ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




คำขอไต่สวนทรัพย์สินของลูกหนี้, บังคับคดีลูกหนี้ตามคำพิพากษา, การยึดทรัพย์สินลูกหนี้

 ท นาย อาสา ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

 

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

•  บังคับคดีลูกหนี้ตามคำพิพากษา

•  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274

•  สิทธิของเจ้าหนี้ในการบังคับคดี

•  การยึดทรัพย์สินลูกหนี้

•  คำขอไต่สวนทรัพย์สินของลูกหนี้

•  ขั้นตอนการบังคับคดีตามกฎหมาย

•  เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

สรุป คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2567 ดังนี้

ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถขอให้มีการบังคับคดีได้หากลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โดยสามารถยื่นคำร้องฝ่ายเดียวต่อศาลขอให้ไต่สวนทรัพย์สินของลูกหนี้ที่อาจมี เพื่อการบังคับคดีตามมาตรา 277 วรรคหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กฎหมายไม่ได้อนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอฝ่ายเดียวให้ศาลไต่สวนทรัพย์สินลูกหนี้ก่อนที่จะมีการขอให้บังคับคดีได้ เมื่อในคดีนี้โจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำขอบังคับคดี จึงไม่สามารถขอให้ศาลออกหมายเรียกจำเลยเพื่อไต่สวนทรัพย์สินได้ ทั้งนี้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบหาทรัพย์สินของจำเลยเพื่อบังคับคดีต่อไป

ในคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้ตัดสินให้จำเลยชำระเงินและดอกเบี้ย แต่จำเลยไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลออกคำบังคับ แต่เนื่องจากกฎหมายไม่ให้สิทธิศาลออกหมายเรียกลูกหนี้เพื่อไต่สวนทรัพย์สินในกรณีที่ยังไม่ได้ยื่นขอบังคับคดี คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์

โจทก์อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกาโดยได้รับอนุญาต ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ยังไม่ยื่นขอบังคับคดีทำให้ไม่สามารถขอให้ศาลออกหมายเรียกจำเลยเพื่อไต่สวนทรัพย์สินได้ จึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274, 275 และ 277 ที่เกี่ยวข้องในคดีนี้มีดังนี้:

1. มาตรา 274

กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิร้องขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดี หากลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล โดยวิธีการบังคับคดีอาจรวมถึงการยึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือวิธีอื่น ๆ ภายในระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งเป็นการกำหนดสิทธิและเงื่อนไขที่เจ้าหนี้ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการที่ศาลกำหนด

2. มาตรา 275

เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอฝ่ายเดียวเพื่อให้ศาลสั่งบังคับคดี โดยต้องระบุข้อมูลให้ชัดเจนเกี่ยวกับหนี้ที่ลูกหนี้ยังไม่ปฏิบัติตาม และวิธีการที่ขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดี การยื่นคำขอฝ่ายเดียวนี้เป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้สามารถดำเนินการบังคับคดีได้ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษา

3. มาตรา 277

ในกระบวนการบังคับคดี หากเจ้าหนี้มีเหตุอันสมควรสงสัยว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินมากกว่าที่เจ้าหนี้ทราบ หรือไม่รู้ตำแหน่งของทรัพย์สิน หรือไม่แน่ใจว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของลูกหนี้หรือไม่ เจ้าหนี้สามารถยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลให้มีการไต่สวนเพื่อระบุทรัพย์สินนั้น ๆ บทบัญญัตินี้ช่วยให้เจ้าหนี้มีสิทธิติดตามทรัพย์สินที่อาจจะซ่อนเร้นหรือยังไม่ได้ระบุตำแหน่ง เพื่อใช้ในการบังคับคดีต่อไป

สรุปสาระสำคัญ:

มาตราเหล่านี้ช่วยกำหนดวิธีการและกระบวนการที่เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติเมื่อประสงค์จะบังคับคดี หากลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา อย่างไรก็ดี กฎหมายไม่ได้ให้สิทธิเจ้าหนี้ขอให้ศาลไต่สวนทรัพย์สินของลูกหนี้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการยื่นขอให้บังคับคดี

 

บังคับคดีลูกหนี้ตามคำพิพากษา, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274, สิทธิของเจ้าหนี้ในการบังคับคดี, การยึดทรัพย์สินลูกหนี้, คำขอไต่สวนทรัพย์สินของลูกหนี้, ขั้นตอนการบังคับคดีตามกฎหมาย, เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา, คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2567,

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2567

ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้มีการบังคับคดี หากลูกหนี้ตามคำพิพากษามิได้ปฏิบัติตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษา ด้วยการยื่นคำร้องขอฝ่ายเดียวต่อศาลตามมาตรา 275 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ในการบังคับคดีดังกล่าว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวเพื่อให้ศาลทำการไต่สวนว่า ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับคดีมากกว่าที่ตนทราบ หรือมีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับคดีแต่ไม่ทราบว่าทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่หรือเก็บรักษาไว้ที่ใด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าทรัพย์สินใดเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 277 วรรคหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายไม่ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถยื่นคำขอฝ่ายเดียวให้ศาลทำการไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก่อนมีการขอให้บังคับคดีได้ เมื่อคดีนี้ โจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำขอต่อศาลให้มีการบังคับคดีจึงไม่อาจยื่นคำขอให้ศาลออกหมายเรียกจำเลยมาไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยได้ ทั้งยังเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบหาทรัพย์สินของจำเลย เพื่อดำเนินการบังคับคดีต่อไปด้วยตนเอง

คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 10,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าว นับแต่วันที่ 8 มกราคม 2552 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ทั้งนี้ดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558) ต้องไม่เกินที่โจทก์ขอ กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ คดีถึงที่สุด จำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ขอศาลออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำบังคับ จำเลยลงชื่อรับคำบังคับไว้ด้วยตนเอง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา

โจทก์ยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกจำเลยในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษามาไต่สวนตามคำร้องลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า มีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยแล้วเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่จำเลยมีต่อบุคคลภายนอกเพื่อขายทอดตลาด และนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจศาลออกหมายเรียกลูกหนี้มาทำการไต่สวนได้ตามคำร้องของโจทก์ จึงให้ยกคำขอ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีอำนาจขอให้ศาลออกหมายเรียกจำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษามาเพื่อการไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีหน้าที่สืบทรัพย์ของจำเลยจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอต่อศาลออกหมายเรียกจำเลยมาไต่สวนได้ หากไม่เป็นผล โจทก์จึงค่อยดำเนินการขั้นตอนต่อไปโดยขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อไต่สวนสืบทรัพย์ของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 นั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคำสั่งให้ชําระหนี้ (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคําพิพากษาหรือคำสั่งให้ได้รับชําระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคําพิพากษาหรือคำสั่ง..." มาตรา 275 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะขอให้มีการบังคับคดี ให้ยื่นคําขอฝ่ายเดียวต่อศาลให้บังคับคดีโดยระบุให้ชัดแจ้งซึ่ง (1) หนี้ที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษายังมิได้ปฏิบัติตามคําบังคับ (2) วิธีการที่ขอให้ศาลบังคับคดีนั้น" และมาตรา 277 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในการบังคับคดี ถ้าเจ้าหนี้ตามคําพิพากษามีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษามีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับคดีมากกว่าที่ตนทราบ หรือมีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับคดีแต่ไม่ทราบว่าทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่หรือเก็บรักษาไว้ที่ใด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าทรัพย์สินใดเป็นของลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือไม่ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาอาจยื่นคําขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคําร้องเพื่อให้ศาลทำการไต่สวนได้" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้มีการบังคับคดีถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามิได้ปฏิบัติตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษา โดยการยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลให้บังคับคดีโดยระบุให้ชัดแจ้งซึ่ง (1) หนี้ที่ลูกหนี้ตามคําพิพากษายังมิได้ปฏิบัติตามคําบังคับ (2) วิธีการที่ขอให้ศาลบังคับคดีนั้น ทั้งนี้ ในการบังคับคดีดังกล่าว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจยื่นคำขอฝ่ายเดียวเพื่อให้ศาลทำการไต่สวนว่าลูกหนี้ตามคําพิพากษามีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับคดีมากกว่าที่ตนทราบ หรือมีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับคดี แต่ไม่ทราบว่าทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่หรือเก็บรักษาไว้ที่ใด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าทรัพย์สินใดเป็นของลูกหนี้ตามคําพิพากษาหรือไม่ แต่กฎหมายหาได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถยื่นคำขอฝ่ายเดียวให้ศาลทำการไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก่อนมีการขอให้บังคับคดีไม่ เมื่อโจทก์ยังมิได้ยื่นคำขอต่อศาลให้มีการบังคับคดีจึงไม่อาจยื่นคำขอให้ศาลออกหมายเรียกจำเลยมาไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยได้ ทั้งยังเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องสืบหาทรัพย์สินของจำเลยเพื่อดำเนินการบังคับคดีต่อไปด้วยตนเอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามาชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 



การบังคับคดีตามคำพิพากษา

จำเลยมีสิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, โจทก์มีสิทธิยึดชำระหนี้ได้แม้ยังเป็นชื่อผู้จัดการมรดก, การยึดทรัพย์มรดก, การบังคับคดี
การขายทอดตลาดที่ดิน, การประมูลซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด, ความไม่สุจริตในการประมูลซื้อที่ดิน, การขับไล่ผู้คัดค้านออกจากที่ดิน,
เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดิน, อำนาจฟ้อง, การฟ้องร้องละเมิดเจ้าพนักงานบังคับคดี, คดีการขายทอดตลาดในราคาต่ำกว่าปกติ
ลำดับการนับโทษคดีอาญา, การนับโทษจำคุกต่อเนื่อง, การแก้ไขหมายจำคุก,
คำร้องงดการบังคับคดี, การเพิกถอนการบังคับคดี, การขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ทรัพย์สินของแผ่นดิน, เงินอุดหนุนจากรัฐและการยกเว้นการอายัด, หน่วยงานของรัฐกับการบังคับคดี
ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ประธานขาดอายุความแล้วแต่ต้องบังคับคดีภายในสิบปี
การปล่อยทรัพย์ที่ยึด, ร้องขัดทรัพย์, สินส่วนตัวและสินสมรส, การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์
ยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย, ค่าธรรมเนียมการยึดหรือการบังคับคดี, อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคาร
ขอให้เพิกถอนการบังคับคดี, ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว
การบังคับคดีแพ่ง การออกหมายบังคับคดี การยึดทรัพย์
โจทก์ขอบังคับคดีค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในจำนวนที่มากกว่าเงินเหลือจากหักค่าใช้จ่าย
ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ออกหมายบังคับคดีได้
ขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนอง
สิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินที่โจทก์นำยึด(ร้องขัดทรัพย์)
ขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี
ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด | ฟ้องขับไล่
เขตอำนาจศาลเรื่องคำร้องขัดทรัพย์
สิทธิขอกันส่วนที่ดินก่อนขายทอดตลาด เจ้าของรวม ขอให้ปล่อยทรัพย์
หากผู้กู้นำทรัพย์สินมาตีใช้หนี้แก่ผู้ให้กู้ในราคาท้องตลาดหนี้ระงับ
ขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ระงับการมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามี
การบังคับคดีอายัดเงินค่าหุ้นของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ
เงินเดือนข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีหรืออายัดไม่ได้จริงหรือไม่?
ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์
อายัดเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้มีอำนาจขอให้บังคับคดีคือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
อายัดเงินฝากในบัญชีของจำเลย
บังคับจำนองเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่มีคำพิพากษา