ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ทรัพย์สินของแผ่นดิน, เงินอุดหนุนจากรัฐและการยกเว้นการอายัด, หน่วยงานของรัฐกับการบังคับคดี

ท นาย อาสา ฟรี

 

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

ทรัพย์สินของแผ่นดิน, เงินอุดหนุนจากรัฐและการยกเว้นการอายัด, หน่วยงานของรัฐกับการบังคับคดี

ศาลฎีกาพิจารณาว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ตรวจพบเงินในบัญชีของจำเลยจำนวน 289,000 บาท แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ:

-เงินอุดหนุนจากกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 99,000 บาท

-เงินของสมาชิกที่นำมาฝากเพื่อการออม จำนวน 190,000 บาท

โจทก์ร้องขออายัดเงินทั้งสองบัญชี แต่ผู้คัดค้าน (ธนาคาร) แจ้งว่าเงินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 1307 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ มาตรา 301 (5) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งห้ามยึดหรืออายัด

ปัญหาต้องวินิจฉัย

เงินในบัญชีดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่สามารถถูกบังคับคดีได้หรือไม่

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า

-เงินอุดหนุนจากรัฐ:

ถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่สามารถยึดหรืออายัดได้

-เงินสมาชิก:

เงินฝากของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านไม่ได้มีไว้เพื่อการหากำไร แต่เพื่อพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก ถือเป็นทรัพย์สินที่ได้รับการคุ้มครอง ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

ผลการวินิจฉัย

ศาลฎีกาเห็นว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่ให้อายัดเงินดังกล่าวไม่ถูกต้อง ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น ศาลฎีกาพิพากษากลับคำ ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยไม่ให้อายัดเงินทั้งสองบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2567

จำเลยเป็นกองทุนหมู่บ้านตามมาตรา 3 ประกอบมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 โดยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านต้องจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าว หรือกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำเลยมิได้เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตาม ป.พ.พ. จึงมิใช่นิติบุคคลเอกชน แต่เป็นนิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 วรรคสอง (1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย หรือสำหรับส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพและสวัสดิการ หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (2) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (3) รับฝากเงินจากสมาชิกและจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนอื่น เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ (4)... (5)... ทั้งการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านต้องเป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามมาตรา 29 กองทุนหมู่บ้านมีเงินและทรัพย์สินในการดำเนินการตามมาตรา 6 ได้แก่ (1) เงินที่คณะกรรมการกองทุนและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้ (2) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (3) เงินที่สมาชิกนำมาลงหุ้นหรือฝากไว้กับกองทุน (4) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด ๆ (5) ดอกผล รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน ทั้งนี้ มาตรา 11 บัญญัติให้เป็นหน่วยงานของรัฐ และมีวัตถุประสงค์ตาม มาตรา 11 วรรคสอง โดยมาตรา 12 บัญญัติให้ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติประกอบไปด้วย (1) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา 31 ซึ่งโอนมาจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544 มีฐานะเป็นองค์การมหาชน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนแห่งชาติตามมาตรา 11 และกองทุนหมู่บ้านจำเลยที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 5 จึงเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อจัดทำภารกิจของรัฐในการสร้างศักยภาพและความเข็มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรตอบแทน โดยเงินทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการส่วนหนึ่งเป็นเงินอุดหนุนจากงบประมาณของรัฐ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือแม้จะมีเงินบริจาคเข้ามาด้วย เงินบริจาคดังกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพัน เนื่องจากเป็นการบริจาคเพื่อมาช่วยเหลือการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ หรือแม้จะมีทรัพย์สินในส่วนที่เป็นรายได้ เช่นดอกผลหรือประโยชน์อย่างอื่น แต่เมื่อตัวกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินที่เป็นรายได้ของกองทุนย่อมเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน การที่มาตรา 14 บัญญัติว่า กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ก็เพียงเพื่อไม่ให้ต้องนำรายได้ส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เพื่อความคล่องตัวทางการเงิน อันเป็นการยกเว้นหลักทั่วไปตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ดังนั้น เงินฝากในบัญชีเลขที่ 05067074XXXX เป็นเงินที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้จำเลยเพื่อเป็นเงินอุดหนุน จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ไม่อาจยึดหรืออายัดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 301 (5) ส่วนเงินฝากในบัญชีเลขที่ 05067074XXXX เป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการออมตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านเพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้าน อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ โดยจำเลยมิได้มีเจตนารมณ์ในการรับฝากเงินเพื่อหากำไรในทางธุรกิจหรือพาณิชยกรรม เงินจำนวนดังกล่าวที่ฝากไว้กับผู้คัดค้านในบัญชีของจำเลย จึงเป็นเงินของสมาชิก มิใช่เงินของจำเลยที่จะยึดหรืออายัดเพื่อบังคับคดีชำระหนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 303 และมาตรา 316

คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ทั้งสองคนละ 234,788.53 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 16 ตุลาคม 2561) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกา จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง

โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านส่งเงินฝากของจำเลยตามที่โจทก์ทั้งสองขออายัดรวมเป็นเงิน 289,000 บาท แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี หากไม่ส่งขอให้ผู้คัดค้านชำระค่าสินไหมทดแทนเท่าจำนวนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 321

จำเลยยื่นคำร้องและคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของโจทก์ทั้งสองและมีคำสั่งเพิกถอนการอายัดเงินฝากทั้งสองบัญชีดังกล่าว

ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของโจทก์ทั้งสอง

โจทก์ทั้งสองยื่นคำคัดค้านคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดของจำเลยขอให้ยกคำร้องของจำเลย

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดเงินในบัญชีธนาคาร อ. สาขาฝาง ชื่อบัญชีกองทุนหมู่บ้าน ห. บัญชีเลขที่ 05067074XXXX และบัญชีเลขที่ 05067074XXXX ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ

โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยที่ฝากธนาคาร อ. สาขาฝาง บัญชีเลขที่ 05067074XXXX จำนวน 99,000 บาท และบัญชีเลขที่ 05067074XXXX จำนวน 190,000 บาท ตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง หากธนาคาร อ. ผู้คัดค้าน ไม่ส่งมอบเงินที่อายัดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ผู้คัดค้านชำระเงินเท่าจำนวนเงินที่อายัดแก่โจทก์ทั้งสองแทน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง

จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า จำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสองตรวจพบว่าจำเลยมีเงินในบัญชีเงินฝากกับผู้คัดค้าน บัญชีเลขที่ 05067074XXXX จำนวน 99,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยได้รับอุดหนุนจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และบัญชีเลขที่ 05067074XXXX จำนวน 190,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการออม รวมสองบัญชีเป็นเงิน 289,000 บาท โจทก์ทั้งสองขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินทั้งสองบัญชีดังกล่าว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ถึงผู้คัดค้านขออายัดเงินทั้งสองบัญชีให้ผู้คัดค้านส่งเงินทั้งสองบัญชีไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ผู้คัดค้านไม่ส่งเงินทั้งสองบัญชีดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและมีหนังสือลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งว่า เงินทั้งสองบัญชีเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินต้องห้ามมิให้ยึดหรืออายัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1307 และเป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 301 (5)

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า เงินในบัญชีเงินฝากทั้งสองบัญชีของจำเลยที่โจทก์ทั้งสองขออายัดเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน และเป็นเงินที่โจทก์ทั้งสองจะบังคับคดีได้หรือไม่ เห็นว่า จำเลยเป็นกองทุนหมู่บ้าน ตามมาตรา 3 ประกอบมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 โดยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านต้องจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 หรือกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยต้องดำเนินการยื่นคำขอจัดตั้งและจดทะเบียนกองทุนหมู่บ้านต่อนายทะเบียนตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด และมีฐานะเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ว่าด้วยการรับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ 2549 จำเลยจึงมิได้เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงมิใช่นิติบุคคลเอกชน แต่เป็นนิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 วรรคสอง (1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพสร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย หรือสำหรับส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพและสวัสดิการ หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (2) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (3) รับฝากเงินจากสมาชิกและจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนอื่น เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ (4)... (5)... ทั้งการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านต้องเป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามมาตรา 29 กองทุนหมู่บ้านมีเงินและทรัพย์สินในการดำเนินการปรากฏตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้แก่ (1) เงินที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้ (2) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (3) เงินที่สมาชิกนำมาลงหุ้นหรือฝากไว้กับกองทุน (4) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด ๆ (5) ดอกผล รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน ทั้งนี้ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นั้น มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน บัญญัติให้เป็น "หน่วยงานของรัฐ" และมีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 11 วรรคสอง โดยมาตรา 12 บัญญัติให้ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติประกอบไปด้วย (1) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา 31 ซึ่งโอนมาจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544 มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ซึ่งเมื่อได้รับการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ขึ้นแล้ว มาตรา 31 ให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวประกาศยุติการดำเนินการของกองทุนและให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้ เงินงบประมาณ รายได้และลูกจ้างของกองทุนดังกล่าวไปเป็นของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ (2) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (3) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด ๆ (4) ดอกผล รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ดังนั้น กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ตามมาตรา 11 และกองทุนหมู่บ้านจำเลยที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 5 จึงเป็น "หน่วยงานอื่นของรัฐ" ที่มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อจัดทำภารกิจของรัฐในการสร้างศักยภาพและความเข็มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ โดยไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรตอบแทน โดยเงินทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการส่วนหนึ่งเป็นเงินอุดหนุนจากงบประมาณของรัฐ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือแม้จะมีเงินบริจาคเข้ามาด้วย เงินบริจาคดังกล่าว มาตรา 12 ของพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ก็บัญญัติว่าต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพัน เนื่องจากเป็นการบริจาคเพื่อมาช่วยเหลือการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ หรือแม้จะมีทรัพย์สินในส่วนที่เป็นรายได้ เช่นดอกผลหรือประโยชน์อย่างอื่น แต่เมื่อตัวกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินที่เป็นรายได้ของกองทุนย่อมเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นอกจากนี้ การที่มาตรา 14 บัญญัติว่า "กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ" ก็เพียงเพื่อไม่ให้ต้องนำรายได้ส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ก็เพื่อความคล่องตัวทางการเงิน อันเป็นการยกเว้นหลักทั่วไปตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ที่บัญญัติว่า "บรรดาเงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญา หรือได้รับจากการให้ใช้ทรัพย์สิน หรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของทางราชการ ให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินนั้น นำส่งคลังตามระเบียบหรือข้อบังคับที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น" ดังนั้น เงินฝากในบัญชีเงินฝากกับผู้คัดค้าน เลขที่ 05067074XXXX จำนวน 99,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้จำเลยเพื่อเป็นเงินอุดหนุน จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ไม่อาจยึดหรืออายัดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1307 และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 301 (5) ส่วนเงินฝากในบัญชีเงินฝากเลขที่ 05067074XXXX จำนวน 190,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการออม ก็เป็นเงินของสมาชิกที่นำมาฝากไว้ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านเพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านตามหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ โดยจำเลยมิได้มีเจตนารมณ์ในการรับฝากเงินเพื่อหากำไรในทางธุรกิจหรือพาณิชยกรรม เงินจำนวนดังกล่าวที่ฝากไว้กับธนาคารผู้คัดค้านในบัญชีของจำเลย จึงเป็นเงินของสมาชิก มิใช่เงินของจำเลยที่จะยึดหรืออายัดเพื่อบังคับคดีชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 303 และมาตรา 316 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินฝากในบัญชีของจำเลยทั้งสองบัญชีตามคำขอของโจทก์ทั้งสอง และให้ผู้คัดค้านชำระเงินเท่าจำนวนเงินที่อายัดแก่โจทก์ทั้งสอง ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น

พิพากษากลับเป็นให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 

•  กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

•  ทรัพย์สินของแผ่นดิน

•  การอายัดทรัพย์สินตามกฎหมาย

•  มาตรา 1307 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

•  กฎหมายกองทุนหมู่บ้าน พ.ศ. 2547

•  มาตรา 301 (5) วิธีพิจารณาความแพ่ง

•  หน่วยงานของรัฐกับการบังคับคดี

•  เงินอุดหนุนจากรัฐและการยกเว้นการอายัด

สรุป คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2567 

ข้อเท็จจริงและประเด็นทางกฎหมาย

จำเลยเป็นกองทุนหมู่บ้านตาม พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 โดยกองทุนดังกล่าวเป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมของประชาชน ไม่แสวงหากำไร ทรัพย์สินและเงินทุนส่วนหนึ่งมาจากเงินอุดหนุนของรัฐ รวมถึงเงินบริจาคที่ไม่มีเงื่อนไขและเงินของสมาชิก ทั้งนี้ เงินดังกล่าวถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามมาตรา 301 (5) ป.วิ.พ.

โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องเรียกเงินจากจำเลยพร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยชำระเงิน แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงยื่นขออายัดเงินฝากของจำเลยในบัญชีสองบัญชี รวม 289,000 บาท แต่ผู้คัดค้าน (ธนาคาร) ปฏิเสธการส่งเงินโดยให้เหตุผลว่าเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินและได้รับการยกเว้นการอายัด จำเลยและผู้คัดค้านยื่นคำร้องให้เพิกถอนการอายัด ศาลชั้นต้นเห็นชอบให้เพิกถอนการอายัด แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 กลับคำพิพากษาให้อายัดเงินดังกล่าว

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า

เงินในบัญชีของจำเลยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน:

1.เงินอุดหนุน 99,000 บาท - เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินเพื่อใช้ในบริการสาธารณะของรัฐ ห้ามยึดหรืออายัดตามมาตรา 1307 ป.พ.พ. และมาตรา 301 (5) ป.วิ.พ.

2.เงินสมาชิก 190,000 บาท - เป็นเงินของสมาชิกที่ฝากตามวัตถุประสงค์การพัฒนาชุมชน ซึ่งไม่สามารถยึดหรืออายัดได้ตามมาตรา 303 และ 316 ป.วิ.พ.

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า กองทุนหมู่บ้านเป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 11 พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านฯ เงินในบัญชีทั้งสองส่วนมีลักษณะเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินและเงินของสมาชิกที่ไม่อยู่ในข่ายบังคับคดี ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้อายัดเงินดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกา

พิพากษากลับเป็นให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยไม่ให้อายัดเงินในบัญชีทั้งสอง ค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้เป็นพับ

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

•มาตรา 1307

บัญญัติว่า ทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งใช้หรือมีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น ที่ราชพัสดุ ถนน น้ำพุ ห้ามมิให้ยึดหรืออายัดได้ เนื่องจากทรัพย์สินเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในกิจการของรัฐเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ดังนั้น เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลและอยู่ในบัญชีของกองทุนหมู่บ้านถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน และได้รับความคุ้มครองตามมาตรานี้

2. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

•มาตรา 301 (5)

บัญญัติว่า ทรัพย์สินบางประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าห้ามบังคับคดี เช่น ทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือทรัพย์สินของแผ่นดิน ก็ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี เช่นเดียวกับทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการของรัฐ จึงไม่สามารถถูกบังคับคดีได้

•มาตรา 303

บัญญัติว่า ทรัพย์สินที่บุคคลอื่นเป็นเจ้าของหรือมีสิทธิ เช่น เงินฝากที่เป็นของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ไม่สามารถถูกยึดหรืออายัดในกรณีที่ไม่ใช่ทรัพย์สินของลูกหนี้โดยตรง

•มาตรา 316

ระบุว่า หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการบังคับคดี เช่น การยึดหรืออายัดทรัพย์สิน เจ้าหนี้หรือลูกหนี้สามารถร้องขอให้ศาลวินิจฉัยได้

3. พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547

•มาตรา 3 และมาตรา 5

กำหนดให้กองทุนหมู่บ้านจัดตั้งขึ้นโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย มีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยไม่แสวงหากำไร

•มาตรา 6

ทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้านประกอบด้วยเงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินที่สมาชิกนำมาลงทุน หรือเงินบริจาคโดยไม่มีเงื่อนไข

•มาตรา 11

บัญญัติให้กองทุนหมู่บ้านเป็น "หน่วยงานของรัฐ" ซึ่งมุ่งเน้นการสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากเพื่อประโยชน์ของประชาชน

•มาตรา 12

กำหนดประเภททรัพย์สินของกองทุน เช่น เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอน เงินอุดหนุน เงินบริจาค และดอกผลที่เกิดจากการบริหารจัดการ

•มาตรา 14

บัญญัติว่ากองทุนหมู่บ้านไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการทางการเงิน

•มาตรา 29

กำหนดให้รัฐมนตรีเป็นผู้กำกับดูแลกิจการของกองทุนหมู่บ้าน

•มาตรา 31

ระบุการโอนกิจการและทรัพย์สินจากกองทุนหมู่บ้านเดิมที่เป็นองค์การมหาชนมาเป็นกองทุนหมู่บ้านภายใต้กฎหมายฉบับนี้

4. พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502

•มาตรา 24 วรรคหนึ่ง

ระบุว่ารายได้ของหน่วยงานของรัฐต้องนำส่งคลังเว้นแต่กฎหมายจะกำหนดเป็นอย่างอื่น การยกเว้นดังกล่าวในกรณีของกองทุนหมู่บ้านมีจุดประสงค์เพื่อความคล่องตัวในด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินและเงินทุน

สรุปความสัมพันธ์กับบทความ

บทความนี้อธิบายถึงลักษณะทางกฎหมายของทรัพย์สินและเงินฝากของกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินหรือเงินของสมาชิกที่ไม่อาจยึดหรืออายัดได้ เนื่องจากได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายที่กล่าวมา ทั้งนี้เพื่อให้กองทุนสามารถดำเนินภารกิจตามวัตถุประสงค์ของรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ


*****เงินหรือทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีคืออะไร

บทนำ

การบังคับคดีเป็นขั้นตอนทางกฎหมายที่เจ้าหนี้สามารถยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้กำหนดข้อยกเว้นบางประการเกี่ยวกับทรัพย์สินบางประเภทที่ไม่อาจถูกบังคับคดีได้ เพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคล ในบทความนี้จะอธิบายแนวคิดเกี่ยวกับ "เงินหรือทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี" 

นิยามและประเภทของทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

1. ทรัพย์สินของแผ่นดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ

ตาม มาตรา 1307 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น ถนน ที่ราชพัสดุ และทรัพย์สินที่รัฐกำหนดให้ใช้เพื่อกิจการของรัฐโดยเฉพาะ ไม่สามารถถูกยึดหรืออายัดได้

2. ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติให้ได้รับการยกเว้นการบังคับคดี

ตาม มาตรา 301 (5) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทรัพย์สินบางประเภทที่กำหนดโดยกฎหมาย เช่น เงินอุดหนุนของรัฐ ทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐ และเงินบริจาคเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่สามารถถูกบังคับคดีได้

3. ทรัพย์สินที่เป็นของบุคคลอื่นหรือของสมาชิกในกองทุน

ตาม มาตรา 303 และ 316 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินของลูกหนี้โดยตรง เช่น เงินฝากที่เป็นของสมาชิกในกองทุนหมู่บ้าน จะไม่สามารถถูกยึดหรืออายัดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2567

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติถือเป็นหน่วยงานของรัฐ เงินที่ได้รับจากรัฐเพื่ออุดหนุนและเงินของสมาชิกที่ฝากไว้ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนถือเป็นทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นจากการบังคับคดี

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2553

เงินอุดหนุนจากรัฐบาลที่ใช้ในโครงการช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจและสังคม ถือเป็นทรัพย์สินที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะและได้รับการยกเว้นจากการยึดหรืออายัด

3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2561

เงินบริจาคเพื่อสาธารณกุศลที่ได้รับโดยไม่มีเงื่อนไขถือเป็นทรัพย์สินที่ไม่อาจถูกบังคับคดีได้ เนื่องจากมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่กฎหมายคุ้มครอง

4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2545

เงินสนับสนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้หน่วยงานของรัฐใช้ในโครงการพิเศษเพื่อสาธารณประโยชน์ ไม่สามารถถูกยึดหรืออายัดในกรณีที่หน่วยงานมีหนี้สิน

5. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2560

ทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาคเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการกุศล ไม่อาจถูกยึดหรืออายัดได้ตามมาตรา 301 (5) ป.วิ.พ.

6. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2567

เงินทุนที่รัฐสนับสนุนให้แก่กองทุนเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น การพัฒนาชุมชน ไม่อาจถูกบังคับคดีได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้เงินดังกล่าวได้รับการคุ้มครอง

บทสรุป

เงินหรือทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือที่มีลักษณะเฉพาะตามกฎหมาย การศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องช่วยให้เห็นความชัดเจนถึงหลักกฎหมายและข้อยกเว้นในการบังคับคดีที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องและเหมาะสม

 



การบังคับคดีตามคำพิพากษา

จำเลยมีสิทธิรับมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง, โจทก์มีสิทธิยึดชำระหนี้ได้แม้ยังเป็นชื่อผู้จัดการมรดก, การยึดทรัพย์มรดก, การบังคับคดี
การขายทอดตลาดที่ดิน, การประมูลซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด, ความไม่สุจริตในการประมูลซื้อที่ดิน, การขับไล่ผู้คัดค้านออกจากที่ดิน,
เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดิน, อำนาจฟ้อง, การฟ้องร้องละเมิดเจ้าพนักงานบังคับคดี, คดีการขายทอดตลาดในราคาต่ำกว่าปกติ
ลำดับการนับโทษคดีอาญา, การนับโทษจำคุกต่อเนื่อง, การแก้ไขหมายจำคุก,
คำร้องงดการบังคับคดี, การเพิกถอนการบังคับคดี, การขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ประธานขาดอายุความแล้วแต่ต้องบังคับคดีภายในสิบปี
การปล่อยทรัพย์ที่ยึด, ร้องขัดทรัพย์, สินส่วนตัวและสินสมรส, การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์
ยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย, ค่าธรรมเนียมการยึดหรือการบังคับคดี, อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคาร
คำขอไต่สวนทรัพย์สินของลูกหนี้, บังคับคดีลูกหนี้ตามคำพิพากษา, การยึดทรัพย์สินลูกหนี้
ขอให้เพิกถอนการบังคับคดี, ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว
การบังคับคดีแพ่ง การออกหมายบังคับคดี การยึดทรัพย์
โจทก์ขอบังคับคดีค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในจำนวนที่มากกว่าเงินเหลือจากหักค่าใช้จ่าย
ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ออกหมายบังคับคดีได้
ขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนอง
สิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินที่โจทก์นำยึด(ร้องขัดทรัพย์)
ขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี
ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด | ฟ้องขับไล่
เขตอำนาจศาลเรื่องคำร้องขัดทรัพย์
สิทธิขอกันส่วนที่ดินก่อนขายทอดตลาด เจ้าของรวม ขอให้ปล่อยทรัพย์
หากผู้กู้นำทรัพย์สินมาตีใช้หนี้แก่ผู้ให้กู้ในราคาท้องตลาดหนี้ระงับ
ขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ระงับการมีความสัมพันธ์ในทำนองชู้สาวกับสามี
การบังคับคดีอายัดเงินค่าหุ้นของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ
เงินเดือนข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีหรืออายัดไม่ได้จริงหรือไม่?
ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์
อายัดเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้มีอำนาจขอให้บังคับคดีคือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
อายัดเงินฝากในบัญชีของจำเลย
บังคับจำนองเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่มีคำพิพากษา