ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ความยินยอมของบิดามารดาในการหมั้น

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

ความยินยอมของบิดามารดาในการหมั้น

 มาตรา 1436 ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคล ดังต่อไปนี้
(1) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา
(2) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจ ปกครอง หรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดย พฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้
(3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
(4) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม (1)(2) และ (3) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง

การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ 

มาตรา 1454 ผู้เยาว์จะทำการสมรสให้นำความใน มาตรา 1436 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 1455 การให้ความยินยอมให้ทำการสมรสจะกระทำได้แต่โดย
(1) ลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรส
(2) ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอมโดยระบุชื่อผู้จะสมรสทั้งสองฝ่าย และลงลายมือชื่อของผู้ให้ความยินยอม
(3) ถ้ามีเหตุจำเป็น จะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่าง น้อยสองคนก็ได้

ความยินยอมนั้น เมื่อให้แล้วถอนไม่ได้

 ขอให้ศาลอนุญาตให้ทำการสมรส

มาตรา 1456 ถ้าไม่มีผู้ที่มีอำนาจให้ความยินยอมตาม มาตรา 1454 หรือมีแต่ไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อยู่ในสภาพที่อาจให้ความ ยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมได้ ผู้เยาว์ อาจร้องขอต่อศาลเพื่ออนุญาตให้ทำการสมรส

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  716/2495 

การจดทะเบียนสมรสหรือไม่นั้นเป็นหน้าที่ของชายหญิงคู่สมรสเอง บิดามารดาของหญิงมีแต่จะให้ความยินยอมในกรณีจำเป็น ฉะนั้น เมื่อไม่ปรากฎว่าบิดามารดาของหญิงได้ขัดขวางมิให้บุตรสาวไปจดทะเบียนสมรสกับชาย หรือไม่ให้ความยินยอมอนุญาตแต่ประการใดแล้ว ชายจะฟ้องขอให้บิดามารดาหญิงใช้ค่าเสียหายแก่ตนในการที่ตนไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับหญิงไม่ได้ 

ผู้เยาว์ทำการหมั้นจะต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองด้วย

มาตรา 1436  ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา
(2) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้
(3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
(4) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม (1) (2) และ (3) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง
การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ

ในกรณีที่ผู้เยาว์จะทำการหมั้นนั้น มาตรา 1436 ได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ว่า ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้
(1) บิดาและมารดา  ในการณีที่ผู้เยาว์มีทั้งบิดาและมารดา เพราะบิดา และมารดาทั้งสองคนเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ จึงต้องได้รับความยินยอมจากทั้งสองคน
(2)  บิดาหรือมารดาเพียงคนเดียว  ในกรณีที่มารดาหรือบิดาอีกฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย หรือถูกถอนอำนาจปกครอง หรือไม่อยู่ในสภาพ หรือ ฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดา หรือบิดาได้ ผู้เยาว์ก็มีสิทธิทำการหมั้นโดยได้รับความยินยอมจากบิดาหรือมารดาที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวได้ กล่าวคือ

(ก) มารดา หรือบิดา ถึงแก่ความตาย หรือถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้ว บิดา หรือมารดาที่เหลืออยู่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์เพียงคนเดียวจึงมีอำนาจที่จะให้ความยินยอมให้ผู้เยาว์ทำการหมั้นโดยลำพังคนเดียว
(ข)  มารดา หรือบิดา ไม่อยู่ในสภาพ หรือฐานะที่อาจให้ความยินยอมได้ กรณีการไม่อยู่ในสภาพ หรือฐานะที่อาจให้ความยินยอมได้เป็นกรณีเกี่ยวกับการให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อยู่กับบิดา หรือมารดา แต่เพียงฝ่ายเดียวตาม มาตรา 1566 วรรคสอง คือ การที่มารดา หรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับ บิดา หรือมารดา หรือบิดา และมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้ตกลงกันได้ว่าให้ใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียว นอกจากนี้ การที่มารดา หรือบิดา เป็นคนวิกลจริตจนไม่สามารถให้ความยินยอมให้บุตรผู้เยาว์ทำการหมั้นได้ หรือเจ็บป่วยเข้าขั้นโคม่าสลบไสลไม่ได้สติสรัง เหล่านี้ก็ถือได้ว่าไม่อยู่ในสภาพที่อาจให้ความยินยอมได้เช่นเดียวกัน กรณีเช่นนี้บุตรผู้เยาว์ขอความยินยอมแต่เฉพาะบิดา หรือมารดาที่เป็นปกติอยู่แต่ผู้เดียวให้ตนทำการหมั้นได้
(ค) โดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดา หรือบิดาได้ พฤติการ์ที่ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดา หรือบิดาให้ตนทำการหมั้นได้นั้นหมายถึง กรณีที่มารดาหรือบิดาอาจจะยังมีชีวิตอยู่และอยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอมได้ แต่มารดา หรือบิดานั้นได้หายไปจากถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครทราบว่าไปอยู่ ณ ที่ใด อันเป็นการไม่แน่นอนว่ายังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว หรือเดินทางไปต่างประเทศแล้วไม่ยอมส่งข่าวคราวกลับมาเลย เช่นนี้ บุตรผู้เยาว์ก็ขอความยินยอมจากบิดา หรือมารดาที่ยังเหลืออยู่เพียงคนเดียวให้ตนทำการหมั้นได้

การที่ผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากบิดา หรือมารดาเพียงคนเดียวให้ตนทำการหมั้นได้นี้เป็นทำนองเดียวกับการที่ผู้เยาว์มาร้องขอต่อศาลเพื่ออนุญาตให้ตนทำการสมรสเพราะไม่มีบิดามารดาให้ความยินยอมตาม มาตรา 1456 สำหรับกรณีที่บิดามารดา แยกกันอยู่ไม่ว่าจะตกลงแยกกันอยู่ระหว่างกันเอง หรือศาลมีคำสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่เป็นการชั่วคราวก็ตาม เนื่องจากบิดาและมารดายังมิได้หย่าขาดจากกัน  บิดา และมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อยู่ ฉะนั้น หากผู้เยาว์จะทำการหมั้นก็จะต้องได้รับความยินยอจากบิดาและมารดาทั้งสองคน จะได้รับความยินยอมแต่เฉพาะบิดา หรือมารดาที่ตนอยู่ด้วยเพียงคนเดียวไม่ได้

(3)  ผู้รับบุตรบุญธรรม ในการ๊ที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม เพราะบิดา มารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองผู้เยาว์ไปตั้งแต่ที่ได้มีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1598/28 ฉกะนั้น เมื่อบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์จะทำการหมั้นจึงต้องได้รับความยินยอมของผู้รับบุตรบุญธรรมแต่เพียงผู้เดียว
(4)  ผู้ปกครอง  ในกรณีที่ไม่มีบิดามารดา หรือผู้รับบุตรบุญธรรม หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้ว เพราะเมื่อบิดาและมารดา ถึงแก่ความตายไปในขณะที่บุตรยังเป็นผู้เยาว์ หรือบิดาและมารดาประพฤติชั่วร้ายต่อบุตรผู้เยาว์จนถูกถอนอำนาจปกครองจะต้องมีการตั้งผู้ปกครองโดยคำสั่งศาล ผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ การที่ผู้เยาว์จะทำการหมั้นจึงต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง บิดามารดาที่ถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้วนั้นไม่มีสิทธิมาให้ความยินยอมอีกต่อไปแล้ว ฉะนั้น ผู้เยาว์ที่บิดา และมารดาถึงแก่ความตายไปแล้วทั้งสองคนหากจะทำการหมั้นจะต้องมีการตั้งผู้ปกครองเสียก่อน  เมื่อมีผู้ปกครองแล้วผู้เยาว์จึงมาขอความยินยอมจากผู้ปกครองให้ทำการหมั้น ผู้เยาว์เช่นว่านี้จะมาขออนุญาตศาลให้ตนทำการหมั้นไม่ได้เพราะกฎหมายไม่ได้มีบทบัญญัติไว้ จะอนุโลมใช้ มาตรา 1456 ในกรณีขออนุญาตศาลให้ทำการสมรสไม่ได้

สำหรับกรณีที่บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงผู้เดียว บุตรผู้เยาว์หากจะทำการหมั้นจึงต้องได้รับความยินยอมแต่เฉพาะจากมารดาเพียงคนเดียวเท่านั้น

การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองดังกล่าวเป็นโมฆียะ ซึ่งหมายความว่าผู้เยาว์มีสิทธิที่จะบอกล้างการหมั้นนั้นได้ตาม มาตรา 175 (1) แม้ในระหว่างเป็นผู้เยาว์ก็บอกล้างได้ ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อบอกล้างแล้วก็ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่แรกเริ่ม ผู้เยาว์อาจให้สัตยาบันในสัญญาหมั้นนั้นได้ เมื่อตนได้บรรลุนิติภาวะแล้ว ตาม มาตรา 177 สำหรับบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือ ผู้ปกครอง ก็อาจจะให้สัตยาบันสัญญาหมั้นที่เป็นโมฆียะซึ่งทำให้การหมั้นนั้นสมบูรณ์มาแต่แรกเริ่มได้ตาม มาตรา 177 แต่ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในเรื่องการให้ความยินยอม กล่าวคือ ถ้ากรณีที่จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดาทั้งสองคนนั้น การให้สัตยาบันก็ต้องให้ทั้งสองคนเป็นต้น แต่สำหรับเรื่องบอกล้างสัญญาหมั้นที่เป็นโมฆียะนั้นเป็นไปตาม มาตรา 175 (1) คือบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองคนใดคนหนึ่งมีสิทธิบอกล้างการหมั้นที่เป็นโมฆียะนี้ได้โดยลำพัง

 




การสมรส การหมั้น

หลักเกณฑ์การหมั้นและเงื่อนไข อายุของคู่หมันฝ่าฝืนเป็นโมฆะ
การบอกเลิกสัญญาหมั้น
ร่วมประเวณีกับชายหรือหญิงคู่หมั้น
ผิดสัญญาไม่จดทะเบียนสมรส
สินสอดเป็นทรัพย์สินให้บิดามารดา ข้อแตกต่างและข้อเหมือนสินสอดและของหมั้น
จดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ความเป็นโมฆะมีผลย้อนหลัง
ยินยอมเป็นสามีภริยากันต่อหน้านายทะเบียน
ฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินฐานผิดสัญญาหมั้น
ของหมั้นและสินสอด, มิได้มีเจตนาสมรสกันตามกฎหมาย, สิทธิเรียกคืนของหมั้นและสินสอด
สิทธิเรียกค่าเสียหาย,ค่าทดแทน,โดยไม่มีการหมั้น, แบบของสัญญาหมั้น
แต่งงานแล้วไม่ยอมหลับนอนด้วย,เรียกสินสอดคืน
ขณะสู่ขอไม่มีการตกลงเรื่องจดทะเบียนสมรส
ผู้มีสิทธิฟ้องคดีเรียกค่าทดแทน
ค่าทดแทน | ผิดสัญญาหมั้น
การหมั้นและสิทธิเรียกค่าทดแทนในกรณีผิดสัญญาหมั้น
ผิดสัญญาหมั้นเรียกสินสอดคืน
เรียกค่าสินสอดคืนโดยไม่มีการหมั้น