ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยลำพังเป็นสินสมรส

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE 

ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยลำพังเป็นสินสมรส

สินสมรสไม่จำต้องเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองเป็นฝ่ายร่วมกันทำมาหาได้ หากแต่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาก็ย่อมมีผลให้เป็นสินสมรสและคู่สมรสเป็นเจ้าของรวม การจำหน่ายตัวทรัพย์สินจะกระทำได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6870/2556 

จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การต่อสู้ว่าข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 เป็นการตกลงแบ่งทรัพย์สินในลักษณะเจ้าของรวม แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอุทธรณ์อ้างว่าต้องนำบทกฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนมาใช้บังคับก็เป็นข้อที่คู่ความหยิบยกเอาข้อกฎหมายมาปรับใช้แก่ข้อเท็จจริงในคดีอันเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลโดยเฉพาะ และหากศาลเห็นว่าข้อกฎหมายที่คู่ความอ้างมาไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะปรับบทกฎหมายไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนเองได้ อุทธรณ์ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวแล้วในศาลชั้นต้น

แม้ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรสกับโจทก์จะเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์รวมกับบุคคลอื่นก็ต้องถือว่าในส่วนที่จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพราะสินสมรสไม่จำต้องเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองเป็นฝ่ายร่วมกันทำมาหาได้ หากแต่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาก็ย่อมมีผลให้เป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) โดยไม่จำต้องมีข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมก่อนจึงจะเป็นสินสมรส

การที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินซึ่งส่วนของจำเลยที่ 1 เป็นสินสมรสจึงมิใช่เป็นการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมตามปกติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 หากแต่มีลักษณะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และเป็นการจัดการสินสมรส ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 (6) วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อโจทก์มิได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 1 ในการทำนิติกรรมดังกล่าว โจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมแบ่งทรัพย์สินได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปขายให้แก่จำเลยที่ 3 เพราะการจำหน่ายตัวทรัพย์สินจะกระทำได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 3 ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 3 จึงกระทำการโดยไม่สุจริตและไม่มีสิทธิดีไปกว่าจำเลยที่ 2 โจทก์ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 เฉพาะทรัพย์ส่วนที่เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันหรือแทนกันเพิกถอนบันทึกข้อตกลงฉบับลงวันที่ 3 มีนาคม 2551 ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันจดทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาท โฉนดเลขที่ 15212 ตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร หากจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสาม ให้พิพากษาว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและสิทธิจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยปราศจากภาระผูกพัน ให้จำเลยทั้งสามคืนที่ดินพิพาทโดยร่วมกันหรือแทนกันจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาท หากคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ไม่ได้ ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชดใช้เงิน 1,500,000 บาท และให้จำเลยที่ 3 ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทฉบับเจ้าของที่ดินแก่โจทก์

จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ

จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมแบ่งทรัพย์สินระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ตามบันทึกข้อตกลงฉบับลงวันที่ 3 มีนาคม 2551 กึ่งหนึ่ง ในส่วนที่เป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 3 กึ่งหนึ่ง ในส่วนที่เป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 กับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อให้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าวกึ่งหนึ่งโดยปลอดจากภาระติดพัน โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการโอน หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพิกเฉยให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ถ้าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าวกึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์ได้ ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันชำระเงิน 1,500,000 บาท แก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พิพากษายกอุทธรณ์จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้คืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์นอกจากนี้ให้เป็นพับ

จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันในชั้นนี้ฟังเป็นยุติว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2525 และประกอบธุรกิจค้าขายด้วยกันชื่อ ร้านพรประสาท 1999 ในระหว่างสมรสจำเลยที่ 1 ได้จำเลยที่ 2 เป็นภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสและมีบุตรด้วยกัน 1 คน ตั้งแต่ปี 2538 ถึงปี 2551 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้นำเงินที่ทำมาหาได้ร่วมกันไปซื้อที่ดินหลายแปลงจาก นายวิกาล รวมทั้งที่ดินพิพาทซึ่งซื้อเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2549 โดยใส่ชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ต่อมาในปี 2551 จำเลยที่ 1 และที่ 2 เลิกรากัน โดยทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันรวม 10 รายการ ซึ่งระบุให้จำเลยที่ 2 ได้รับทรัพย์สินทั้งสิบรายการโดยจำเลยที่ 2 ยอมชดใช้หนี้ 160,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 1 ได้รับทรัพย์สินส่วนที่เหลือทั้งหมด ทั้งนี้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นของจำเลยที่ 2 ตามข้อตกลงดังกล่าว หลังจากนั้นวันที่ 5 เมษายน 2553 จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แก่จำเลยที่ 3

คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ประการแรกว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่าข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่อ้างการแบ่งทรัพย์สินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ต้องนำบทกฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนมาใช้บังคับในการแบ่งปันทรัพย์สิน เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงให้ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอม และจำเลยที่ 2 นำที่ดินพิพาทไปขายแก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 รับซื้อไว้โดยไม่สุจริต ขอบังคับให้เพิกถอนข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 และให้เพิกถอนการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาท กับให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 1 กับที่ 2 อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา และนำเงินที่ทำมาหาได้ร่วมกันไปซื้อที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 เลิกกันจึงตกลงแบ่งทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างอยู่กินด้วยกันรวมทั้งที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 มีสิทธิขายให้จำเลยที่ 3 ดังนี้ เห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การต่อสู้ว่าเป็นเรื่องการตกลงแบ่งทรัพย์สินในลักษณะเจ้าของรวมระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและเป็นประเด็นที่ตั้งไว้ในคำให้การแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอุทธรณ์อ้างว่า เมื่อทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันทั้งหมดเป็นเจ้าของรวม ต้องนำบทกฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนมาใช้บังคับในการแบ่งปันทรัพย์สินก็เป็นข้อที่คู่ความหยิบยกเอาข้อกฎหมายมาปรับใช้แก่ข้อเท็จจริงในคดีซึ่งเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ หากศาลเห็นว่าข้อกฎหมายที่คู่ความอ้างมาไม่ถูกต้องก็ชอบที่จะปรับบทไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนเองได้ ทั้งคดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำมาหาได้ร่วมกันและเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ด้วย ข้อกฎหมายของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ชอบที่จะปรับบทกฎหมายเองได้ว่าเป็นไปตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 อ้างมาในอุทธรณ์หรือไม่ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วพิพากษายกอุทธรณ์มานั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ข้อนี้ฟังขึ้น และศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปเสียทีเดียวเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและมิให้คดีล่าช้าโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไปวินิจฉัยใหม่

ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ประการต่อไปมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เห็นว่า ที่ดินพิพาทและทรัพย์สินอื่นตามที่ปรากฏในบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรสกับโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ร่วมกับบุคคลอื่นก็ต้องถือว่าในส่วนที่จำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพราะสินสมรสไม่จำต้องเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองเป็นฝ่ายร่วมกันทำมาหาได้ หากแต่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาก็ย่อมมีผลให้เป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 (1) แล้ว ไม่จำต้องมีข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมก่อนจึงจะเป็นสินสมรส ฎีกาของจำเลยที่ 2 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาวินิจฉัยประการสุดท้ายมีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมแบ่งทรัพย์สินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ ในข้อนี้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกความรับข้อเท็จจริงกันว่าทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำมาหาได้ด้วยกันได้แก่รายการทรัพย์สินที่ปรากฏตามบันทึกข้อตกลงการแบ่งทรัพย์สินกับมีทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ให้จำเลยที่ 1 ได้รับตามข้อตกลงดังกล่าว ฉะนั้นทรัพย์สินทั้งหมดที่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมกับจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นสินสมรสที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย การที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินให้ฝ่ายใดได้รับทรัพย์สินใดบ้างย่อมมีผลให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 แต่ผู้เดียว มิใช่การแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมตามปกติดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 หากแต่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความดังจะเห็นได้จากข้อความเบื้องต้นที่ใช้คำว่า "เรื่องเจรจาแบ่งทรัพย์สินระหว่างนายประสาท กับนางปรีญา (สามี-ภรรยา)" โดยมีนายประคอง กำนันตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร กับนายเกษม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร เป็นพยานในบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน ย่อมแสดงว่าการตกลงแบ่งทรัพย์สินรวมถึงที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็เพื่อระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันที่มีอยู่โดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 การที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับสินสมรสย่อมเป็นจัดการสินสมรส ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 (6) วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์มิได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 1 ในการทำนิติกรรมดังกล่าว โจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมแบ่งทรัพย์สินได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 ดังนี้จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปขายให้แก่จำเลยที่ 3 เพราะการจำหน่ายตัวทรัพย์สินจะกระทำได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสอง แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และโจทก์มิได้ยินยอมในการขายที่ดินพิพาท ทั้งจำเลยที่ 3 ก็ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 และคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 3 กระทำการโดยไม่สุจริตและไม่มีสิทธิดีไปกว่าจำเลยที่ 2 โจทก์ชอบที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ เฉพาะส่วนที่เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นพิพากษามาชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้บังคับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 




ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

สามีนำเงินสินสมรสออกให้กู้โดยไม่ได้รับความยินยอม article
ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินส่วนของตน
ที่ดินและรถยนต์ภริยากู้ยืมเงินมาซื้อและผ่อนด้วยเงินเดือน
หย่ากันให้แบ่งสินสมรส-ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าแบ่งสินสมรสไม่ได้
กรณีเป็นที่สงสัยให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สิน
ข้อตกลงให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก
สัญญาค้ำประกันไม่ต้องได้รับความยินยอมคู่สมรส
การแบ่งทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์รวม ทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้
สินส่วนตัวและสินสมรส ของขวัญเนื่องในการสมรสจึงถือว่าเป็นสินสมรส
ข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าเรื่องยกทรัพย์สินให้ฝ่ายหญิง(ภรรยา)
กฎหมายคุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน (ม.1480)
ปลอมลายมือชื่อคู่สมรสในหนังสือให้ความยินยอมไปทำขายฝากที่ดิน
ตกลงให้สินส่วนตัวของฝ่ายหนึ่งตกเป็นสินสมรส
รางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้สินสมรส อายุความ
ความยินยอมในการจัดการสินสมรสไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน
การจัดการสินสมรสเรื่องกู้ยืมเงินและให้กู้ยืมเงิน-ความยินยอมจากคู่สมรส
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก | บันทึกท้ายทะเบียนหย่า
เหตุสมควรขอให้แยกสินสมรส สามีไม่นำเงินสินสมรสมาอุปการะเลี้ยงดูภริยา
สัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่า-ตกลงให้ที่ดินแก่กันไม่ต้องจดทะเบียนบังคับได้
เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก ซึ่งรับซื้อฝากโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน
รับซื้อฝากที่ดินสินสมรสโดยไม่สุจริต- เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ทั้งแปลง
หนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินเมื่อยังไม่มีการหย่าใช้บังคับไม่ได้
เพิกถอนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนดระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดิน
เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี
การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว
การเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรส
ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว แยกสินสมรส
ได้สิทธิทำประโยชน์ที่ดินก่อนจดทะเบียนสมรส
เจ้าหนี้ยึดสินสมรสได้ทั้งหมดยกคำร้องขอกันส่วน
หญิงมีสามีมีอำนาจฟ้องปราศจากความยินยอมหรือไม่