่ชอบนั้นชอบหรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าจำเลยจดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย โจทก์เพิ่งมาทราบภายหลังเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วเพราะจำเลยมายื่นขอรับเงินทดแทนและเงินบำเหน็จตกทอดของผู้ตาย โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยโดยใช้สิทธิสุจริต เห็นว่า ในการร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะตาม มาตรา 1497 มิใช่เรื่องของอายุความในกรณีใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ที่ให้มีกำหนด 10 ปี ดังนั้นผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะเมื่อใดก็ได้ ประกอบกับได้ความตามคำฟ้องสอดคล้องกับที่จำเลยเบิกความรับว่า เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในปี 2551 จำเลยจึงมายื่นขอรับเงินทดแทนและเงินบำเหน็จตกทอดของผู้ตาย แต่โจทก์ยื่นคำคัดค้านที่จำเลยขอรับเงินทดแทนและเงินบำเหน็จตกทอดของผู้ตายโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบถึงการสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายเมื่อใดและการที่จำเลยไปใช้สิทธิในฐานะภริยาผู้ตายย่อมเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิและโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ชอบที่จะมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าการสมรสของจำเลยกับผู้ตายเป็นโมฆะในคดีนี้ได้ หาใช่เป็นการส่อแสดงว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ นอกจากนี้ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า โจทก์กับผู้ตายสมรสโดยไม่สุจริตเพราะขณะนั้นโจทก์มีคู่สมรสอยู่แล้ว แต่เมื่อผลการสมรสระหว่างพันตรีจำรัสกับโจทก์เป็นโมฆะและเสียเปล่ามาแต่ต้นย่อมทำให้การสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ได้สมรสกับผู้ตายโดยสุจริตหรือไม่เพราะเป็นกรณีที่จะใช้บังคับสำหรับการสมรสที่เป็นโมฆะและสิทธิของคู่สมรสดังกล่าวจะเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสหรือไม่ตาม มาตรา 1499 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่จะใช้บังคับเมื่อการสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายเป็นการสมรสซ้อนเท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยเหตุนี้มานั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น ส่วนฎีกาของโจทก์ข้ออื่นไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง

พิพากษาแก้เป็นว่า การสมรสระหว่างพลเอกนิพนธ์ (ผู้ตาย) กับนางสาวหรือนางจรีรัตน์หรือเรณุกา (จำเลย) ซึ่งจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2533 เป็นโมฆะ ให้แจ้งนายทะเบียนสำนักทะเบียนอำเภอเมืองนนทบุรีเพื่อบันทึกความเป็นโมฆะไว้ในทะเบียนสมรส ให้ยกฟ้องจำเลย (โจทก์สำนวนที่สอง) ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองสำนวนทั้งสามศาลให้เป็นพับ

 ฟ้องให้การสมรส(ซ้อน)เป็นโมฆะ, มิได้อยู่กินด้วยกันและมิได้ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู

โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้การสมรส(ซ้อน)ระหว่างจำเลยกับพลตำรวจตรีวัฒนาเป็นโมฆะ และให้โจทก์ในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดของพลตำรวจตรีวัฒนาแต่ผู้เดียว  -จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้อง  -ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การสมรสระหว่างพลตำรวจตรีวัฒนา บุนนาค กับจำเลยเป็นโมฆะ- จำเลยอุทธรณ์ - ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน


 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6051/2540

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติได้ในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2532 จำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับนายสากล ผู้ตาย ที่สำนักทะเบียนเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสากลตามกฎหมายของรัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่ โจทก์อ้างตนเองเบิกความว่าเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2514 โจทก์ได้จดทะเบียนสมรสกับนายสากลที่เมืองคลาร์ด รัฐเนววาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้มีการรับรองโดยเจ้าหน้าที่ของเมืองคลาร์ค รัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกาเจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ในรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นผู้รับรองสำเนาถูกต้อง ต่อมาได้มีการแปลเป็นภาษาไทยโดยศูนย์ภาษาและการแปลอาเซียนและเจ้าหน้าที่ฝ่ายนิติกรกระทรวงการต่างประเทศได้รับรองว่ามีการแปลถูกต้อง นอกจากนี้โจทก์ยังมีนายไพโรจน์ ซึ่งเป็นพยานรู้เห็นเหตุการณ์ในการที่โจทก์และนายสากลเข้าร่วมพิธีสมรส และเป็นพยานที่ระบุในใบสำคัญการสมรสว่าเป็นพยานด้วยเบิกความสนับสนุนว่าโจทก์และผู้ตายได้ทำการสมรสกันจริง ทั้งโจทก์มีใบสำคัญการสมรสเอกสารหมาย จ.1 (หรือ จ.12) จ.2 และคำแปลเอกสารหมาย จ.3 (หรือ จ.13) ประกอบซึ่งเอกสารดังกล่าวดังกล่าวเจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่ในรัฐแคลิฟอร์เนียรับรอง เชื่อได้ว่าใบสำคัญการสมรสเป็นเอกสารแท้จริงและถูกต้องทั้งข้อความในใบสำคัญการสมรสเอกสารหมาย จ.1 ระบุว่าเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักบ้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังว่าการสมรสระหว่างโจทก์และนายสากลผู้ตายเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเนวาดาประเทศสหรัฐอเมริกา และชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1459 วรรคหนึ่ง แล้ว ดังนั้นในขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับนายสากลตามกฎหมายไทยจึงเป็นการจดทะเบียนในขณะที่นายสากลมีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้วเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1496ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น




การสมรส การหมั้น

ร่วมประเวณีกับชายหรือหญิงคู่หมั้น
ผิดสัญญาไม่จดทะเบียนสมรส
สินสอดเป็นทรัพย์สินให้บิดามารดา ข้อแตกต่างและข้อเหมือนสินสอดและของหมั้น
ความยินยอมของบิดามารดาในการหมั้น
การบอกเลิกสัญญาหมั้น
ยินยอมเป็นสามีภริยากันต่อหน้านายทะเบียน
หลักเกณฑ์การหมั้นและเงื่อนไข อายุของคู่หมันฝ่าฝืนเป็นโมฆะ
ฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินฐานผิดสัญญาหมั้น
ของหมั้นและสินสอด, มิได้มีเจตนาสมรสกันตามกฎหมาย, สิทธิเรียกคืนของหมั้นและสินสอด
สิทธิเรียกค่าเสียหาย,ค่าทดแทน,โดยไม่มีการหมั้น, แบบของสัญญาหมั้น
แต่งงานแล้วไม่ยอมหลับนอนด้วย,เรียกสินสอดคืน
ขณะสู่ขอไม่มีการตกลงเรื่องจดทะเบียนสมรส
ผู้มีสิทธิฟ้องคดีเรียกค่าทดแทน
ค่าทดแทน | ผิดสัญญาหมั้น
การหมั้นและสิทธิเรียกค่าทดแทนในกรณีผิดสัญญาหมั้น
ผิดสัญญาหมั้นเรียกสินสอดคืน
เรียกค่าสินสอดคืนโดยไม่มีการหมั้น