ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ถอนคืนการให้,ประพฤติเนรคุณ

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

ถอนคืนการให้,ประพฤติเนรคุณ

 การให้โดยเสน่หา เมื่อได้ให้กันแล้วจะถอนคืนการให้ไม่ได้ หากการให้นั้นสมบูรณ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่กฎหมายบัญญัติข้อยกเว้นไว้ให้ถอนคือการให้ได้เฉพาะที่ผู้รับประพฤติเนรคุณต่อผู้ให้เท่านั้น

อย่างไรถึงจะเรียกว่าประพฤติเนรคุณ

  อย่างไรเรียกว่า "ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรง"

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  412/2528

 ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นบุตรโจทก์ โจทก์ยกที่ดินส่วนหนึ่งของโฉนดที่ ๔๘๙๔ เนื้อที่ ๑๒ ไร่ ให้จำเลยโดยเสน่หา ต่อมาโจทก์ไปบ้านจำเลย แล้วเกิดทะเลาะกับจำเลย จำเลยจับผมโจทก์แล้วกระแทกหน้าโจทก์กับพื้นเป็นแผลแตกที่ใต้คางและจำเลยยังบีบคอโจทก์อีกด้วย มีคนเข้าไปห้ามไว้ และมีคนพาโจทก์ไปส่งโรงพยาบาล โจทก์รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ๘ วัน แล้วศาลฎีกาวินิจฉัยต่อไปว่า ปัญหาต่อไปว่า การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ผู้เป็นมารดา ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยขาดความกตัญญูและประทุษร้ายต่อบุพการีผู้มีพระคุณของตน แม้โจทก์จะได้รับบาดเจ็บไม่ถึงสาหัสก็ดี ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ประพฤติเนรคุณโดยประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 (1)  แล้ว โจทก์จึงเรียกถอนการคืนการให้ได้

อย่างไรเรียกว่า "ผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2550

ผู้ให้โดยเสน่หาเจ็บป่วยไปขอความช่วยเหลือจากผู้รับให้ แต่ผู้รับให้ไม่พอใจพร้อมพูดว่า บักหมามึงแก่แล้ว พูดจากลับไปกลับมาเหมือนเด็กเล่นขายของ มึงไม่มีศีลธรรม มึงไปตายที่ไหนก็ไป ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง จึงมีเหตุผู้รับการให้ประพฤติเนรคุณที่ผู้ให้ถอนคืนการให้ได้ เพราะกฎหมายกำหนดว่าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้าย แรงผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณได้

ถ้อยคำไม่สุภาพไม่เป็นเหตุถอนคืนการให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  576/2550

ถ้อยคำว่า "โจทก์ยกที่ดินให้แล้ว ยังจะเอาคืน เสือกโง่เอง อย่าหวังว่าจะได้สมบัติคืนเลย" ข้อความนี้ นี้ เป็นเพียงการกล่าวถ้อยคำไม่สุภาพไม่ถึงขนาดเป็นการหมิ่นประมาทกรณีจึงไม่เข้าเหตุที่โจทก์มีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1147/2503

จำเลยเป็นบุตรสาวของโจทก์ เวลากลางคืนโจทก์ไปตามเด็กหญิงคนใช้ที่บ้านพักจำเลยโดยหาว่าจำเลยเอาเด็กนั้นมากักขังไว้ โจทก์จะให้เด็กกลับบ้านโจทก์ จำเลยไม่ยอม หาว่าโจทก์ปลุกปล้ำเด็กจะเอาเป็นภรรยา เด็กไม่ยอมจึงวิ่งมาหาจำเลย โจทก์จำเลยเถียงกัน จำเลยด่าโจทก์ว่า "ไอ้แก่กูไม่นับถือมึงอ้ายพ่อฉิบหาย" โจทก์ตบหน้าจำเลย จำเลยถีบเอาโจทก์ล้มลงแล้วต่างปล้ำทำร้ายกัน จนร่างกายฟกช้ำดำเขียวไปทั้งสองฝ่าย โจทก์ด่าจำเลยว่าอีสัตว์อีเหี้ยจำเลยด่าโจทก์ว่า "อ้ายแก่อ้ายเนรคุณกูไม่นับถือมึง" มีคนห้ามจึงเลิกกัน ต่อมาอีก 5 วัน โจทก์และจำเลยมาสถานีตำรวจ เรื่องจำเลยหาว่าโจทก์ลักโฉนด เกิดโต้เถียงกันอีก จำเลยด่าโจทก์ว่า "มึงเนรคุณกู กูไม่นับถือมึง แก่แล้วยังบ้าตัณหาข่มขืนเด็ก" ทั้งนี้ ต่อหน้าคนหลายคนเช่นนี้ ถือว่าการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นการประพฤติเนรคุณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) แล้ว คือจำเลยผู้รับได้ทำให้โจทก์ผู้ให้ เสียชื่อเสียงและหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรงเพราะจำเลยได้ว่าโจทก์ข่มขืนเด็ก ซึ่งเป็นความผิดอันจักต้องโทษทางอาญา การกล่าวอ้างทั้งนี้จะถือว่าเป็นเพียงการด่าว่าโต้ตอบกันไปมาระหว่างจำเลยกับโจทก์ไม่ได้ เพราะคำที่กล่าวนั้น มิใช่เพียงคำหยาบที่ไร้ความหมาย หรือที่มิได้ตั้งใจจะให้มีความหมายนอกไปจากเป็นคำหยาบหากแต่เป็นคำกล่าวยืนยันข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยยกขึ้นว่าเอากับโจทก์ว่าบ้าตัณหาข่มขืนเด็กกรณีดังนี้ โจทก์ย่อมถอนคืนการให้ได้

อย่างไรเรียกว่า "ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  301/2551

เหตุที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุที่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (3) นั้น จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ให้มีความจำเป็นเพราะขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีวิต แล้วผู้ให้ร้องขอความช่วยเหลือจากผู้รับและผู้รับอยู่ในฐานะที่จะให้ได้โดยไม่เดือดร้อน แล้วผู้รับปฏิเสธที่จะให้นั้น การที่จำเลยจะขายที่ดินที่โจทก์ยกให้แต่ถูกโจทก์ห้ามปราม จำเลยจึงไปอยู่เสียที่อื่นจนโจทก์ต้องไปอาศัยอยู่กับน้องสาวนั้น จะฟังว่า โจทก์ได้ขอความช่วยเหลือจากจำเลยและจำเลยอยู่ในฐานะที่จะให้ความช่วยเหลือโจทก์ได้โดยไม่เดือดร้อน แล้วจำเลยไม่ช่วยเหลือหาได้ไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณโจทก์ตามฟ้อง

อายุความการถอนคืนการให้

มาตรา 533    เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณนั้นแล้วก็ดีหรือเมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้วหกเดือนนับแต่เหตุเช่นนั้นได้ทราบถึงบุคคลผู้ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ได้นั้นก็ดี ท่านว่าหาอาจจะ ถอนคืนการให้ได้ไม่
อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์เช่นว่านั้น
 
การถอนคืนการให้นั้นกฎหมายได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้ว่าจะต้องฟ้องคดีถอนคืนการให้ภายในเวลาหกเดือนนับแต่เวลาทราบถึงเหตุถอนคืนการให้แต่ต้องฟ้องภายใน 10 ปีนับแต่เหตุถอนคืนการให้ได้เกิดขึ้น หมายความว่า เหตุอาจจะเกิดขึ้นมานานแล้วล่วงเลยเวลาหกเดือนมาแล้วแต่เพิ่งจะทราบเมื่อ 10 วันที่ผ่านมาก็ถือว่ายังไม่ขาดอายุความหากเหตุนั้นเกิดขึ้นยังไม่เกิน 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6962/2550

 จำเลยประพฤติเนรคุณด่าและหมิ่นประมาทโจทก์เมื่อประมาณปลายปี 2538 ถึงต้นปี 2539 แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2544 เกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันที่โจทก์ได้ทราบถึงเหตุเหล่านั้น ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามป.พ.พ. มาตรา 533 วรรคหนึ่ง

การให้ที่ถอนคืนไม่ได้

มาตรา 535    การให้อันจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าจะถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ คือ
(1) ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้
(2) ให้สิ่งที่มีค่าภารติดพัน
(3) ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา
(4) ให้ในการสมรส

การให้ที่ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ คือการให้ตอบแทนที่ผู้รับได้กระทำ การอย่างหนึ่งอย่างใดให้แก่ผู้ให้  ซึ่งมีลักษณะทีเห็นได้ว่าไม่ใช่ทำให้กันเปล่าๆ แต่ผู้รับได้กระทำให้โดยไม่คิดค่าจ้าง  ผู้ให้จึงให้ทรัพย์สินเป็นบำเหน็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3601/2542

จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์เป็นเงิน 70,000 บาทเศษ ส่วนโจทก์ให้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างราคา 500,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทน เมื่อเปรียบเทียบแล้วราคาที่ดินพิพาทสูงกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์เมื่อ 3 ถึง 4 ปี ที่แล้วไม่น้อยกว่า 7 เท่า การที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ 

การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน ได้แก่การให้ตามมาตรา 528 ซึ่งผู้รับต้องปฏิบัติตามภาระตอบแทนการให้  จึงถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 528    ถ้าทรัพย์สินซึ่งให้นั้นมีค่าภารติดพันและผู้รับละเลยเสียไม่ชำระค่าภารติดพันนั้นไซร้ ท่านว่าโดยเงื่อนไขอันระบุไว้ในกรณี สิทธิเลิกสัญญาต่างตอบแทนกันนั้นผู้ให้จะเรียกให้ส่งทรัพย์สินที่ให้นั้นคืนตามบทบัญญัติว่าด้วยคืนลาภมิควรได้นั้นก็ได้เพียงเท่าที่ควรจะเอาทรัพย์นั้นไปใช้ชำระค่าภารติดพันนั้น

โจทก์กับจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลย เป็นการตอบแทนที่จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทที่โจทก์เป็นหนี้ธนาคารอยู่ อันเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. มาตรา 535 (2)

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2551

การให้โดยหน้าที่ธรรมจริยา  เป็นการให้ที่ผู้ให้ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องให้ แต่เป็นการให้ตามหน้าที่ศีลธรรม เช่น ลูกหนี้มีหน้าที่ตามธรรมจรรยาที่จะใช้หนี้ซึ่งขาดอายุความฟ้องร้องไปแล้ว  เพราะลูกหนี้ได้เอาเงินของเจ้าหนี้ไปจริง หรือบิดามารดามีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูอุปการะบุตรซึ่งจัดอยู่ในหน้าที่ตามธรรมจรรยา

การให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  104/2502

มารดายกที่ดินและห้องทั้งหมดให้โจทก์ผู้เป็นบุตรและสั่งให้แบ่งที่ดินและห้องบางส่วนให้จำเลยซึ่งเป็นหลานด้วยโจทก์ก็แบ่งยกให้ตามที่มารดาสั่งดังนี้ถือว่าเป็นการยกให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาโจทก์จะถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้

การให้ในการสมรส  เป็นการให้ทรัพย์สินแก่ผู้รับเนื่องในการสมรส เช่น การที่ญาติให้เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแก่คู่สมรสเพื่อรับไหว้  เป็นการให้ในการสมรส จะถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติหลักเกณฑ์การถอนคืนการให้ไว้ในมาตรา 531 ดังนี้

มาตรา 531    "อันผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้น ท่านว่าอาจจะเรียกได้แต่เพียงในกรณีดั่งจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรง ตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา หรือ
(2) ถ้าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้าย แรง หรือ
(3) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้"




การถอนคืนการให้ประพฤติเนรคุณ

ถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณ, คดีฟ้องขอคืนการให้ทรัพย์สินจากบุตรบุญธรรม,
ถอนคืนการให้-หมิ่นประมาทร้ายแรง
ขาดอายุความถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณ
ผู้รับปฏิเสธให้ความช่วยเหลือ,ถอนคืนการให้
ไม่ยอมให้เงินซื้อยารักษาตัวเป็นการบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิต
การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน, ถอนคืนการให้
หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา