

การหมั้นและสิทธิเรียกค่าทดแทนในกรณีผิดสัญญาหมั้น การหมั้นและสิทธิเรียกค่าทดแทนในกรณีผิดสัญญาหมั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2532 ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติว่า ในกรณีที่ไม่มีการหมั้น หากฝ่ายใดผิดสัญญาจะสมรส ให้ฝ่ายนั้นรับผิดใช้ค่าทดแทนอย่างเช่นกรณีที่มีการหมั้น ฉะนั้นเมื่อโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการหมั้น จึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรอง แม้จำเลยไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้. โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยตกลงจะทำการสมรสกัน กำหนดพิธีมงคลสมรสในวันที่ 16 พฤษภาคม 2525 และจะจดทะเบียนสมรสกันวันที่17 พฤษภาคม 2525 จำเลยตกลงให้โจทก์เป็นฝ่ายเตรียมจัดพิธีมงคลสมรสแต่ฝ่ายเดียว และจำเลยมอบเงินช่วยเหลือในการเตรียมจัดงานสมรสเป็นเงิน 11,000 บาท โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเลี้ยง หนังสือเชิญแขก ค่าของชำร่วย ค่าเครื่องแต่งกาย เครื่องตกแต่ง และเบ็ดเตล็ดรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 90,000 บาท ครั้นถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2525หลังจากเสร็จพิธีมงคลสมรสแล้ว จำเลยได้รับโจทก์ไปอยู่กินฉันสามีภริยาที่บ้านจำเลยวันรุ่งขึ้น โจทก์ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนสมรส แต่จำเลยขอผัดผ่อน โจทก์หลงเชื่อและอยู่กินกับจำเลยเรื่อยมาจนกระทั่งเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2525 จำเลยปฏิเสธไม่ยอมอยู่กินกับโจทก์ฉันสามีภริยาและไม่ยอมจดทะเบียนสมรส อีกทั้งได้ไล่โจทก์ออกจากบ้านโดยไม่มีสาเหตุ การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายสูญเสียพรหมจรรย์ ได้รับความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง โจทก์ขอเรียกค่าเสียหายจากจำเลย คือ ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส 90,000บาท และค่าเสียหายเกี่ยวกับร่างกายและชื่อเสียงเป็นเงิน 400,000 บาทโจทก์เรียกร้องแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายรวม 490,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพราะการตกลงสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่มีการหมั้น โจทก์สมัครใจอยู่กินฉันสามีภริยาและสูญเสียความเป็นสาวให้จำเลยด้วยความเต็มใจ มิใช่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลย ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์โดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ฎีกาโดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยหรือไม่ พิเคราะห์แล้ว คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ยินยอมสมรสกับจำเลย จำเลยให้โจทก์เป็นฝ่ายเตรียมจัดพิธีมงคลสมรสแต่ฝ่ายเดียวและจำเลยได้มอบเงินช่วยเหลือในการเตรียมจัดงานสมรสเป็นเงิน 11,000 บาท โจทก์และครอบครัวจึงได้เตรียมจัดพิธีมงคลสมรสขึ้น ในการเตรียมการสมรสฝ่ายโจทก์ได้เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเลี้ยง เชิญแขกผู้มีเกียรติ ค่าอาหารสำหรับเลี้ยงแขกในวันสมรส ค่าของชำร่วย ค่าใช้จ่ายของโจทก์เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย เครื่องตกแต่ง และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 90,000 บาท ที่โจทก์ฎีกาว่า เงินจำนวน 11,000 บาทที่จำเลยมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นของหมั้น ศาลฎีกาเห็นว่า คำฟ้องเดิมกับฎีกาของโจทก์ขัดแย้งกัน ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นและไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปรากฏตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยว่าโจทก์กับจำเลยร่วมกันจัดพิธีมงคลสมรสขึ้น เสร็จพิธีแล้วจำเลยพาโจทก์ไปอยู่บ้านของจำเลยฉันสามีภริยาและจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ คดีจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงจะสมรสกันโดยไม่มีการหมั้น เห็นว่าการเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษตามมาตรา 1439 ว่า "เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่มีของหมั้น ถ้าฝ่ายชายผิดสัญญาหมั้นให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง ถ้าฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย" และไม่มีบทมาตราใดบัญญัติว่าในกรณีที่ไม่มีการหมั้น หากฝ่ายใดผิดสัญญาจะสมรสให้ฝ่ายนั้นรับผิดใช้ค่าทดแทนอย่างเช่นกรณีที่มีการหมั้น ดังนั้น การตกลงกันว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการหมั้น จึงนอกขอบเขตที่กฎหมายรับรองเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกค่าทดแทนจากจำเลย ตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 1971/2517 ระหว่างนางลาน ตระกูลศิริ โจทก์ นายบุญสาย ยอดเซียน จำเลย ส่วนคำพิพากษาฎีกาที่ 1198/2492 และคำพิพากษาฎีกาที่ 700/2498 ที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอิง ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้การที่โจทก์ต้องใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส โจทก์ต้องเสียพรหมจารีให้แก่จำเลยและอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยากับจำเลย โดยจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์เกิดจากความสมัครใจของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จะถือว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์" พิพากษายืน จำเลยไม่แก้ฎีกาจึงไม่กำหนดค่าทนายความให้ (5) การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ (6) ถ้ามีข้อตกลงกันว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้น ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1438 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า"การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ ถ้าได้มีข้อตกลงกันไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้น ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ" (7) ข้อนี้ขอให้จดจำเป็นพิเศษ เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย ตามมาตรา 1439 (8) ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ตามมาตรา 1440 ดังต่อไปนี้ (1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายและหญิงนั้น (2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดา หรือบุคคลที่กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดา ได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร (3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส มาตรา 1440 จะเกี่ยวข้องกับมรดก ก็คือ มาตรา 1440 (2) ได้แก่ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดา หรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควรทั้งนี้ เพราะมาตรา 1447 (2) ไม่อาจโอนกันได้และไม่ตกทอดไปถึงทายาท เว้นแต่สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้เป็นหนังสือหรือผู้เสียหายได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว ปัญหาจึงมีว่า ความหมายของมาตรา 1440(2) ที่ว่า ทดแทนความเสียหาย เนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร นั้นมีความหมายอย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2532 เป็นการวินิจฉัยตาม มาตรา 1439 และ 1440 ซึ่งวินิจฉัยว่า ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติว่า ในกรณีที่ไม่มีการหมั้น หากฝ่ายใดผิดสัญญาจะสมรส ให้ฝ่ายนั้นรับผิดใช้ค่าทดแทนอย่างในกรณีที่มีการหมั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยตกลงกันว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการหมั้น จึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรอง แม้จำเลยไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ การรที่ชายและหญิงตกลงกันว่าจะทำการสมรสหรือจดทะเบียนสมรสหรือไม่มีการหมั้นหากต่อมาภายหลังฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง อีกฝ่ายหนึ่งจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ เพราะมาตรา 1439 วางหลักให้เรียกค่าทดแทนได้เฉพาะแต่เมื่อมี การหมั้นกันแล้วเท่านั้น เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2517 , 3865/2526 เป็นต้น คำพิพากษาศาลฎีกา 1971/2517 การเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เรียกได้เฉพาะกรณีที่มีการหมั้นเท่านั้นการที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการหมั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงโจทก์จะเรียกค่าทดแทนจากจำเลยหาได้ไม่ โจทก์จำเลยสมรสกันตามประเพณี และตกลงกันว่าหากจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้วจำเลยจะไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้ว จำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น การที่โจทก์ต้องสูญเสียความเป็นสาวและอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยโดยไม่จดทะเบียนสมรสกัน เกิดจากความสมัครใจของโจทก์มิใช่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย การที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ก็มิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ หรือเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421 จำเลยไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยได้ทำพิธีสมรสกันตามจารีตประเพณีหลังจากเสร็จพิธีสมรสแล้วโจทก์ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนสมรส จำเลยบอกว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของสถาบันการศึกษาและขอผัดไปจนกว่าจำเลยจะสำเร็จการศึกษา โจทก์ยินยอมตามที่จำเลยขอร้อง โจทก์จำเลยต่างอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาตลอดมา จำเลยสำเร็จการศึกษามา ๒ ปีโจทก์เตือนจำเลยไปจดทะเบียนสมรส จำเลยเพิกเฉย และขับไล่โจทก์มิให้อยู่ร่วมกับจำเลย กับไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ อันเป็นการจงใจละเมิดผิดสัญญา ทำให้โจทก์เสียหายเนื่องจากต้องสูญเสียความเป็นสาวชื่อเสียงเกียรติคุณ และ วงศ์ตระกูล คิดเป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท ขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าโจทก์จำเลยได้สมรสกันตามจารีตประเพณีแล้วแต่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรส ให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย ๒๐,๐๐๐ บาทพร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วสั่งว่า ตามคำบรรยายฟ้องเป็นเรื่องโจทก์จำเลยสมัครใจสมรสกัน มิใช่เรื่องจำเลยกระทำละเมิด ทั้งข้อหาผิดสัญญาสมรสมิใช่เรื่องผิดสัญญาหมั้น หาอาจเรียกค่าเสียหายทดแทนแก่กันได้ไม่ และศาลจะพิพากษาตามคำขอที่ให้แสดงว่าโจทก์จำเลยได้สมรสกันตามจารีตประเพณีแล้ว จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสก็ไม่ได้ พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่าหากจำเลยสำเร็จการศึกษาจำเลยจะไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้วไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น เห็นว่าการเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษในบรรพ ๕ คือมาตรา ๑๔๓๘ บัญญัติว่าเมื่อมีการหมั้น ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนและไม่มีบทมาตราใดบัญญัติว่าในกรณีที่ไม่มีการหมั้น หากฝ่ายใดผิดสัญญาสมรส ให้ฝ่ายนั้นรับผิดใช้ค่าทดแทนอย่างเช่นกรณีที่มีการหมั้น การตกลงกันว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการหมั้น จึงนอกขอบเขตที่กฎหมายรับรองเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ก็เรียกค่าทดแทนจากจำเลยไม่ได้ตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ ๕๒๕/๒๕๐๙ การที่โจทก์สูญเสียความเป็นสาวและอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยโดยไม่จดทะเบียนสมรสเกิดจากความสมัครใจของโจทก์ มิใช่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยการที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ก็มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ หรือเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐, ๔๒๑ จำเลยไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ พิพากษายืน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2526 สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยมีสาระสำคัญว่า ให้จำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หากจำเลยไม่ยอมจดถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องใช้ค่าเสียหายนั้น เป็นสัญญาที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุน เพราะไม่ใช่สัญญาหมั้น จึงไม่อาจบังคับได้ คดีไม่จำเป็นจะต้องสืบพยานกันต่อไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1439 ถ้าฝ่ายใด ผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน ฉะนั้นการตกลงจะสมรสโดย ไม่มีการหมั้น จึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรองไว้ และจะนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยนิติกรรมมาใช้ในกรณีเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติว่าด้วยการหมั้นและการสมรส ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ โดยเฉพาะแล้ว ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วสั่งว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยอ้างอาศัยสัญญาอันมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อกฎหมาย ทั้งมิใช่สัญญาหมั้น จึงไม่อาจบังคับกันได้ตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "โจทก์ฎีกาว่า เหตุที่จำเลยจะทำสัญญาฉบับพิพาทกับโจทก์ก็เนื่องจากจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยบุกรุกเข้าไปในบ้านและทำมิดีมิร้ายต่อโจทก์ จำเลยเกรงว่าอาจจะได้รับโทษทางอาญา จำเลยกับโจทก์จึงได้ทำสัญญากันขึ้นตามสำเนาท้ายฟ้องด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยมิได้ฟังพยานหลักฐานฝ่ายโจทก์คือให้โจทก์ได้สืบพยานก่อนนั้น เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีที่ยื่นคำฟ้องต่อศาลนั้น ศาลไม่จำเป็นต้องสืบพยานทุกคดีไปหากศาลเห็นว่ารูปคดีพอวินิจฉัยได้โดยจำต้องสืบพยานก่อนแล้ว ศาลก็มีอำนาจสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยคดีไปได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่อย่างใด สำหรับคดีนี้สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยมีสาระสำคัญว่า ให้จำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หากจำเลยไม่ยอมจดถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องใช้ค่าเสียหายนั้น เป็นสัญญาที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุนเพราะไม่ใช่สัญญาหมั้นจึงไม่อาจบังคับได้ คดีจึงไม่จำเป็นจะต้องสืบพยานกันต่อไปดังที่โจทก์ฎีกาขึ้นมา และที่โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์หยิบยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 มาปรับแก่คดีไม่ถูกต้องเพราะตามเจตนาของคู่กรณีสัญญานี้สามารถแบ่งแยกได้เป็นส่วน ๆ ส่วนใดที่ไม่สมบูรณ์ก็เป็นโมฆะไป ส่วนใดที่สมบูรณ์ก็บังคับได้โดยสมบูรณ์ในฐานะที่เป็นนิติกรรมอย่างอื่น สัญญาท้ายฟ้องในเรื่องค่าเสียหายเป็นสัญญาที่สมบูรณ์และบังคับกันได้ ศาลฎีกาเห็นว่า การเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 1439 แล้วความว่า เมื่อมีการหมั้น ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าทดแทนและไม่มีมาตราใดบัญญัติว่าในกรณีที่ไม่มีการหมั้น หากฝ่ายใดผิดสัญญาสมรสให้ฝ่ายนั้นรับผิดใช้ ค่าทดแทนอย่างเช่นกรณีการหมั้น ฉะนั้น การตกลงจะสมรสโดยไม่มีการหมั้นจึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรองไว้และจะนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยนิติกรรมมาใช้ในกรณีเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติว่าด้วยการหมั้นและการสมรส ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่สืบพยานนั้นชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น" พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ อย่างไรก็ตาม ได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2531 วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ผู้เยาว์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำชำเราโดยความสมัครใจซึ่งแม้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อบิดาโจทก์ทราบเรื่องได้ไปร้องเรียนต่อกำนันท้องที่ จำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หากผิดสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นเงิน 50,000 บาท และจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของ จำเลยที่ 1 ด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แม้มิใช่เป็นกรณีผิดสัญญาหมั้น โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ ขอให้สังเกตว่า คำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี่ เป็นการเรียกค่าเสียหาย ตามที่กำหนดจำนวนไว้แน่นอนในสัญญาโดยตรง อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาที่ทำกันไว้โดยเฉพาะเจาะจงไม่ใชเป็นการเรียก ค่าทดแทน ความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียง ค่าทดแทน ความเสียหายเนื่องในการเตรียมการสมรส ฯ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1440 ซึ่งจะเรียกได้เฉพาะเมื่อมีการหมั้นกันเท่านั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2512 วินิจฉัยว่า ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูกันในวันทำพิธีแต่งงาน ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส อันจะเรียกค่าทดแทนได้ ค่าเลี้ยงดูในวันทำพิธีแต่งงานไม่ใช่เป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสอันจะเรียกค่าทดแทนกันได้ (เทียบฎีกาที่1166/2487). โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดฐานผิดสัญญาหมั้น โดยจำเลยที่ ๒กับญาติผู้ใหญ่ได้มาสู่ขอโจทก์ที่ ๒ ต่อโจทก์ที่ ๑ เพื่อให้เป็นภริยาจำเลยที่ ๑ เมื่อเป็นที่ตกลงกันแล้วได้ทำพิธีหมั้นด้วยแหวน๑ วง แต่ครั้นแล้วจำเลยที่ ๑ ไม่ไปสมรสตามกำหนด จำเลยที่ ๒ในฐานะเจ้าภาพฝ่ายชายยอมรับผิดและขอร้องให้กำหนดวันแต่งงานใหม่อีกครั้ง แต่แล้วจำเลยที่ ๑ ก็ไม่ไปสมรสตามกำหนดอีก ทำให้โจทก์เสียหายเพราะได้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับเลี้ยงแขกในวันสมรสรวม ๒ ครั้งเป็นเงิน ๒,๔๙๘.๗๕ บาท ค่าเสื้อผ้าแต่งตัวของโจทก์ที่ ๒ และการผิดสัญญานี้ทำให้โจทก์ที่ ๒ ได้รับความอับอายเสียชื่อเสียง ขอเรียกค่าทดแทนในส่วนนี้ ๓,๐๐๐ บาท ขอให้จำเลยร่วมกันชำระค่าเสียหายทั้งหมดนี้ จำเลยที่ ๑ ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ ๒ ต่อสู้ว่าไม่เคยเกี่ยวข้องสู่ขอโจทก์หรือนัดแต่งงานไม่เคยทราบความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ที่ ๒ และจำเลยที่ ๑ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายเกี่ยวกับการจัดอาหารเตรียมการสมรสสองครั้งเป็นเงิน๒,๔๙๘.๗๕ บาท ค่าเสียชื่อเสียง ๓,๐๐๐ บาท และค่าเสื้อผ้าชุดแต่งงาน ๑๐๐ บาทแก่โจทก์ จำเลยที่ ๒ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยที่ ๒ เป็นเพียงผู้ช่วยเหลือจำเลยที่ ๑ในการสู่ขอและหมั้นไม่ต้องรับผิดในการที่จำเลยที่ ๑ ผิดสัญญาหมั้นไม่มาแต่งงานนัดแรก ส่วนครั้งหลังจำเลยที่ ๒ ได้ยินยอมจะชดใช้ให้จึงต้องรับผิด พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ ๒ ร่วมกับจำเลยที่ ๑ใช้ค่าเสียหายในจำนวนเงิน ๓๐๐ บาทแก่โจทก์ที่ ๑ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามศาลชั้นต้น โจทก์ทั้งสองฎีกา ศาลฎีกาฟังพฤติการณ์ที่จำเลยที่ ๒ เป็นผู้สู่ขอโจทก์ที่ ๒ให้จำเลยที่ ๑ ว่ามีผลเท่ากับจำเลยที่ ๒ สัญญาจะจัดการให้จำเลยที่ ๑ ทำการสมรสอันจัดว่าเป็นคู่สัญญาหมั้นในการนี้จึงต้องร่วมรับผิดในการผิดสัญญา และได้วินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายซื้อเครื่องบริโภคเลี้ยงแขกในวันสมรสซึ่งคงมีมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะในวันแต่งงานครั้งแรกเท่านั้น สำหรับค่าเสียหายในรายการนี้ ศาลฎีกาเห็นว่าค่าเลี้ยงดูในวันทำพิธีแต่งงานไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสอันจะเรียกค่าทดแทนกันได้ ดังคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๖๖/๒๔๘๗ ส่วนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเสียชื่อเสียงและค่าเครื่องแต่งตัวโจทก์ที่ ๒ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจกำหนดมาแล้วนั้นเห็นว่าชอบแล้ว พิพากษาแก้ว่านอกจากค่าเลี้ยงดูแขก ๓๐๐ บาทแล้ว ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสื้อผ้าชุดแต่งงาน ๑๐๐ บาทแก่โจทก์และค่าทดแทนแก่โจทก์ที่ ๒ ที่ต้องเสียชื่อเสียง ๓,๐๐๐ บาทนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2538 เป็นการวินิจฉัยตามมาตรา 1437, 1439, และ 1440 ซึ่งวินิจฉัยว่า การที่หญิงหมั้นกับชายโดยชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อแต่งงานกันตามประเพณีแล้ว หญิงชวนชายไปจดทะเบียนสมรสหลายครั้ง หญิงย่อมต้องการอยู่กินกับชายโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่บิดามารดาและพี่น้องชายนั้น ไล่หญิงออกจากบ้าน หลังจากนั้นชายก็มิได้กระทำการใดเพื่อให้หญิงกลับมาอยู่กินฉันสามี ภริยา ชายนั้นจึงผิดสัญญาหมั้น หญิงและชายต่างมีฐานะดี ในการจัดงานเลี้ยงแต่งงานมีการเชิญแขกประมาณ 600 คน และ เลี้ยงโต๊ะจีน การที่หญิงซื้อชุดแต่งงานเพื่อเข้าพิธีจำนวน 4 ชุด เป็น 28,000 บาท เป็นการใช้จ่ายอันสมควรในการเตรียมการสมรสเรียกค่าทดแทนได้ หญิงซื้อผ้ารับไหว้ เพื่อให้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายชาย ตามประเพณี มิใช่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส อันจะพึงเรียกค่าทดแทนได้ การที่หญิงหมั้นกับชายโดยชอบด้วยกฎหมายและเมื่อแต่งงานตามประเพณีแล้วหญิงชวนชายไปจดทะเบียนสมรสหลายครั้งหญิงย่อมต้องการอยู่กินกับชายโดยชอบด้วยกฎหมายการที่บิดามารดาและพี่ของชายนั้นไล่หญิงออกจากบ้านหลังจากนั้นชายก็มิได้กระทำการใดเพื่อให้หญิงกลับมาอยู่กินฉันสามีภริยาชายนั้นจึงผิดสัญญาหมั้น หญิงและชายต่างมีฐานะดีในการจัดงานเลี้ยงแต่งงานมีการเชิญแขกประมาณ600คนและเลี้ยงโต๊ะจีนการที่หญิงซื้อ ชุดแต่งงานเพื่อเข้าพิธีจำนวน4ชุดเป็นเงิน28,000บาทเป็นการใช้จ่ายอันสมควรในการเตรียมการสมรสเรียกค่าทดแทนได้ หญิงซื้อ ผ้ารับไหว้เพื่อให้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายชายตามประเพณีมิใช่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสอันจะเรียกค่าทดแทนได้ โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลย ที่ 1 เป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับ จำเลย ที่ 2 โดย เป็นบุตรของ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 จำเลย ทั้ง สี่ร่วมกันมาขอหมั้นโจทก์ต่อบิดามารดาและนาย เทอดศักดิ์ ปฏิภาณวัฒน์ พี่ชายโจทก์เพื่อให้ทำการสมรสกับ จำเลย ที่ 1 โดยมอบเงินให้แก่บิดา มารดาโจทก์เป็นสินสอดให้ทรัพย์สินรวมเป็นเงิน 107,960 บาทแก่โจทก์เป็นของหมั้นเพื่อเป็นประกันว่าจะสมรสและจดทะเบียนส่วนโจทก์ได้มอบแหวนเพชร 1วง ราคา 25,000 บาท แก่ จำเลย ที่ 1ตามประเพณีการรับหมั้นและใช้จ่า เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยซื้อชุดแต่งงานจำนวน 4 ชุดเป็น เงิน 28,200 บาท ผ้ารับไหว้จำนวน 30 ชุดเป็น เงิน 5,307.25 บาท นอกจาก นี้ โจทก์ได้ลาออกจากการประกอบอาชีพที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปฏิภาณเป็นเหตุให้ขาดรายได้เกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้แต่เมื่อหลังจากทำ พิธี แต่งงาน ตาม ประเพณี ใน วันนั้นแล้ว จำเลย ทั้ง สี่ ผิดสัญญา หมั้น โดย จำเลย ที่ 1 ไม่จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ทั้งได้ร่วมกันขับไล่โจทก์ออกจากบ้านที่พักอาศัยเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงและในการไปอยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 1 โจทก์ได้นำของหมั้น ตลอดจนสินส่วนตัวติดตัวไปที่บ้านของจำเลยทั้งสี่ด้วยแต่ระหว่างอยู่กินกับ จำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันหลอกลวงโจทก์ให้ถอนเงินจากธนาคารและยึดทรัพย์สินกับเงินดังกล่าวไว้การที่จำเลยทั้งสี่ผิดสัญญาหมั้นจึงต้องร่วมกันใช้ ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสกับต้องคืนของหมั้นตลอดจนทรัพย์สินที่ยึดไว้และแหวนเพชรที่มอบให้ในวันรับหมั้นขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระ เงิน 2,267,887 บาท กับดอกเบี้ย จำเลยทั้งสี่ให้การและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ฟ้องแย้งว่าจำเลยที่ 3ที่ 4 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ดำเนินคดี แทนฟ้องโจทก์ เคลือบคลุมเพราะ อ่าน ไม่ เข้าใจจำเลยที่ 1 หมั้นโจทก์โดยเกิดจากความยินยอมของจำเลย ที่ 3 ที่ 4 เท่านั้นจำเลย ที่ 2 มิได้ เกี่ยวข้องด้วยโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจาก จำเลย ที่ 2 ภายหลังที่ ทำพิธีแต่งงานตามประเพณีแล้ว โจทก์และจำเลย ที่ 1 อยู่กิน ฉันสามีภริยาโดย มิได้มี ความจำนง ที่จะจดทะเบียนสมรสทั้ง จำเลย ที่ 3 ที่ 4ไม่เคย ขัดขวาง อย่างใด จึงไม่ผิดสัญญาหมั้นเหตุเกิดเนื่องจากจำเลย ที่ 1 ประกอบ อาชีพ ค้าขายโดย มอบหมายให้โจทก์เข้าบริหารกิจการแต่โจทก์ไม่มีความรู้ ความสามารถ ดำเนินกิจการผิดพลาดก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นหลายครั้งเมื่อจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 แนะนำตักเตือนโจทก์ไม่พอใจและโกรธโจทก์จึงได้ออกจากบ้านไปโดยความสมัครใจจะเรียกให้รับผิดชดใช้ ค่าทดแทนหาได้ไม่ในการที่ แยกไปดังกล่าวโจทก์ได้นำทรัพย์สินที่จำเลย ที่ 1 เป็นเจ้าของรวม ติดตัวไปด้วยจำเลย ที่ 3 ที่ 4 ไม่เคย ยึดถือ ครอบครอง ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้นตลอดจนสินส่วนตัวและเงินของโจทก์ตามฟ้องไว้แต่อย่างใดทั้งโจทก์ได้ขนย้ายไปหมดสิ้นแล้วสำหรับค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสที่โจทก์เรียกร้องเป็นจำนวนสูงเกินส่วนเกินความจำเป็น ส่วนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงโจทก์มิได้เกิดจาก การ ผิดสัญญาหมั้นและก่อนสมรสโจทก์มิได้ประกอบอาชีพใด ๆ จำเลยทั้งสี่ จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนตามฟ้องต่อโจทก์ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาให้โจทก์ชำระเงิน 106,500 บาท กับดอกเบี้ยแก่จำเลย ที่ 1 ศาลชั้นต้น สั่งไม่รับฟ้อง แย้ง ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน คืนของหมั้น เงินสด 700,000 บาท ทองรูปพรรณ หนัก 20 บาท และ เครื่องเพชร1 ชุด มี สร้อย ข้อมือ แหวน และ ตุ้มหู แก่ โจทก์ หาก คืน ไม่ได้ ให้ ใช้ราคา แทน เป็น เงิน 967,960 บาท กับ ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีนับแต่ วันฟ้องจน ถึง วันชำระเสร็จ โจทก์ และจำเลยทั้งสี่ อุทธรณ์ ระหว่าง พิจารณา จำเลย ที่ 4 ถึงแก่กรรม โจทก์ ขอให้เรียกนาย ชัยยศ แซ่เจี่ย นางสาว นี แซ่เจี่ย และนาย ลิ้มเกียก แซ่เจี่ย ทายาทโดยธรรมของ จำเลย ที่ 4 เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 อนุญาต ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์ โจทก์ ฎีกา ศาลฎีกา วินิจฉัยว่าคดีนี้โจทก์และจำเลยที่ 1 หมั้น กัน โดยชอบด้วย กฎหมาย เมื่อ แต่งงาน กัน ตาม ประเพณี แล้ว ปรากฏว่า ยัง ไม่มี การจดทะเบียนสมรสกันตาม กฎหมายจนกระทั่งโจทก์ กลับไปอยู่บ้านบิดามารดาของโจทก์ ตามเดิมโจทก์เป็นหญิงสาวสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีการที่โจทก์หมั้น และแต่งงานตามประเพณีกับจำเลย ที่ 1 โจทก์ย่อมต้องการอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย ที่ 1 โดยชอบ ด้วยกฎหมายเพื่อจะได้มีสิทธิและหน้ที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แม้จะไม่ปรากฏว่าได้ พูดกันถึงเรื่องการจดทะเบียนสมรส ก็ตาม ดังจะเห็นได้จากการที่โจทก์ชวนจำเลย ที่ 1 ไปจดทะเบียนสมรสกันหลายครั้งหลังจากวันแต่งงานการที่จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ไล่โจทก์ออกจากบ้านหลังจากนั้นจำเลย ที่ 1 ก็ มิได้ กระทำการใดเพื่อให้โจทก์กลับมาอยู่กินฉันสามีภริยาจำเลย ที่ 1 จึง ผิดสัญญาหมั้น จำเลยทั้งสี่ ต้องรับผิดตาม สัญญาหมั้นหรือไม่เพียงใดได้ วินิจฉัย ไว้ ข้างต้น แล้วว่า จำเลย ที่ 1 ผิดสัญญาหมั้นจำเลย ที่ 2ที่ 3 และ ที่ 4 ไล่โจทก์ออกจากบ้านถือได้ว่าร่วมกับจำเลย ที่ 1ทำผิดสัญญาหมั้น โจทก์เรียกค่าทดแทนหลายประการศาลฎีกา จะ วินิจฉัยตามลำดับ ดังนี้ ค่าทดแทน ความเสียหาย เนื่อง ในการเตรียมการ สมรสโจทก์อ้างว่าได้ จ่าย ดังนี้ 1.1 ซื้อ ชุด แต่งงาน เพื่อ เข้า พิธี จำนวน 4 ชุด เป็น เงิน28,000 บาท เห็นว่า โจทก์ และจำเลย ที่ 1 ต่าง มี ฐานะ ดีในการ จัดงานเลี้ยง มี การเชิญแขกประมาณ 600 คนและเลี้ยงโต๊ะจีนจึงเป็นการใช้จ่ายอันสมควรแล้ว 1.2 ซื้อ ผ้ารับไหว้ เพื่อให้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายจำเลยตามประเพณีจำนวน 30 ชุด เป็น เงิน 5,307.25 บาท เห็นว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวมิใช่ ค่าใช้จ่ายในการ เตรียมการสมรสอันจะเรียกค่าทดแทนได้ พิพากษากลับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2519 เป็นการวินิจฉัยตามมาตรา 1439 ซึ่งได้วินิจฉัยว่าจำเลยได้หมั้นโจทก์และกำหนดจะแต่งงานกัน หลังจากโจทก์ไว้ทุกข์ให้บิดาโจทก์แล้ว 3 ปี ระหว่างนั้นโจทก์ตั้งครรภ์กับจำเลย จำเลยแนะนำให้ทำแท้ง เมื่อโจทก์ทำแท้งแล้วเกิดป่วยหนัก จำเลยกลับหลบหน้าไปแต่งงานกับหญิงอื่น โจทก์ได้รับความเสียหายทางร่างกาย ชื่อเสียง และต้องเจ็บป่วยเสียเงินค่ารักษา โดยจำเลยมิได้สนใจเมื่อหายป่วยแล้ว ผู้ที่ทราบเรื่องไม่มีผู้ใดประสงค์จะแต่งงานกับโจทก์อีก จำเลยจึงต้องใช้ค่าทดแทนความเสียหายดังกล่าวส่วนของหมั้นนั้นมีราคาเพียงเล็กน้อยนั้น ย่อมตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้เสียหายอยู่แล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1439 วรรคท้าย จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ได้ของหมั้นเป็นการเพียงพอแล้วหาได้ไม่ โจทก์ฟ้องว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ จำเลยได้หมั้นโจทก์ด้วยแหวนเพชร ๑ วง ราคา ๓,๘๐๐ บาท และเงินสด ๔๐๐ บาท กำหนดจะทำการสมรสกันใน พ.ศ. ๒๕๑๔ หลังจากหมั้นแล้ว จำเลยปลุกปล้ำขืนใจโจทก์จนเสียความบริสุทธิ์ ต่อมาได้เกิดตั้งครรภ์จำเลยได้หายาให้โจทก์กินเพื่อให้แท้งลูก จนโจทก์มีอาการเจ็บป่วยหนัก จำเลยกลับหลบหน้าไปไม่ไปมาหาสู่โจทก์อีก และกลับไปแต่งงานกับหญิงอื่น จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ทำให้โจทก์เสียหายต่อร่างกายและเสียชื่อเสียง โจทก์ไม่สามารถจะทำการสมรสกับชายอื่นได้ ขอเรียกค่าทดแทนความเสียหายเป็นจำนวนเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า โจทก์เสียความบริสุทธิ์แก่จำเลยด้วยความสมัครใจก่อนทำการหมั้น โจทก์ไม่ควรได้รับค่าเสียหายแก่ร่างกายและชื่อเสียง เพราะโจทก์เป็น ฝ่ายผิดสัญญาหมั้นและบอกเลิกสัญญาหมั้นกับจำเลยเอง การแท้งลูกก็เกิดจากการกระทำของฝ่ายโจทก์โดยจำเลยไม่ยินยอมให้กระทำ โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายสูงเกินสมควรคดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย จำเลยได้หมั้นและกำหนดจะแต่งงานกันหลังจากโจทก์ไว้ทุกข์ให้บิดาโจทก์แล้ว 3 ปี ระหว่างนั้นโจทก์ตั้งครรภ์กับจำเลย จำเลยแนะนำให้ทำแท้ง เมื่อโจทก์ทำแท้งแล้วเกิดป่วยหนัก จำเลยกลับหลบหน้าไปแต่งงานกับหญิงอื่น โจทก์ได้รับความเสียหายทางร่างกาย ชื่อเสียง และต้องเจ็บป่วยเสียเงินค่ารักษาโดยจำเลยมิได้สนใจเมื่อหายป่วยแล้ว ผู้ที่ทราบเรื่องไม่มีผู้ใดประสงค์จะแต่งงานกับโจทก์อีก จำเลยจึงต้องใช้ค่าทดแทนความเสียหายดังกล่าว ส่วนของหมั้นอันมีราคาเพียงเล็กน้อยนั้นย่อมตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้เสียหายอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1439 วรรคท้าย จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ได้ของหมั้นเป็นการเพียงพอแล้วหาได้ไม่ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ ให้จำเลยใช้ค่าทดแทน ๒๐,๐๐๐ บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์และจำเลยฎีกา ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยหมั้นโจทก์ด้วยแหวนเพชร ๑ วง เงินสด ๔๐๐ บาท ส้ม ๒๔ ผล ขนมจันอับ ๒ ห่อ หลังจากหมั้นแล้ว โจทก์ได้ตั้งครรภ์กับจำเลยและได้ทำแท้ง จำเลยไม่ให้เงินค่ารักษาและต่อมาจำเลยได้แต่งงานกับนางสาวสุนีย์ ทรัพย์แก้ว จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง ที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์เป็นฝ่ายเสียหายทางร่างกาย ชื่อเสียงและต้องเจ็บป่วย เสียเงินค่ารักษาโดยจำเลยมิได้สนใจ เมื่อหายป่วยแล้ว ผู้ที่ทราบเรื่องไม่มีผู้ใดประสงค์จะแต่งงานด้วย เช่น รายนายสิทธิชัย ไพรพนมเวสม์ สมควรได้ค่าทดแทนเต็มตามฟ้องนั้น ศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายเสียหายและนำสืบได้ตามฟ้อง สมควรคิดค่าทดแทนให้ตามฟ้อง ที่จำเลยแก้ฎีกาว่าโจทก์ได้แหวนเพชร ๑ วงราคา ๔,๒๐๐ บาท และเงินสด ๔๐๐ บาทเป็นของหมั้นเป็นการเพียงพอแล้วนั้นเห็นว่าของหมั้นดังกล่าวมีราคาเพียงเล็กน้อยนั้นย่อมตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้เสียหายอยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๔๓๙ วรรคท้าย คำแก้ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษาแก้ ให้จำเลยชำระเงิน ๔๐.๐๐๐ บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2496 วินิจฉัยว่า ชายสู่ขอหญิง ได้ตกลงและมีการเหยียบเรีอนโดยชายมีหมากพลูกับผ้าขาวไปเป็นของหมั้นตามประเพณีท้องถิ่น เป็นการหมั้นอันสมบูรณ์ตามกฎหมาย ถ้าฝ่ายชายไม่ยอมสมรสชายต้องรับผิด ชายได้ดำเนินการสู่ขอฝ่ายหญิงจนได้มีการเหยียบเรือนตามประเพณีท้องถิ่นแล้วคือฝ่ายชายได้นำหมากพลูและผ้าขาวไปเคารพฝ่ายหญิง และได้กำหนดนัดวันทำพิธีสมรสแล้วเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการหมั้น และการตกลงทำการสมรสแล้วทุกประการ เมื่อถึงวันกำหนดแต่งงานฝ่ายชายไม่มาตามกำหนด ฝ่ายหญิงย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนได้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า ฝ่ายจำเลยให้นางแจ่มมาพูดสู่ขอโจทก์ที่ ๒ โจทก์ที่ ๑ ให้มาฟังข่าวในวันรุ่งขึ้น ถึงวันรุ่งขึ้นโจทก์ที่ ๑ ตอบตกลง และสั่งให้นางแจ่มไปบอกจำเลยให้มาเหยียบเรือน ถึงวันกำหนดเหยียบเรือน นางแจ่มกับจำเลยทั้ง ๒ มีหมากพลูใส่พานกับผ้าขาวห่อกระดาษ ๑ ห่อมาให้เป็นของหมั้น ประเพณีท้องถิ่นเวลาไปเหยียบเรือนฝ่ายชายเอาผ้าไปเพื่อเคารพต่อพ่อแม่ฝ่ายหญิง ในวันเหยียบเรือนได้พูดตกลงกันว่าจะทำพิธีแต่งงานกันในวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๙ ฝ่ายโจทก์เตรียมข้าวของต่าง ๆ เป็นต้นว่าที่นอน และหมอน เครื่องแต่งตัว และอาหารสำหรับเลี้ยงผู้ที่มาในวันงาน ถึงวันกำหนดแต่งงาน ฝ่ายจำเลยหาได้มาตามกำหนดไม่ คงมีแต่ผู้ที่มาในงานประมาณ ๑๐-๒๐ คน เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหาย โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ศาลชั้นต้นฟังว่า เรื่องนี้โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่ามีการหมั้น จะฟังว่ามีการหมั้นไม่ได้ จึงจะเรียกค่าเสียหายไม่ได้ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าทดแทนแก่โจทก์ จำเลยฎีกา ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น คือเชื่อว่าฝ่ายจำเลยได้ดำเนินการสู่ขอฝ่ายหญิงจนได้มีการเหยียบเรือนตามประเพณีท้องถิ่นแล้ว โดยฝ่ายจำเลยได้หมากพลูและผ้าขาวไปเคารพฝ่ายหญิง และได้กำหนดนัดวันทำพิธีสมรสแล้ว เป็นการตกลงโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการหมั้น และการตกลงทำการสมรสแล้วทุกประการตามฟ้องโจทก์ ก็ได้บรรยายได้ชัดแจ้งว่าได้มีการสู่ขอโดยมีการเหยียบเรือนตามประเพณีท้องถิ่น ได้กำหนดวันแต่งงานอย่างบริบูรณ์แล้วทุกประการ ฝ่ายจำเลยเป็นฝ่ายผิดจะปฏิเสธไม่รับผิดหาได้ไม่ จึงพิพากษายืน
|