ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




หากผู้กู้นำทรัพย์สินมาตีใช้หนี้แก่ผู้ให้กู้ในราคาท้องตลาดหนี้ระงับ

หากผู้กู้นำทรัพย์สินมาตีใช้หนี้แก่ผู้ให้กู้ในราคาท้องตลาดหนี้ระงับ

“ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมไซร้ หนี้อันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้น ท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ ความตกลงกันอย่างใด ๆ ขัดกับข้อความดังกล่าวมานี้ ท่านว่าเป็นโมฆะ” 

หมายความว่า การกู้ยืมเงินกัน หากผู้กู้นำทรัพย์สินมาตีใช้หนี้แก่ผู้ให้กู้ที่มีลักษณะเป็นการคืนเงินที่กู้นั้น กฎหมายให้ตีราคาของสิ่งนั้นเป็นเงินเท่ากับราคาท้องตลาดในขณะส่งมอบและถือเสมือนว่าผู้กู้ได้ชำระหนี้เป็นเงินตามวัตถุแห่งหนี้เดิม  เนื่องจากเพื่อมิให้ผู้กู้ต้องเสียเปรียบจากการถูกกดราคาหรือไม่ได้รับสิ่งตอบแทนคุ้มกับราคาสิ่งของหรือทรัพย์สินที่ต้องเสียไปเพราะขาดอำนาจต่อรองกับผู้ให้กู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2565

สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสิบข้อ 8 ตกลงกันว่า หากจำเลยทั้งสิบผิดนัดชำระหนี้ยอมโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามเอกสารแนบท้ายส่วนที่เหลือทั้งหมดแก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ โดยตีมูลค่าเท่ากับมูลค่าคงเหลือจากการปลอดจำนอง คล้ายกับเป็นการโอนทรัพย์สินตีใช้หนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสองและวรรคสาม แต่ผลจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้จำเลยทั้งสิบพ้นจากการถูกบังคับคดีโดยได้รับการขยายระยะเวลาชำระหนี้เงินกู้และหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ออกไปเป็นระยะเวลา 3 ปีกว่า ทำให้โจทก์ไม่สามารถบังคับเอาทรัพย์สินของจำเลยทั้งสิบในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนั้นจำเลยที่ 1 ยังสามารถประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดินต่อไปรวมถึงการโอนขายที่ดินในโครงการแก่ผู้ซื้อโดยปลอดจำนองเป็นรายแปลงและมีโอกาสหาเงินผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ ส่วนโจทก์แม้จะได้รับดอกเบี้ยแต่ต้องแบกรับความเสี่ยงหากท้ายที่สุดจำเลยทั้งสิบไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงเป็นธรรมดาที่โจทก์ต้องหาวิธีลดความเสี่ยงโดยตกลงว่าเมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว หากจำเลยทั้งสิบไม่อาจชำระหนี้ก็ต้องโอนทรัพย์จำนองส่วนที่เหลือจากการขายทั้งหมดแก่โจทก์ หากบังคับจำนองรายแปลงอาจจะยุ่งยากและขายไม่ได้ สัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสิบมิใช่การทำสัญญาตีใช้หนี้ที่จำเลยเพียงเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินไปชำระหนี้แก่โจทก์ หากแต่เป็นการประนีประนอมยอมความโดยแต่ละฝ่ายต่างยอมสละสิทธิบางอย่างของตนเพื่อแลกกับประโยชน์ที่จะได้มา ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างพิจารณาแล้วเห็นว่าคุ้มค่าและเป็นธรรม ไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบแก่กัน ดังนั้น แม้ว่าในปัจจุบันราคาท้องตลาดทรัพย์ที่ต้องโอนชำระหนี้แก่โจทก์เพิ่มสูงขึ้นกว่าราคาตลาดที่ตกลงกันไว้ก็ตาม ฝ่ายจำเลยจะกลับมาอ้างว่าต้องตีราคาใหม่ตามราคาท้องตลาดปัจจุบันเพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจากที่ทำสัญญาไว้ย่อมเป็นการเอาเปรียบและไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สุจริตในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือการใช้สิทธิบังคับชำระหนี้แต่ประการใด กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสองและวรรคสาม อีกทั้งการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นการระงับข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 ซึ่งกระทำต่อหน้าศาลและคู่ความได้ตรวจสอบแล้วไม่มีฝ่ายใดคัดค้านว่าสัญญาประนีประนอมยอมความหรือสัญญาข้อหนึ่งข้อใดฝ่าฝืนต่อกฎหมายจนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาตามยอม หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสิบอุทธรณ์ว่าถูกอีกฝ่ายฉ้อฉลหลอกลวงหรือคำพิพากษาขัดต่อกฎหมายดังที่ยกขึ้นเป็นเหตุขอให้เพิกถอนการบังคับแต่ประการใด คำพิพากษาดังกล่าวย่อมถึงที่สุดและผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และมาตรา 147หมายบังคับคดีระบุชัดเจนว่าให้จำเลยทั้งสิบปฏิบัติตามคำพิพากษาและสัญญาประนีประนอมยอมความที่แนบรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสิบต้องรับผิด แม้ระหว่างปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยทั้งสิบชำระเงินบางส่วน ซึ่งต้องนำไปหักดอกเบี้ยก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 ก่อน เหลือเท่าใดจึงจะเป็นจำนวนหนี้ที่โจทก์สามารถบังคับคดียึดทรัพย์สินจำเลยทั้งสิบได้ การคำนวณดังกล่าวเป็นขั้นตอนของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการต่อไป และเมื่อทราบจำนวนหนี้สุทธิก็สามารถยึดอายัดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสิบโดยไม่ต้องรอให้จดทะเบียนรับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลือเสร็จสิ้นก่อนเพราะตามคำพิพากษารวมถึงสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้กำหนดเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องจดทะเบียนรับโอนทรัพย์สินส่วนที่เหลือเสร็จสิ้นก่อนจึงจะบังคับเอากับทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสิบได้ การยื่นหมายบังคับคดีของโจทก์ไม่ได้ข้ามขั้นตอนกฎหมาย การออกหมายบังคับคดีชอบด้วยกฎหมาย

คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมที่มีใจความว่า จำเลยทั้งสิบตกลงชำระหนี้กู้ยืมเงินต้น 109,853,672.17 บาท และดอกเบี้ย 4,264,567.66 บาท พร้อมดอกเบี้ยของเงินต้นดังกล่าวตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 ในอัตราร้อยละ MLR (KK) – 1.5 ต่อปี ซึ่งขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเท่ากับอัตราร้อยละ 6.125 ต่อปี เป็นต้นไปจนกว่าชำระหนี้เสร็จแก่โจทก์ โดยกำหนดชำระเงินต้น 30,720,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 ภายในวันที่ 14 ธันวาคม 2555 และมีเงื่อนไขจะชำระหนี้โดยปลอดจำนองด้วยการขายที่ดินเปล่าหน้าโครงการศิลปการพาร์ค 2 โฉนดเลขที่ 808, 142812 ถึง 142818 ของจำเลยที่ 8 ในราคา 16,136,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย การขายที่ดินเปล่าหน้าโครงการศิลปการพาร์ค 3 โฉนดเลขที่ 148047, 148048 และ 149034 ของจำเลยที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ในราคา 4,168,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย และการขายที่ดินเปล่าหน้าโครงการศิลปการพาร์ค 5 โฉนดเลขที่ 151922 ถึง 151926 ของจำเลยที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ในราคา 10,416,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยทั้งสิบไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขดังกล่าว ให้จำเลยทั้งสิบโอนที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ ภายในวันที่ 21 ธันวาคม 2555 และจะส่งมอบทรัพย์และเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดภายในวันที่ 28 ธันวาคม 2555 กำหนดชำระเงินต้น 79,133,672.17 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 และให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 เมษายน 2558 และมีเงื่อนไขจะชำระหนี้โดยปลอดจำนองด้วยการขายที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ในโครงการศิลปการพาร์ค 3 เป็นรายแปลง และการขายที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 9 ในโครงการศิลปการพาร์ค 5 เป็นโซนตามลำดับ ตามกำหนดเวลาและจำนวนหนี้ที่ปลอดจำนองรวม 6 งวด จำเลยทั้งสิบตกลงชำระดอกเบี้ยคงค้าง 4,264,567.66 บาท ภายในวันที่ 14 ธันวาคม 2555 และจำเลยทั้งสิบตกลงชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค 73,141.80 บาท ภายในวันที่ 28 ธันวาคม 2555 รวมทั้งเวนคืนหนังสือค้ำประกันเลขที่ต่าง ๆ ตามกำหนดเวลา มิฉะนั้นยอมรับผิดชดใช้เงินตามหนังสือค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี หากจำเลยทั้งสิบผิดนัดชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยสองงวดติดต่อกัน ผิดนัดชำระดอกเบี้ยคงค้าง หรือผิดนัดชำระหนี้อันสืบเนื่องจากหนังสือค้ำประกัน ให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมดยอมให้โจทก์บังคับคดีได้เต็มทันที และจำเลยทั้งสิบตกลงโอนที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 ส่วนที่เหลือทั้งหมดชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งมูลค่ารับโอนรวมเท่ากับมูลค่าคงเหลือจากการปลอดจำนอง หากจำเลยทั้งสิบไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา จำเลยทั้งสิบยินยอมรับผิดในหนี้ส่วนที่ขาดและให้โจทก์ยึดอายัดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสิบออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน ต่อมาโจทก์ยื่นคำขอลงวันที่ 10 กันยายน 2558 ให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษา โดยอ้างว่าจำเลยทั้งสิบชำระหนี้หลายครั้งเป็นเงินเพียง 35,561,870.50 บาท และชำระครั้งสุดท้ายในวันที่ 29 ธันวาคม 2557 ซึ่งไม่ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หลังจากศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีและตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2560 โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโฉนดเลขที่ 810 ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 และโฉนดเลขที่ 87026 ของจำเลยที่ 2

จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดีและการยึดทรัพย์

โจทก์ยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้อง

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโฉนดเลขที่ 810 ตำบลพิมลราช อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี และโฉนดเลขที่ 87026 โดยให้โจทก์รับผิดชำระค่าฤชาธรรมเนียมกรณียึดแล้วไม่มีการขาย (ที่ถูก ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย) กับให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสิบ (ที่ถูก แทนจำเลยที่ 1 ถึง ที่ 3) โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท

โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนหมายบังคับคดีในส่วนที่ให้ที่ดินและหรือสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 8 และที่ 9 ส่วนที่เหลือทั้งหมดมีมูลค่ารับโอนรวมเท่ากับมูลค่าคงเหลือจากการปลอดจำนอง ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และค่าส่งหมายชั้นอุทธรณ์ รวม 1,330 บาท แก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

โจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามที่คู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ฎีกาว่า หนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสิบรับผิดเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญาสนับสนุนทางการเงิน ต่อมาโจทก์กับจำเลยทั้งสิบทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 หลังจากนั้นจำเลยทั้งสิบผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ วันที่ 10 กันยายน 2558 โจทก์ขอออกหมายบังคับคดี วันที่ 14 ธันวาคม 2560 โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนที่เหลือเป็นการชำระหนี้แก่โจทก์ วันที่ 22 ธันวาคม 2560 โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโฉนดเลขที่ 810 ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 และโฉนดเลขที่ 87026 ของจำเลยที่ 2 เพื่อนำออกขายทอดตลาด

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกตามที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า กรณีมีเหตุให้เพิกถอนการบังคับคดีหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสอง และวรรคสาม บัญญัติว่า “ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมไซร้ หนี้อันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้น ท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ ความตกลงกันอย่างใด ๆ ขัดกับข้อความดังกล่าวมานี้ ท่านว่าเป็นโมฆะ” ซึ่งหมายความว่า กรณีกู้ยืมเงินกัน หากผู้กู้นำสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นมาตีใช้หนี้แก่ผู้ให้กู้อันมีลักษณะเป็นการคืนเงินที่กู้ไป กฎหมายให้ตีราคาของสิ่งนั้นเป็นเงินเท่ากับราคาท้องตลาดในขณะส่งมอบและถือเสมือนว่าผู้กู้ได้ชำระหนี้เป็นเงินตามวัตถุแห่งหนี้เดิม ทั้งนี้ เพื่อมิให้ผู้กู้ต้องเสียเปรียบจากการถูกกดราคาหรือไม่ได้รับสิ่งตอบแทนคุ้มกับราคาสิ่งของหรือทรัพย์สินที่ต้องเสียไปเพราะขาดอำนาจต่อรองกับผู้ให้กู้ คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า หนี้สินและการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสิบเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกู้ยืมเงินและในข้อ 8 ของสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าหากจำเลยทั้งสิบผิดนัดชำระหนี้ยอมโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนที่เหลือทั้งหมดแก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้โดยตีมูลค่าเท่ากับมูลค่าคงเหลือจากการปลอดจำนอง คล้ายกับเป็นการโอนทรัพย์สินตีใช้หนี้ดังที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองและวรรคสาม โดยมีการกำหนดราคาทรัพย์สินที่จะโอนไว้ล่วงหน้าเท่ากับราคาปลอดจำนอง และเมื่อคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินที่จะโอนตามราคาดังกล่าวแล้วเป็นเงิน 62,965,895.29 บาท ซึ่งจำเลยทั้งสิบกล่าวอ้างว่ามูลค่ารับโอนดังกล่าวต่ำกว่าราคาท้องตลาดและราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินมาก และนำสืบว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินในขณะที่โจทก์ขอรับโอนเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2560 มีมูลค่า 276,388,700 บาท และหากตีตามราคาตลาดจะมีมูลค่าถึง 413,863,500 บาท กรณีจึงมีประเด็นว่าข้อความที่ตกลงกันนั้นเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ เมื่อพิจารณาสัญญาประนีประนอมความซึ่งโจทก์กับจำเลยทั้งสิบทำขึ้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 จะเห็นว่าข้อตกลงที่ให้โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อ 8 เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสัญญาซึ่งมีทั้งหมดสิบข้อ โดยก่อนหน้าทำสัญญาจำเลยทั้งสิบเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินกว่า 100 ล้านบาทและตกเป็นผู้ผิดนัด ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องและบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสิบได้อยู่แล้ว แต่ผลจากการทำสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้จำเลยทั้งสิบพ้นจากการถูกบังคับคดีโดยได้รับการขยายเวลาชำระหนี้เงินกู้และหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ออกไปจากปี 2555 ถึงปี 2558 เป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ทำให้โจทก์ไม่สามารถบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสิบในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนั้นจำเลยที่ 1 ยังได้ประโยชน์จากการที่สามารถประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดินต่อไปซึ่งรวมถึงการโอนขายที่ดินในโครงการให้แก่ผู้จองซื้อที่ดินโดยปลอดจำนองเป็นรายแปลงตามราคาปลอดจำนองที่ตกลงกัน และมีโอกาสที่จะหาเงินผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเวลานานกว่า 3 ปี เพื่อปลดหนี้ที่มีอยู่ได้ ส่วนโจทก์แม้จะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวแต่ก็ต้องแบกรับความเสี่ยงหากท้ายที่สุดจำเลยทั้งสิบไม่สามารถชำระหนี้ จึงเป็นธรรมดาที่โจทก์ต้องหาวิธีลดความเสี่ยงของตนเองโดยทำข้อตกลงว่าเมื่อครบกำหนดเวลาแล้วหากจำเลยทั้งสิบไม่อาจชำระหนี้ก็ต้องโอนทรัพย์จำนองส่วนที่เหลือจากการขายทั้งหมดแก่โจทก์เพื่อจะเอาออกจำหน่ายนำเงินมาชำระหนี้ ทั้งนี้เป็นเพราะการขายที่ดินจำนวนมากในโครงการจัดสรรที่ไม่ประสบความสำเร็จ หากบังคับจำนองขายเป็นรายแปลงอาจจะยุ่งยากและขายไม่ได้เนื่องจากโจทก์ไม่ไช่ผู้ประกอบกิจการบ้านจัดสรร จึงจำเป็นต้องให้โอนทรัพย์ส่วนที่เหลือจากการขายทั้งหมดแก่โจทก์เพื่อจะนำออกขายทั้งโครงการแก่ผู้ลงทุนรายใหม่ซึ่งน่าจะมีโอกาสได้รับเงินคืนมากกว่า ส่วนเรื่องของราคาหรือมูลค่ารับโอนที่คู่สัญญาไม่ได้กำหนดให้ใช้ราคาท้องตลาด แต่ตีราคาเท่ากับราคาปลอดจำนอง จำเลยทั้งสิบอ้างและนำสืบว่าราคาปลอดจำนองที่กำหนดนั้นเป็นจำนวนเพียงร้อยละ 60 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของเจ้าพนักงานที่ดินถึงกระนั้นก็ตาม ราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินก็ไม่ใช่ราคาท้องตลาด ส่วนราคาท้องตลาดที่จำเลยอ้างว่ามีมูลค่าถึง 413,863,500 บาท นางสาวพันธ์ทิพย์ พยานจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจำเลยทั้งสามดังกล่าวกลับเบิกความรับว่าเป็นราคาที่ฝ่ายจำเลยประเมินขึ้นเอง จึงไม่มีความน่าเชื่อถือ และตามปกติราคาท้องตลาดควรจะเป็นราคาที่ขายได้จริง หากราคาปลอดจำนองที่กำหนดไว้ต่ำกว่าราคาท้องตลาดมากดังที่จำเลยทั้งสิบกล่าวอ้าง ในช่วงเวลาของการปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเวลากว่า 3 ปี จำเลยก็น่าจะขายที่ดินและปลดหนี้ไปได้มาก แต่กลับปรากฏว่าจำเลยขายที่ดินไปได้เพียง 17 แปลงไม่ถึงร้อยละห้าของที่ดินในโครงการ ข้ออ้างของจำเลยทั้งสิบจึงฟังไม่ขึ้น การทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสิบจึงมิใช่การทำสัญญาตีใช้หนี้ที่จำเลยเพียงเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินไปชำระหนี้แก่โจทก์ หากแต่เป็นการประนีประนอมยอมความโดยแต่ละฝ่ายต่างยอมสละสิทธิบางอย่างของตนเพื่อแลกกับประโยชน์ที่จะได้มา ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างพิจารณาแล้วเห็นว่าคุ้มค่าและเป็นธรรม ไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบแก่กัน ดังนั้น ถึงแม้ว่าในปัจจุบันราคาท้องตลาดทรัพย์ที่ต้องโอนชำระหนี้แก่โจทก์เพิ่มสูงขึ้นกว่าราคาที่ตกลงกันไว้ก็ตาม ฝ่ายจำเลยจะกลับมาอ้างว่าต้องตีราคาใหม่ตามราคาท้องตลาดปัจจุบันเพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากที่ทำสัญญาไว้ย่อมเป็นการเอาเปรียบและไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ และในทางกลับกันถ้าราคาท้องตลาดในปัจจุบันลดต่ำลงกว่าราคาที่กำหนดไว้ ฝ่ายโจทก์จะร้องขอให้ตีราคาใหม่ตามราคาท้องตลาดปัจจุบันเพื่อจะบังคับให้จำเลยชำระหนี้มากกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญาไม่ได้เช่นกัน ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์มีพฤติการณ์ที่ไม่สุจริตในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือการใช้สิทธิบังคับชำระหนี้แต่ประการใด กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสิบจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองและวรรคสาม อีกทั้งการทำสัญญาดังกล่าวเป็นการประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทภายใต้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ซึ่งกระทำต่อหน้าศาลและคู่ความได้ตรวจสอบแล้วไม่มีฝ่ายใดคัดค้านว่าสัญญาประนีประนอมยอมความหรือข้อตกลงข้อหนึ่งข้อใดฝ่าฝืนต่อกฎหมายจนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาตามยอม หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสิบได้ยื่นอุทธรณ์ว่าถูกอีกฝ่ายฉ้อฉลหลอกลวงหรือคำพิพากษาขัดต่อกฎหมายดังที่ยกขึ้นเป็นเหตุขอให้เพิกถอนการบังคับแต่ประการใด คำพิพากษาดังกล่าวย่อมถึงที่สุดและผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และมาตรา 147

ส่วนประเด็นว่า การออกหมายบังคับคดีและการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้และชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า โจทก์ยื่นคำขอหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2558 ก่อนวันที่ 5 กันยายน 2560 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ และมาตรา 21 ของกฎหมายที่แก้ไขใหม่บัญญัติว่า “พระราชบัญญัตินี้ไม่มีผลกระทบถึงกระบวนพิจารณาของศาลและกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ได้กระทำไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ” การออกหมายบังคับคดีจึงอยู่ในบังคับของกฎหมายเดิมซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 275 (เดิม) กำหนดว่า การขอให้บังคับคดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพียงแต่ยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยระบุถึงคำพิพากษาซึ่งจะขอให้มีการบังคับคดี จำนวนหนี้ที่ยังมิได้ชำระและวิธีการบังคับคดี และมาตรา 21 (3) กำหนดว่าในการยื่นขอฝ่ายเดียวเพื่อให้ออกหมายบังคับคดี ไม่จำต้องฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าตามคำขอออกหมายบังคับคดีลงวันที่ 10 กันยายน 2558 ของโจทก์ได้ระบุรายละเอียดของคำพิพากษาซึ่งศาลออกคำบังคับแล้ว จำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสิบต้องรับผิด จำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชำระ และจำนวนหนี้ที่คงค้างชำระ และขอให้ออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดอายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสิบออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ คำขอของโจทก์จึงมีข้อความครบถ้วนและเมื่อเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียว ศาลจึงมีอำนาจออกหมายบังคับคดีโดยไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสิบตรวจสอบยอดหนี้ก่อนตามที่จำเลยทั้งสิบกล่าวอ้าง ส่วนข้อที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฎีกาว่า ยอดหนี้ที่ระบุในคำขอออกหมายบังคับคดีไม่ตรงกับเอกสารยืนยันภาระหนี้ของโจทก์นั้น เห็นว่า หากยอดหนี้ค้างชำระในคำขอหมายบังคับคดีของโจทก์ไม่ถูกต้อง จำเลยทั้งสิบสามารถโต้แย้งและนำเสนอพยานหลักฐานหักล้างในชั้นบังคับคดีต่อไปได้ หรือข้อที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อ้างว่าโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและต้องนำมูลค่ารับโอนไปหักออกจากจำนวนหนี้ที่ค้างชำระก่อน ปรากฏว่าตามหมายบังคับคดีที่ออกเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2558 ได้ระบุชัดเจนว่าให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาและสัญญาประนีประนอมยอมความที่แนบไปซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสิบจะต้องรับผิดอยู่ในข้อ 8 ว่า เมื่อจำเลยทั้งสิบผิดนัดชำระหนี้ยินยอมให้โจทก์บังคับคดีได้เต็มตามข้อ 1 ซึ่งต้นเงินและดอกเบี้ยที่ต้องรับผิดตรงกับคำขอท้ายฟ้องเท่ากับว่าให้จำเลยทั้งสิบกลับไปรับผิดตามฟ้องนั่นเองซึ่งมีต้นเงิน 109,892,340.23 บาท และดอกเบี้ยอีกร้อยละ 21 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ในระหว่างปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยทั้งสิบได้ชำระเงินแก่โจทก์ไปบางส่วนจำนวน 35,651,870.50 บาท ในการบังคับจึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าว และมูลค่ารับโอนทรัพย์สินส่วนที่เหลือจำนวน 62,965,895.29 บาท ไปหักออกจากหนี้ดอกเบี้ยและเงินต้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 329 ก่อนเหลือเท่าใดจึงจะเป็นจำนวนหนี้ที่โจทก์สามารถบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสิบต่อไปได้ การคำนวณหาจำนวนหนี้สุทธิที่ค้างชำระและการยึดอายัดดังที่กล่าวมาเป็นขั้นตอนของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการต่อไปหลังจากได้รับหมายบังคับคดีของศาล และเมื่อทราบจำนวนหนี้สุทธิที่เหลือก็สามารถยึดอายัดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสิบโดยไม่จำเป็นต้องรอให้จดทะเบียนรับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลือเสร็จสิ้นก่อนเพราะตามคำพิพากษารวมถึงสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้กำหนดเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องจดทะเบียนรับโอนทรัพย์สินส่วนที่เหลือเสร็จสิ้นก่อนจึงจะบังคับคดีเอากับทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสิบได้ การยื่นคำขอหมายบังคับคดีของโจทก์ไม่ได้ข้ามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติแต่ประการใด การออกหมายบังคับคดีจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหนี้ที่จำเลยทั้งสิบต้องรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 1 และข้อ 8 มีจำนวนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทในขณะที่จำนวนเงินที่จำเลยทั้งสิบผ่อนชำระไปแล้วรวมกับมูลค่ารับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลือซึ่งจะนำไปหักออกมีไม่ถึงหนึ่งร้อยล้านบาท ทำให้ยังคงมีหนี้เหลืออยู่ โจทก์จึงสามารถยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสิบออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ที่ค้างได้ กรณีจึงไม่มีเหตุให้เพิกถอนการบังคับคดี ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฟังไม่ขึ้น และเมื่อไม่มีการเพิกถอนการบังคับคดีจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่นอีกต่อไป ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย

พิพากษากลับ ให้ยกคำร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลนอกจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 สั่งคืนให้เป็นพับ

 




การบังคับคดีตามคำพิพากษา

จำเลยมีสิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, โจทก์มีสิทธิยึดชำระหนี้ได้แม้ยังเป็นชื่อผู้จัดการมรดก, การยึดทรัพย์มรดก, การบังคับคดี
การขายทอดตลาดที่ดิน, การประมูลซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด, ความไม่สุจริตในการประมูลซื้อที่ดิน, การขับไล่ผู้คัดค้านออกจากที่ดิน,
เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดิน, อำนาจฟ้อง, การฟ้องร้องละเมิดเจ้าพนักงานบังคับคดี, คดีการขายทอดตลาดในราคาต่ำกว่าปกติ
ลำดับการนับโทษคดีอาญา, การนับโทษจำคุกต่อเนื่อง, การแก้ไขหมายจำคุก,
คำร้องงดการบังคับคดี, การเพิกถอนการบังคับคดี, การขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ทรัพย์สินของแผ่นดิน, เงินอุดหนุนจากรัฐและการยกเว้นการอายัด, หน่วยงานของรัฐกับการบังคับคดี
ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ประธานขาดอายุความแล้วแต่ต้องบังคับคดีภายในสิบปี
การปล่อยทรัพย์ที่ยึด, ร้องขัดทรัพย์, สินส่วนตัวและสินสมรส, การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์
ยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย, ค่าธรรมเนียมการยึดหรือการบังคับคดี, อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคาร
คำขอไต่สวนทรัพย์สินของลูกหนี้, บังคับคดีลูกหนี้ตามคำพิพากษา, การยึดทรัพย์สินลูกหนี้
ขอให้เพิกถอนการบังคับคดี, ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว
การบังคับคดีแพ่ง การออกหมายบังคับคดี การยึดทรัพย์
โจทก์ขอบังคับคดีค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในจำนวนที่มากกว่าเงินเหลือจากหักค่าใช้จ่าย
ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ออกหมายบังคับคดีได้
ขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนอง
สิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินที่โจทก์นำยึด(ร้องขัดทรัพย์)
ขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี
ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด | ฟ้องขับไล่
เขตอำนาจศาลเรื่องคำร้องขัดทรัพย์
สิทธิขอกันส่วนที่ดินก่อนขายทอดตลาด เจ้าของรวม ขอให้ปล่อยทรัพย์
ขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ระงับการมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามี
การบังคับคดีอายัดเงินค่าหุ้นของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ
เงินเดือนข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีหรืออายัดไม่ได้จริงหรือไม่?
ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์
อายัดเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้มีอำนาจขอให้บังคับคดีคือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
อายัดเงินฝากในบัญชีของจำเลย
บังคับจำนองเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่มีคำพิพากษา