ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การบอกเลิกสัญญาหมั้น

 

 

สัญญาหมั้น-การบอกเลิกสัญญาหมั้นและการคืนของหมั้น

มาตรา 1442 ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิงนั้น ชายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้และให้หญิงคืนของ หมั้นแก่ชาย

มาตรา 1443 ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้นทำให้หญิงไม่สมควรสมรสกับชายนั้น หญิงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยมิต้องคืนของ หมั้นแก่ชาย

มาตรา 1444 ถ้าเหตุอันทำให้คู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้นเป็นเพราะ การกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งได้กระทำภายหลัง การหมั้นคู่หมั้นผู้กระทำชั่วอย่างร้ายแรงนั้น ต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน แก่คู่หมั้นผู้ใช้สิทธิ บอกเลิกสัญญาหมั้นเสมือนเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น

การเรียกค่าทดแทนในกรณีผิดสัญญาหมั้น

มาตรา 1439 เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญา หมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย

มาตรา 1440 ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคล ผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่อง ในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควร ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส

ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่าของหมั้นที่ ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมด หรือเป็นส่วนหนึ่งของ ค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึง ของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้

ข้อสังเกต

การจะเรียกค่าทดแทนในกรณีผิดสัญญาหมั้นได้นั้นก่อนอื่นต้องได้ความว่า มีการหมั้นกันตามกฎหมายแล้ว และต่อมาคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหมั้น หากชายเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น หญิงก็มีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ กรณีที่หญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ชายก็มีสิทธิเรียกค่าทดแทนและเรียกคืนของหมั้นรจากหญิงได้

การเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439 บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เรียกได้เฉพาะกรณีที่มีการหมั้นเท่านั้น เมื่อโจทก์จำเลยตกลงจะสมรสกันโดยไม่มีการหมั้น จึงนอกขอบเขตที่กฎหมายรับรอง แม้จำเลยไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ก็เรียกค่าทดแทนไม่ได้ การที่โจทก์ต้องใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส ต้องเสียพรหมจารีให้แก่จำเลย และอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยากับจำเลย โดยจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ เกิดจากความสมัครใจของโจทก์ไม่เป็นเหตุที่จะถือว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ คำฟ้องโจทก์อ้างว่าโจทก์ยินยอมสมรสกับจำเลย จำเลยให้โจทก์เป็นฝ่ายเตรียมจัดพิธีมงคลสมรสแต่ฝ่ายเดียว และจำเลยได้มอบเงินช่วยเหลือในการเตรียมจัดงานสมรสเป็นเงิน 11,000 บาท ที่โจทก์ฎีกาว่า เงินจำนวน 11,000 บาท ที่จำเลยมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นของหมั้นนั้น คำฟ้องเดิมกับฎีกาโจทก์ขัดแย้งกัน ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น และไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยตกลงจะทำการสมรสกันและกำหนดวันประกอบพิธีมงคลสมรสและจดทะเบียนสมรสไว้ โดยจำเลยตกลงให้โจทก์เป็นฝ่ายเตรียมจัดพิธีมงคลสมรสแต่ฝ่ายเดียว และมอบเงินช่วยเหลือในการเตรียมการสมรสเป็นเงิน 11,000 บาท โจทก์จัดงานมงคลสมรสสิ้นค่าใช้จ่ายไป 90,000 บาท หลังจากนั้นจำเลยปฏิเสธไม่ยอมอยู่กินกับโจทก์ฉันสามีภริยาและไม่ยอมจดทะเบียนสมรส ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายรวม 490,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยจำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย เพราะการตกลงสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่มีการหมั้น โจทก์สมัครใจอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยหรือไม่ พิเคราะห์แล้วคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ยินยอมสมรสกับจำเลย จำเลยให้โจทก์เป็นฝ่ายเตรียมจัดพิธีมงคลสมรสแต่ฝ่ายเดียว และจำเลยได้มอบเงินช่วยเหลือในการเตรียมจัดงานสมรสเป็นเงิน 11,000 บาทโจทก์และครอบครัวจึงได้เตรียมจัดพิธีมงคลสมรสขึ้น ในการเตรียมการสมรสฝ่ายโจทก์ได้เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเลี้ยงเชิญแขกผู้มีเกียรติ ค่าอาหารสำหรับเลี้ยงแขกในวันสมรสค่าของชำร่วยค่าใช้จ่ายของโจทก์เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย เครื่องตกแต่งและค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 90,000 บาท ที่โจทก์ฎีกาว่า เงินจำนวน 11,000 บาท ที่จำเลยมอบให้ฝ่ายหญิงเป็นของหมั้น ศาลฎีกาเห็นว่า คำฟ้องเดิมกับฎีกาของโจทก์ขัดแย้งกันฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นและไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปรากฎตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยว่า โจทก์กับจำเลยร่วมกันจัดพิธีมงคลสมรสขึ้นเสร็จพิธีแล้วจำเลยพาโจทก์ไปอยู่บ้านของจำเลยฉันสามีภริยาและจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ คดีจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงจะสมรสกันโดยไม่มีการหมั้น เห็นว่า การเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ได้ บัญญัติไว้เป็นพิเศษตามมาตรา 1439 ว่า "เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่มีของหมั้นถ้าฝ่ายชายผิดสัญญาหมั้นให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง ถ้าฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย" และไม่มีบทมาตราใดบัญญัติว่า ในกรณีที่ไม่มีการหมั้น หากฝ่ายใดผิดสัญญาจะสมรสให้ฝ่ายนั้นรับผิดใช้ค่าทดแทนอย่างเช่นกรณีที่มีการหมั้นดังนั้น การตกลงกันว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการหมั้น จึงนอกขอบเขตที่กฎหมายรับรอง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกค่าทดแทนจากจำเลย ตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 1971/2517 ระหว่าง นางลาน ตระกูลศิริ โจทก์นายบุญสาย ยอดเซียน จำเลย ส่วนคำพิพากษาฎีกาที่ 1198/2492 และคำพิพากษาฎีกาที่ 700/2498 ที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอิง ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ การที่โจทก์ต้องใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสโจทก์ต้องเสียพรหมจารีให้แก่จำเลยและอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยากับจำเลยโดยจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ เกิดจากความสมัครใจของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จะถือว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

 

 

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

 

 

 ทำสัญญาหมั้นเป็นหนังสือโดยไม่มีกฎหมายรับรองให้ทำได้

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2526 

สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยมีสาระสำคัญว่า ให้จำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หากจำเลยไม่ยอมจดถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องใช้ค่าเสียหายนั้น เป็นสัญญาที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุน เพราะไม่ใช่สัญญาหมั้น จึงไม่อาจบังคับได้ คดีไม่จำเป็นจะต้องสืบพยานกันต่อไป

ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1439 ถ้าฝ่ายใด ผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน ฉะนั้นการตกลงจะสมรสโดย ไม่มีการหมั้น จึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรองไว้ และจะนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยนิติกรรมมาใช้ในกรณีเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติว่าด้วยการหมั้นและการสมรส ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ โดยเฉพาะแล้ว 

ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วสั่งว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยอ้างอาศัยสัญญาอันมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อกฎหมาย ทั้งมิใช่สัญญาหมั้น จึงไม่อาจบังคับกันได้ตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "โจทก์ฎีกาว่า เหตุที่จำเลยจะทำสัญญาฉบับพิพาทกับโจทก์ก็เนื่องจากจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยบุกรุกเข้าไปในบ้านและทำมิดีมิร้ายต่อโจทก์ จำเลยเกรงว่าอาจจะได้รับโทษทางอาญา จำเลยกับโจทก์จึงได้ทำสัญญากันขึ้นตามสำเนาท้ายฟ้องด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยมิได้ฟังพยานหลักฐานฝ่ายโจทก์คือให้โจทก์ได้สืบพยานก่อนนั้น เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีที่ยื่นคำฟ้องต่อศาลนั้น ศาลไม่จำเป็นต้องสืบพยานทุกคดีไปหากศาลเห็นว่ารูปคดีพอวินิจฉัยได้โดยจำต้องสืบพยานก่อนแล้ว ศาลก็มีอำนาจสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยคดีไปได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่อย่างใด สำหรับคดีนี้สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยมีสาระสำคัญว่า ให้จำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หากจำเลยไม่ยอมจดถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องใช้ค่าเสียหายนั้น เป็นสัญญาที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุนเพราะไม่ใช่สัญญาหมั้นจึงไม่อาจบังคับได้ คดีจึงไม่จำเป็นจะต้องสืบพยานกันต่อไปดังที่โจทก์ฎีกาขึ้นมา และที่โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์หยิบยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 มาปรับแก่คดีไม่ถูกต้องเพราะตามเจตนาของคู่กรณีสัญญานี้สามารถแบ่งแยกได้เป็นส่วน ๆ ส่วนใดที่ไม่สมบูรณ์ก็เป็นโมฆะไป ส่วนใดที่สมบูรณ์ก็บังคับได้โดยสมบูรณ์ในฐานะที่เป็นนิติกรรมอย่างอื่น สัญญาท้ายฟ้องในเรื่องค่าเสียหายเป็นสัญญาที่สมบูรณ์และบังคับกันได้ ศาลฎีกาเห็นว่า การเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 1439 แล้วความว่า เมื่อมีการหมั้น ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าทดแทนและไม่มีมาตราใดบัญญัติว่าในกรณีที่ไม่มีการหมั้น หากฝ่ายใดผิดสัญญาสมรสให้ฝ่ายนั้นรับผิดใช้ ค่าทดแทนอย่างเช่นกรณีการหมั้น ฉะนั้น การตกลงจะสมรสโดยไม่มีการหมั้นจึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรองไว้และจะนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยนิติกรรมมาใช้ในกรณีเช่นนี้ก็ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติว่าด้วยการหมั้นและการสมรส ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่สืบพยานนั้นชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 สิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายต้องมีการหมั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2539

เมื่อไม่มีการหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายในการเตรียมการสมรสจากจำเลยทั้งสามซึ่งไม่มาทำพิธีสมรสในวันที่กำหนด ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องฝ่ายจำเลยสู่ขอโจทก์เพื่อสมรสกับจำเลยที่3โดยตกลงให้ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดงานและพิธีสมรสแล้วจำเลยที่3ไม่มาทำพิธีสมรสตามที่ตกลงไว้อีกทั้งค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสหรือค่าเสียหายทางจิตใจเนื่องจากถูกชาวบ้านดูถูกให้อับอายขายหน้าก็ตามล้วนสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่1และที่2ไม่น่าจำเลยที่3มาทำพิธีสมรสในวันที่กำหนดมูลคดีตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสมิใช่มูลละเมิดตามที่โจทก์อุทธรณ์เพราะคำฟ้องหาได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420แต่ประการใดไม่

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 3 จำเลยทั้งสามได้เจรจาเพื่อสู่ขอโจทก์นายวิรัชและนางละออ สระทองแพผู้เป็นบิดาและมารดาเพื่อทำการสมรสกับจำเลยที่ 3 ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2538 โจทก์ นายวิรัชและนางละออยินยอมให้มีการสมรส โดยจำเลยทั้งสามให้ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดงานและพิธีสมรสที่บ้านของโจทก์ ครั้นถึงวันกำหนดทำพิธีสมรสจำเลยทั้งสามไม่มาในงานพิธีสมรส เป็นเหตุให้โจทก์กับจำเลยที่ 3 ไม่ได้สมรสกัน การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นเหตุให้โจทก์และนายวิรัชได้รับความเสียหายเนื่องจากการเตรียมการสมรสเป็นเงิน 85,000 บาท และทำให้โจทก์นายวิรัชและนางละออได้รับความอับอายขายหน้าและถูกดูถูกจากชาวบ้านในหมู่บ้านโจทก์ขอคิดค่าเสียหายส่วนนี้เป็นเงิน 35,000 บาท โจทก์ติดตามทวงถามแล้วจำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าเสียหายเนื่องจากการเตรียมการสมรสแก่โจทก์จำนวน 85,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินจำนวน 85,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับชำระค่าเสียหายต่อจิตใจจำนวน35,000 บาท

ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า ตามฟ้องไม่ปรากฏว่ามีการหมั้น กรณีจึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรอง แม้จำเลยไม่ปฎิบัติตามที่ตกลงไว้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลย พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า คำบรรยายฟ้องโจทก์เป็นเรื่องผิดข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสหรือเป็นเรื่องละเมิด โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามได้เจรจาสู่ขอโจทก์เพื่อทำการสมรสกับจำเลยที่ 3 ในวันที่ 5พฤษภาคม 2538 โจทก์ยินยอมให้มีการสมรส โดยจำเลยทั้งสามให้ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดการและพิธีสมรสที่บ้านของโจทก์ ครั้นถึงวันกำหนดทำพิธีสมรส จำเลยทั้งสามไม่มาในงานพิธีสมรส เป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้สมรส ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อเตรียมการสมรส และได้รับความอับอายขายหน้า และถูกดูถูกจากชาวบ้านในหมู่บ้าน ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายในการเตรียมการสมรสและค่าเสียหายต่อจิตใจ เห็นว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องฝ่ายจำเลยสู่ขอโจทก์เพื่อทำการสมรสกับจำเลยที่ 3 โดยตกลงให้ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดงานและพิธีสมรส แล้วจำเลยที่ 3 ไม่มาทำพิธีสมรสตามที่ตกลงไว้ กับค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้อง ทั้งค่าใช้จ่ายในการเตรียมพิธีสมรสก็ดี ค่าเสียหายทางจิตใจ เนื่องจากถูกชาวบ้านดูถูกให้อับอายขายหน้าก็ดี ล้วนสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่นำจำเลยที่ 3 มาทำพิธีสมรสในวันที่กำหนด มูลคดีตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรส มิใช่มูลละเมิดตามที่โจทก์อุทธรณ์ เพราะคำฟ้องโจทก์หาได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำการโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แต่ประการใดไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าตามคำฟ้องไม่ปรากฎว่ามีการหมั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลย จึงชอบแล้ว อุทธรณ์โจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียม ชั้น นี้ ให้ เป็น พับ

พฤติการณ์อย่างไรที่จะถือว่าเป็นการผิดสัญญาหมั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2538

การที่หญิงหมั้นกับชายโดยชอบด้วยกฎหมายและเมื่อแต่งงานตามประเพณีแล้วหญิงชวนชายไปจดทะเบียนสมรสหลายครั้งหญิงย่อมต้องการอยู่กินกับชายโดยชอบด้วยกฎหมายการที่บิดามารดาและพี่ของชายนั้นไล่หญิงออกจากบ้านหลังจากนั้นชายก็มิได้กระทำการใดเพื่อให้หญิงกลับมาอยู่กินฉันสามีภริยาชายนั้นจึงผิดสัญญาหมั้น หญิงและชายต่างมีฐานะดีในการจัดงานเลี้ยงแต่งงานมีการเชิญแขกประมาณ 600 คน  และเลี้ยงโต๊ะจีนการที่หญิงซื้อ ชุดแต่งงานเพื่อเข้าพิธีจำนวน 4 ชุดเป็นเงิน 28,000 บาท  เป็นการใช้จ่ายอันสมควรในการเตรียมการสมรสเรียกค่าทดแทนได้ หญิงซื้อ ผ้ารับไหว้เพื่อให้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายชายตามประเพณี มิใช่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสอันจะเรียกค่าทดแทนได้ 

โจทก์ฟ้อง และแก้ไข คำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นน้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน กับ จำเลยที่ 2 โดยเป็นบุตรของจำเลย ที่ 3 ที่ 4 จำเลยทั้งสี่ร่วมกันมาขอหมั้น โจทก์ต่อ บิดา มารดา และ นาย เทอดศักดิ์ ปฏิภาณวัฒน์ พี่ชายโจทก์ เพื่อให้ทำการสมรสกับจำเลย ที่ 1 โดยมอบเงินให้แก่บิดา มารดาโจทก์เป็นสินสอด ให้ทรัพย์สินรวมเป็น เงิน 107,960 บาทแก่ โจทก์ เป็นของหมั้น เพื่อเป็น ประกันว่า จะสมรส และจดทะเบียนส่วน โจทก์ได้ มอบแหวน เพชร 1 วง ราคา 25,000 บาท แก่ จำเลยที่ 1 ตามประเพณี การรับหมั้น และ ใช้จ่าย เนื่องในการเตรียมการสมรส โดยซื้อชุดแต่งงาน จำนวน 4 ชุด เป็น เงิน 28,200 บาท ผ้ารับไหว้ จำนวน 30 ชุดเป็นเงิน 5,307.25 บาท นอกจากนี้ โจทก์ได้ลาออกจาก การประกอบอาชีพที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปฏิภาณ เป็นเหตุ ให้ขาดรายได้ เกี่ยวแก่อาชีพ หรือ ทางทำมาหาได้ แต่เมื่อหลังจากทำพิธีแต่งงานตามประเพณีในวันนั้นแล้ว จำเลย ทั้งสี่ ผิดสัญญาหมั้น โดย จำเลย ที่ 1 ไม่จดทะเบียนสมรสกับ โจทก์ ทั้งได้ร่วมกันขับไล่โจทก์ออกจากบ้านที่พักอาศัย เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายต่อกายหรือชื่อเสียง และ ในการไปอยู่กิน เป็นสามีภริยากับ จำเลย ที่ 1 โจทก์ ได้นำของหมั้นตลอดจนสินส่วนตัวติดตัวไปที่บ้านของ จำเลย ทั้งสี่ด้วย แต่ระหว่างอยู่กินกับ จำเลย ที่ 1 จำเลย ทั้งสี่ได้ ร่วมกันหลอกลวง โจทก์ ให้ ถอนเงินจากธนาคาร และ ยึดทรัพย์สินกับเงินดังกล่าวไว้ การที่จำเลย ทั้งสี่ ผิดสัญญาหมั้น จึง ต้องร่วมกันใช้ ค่าทดแทน และ ค่าใช้จ่ายในการ เตรียมการสมรส กับ ต้องคืน ของหมั้นตลอดจนทรัพย์สินที่ยึดไว้ และ แหวน เพชร ที่ มอบ ให้ ใน วันรับหมั้นขอให้ บังคับ จำเลย ทั้งสี่ ร่วมกัน ชำระเงิน 2,267,887 บาท กับ ดอกเบี้ย

จำเลยทั้งสี่ ให้การ และ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ที่ 3 ที่ 4 มอบอำนาจให้ จำเลย ที่ 2 ดำเนินคดีแทน ฟ้องโจทก์ เคลือบคลุมเพราะอ่าน ไม่เข้าใจ จำเลย ที่ 1 หมั้น โจทก์ โดยเกิดจากความยินยอมของ จำเลย ที่ 3 ที่ 4 เท่านั้น จำเลย ที่ 2 มิได้เกี่ยวข้องด้วยโจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้อง เรียกค่าทดแทน จากจำเลย ที่ 2 ภายหลัง ที่ ทำพิธีแต่งงานตามประเพณีแล้ว โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้ มีความจำนงที่จะจดทะเบียนสมรส ทั้ง จำเลย ที่ 3 ที่ 4 ไม่เคยขัดขวางอย่างใด จึงไม่ผิดสัญญาหมั้น เหตุเกิด เนื่องจากจำเลย ที่ 1 ประกอบอาชีพค้าขาย โดย มอบหมายให้โจทก์ เข้าบริหารกิจการแต่ โจทก์ไม่มีความรู้ ความสามารถ ดำเนินกิจการผิดพลาด ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นหลายครั้ง เมื่อจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 แนะนำตักเตือนโจทก์ ไม่พอใจ และโกรธ โจทก์จึงได้ออกจากบ้านไป โดยความสมัครใจจะ เรียกให้รับผิดชดใช้ค่าทดแทน หาได้ไม่ ในการ ที่แยกไป ดังกล่าวโจทก์ ได้ นำทรัพย์สินที่ จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของรวม ติดตัวไปด้วยจำเลย ที่ 3 ที่ 4 ไม่เคยยึดถือครอบครอง ทรัพย์สิน ที่เป็นของหมั้นตลอดจน สินส่วนตัว และ เงินของโจทก์ตามฟ้องไว้แต่อย่างใด ทั้งโจทก์ได้ขนย้ายไปหมดสิ้นแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายใน การเตรียมการสมรสที่โจทก์เรียกร้อง เป็น จำนวนสูงเกิน ส่วน เกินความจำเป็น ส่วนความเสียหายต่อกาย หรือ ชื่อสียง โจทก์ มิได้ เกิดจากการ ผิดสัญญาหมั้นและ ก่อนสมรส โจทก์ มิได้ประกอบอาชีพ ใด ๆ จำเลย ทั้งสี่ จึงไม่ต้องรับผิด ใช้ค่าทดแทน ตามฟ้อง ต่อโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง และ พิพากษา ให้โจทก์ชำระ เงิน 106,500 บาท กับ ดอกเบี้ย แก่ จำเลย ที่ 1

ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฟ้อง แย้ง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้งสี่ร่วมกัน คืนของหมั้น เงินสด 700,000 บาท ทองรูปพรรณ หนัก 20 บาท และ เครื่องเพชร 1 ชุด มี สร้อย ข้อมือ แหวน และ ตุ้มหู แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ ให้ใช้ราคาแทน เป็น เงิน 967,960 บาท กับ ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปีนับแต่วันฟ้อง จนถึงวันชำระเสร็จ

โจทก์ และจำเลยทั้งสี่ อุทธรณ์

ระหว่างพิจารณา จำเลย ที่ 4 ถึงแก่กรรม โจทก์ ขอให้เรียกนาย ชัยยศ, นางสาว นี , และ นาย ลิ้มเกียก  ทายาทโดยธรรม ของ จำเลยที่ 4 เข้า เป็น คู่ความแทน ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 อนุญาต

ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์

โจทก์ ฎีกา

ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดีนี้ โจทก์ และจำเลย ที่ 1 หมั้น กัน โดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อแต่งงานกัน ตามประเพณีแล้ว ปรากฏว่ายังไม่มีการจดทะเบียนสมรสกัน ตามกฎหมาย จน กระทั่ง โจทก์ กลับไปอยู่บ้าน บิดา มารดาของโจทก์ ตามเดิม โจทก์เป็นหญิง สาว สำเร็จการศึกษา ระดับ ปริญญาตรีการที่โจทก หมั้น และ แต่งงาน ตามประเพณี กับ จำเลย ที่ 1 โจทก์ ย่อมต้องการอยู่กินฉันสามีภริยา กับจำเลย ที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อจะได้มีสิทธิ และหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้จะไม่ปรากฏ ว่าได้ พูด กัน ถึง เรื่อง การ จดทะเบียนสมรสก็ตาม ดังจะเห็นได้จากการที่โจทก์ชวน จำเลย ที่ 1 ไป จดทะเบียนสมรส กัน หลายครั้งหลัง จาก วันแต่งงานการ ที่จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ไล่ โจทก์ ออกจากบ้านหลังจากนั้นจำเลย ที่ 1 ก็ มิได้ กระทำการใดเพื่อให้โจทก์กลับมาอยู่กินฉัน สามี ภริยา จำเลย ที่ 1 จึง ผิดสัญญาหมั้น

จำเลยทั้งสี่ ต้องรับผิด ตามสัญญาหมั้น หรือไม่ เพียงใดได้วินิจฉัยไว้ข้างต้นแล้วว่า จำเลย ที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น จำเลย ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ไล่ โจทก์ ออกจากบ้าน ถือได้ว่า ร่วมกับ จำเลย ที่ 1 ทำผิดสัญญาหมั้น โจทก์ เรียกค่าทดแทน หลายประการ ศาลฎีกาจ วินิจฉัยตามลำดับ ดังนี้

ค่าทดแทนความเสียหาย เนื่องใน การเตรียมการสมรส โจทก์ อ้างว่าได้ จ่าย ดังนี้

1.1 ซื้อ ชุด แต่งงาน เพื่อ เข้า พิธี จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน 28,000 บาท เห็นว่า โจทก์ และจำเลย ที่ 1 ต่าง มีฐานะดี ในการ จัดงานเลี้ยง มีการเชิญ แขก ประมาณ 600 คน และ เลี้ยง โต๊ะจีน จึงเป็นการใช้จ่ายอันสมควรแล้ว

1.2 ซื้อ ผ้า รับไหว้ เพื่อให้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายจำเลย ตามประเพณีจำนวน 30 ชุด เป็น เงิน 5,307.25 บาท เห็นว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวมิใช่ค่าใช้จ่าย ในการเตรียมการสมรส อันจะ เรียกค่าทดแทน ได้

พิพากษากลับ

ของหมั้น, ชายคู่หมั้น, หญิงคู่หมั้น,

ของหมั้นตกเป็นสิทธิของหญิงคู่หมั้น, บอกเลิกสัญญาหมั้น

ของหมั้นนั้นฝ่ายชายจะต้องได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงไว้เป็นกรรมสิทธิ์ของหญิง และของหมั้นนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของหญิงนั้นทันทีที่ได้ส่งมอบให้แก่หญิงคู่หมั้นตาม มาตรา 1437 วรรคสอง ของหมั้นเป็นทรัพย์สินที่ให้หญิงคู่หมั้นเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและ ประกันว่าชายคู่หมั้นจะสมรสกับหญิงคู่หมั้น เมื่อให้กรรมสิทธิ์ ในของหมั้นตกไปยังหญิงคู่หมั้น ตั้งแต่วันที่ทำการหมั้นแล้ว หญิงคู่หมั้นจึงมีสิทธิที่จะใช้สอยของหมั้น หรือจำหน่ายจ่ายโอนได้ตามใจชอบ แต่ต้องรับผิดที่จะต้องคืนให้แก่ชายคู่หมั้นเมื่อหญิงผิดสัญญาหมั้นไม่ยอมสมรสกับชาย หรือในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นและทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิง เช่น หญิงไปมีความสัมพันธ์ร่วมประเวณีกับชายอื่น ในกรณีแบบนี้ ชายคู่หมั้นก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้และหญิงคู่หมั้นก็ต้องคืนของหมั้นให้แก่ชายคู่หมั้นด้วย ในทางกลับกันหากเหตุสำคัญนั้นเกิดแก่ชายคู่หมั้น เช่น ชายคู่หมั้นเกิดวิกลจริต เป็นบ้ารักษาไม่หาย หญิงคู่หมั้นก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยไม่ต้องคืนของหมั้นให้แก่ชายคู่หมั้น




การสมรส การหมั้น

หลักเกณฑ์การหมั้นและเงื่อนไข อายุของคู่หมันฝ่าฝืนเป็นโมฆะ
ร่วมประเวณีกับชายหรือหญิงคู่หมั้น
ผิดสัญญาไม่จดทะเบียนสมรส
สินสอดเป็นทรัพย์สินให้บิดามารดา ข้อแตกต่างและข้อเหมือนสินสอดและของหมั้น
ความยินยอมของบิดามารดาในการหมั้น
จดทะเบียนสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ความเป็นโมฆะมีผลย้อนหลัง
ยินยอมเป็นสามีภริยากันต่อหน้านายทะเบียน
ฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินฐานผิดสัญญาหมั้น
ของหมั้นและสินสอด, มิได้มีเจตนาสมรสกันตามกฎหมาย, สิทธิเรียกคืนของหมั้นและสินสอด
สิทธิเรียกค่าเสียหาย,ค่าทดแทน,โดยไม่มีการหมั้น, แบบของสัญญาหมั้น
แต่งงานแล้วไม่ยอมหลับนอนด้วย,เรียกสินสอดคืน
ขณะสู่ขอไม่มีการตกลงเรื่องจดทะเบียนสมรส
ผู้มีสิทธิฟ้องคดีเรียกค่าทดแทน
ค่าทดแทน | ผิดสัญญาหมั้น
การหมั้นและสิทธิเรียกค่าทดแทนในกรณีผิดสัญญาหมั้น
ผิดสัญญาหมั้นเรียกสินสอดคืน
เรียกค่าสินสอดคืนโดยไม่มีการหมั้น