ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สินส่วนตัวและสินสมรส ของขวัญเนื่องในการสมรสจึงถือว่าเป็นสินสมรส

สินส่วนตัวและสินสมรส

-ของใช้ในครอบครัวแม้จะเป็นของขวัญวันแต่งงานหรือเป็นของที่ซื้อมาหลังการสมรสแล้วก็ตามก็เป็นสินสมรส 

-ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรสไม่เป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสในภายหลัง

 -แม้จำเลยเป็นหนี้โจทก์และเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง(คู่สมรส)ก็ตาม โจทก์มิได้ฟ้องคู่สมรสเป็นจำเลยด้วยย่อมไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของคู่สมรสบังคับชำระหนี้ได้

สินส่วนตัว มีบัญญัติไว้ที่มาตรา 1471 กับมาตรา 1472 ส่วน สินสมรส ได้แก่ มาตรา 1474 ระวังจะสับสนระหว่าง มาตรา 1471(3) กับ มาตรา 1474 (2)

มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือ เครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น

มาตรา 1472 สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว

สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว

มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน

(1)ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

 คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับสินส่วนตัวและสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2529

ของขวัญที่เป็นของใช้ในครอบครัว ซึ่งญาติและเพื่อนของคู่สมรสมอบให้เนื่องในวันสมรสนั้น ผู้ให้ย่อมมีเจตนาที่จะให้คู่สมรสได้ใช้สอยเมื่ออยู่ร่วมกัน ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้ให้รายใดแสดงเจตนาไว้เป็นพิเศษว่า มอบแก่คู่สมรสฝ่ายใดโดยเฉพาะแล้ว แม้จะเป็นของที่มอบให้โจทก่อนวันแต่งงาน 1 วัน ก็ตาม ก็ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส ย่อมตกเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474(1)

ของใช้ในครอบครัวแม้จะเป็นของขวัญวันแต่งงานหรือเป็นของที่ซื้อมาหลังการสมรสแล้วก็ตามก็เป็นสินสมรส  เข็มขัดทองซึ่งเป็นของหมั้นให้แก่โจทก์นั้นเมื่อจำเลยได้ใช้ให้บุคคลภายนอกไปเอาคืนมาจากบิดาโจทก์จำเลยก็ต้องรับผิดคืนให้แก่โจทก์ด้วย.

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 หย่าขาดจากโจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่จดทะเบียนหย่า ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตาของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยทั้งสามคืนทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้อง รายการที่ 2, 6, 13, 4 แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้เงิน 134,300 บาท

โจทก์และจำเลยทั้งสามอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามคืนทรัพย์รายการที่ 5 อันเป็นสินส่วนตัวให้แก่โจทก์อีกด้วย หากคืนไม่ได้ให้ใช้เงิน5,600 บาท แก่โจทก์และทรัพย์รายการที่ 1, 3, 4, 7, 9, 10, 11 และ12 เป็นสินสมรส ให้แบ่งแก่โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง ถ้าแบ่งกันไม่ได้ให้ขายทอดตลาดแล้วแบ่งเงินกันคนละครึ่ง ส่วนเข็มขัดทองหนัก 20 บาทนั้น โจทก์ไม่ได้มอบให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องคืนให้โจทก์ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ประเด็นข้อแรกที่จะวินิจฉัยก็คือ ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องรายการที่ 1, 3, 4, 8, 9, 10, 12 คืนตู้เย็นซันโย พัดลมยืนและตั้งโต๊ะ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เก้าอี้หวาย2 ตัวใหญ่หมุนได้ ราวตากผ้าและชั้นตั้งของ เซฟเล็ก เตารีดเนชั้นแนล เป็นสินเดิมของโจทก์หรือว่าเป็นสินสมรส โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันว่า ทรัพย์รายการที่ 1, 3, 4, 9, 10, 12 คือ ตู้เย็นซันโย พัดลมยืนและตั้งโต๊ะ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ราวตากผ้าและชั้นตั้งของ เซฟเล็ก เตารีดเนชั้นแนล เป็นของขวัญที่ญาติและเพื่อนของโจทก์ซื้อให้โจทก์เนื่องในวันแต่งงาน และข้อเท็จจริงได้ความว่าเป็นของที่มอบให้โจทก์ก่อนวันแต่งงาน 1 วัน พิเคราะห์แล้วเห็นว่าของเหล่านี้เป็นของใช้ในครอบครัว เป็นของที่ให้เนื่องในโอกาสแต่งงานของโจทก์และจำเลยที่ 1 ผู้ให้ย่อมมีเจตนาที่จะให้คู่สมรสได้ใช้สอยเมื่อยู่ร่วมกัน ไม่ปรากฏว่าผู้ให้รายใดได้แสดงเจตนาไว้เป็นพิเศษว่ามอบให้แก่โจทก์โดยเฉพาะ ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรส ตกเป็นสินสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) ที่ได้ตรวจชำระใหม่ส่วนทรัพย์ตามรายการที่ 8 คือ เก้าอีกหวาย 2 ตัวใหญ่หมุนได้นั้นโจทก์นำสืบว่าเป็นของขวัญวันแต่งงานซึ่งได้รับมาพร้อมกับของขวัญอื่น ๆ แต่จำเลยนำสืบว่าเป็นของที่ซื้อมาภายหลังแต่งงานแล้ว เห็นว่าทรัพย์รายการที่ 8 นี้ ถึงแม้จะฟังว่าเป็นของขวัญวันแต่งงาน หรือฟังว่าเป็นของที่ซื้อมาหลังแต่งงานแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคำวินิจฉัยแตกต่างกันไป คือต้องฟังว่าเป็นสินสมรส ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทรัพย์รายการที่ 1, 3, 4, 8, 9, 10, 12เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยฎีกาโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปก็คือ เข็มขัดทอง ทรัพย์ตามรายการที่ 14 ซึ่งเป็นของหมั้นนั้น จำเลยที่ 2 และ 3 ให้นายเกียงชุ้นเอาคืนมาจากบิดาโจทก์ดังฟ้องหรือไม่ โจทก์มี ตัวโจทก์ นายจงบิดาโจทก์นางสาวสุภาวดี ปรีชาบริสุทธิกุล และนายเป้งเส็ง แซ่ลี้ เป็นพยานเบิกความประกอบกันว่า หลังจากแต่งงานแล้ว 3 วัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 และนายเกียงชุ้นไปที่บ้านโจทก์ โดยนายเกียงชุ้น บอกบิดาโจทก์ว่าเข็มขัดทองเป็นของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ต้องการเอาคืนแล้วจะซื้อให้ใหม่ บิดาโจทก์จึงคืนเข็มขัดทองให้ไป นายเกียงชุ้นก็เบิกความยอมรับว่าได้ไปบ้านบิดาโจทก์พร้อมกับโจทก์และจำเลยที่ 1จริง แต่ปฏิเสธว่าไม่ได้พูดขอเข็มขัดทองคืนแต่อย่างใด เพียงแต่ไปเป็นเพื่อในฐานะเป็นเถ้าแก่เท่านั้น แต่ตัวจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาจำเลยที่ 1 เบิกความยอมรับว่า เข็มขัดทองเป็นของจำเลยที่ 3ตอนแรกได้เคยพูดกับนายเกียงชุ้นซึ่งเป็นเถ้าแก่ว่า เข็มขัดทองที่เป็นของหมั้นนั้นให้เอาไปจัดการหมั้น แต่เมื่อเสร็จแล้วให้ขอคืนมา แล้วแลกเป็นเงินสดให้ไป ส่วนนายเกียงชุ้นซึ่งเบิกความปฏิเสธว่า ไม่ได้พูดขอเข็มขัดทองคืนจากบิดาโจทก์นั้นเห็นว่า นายเกียงชุ้นเป็นคนของฝ่ายจำเลย ใช้แซ่เดียวกันกับจำเลยทั้งสาม คำของนายเกียงชุ้นที่เบิกความปฏิเสธดังกล่าวแล้ว จึงยากที่จะรับฟัง ตามพฤติการณ์แห่งคดีพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักและเหตุผลฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ให้นายเกียงชุ้นไปเอาเข็มขัดทองซึ่งเป็นของหมั้นคืนมาจากบิดาโจทก์ พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในข้อนี้ไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานโจทก์ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดคืนเข็ดขัดทองให้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น คดีฟังได้ว่า ได้ร่วมเอาเข็มขัดทองคืนมา จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่ 2 และ 3 ไม่ต้องคืนเข็มขัดทองแก่โจทก์นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้น"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกันคืนเข็มขัดทองของหมั้นหนัก 20 บาท ให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา 116,00 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

ข้อสังเกต ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ของขวัญเนื่องในการสมรส แม้จะให้ก่อนสมรสก็เป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส จึงถือว่าเป็นสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2534

สินสมรสตามมาตรา 1474 ต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรสกลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสได้

บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องก่อนที่ผู้ร้องกับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน  ย่อมถือได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสและเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามมาตรา 1471 (1) แห่ง ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519

        การที่บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องในระหว่างที่ผู้ร้องอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย แม้ว่าจะเป็นเพียงการยกสิทธิครอบครองให้โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและผู้ร้องกับจำเลยได้ทำกินและอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกับผู้ร้อง เพราะการที่จำเลยทำกินและอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกับผู้ร้องเนื่องจากอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนเจตนาหรือลักษณะแห่งการครอบครองเป็นการยึดถือเพื่อตนอันจักทำให้จำเลยเกิดสิทธิครอบครองในทรัพย์สินที่พิพาท

  กรณีที่จะเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรส กลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสไม่

  แม้ว่าหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย โจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องบังคับชำระหนี้แก่โจทก์ได้

คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยชำระเงิน๓๔,๐๐๐ บาทแก่โจทก์ โดยให้ผ่อนชำระเป็นรายปี จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก) เลขที่๕๓๘๘ ตำบลสารจิตร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และบ้านไม้ชั้นเดียวเลขที่ ๒๓/๑หมู่ที่ ๖ ตำบลเดียวกัน ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินอีกแปลงหนึ่งเพื่อบังคับคดี

        ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ที่ดินและบ้านที่โจทก์นำยึดไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยแต่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง โดยนายผัน ปราศัย บิดาผู้ร้องยกให้ผู้ร้องก่อนสมรสกับจำเลยหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ได้เป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องกับจำเลย และผู้ร้องมิได้รู้เห็นหรือให้ความยินยอม ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด

        โจทก์ให้การว่า ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยทำมาหาได้ระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์เพื่อให้ผู้ร้องเดินทางไปทำงานต่างประเทศ และเลี้ยงดูครอบครัวทั้งผู้ร้องก็รู้เห็นและให้ความยินยอมโดยเป็นผู้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ ๕๓๘๘ให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นหลักประกัน ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์ ขอให้ยกคำร้อง

        ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปล่อยบ้านและที่พิพาท
        โจทก์อุทธรณ์

        ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษายืน
        โจทก์ฎีกา

        ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์มีว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องหรือไม่ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับกันว่า นายผันปราศัย บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องก่อนที่ผู้ร้องกับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ย่อมถือได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามมาตรา ๑๔๗๑ (๑) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.๒๕๑๙ ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า นายผันยกที่ดินและบ้านพิพาทให้ผู้ร้องในระหว่างที่จำเลยกับผู้ร้องอยู่กินฉันสามีภริยากันโดยเป็นการยกให้ซึ่งการครอบครองมิได้ทำเป็นหนังสือและผู้ร้องกับจำเลยก็ได้ทำกินและอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมาจึงถือได้ว่าผู้ร้องกับจำเลยได้ครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทอย่างเจ้าของร่วมกัน ที่ดินและบ้านพิพาทจึงตกเป็นของผู้ร้องกับจำเลยร่วมกัน เมื่อผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันโดยมิได้จดทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์สิน ระบุว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของใครก็ต้องถือว่าเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๔ นั้น เห็นว่า การที่นายผันยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องในระหว่างที่ผู้ร้องอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย แม้ว่าจะเป็นเพียงการยกสิทธิครอบครองให้ โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ และผู้ร้องกับจำเลยได้ทำกินและอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกับผู้ร้อง เพราะการที่จำเลยทำกินและอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกับผู้ร้องเนื่องจากอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนเจตนาหรือลักษณะแห่งการครอบครองเป็นการยึดถือเพื่อตน อันจักทำให้จำเลยเกิดสิทธิครอบครองในทรัพย์สินที่พิพาท ยิ่งกว่านั้นการที่โจทก์ฎีกาอ้างข้อกฎหมายว่า เมื่อที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับผู้ร้องเป็นเจ้าของร่วมกันอยู่ก่อนสมรส หลังจากที่จำเลยกับผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกัน ย่อมเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗๔ นั้นก็เห็นว่า กรณีที่จะเป็นสินสมรสตามบทบัญญัติของมาตรา ๑๔๗๔ นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรส กลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสกันดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาไม่ ส่วนที่โจทก์ฎีกาในประการสุดท้ายว่าหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นหนี้ร่วมนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องบังคับชำระหนี้แก่โจทก์ได้

        พิพากษายืน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2522

ที่ดินเป็นสินส่วนตัวของสามีได้เปลี่ยนไปโดยแลกกับที่ดินแปลงอื่น สิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนอีกจำนวนหนึ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนตามกฎหมาย ที่ดินที่ได้มาใหม่กับสิทธิที่จะได้รับเงินนั้น เป็นสินส่วนตัวของสามี ตามมาตารา 1465

ในระหว่างสมรสของโจทก์จำเลย จำเลยได้ที่ดินโฉนดที่ 4084และ 4198 โดย ผ. ยกให้โดยเสน่หาระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัวกับได้ที่ดินโฉนดที่ 5191 โดย ผ. ทำพินัยกรรมยกให้และระบุให้เป็นสินส่วนตัวเช่นเดียวกัน ต่อมา  ล.  อ้างว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ของ  ผ. แต่เป็นของภรรยาซึ่งเป็นบุตรของ น.  และฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งกับแจ้งความกล่าวหาจำเลยทางอาญาหลายคดี ในที่สุด  ล.  กับจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีหนึ่งซึ่งศาลพิพากษาตามยอมมีใจความสำคัญว่า ให้จำเลยได้ที่ดินโฉนดที่ 1176 และให้  ล. ได้ที่ดินโฉนดที่ 5191 ส่วนที่ดินโฉนดที่ 4198 และ 4084 นั้น จำเลยตกลงโอนให้  ล.  โดย ล.  ต้องจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนให้ 3,100,000 บาท  ดังนี้ต้องถือว่าที่ดินโฉนดที่ 4084 และ 4198 กับโฉนดที่ 5191 เดิมเป็นที่ดินที่จำเลยได้รับมาเป็นสินส่วนตัว แม้จำเลยจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ  ล.  ดังกล่าว ก็เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับ  ล.  ในคดีนั้นซึ่งมีประเด็นเพียงว่าที่พิพาทเป็นของ ผ. และ ย. มีอำนาจยกให้จำเลยหรือไม่เท่านั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะของทรัพย์ยังต้องถือว่าที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของจำเลยอยู่นั่นเอง และเมื่อจำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสินส่วนตัวทั้งสามแปลงนั้นให้แก่  ล. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเหตุให้จำเลยได้มาซึ่งที่ดินโฉนดที่ 1176 กับมีสิทธิได้เงินค่าตอบแทน 3,100,000 บาท  ก็ต้องถือว่าที่ดินและเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเข้ามาแทนที่ที่ดินทั้งสามแปลง อันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการขายหรือแลกเปลี่ยนตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465(1) ดังนั้น ที่ดินโฉนดที่ 1176 กับเงินค่าตอบแทน 3,100,000 บาท ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลย หาใช่สินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยไม่

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยจดทะเบียนสมรสกัน จำเลยประพฤติชั่วและหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์จึงประสงค์จะหย่าขาด และระหว่างสมรสมีสินสมรสคือรถยนต์ 1 คัน ที่ดินโฉนดที่ 1176 และเงินค่าตอบแทนที่จำเลยจะได้รับจากการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ 4198, 4084 ให้แก่นายลพเป็นเงิน 3,100,000 บาท ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3743/2518 ของศาลแพ่ง ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากับโจทก์ และแบ่งสินสมรสดังกล่าวให้โจทก์

จำเลยให้การว่า ที่ดินโฉนดที่ 1176 และเงินค่าตอบแทน 3,100,000บาท เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่ง ส่วนรถยนต์ราคา5,000 บาท ซึ่งจำเลยพร้อมจะจ่ายให้โจทก์และยินยอมหย่าขาดจากการสมรสจึงขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยาการแบ่งสินสมรสสำหรับรถยนต์ให้จำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ 30,000 บาท ที่ดินโฉนดที่ 1176 ให้จำเลยจดทะเบียนให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละครึ่ง หรือชดใช้เงินให้โจทก์ 75,000 บาท ส่วนเงินค่าตอบแทนในการโอนที่ดินโฉนดที่ 4198, 4084 นั้น ให้จำเลยจ่ายให้โจทก์ 1,550,000 บาท เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าตอบแทนดังกล่าว

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงได้ความว่าระหว่างสมรสของโจทก์จำเลยคุณหญิงผกาฉัตรได้ยกที่ดินโฉนดที่ 4084 และ 4198 ให้จำเลยโดยเสน่หาโดยระบุให้เป็นสินส่วนตัว (เอกสารหมาย ล.19) กับทำพินัยกรรมให้ที่ดินโฉนดที่ 5191 ตกเป็นของจำเลยโดยระบุให้เป็นสินส่วนตัว (เอกสารหมาย ล.2)ต่อมานายลพอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของนางดาพินีภริยานายลพ ไม่ใช่ของคุณหญิงผกาฉัตรและนายลพฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและแจ้งความกล่าวหาจำเลยทางอาญาหลายคดีในที่สุดนายลพกับจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ (เอกสารหมาย ล.22) ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมปรากฏตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3743/2518 ของศาลแพ่ง สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมีใจความสำคัญดังนี้

ข้อ 1. โจทก์จำเลย (คดีหมายเลขแดงที่ 3743/2518 ของศาลแพ่ง)ตกลงกันว่าให้ผู้จัดการมรดกของคุณหญิงผกาฉัตรตามที่ศาลจะมีคำสั่งตั้งจัดการโอนที่ดินโฉนดที่ 1176 ให้นายสมโภชน์จำเลย ฯลฯ
ข้อ 2. ส่วนที่ดินโฉนดที่ 5191 ให้ผู้จัดการมรดกตามข้อ 1. จัดการโอนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของนายลพ โจทก์แต่ผู้เดียว ฯลฯ
ข้อ 3. ที่ดินโฉนดที่ 4198 และ 4084 ซึ่งมีชื่อนายสมโภชน์จำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำเลยตกลงโอนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของนายลพโจทก์แต่ผู้เดียวโดยนายลพโจทก์จะต้องจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนให้นายสมโภชน์จำเลยเป็นเงิน 3,100,000 บาท ภายในเวลาไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน หากครบกำหนดนายลพโจทก์ไม่สามารถนำเงินมาชำระให้จำเลยได้ โจทก์และจำเลยตกลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาด แล้วชำระเงิน 3,100,000 บาท ให้แก่นายสมโภชน์ ส่วนที่เหลือให้ตกเป็นสิทธิแก่นายลพโจทก์ ฯลฯ

คดีมีปัญหาในชั้นฎีกาว่า ที่ดินโฉนดที่ 1176 กับเงินค่าตอบแทนจำนวน3,100,000 บาท จากการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ 4198, 4084 ซึ่งจำเลยได้รับตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีหมายเลขแดงที่ 3743/2518ของศาลแพ่ง เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวของจำเลย

ศาลฎีกาเห็นว่า ในเบื้องต้นที่ดินโฉนดที่ 5191 ซึ่งผู้จัดการมรดกของคุณหญิงผกาฉัตรจะต้องจัดการโอนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของนายลพตามสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารหมาย ล.22 นั้น เป็นสินส่วนตัวของจำเลยซึ่งจำเลยได้รับมาโดยพินัยกรรมที่ระบุให้เป็นสินส่วนตัว (เอกสารหมาย ล.2)ส่วนที่ดินโฉนดที่ 4198, 4084 ซึ่งจำเลยจะต้องโอนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของนายลพ เพื่อจะได้ค่าตอบแทน 3,100,000 บาท ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ก็เป็นสินส่วนตัวของจำเลยเช่นเดียวกัน โดยจำเลยได้รับยกให้มาเป็นสินส่วนตัว (เอกสารหมาย ล.19) แม้ต่อมาจำเลยจะถูกนายลพฟ้องคดีโดยกล่าวอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของนางดาพินีภริยานายลพ ซึ่งคุณหญิงผกาฉัตรไม่มีอำนาจยกให้จำเลยและในที่สุดทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เอกสารหมาย ล.22 และศาลพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3743/2518 ของศาลแพ่งก็ตาม สัญญาประนีประนอมดังกล่าวก็เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับนายลพในคดีนั้น ซึ่งมีประเด็นเพียงว่า ที่พิพาทเป็นของคุณหญิงผกาฉัตรมีอำนาจยกให้จำเลยหรือไม่เท่านั้น ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงลักษณะของทรัพย์ยังต้องถือว่าที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของจำเลยอยู่นั่นเอง และเมื่อจำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นสินส่วนตัวทั้งสามแปลงนั้นให้แก่นายลพตามสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารหมาย ล.22 เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับนายลพ โดยต่างฝ่ายต่างยอมผันผ่อนให้แก่กันเป็นเหตุให้จำเลยได้มาซึ่งที่ดินโฉนดที่ 1176 กับมีสิทธิได้เงินค่าตอบแทน 3,100,000 บาท ก็ต้องถือว่าที่ดินโฉนดที่ 1176 และเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเข้ามาแทนที่ที่ดินทั้งสามแปลงอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการขายหรือแลกเปลี่ยนตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465(1)เดิม ดังนั้น ที่ดินโฉนดที่ 1176 กับเงินค่าตอบแทน 3,100,000 บาท จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย หาใช้สินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาไม่

พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ที่ขอแบ่งทรัพย์สินตามรายการที่ (2) ที่ดินโฉนดที่ 1176 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และรายการที่ (3) เงินค่าตอบแทนที่จำเลยจะได้รับจากการโอนโฉนดที่ดินโฉนดที่ 4198, 4084 แขวง(ตำบล) คลองต้น (บางกะปิฝั่งใต้) เขต(อำเภอ) พระโขนง (บางกะปิ) ให้กับนายลพเป็นเงิน 3,100,000 บาทนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

ขอให้สังเกตว่า สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใด นำไปแลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์อีกอย่างหนึ่งทรัพย์ที่ได้มาใหม่ก็ยังเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1472 ที่เน้นตรงนี้ เพราะว่า ถ้าเป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใด ก็นำสินส่วนตัวคืนให้ฝ่ายนั้น โดยไม่ต้องแบ่งให้คู่สมรสตามกฎหมายลักษณะครอบครัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2540

ในการทำพินัยกรรมเกี่ยวกับสินสมรสระหว่างสามีภริยาต้องบังคับตามมาตรา 1481 ที่ระบุว่าสามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้ ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าโจทก์ตกลงยินยอมให้ ช. สามีทำพินัยกรรมยกสินสมรสของตนให้แก่บุคคลอื่น ข้อตกลงนั้นย่อมฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว และยังขัดต่อความมุ่งหมายของมาตรา 1646 ที่กำหนดให้บุคคลใด ๆมีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้นเหตุนี้ข้อตกลงยินยอมดังกล่าว จึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่ ช. จัดทำ มีผลผูกพันไปถึงที่ดินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ส่วนโจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษา แสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ได้

โจทก์และช.ซึ่งสมรสกันก่อนปี2476ต่างตกลงยินยอมให้แต่ละฝ่ายทำนิติกรรมยกที่ดินสินสมรสส่วนของตนให้บุคคลอื่นในการทำพินัยกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์และช. นี้ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1481แม้โจทก์ตกลงยินยอมให้ช.ทำพินัยกรรมดังกล่าวข้อตกลงยินยอมนั้นย่อมฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นและยังขัดต่อความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1646ที่กำหนดให้บุคคลใดๆมีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้นเหตุนี้ข้อตกลงยินยอมดังกล่าวจึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่ช. จัดทำมีผลผูกพันไปถึงที่ดินสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ด้วยโจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนส่วนของโจทก์ได้  ที่ดินโฉนดเลขที่4837ในส่วนที่พ.ยกให้ช. ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าวพ. ยกที่ดินส่วนนี้ให้ช. เมื่อวันที่9ตุลาคม2476ก่อนที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับซึ่งในกฎหมายดังกล่าวบทที่72ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมียบัญญัติว่า"ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันที่แขก(วันแต่งงาน)ให้เป็นสินเดิมถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส"ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลยพ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ช.ภายหลังการแต่งงานที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่างช.กับโจทก์เมื่อไม่ปรากฎว่าช.และโจทก์มีสินเดิมการแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่68คือชายหาบหญิงคอนช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ2ส่วนและโจทก์มี1ส่วน

โจทก์ฟ้องว่า นายชื้น สุขสัมผัส กับโจทก์ได้อยู่กินและเป็นสามีภริยากันตั้งแต่ปี 2476 และเป็นสามีภริยากันตลอดมาจนกระทั่งนายชื้น ถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์กับนายชื้น มีบุตรด้วยกัน 4 คน บุตร 2 คน ถึงแก่ความตายก่อนนายชื้น คือนางสาวชุ่ม สุขสัมผัส บุตรคนที่ 1 และนางสาวชั้นสุขสัมผัส บุตรคนที่ 4 ส่วนบิดาและมารดานายชื้นถึงแก่ความตายก่อนนายชื้นแล้วจำเลยที่ 1 เป็นบุตรคนที่ 2 จำเลยที่ 3 เป็นบุตรคนที่ 3 จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 เกิดจากนายประทีปยิ้มพลาย ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยา นายชื้นและโจทก์ได้ช่วยกันทำมาหากินมีทรัพย์สินสมรสหลายอย่าง ต่อมานายชื้น ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินซึ่งเป็นสินสมรส กล่าวคือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 4837ตำบลลาดน้ำเค็ม อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ดินโฉนดเลขที่ 5451 ตำบลบ้านแค อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) เลขที่ 2 หมู่ที่ 4ตำบลบ้านแค อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้แก่จำเลยทั้งสามและผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ขอให้พิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 ตำบลลาดน้ำเค็ม อำเภอผักไห่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง เลขที่ 2หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านแค อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ดินโฉนดเลขที่ 5451 ตำบลบ้านแค อำเภอผักไห่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีชื่อนายชื้นในเอกสารทะเบียนที่ดินนั้นเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับนายชื้น โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของกึ่งหนึ่ง และพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน2527 ที่นายชั้นจัดทำขึ้นไม่ผูกพันบังคับในที่ดินส่วนที่เป็นสินสมรสของโจทก์ ห้ามจำเลยทั้งสามและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินส่วนของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสามดำเนินการทางทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้โจทก์ได้ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าว แปลงละกึ่งหนึ่งให้จำเลยทั้งสามกับโจทก์ ออกค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนฝ่ายละครึ่งหากจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสาม ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินได้ตามคำพิพากษาโดยให้โจทก์ทดรองออกค่าธรรมเนียมไปก่อนแล้วบังคับให้จำเลยทั้งสามใช้เงินดังกล่าวคืนโจทก์

จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า ที่ดินทั้งสามแปลงตามฟ้องของโจทก์เป็นสินส่วนตัวของนายชื้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 3 เป็นบุตรของนายชื้นกับโจทก์จริง ไม่ขอยกข้อต่อสู้ใด ๆ มาโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในคดีนี้

ระหว่างพิจารณา โจทก์ถึงแก่กรรม นางจำเริญ สุขสัมผัสผู้จัดการมรดกของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลชั้นต้นอนุญาต

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 ตำบลลาดน้ำเค็มอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของในฐานะสินสมรส 1 ใน 4 ที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1)เลขที่ 2 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านแค อำเภอผักไห่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและที่ดินโฉนดเลขที่ 5451 ตำบลบ้านแค อำเภอผักไห่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับนายชื้นสุขสัมผัส โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของในฐานะเป็นสินสมรสกึ่งหนึ่งพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2527 ไม่มีผลผูกพันและบังคับถึงที่ดินส่วนที่เป็นสินสมรสของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นห้ามจำเลยทั้งสามและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินส่วนที่เป็นของโจทก์ดังกล่าว คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกเสีย

โจทก์ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 4837ตำบลลาดน้ำเค็ม อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของในฐานะเป็นสินสมรสกึ่งหนึ่ง ห้ามจำเลยทั้งสามและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ทั้งสามแปลงดังกล่าว นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติโดยคู่ความมิได้โต้เถียงว่า โจทก์และนายชื้น สุขสัมผัส สมรสกันก่อนปี 2476จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นบุตร จำเลยที่ 2 เป็นหลาน มีทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสซึ่งแต่ละฝ่ายมีส่วนเท่า ๆ กันหลายรายการ รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 5451 และที่ดิน ส.ค.1 และที่ 2 ตำบลบ้านแคอำเภอผักไห่ (อำเภอเสนาใหญ่) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามสำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.5 และ ส.ค.1 เอกสารหมาย จ.7นอกจากนี้ยังมีที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 ตำบลลาดน้ำเค็ม(อำเภอเสนาใหญ่) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดที่ดินระบุว่าเดิมนางพลายเจ้าของที่ดินได้ยกให้นายชื้นและนางชุ้นเป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อนางชุ้นตาย นายชื้นได้ซื้อส่วนของนางชุ้นจากผู้รับมรดกของนางชุ้น ปรากฎตามโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.6 วันที่ 26 พฤศจิกายน 2527 นายชื้นทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 ให้จำเลยที่ 2ยกที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 และยกที่ดินโฉนดเลขที่ 5451 ให้จำเลยที่ 3 ตามพินัยกรรมเอกสารหมาย จ.9 ข้อ 1 ข้อ 2และข้อ 3 ตามลำดับ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2533 นายชื้นถึงแก่กรรม

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อ 3 ข้อ 5 และข้อ 6 ของจำเลยที่ 1และที่ 2 ซึ่งมีสาระสำคัญว่า โจทก์และนายชื้นตกลงยินยอมให้แต่ละฝ่ายทำพินัยกรรมยกทีดินสินสมรสส่วนของตนให้บุคคลอื่น ย่อมเป็นการจัดการสินสมรสร่วมกันโดยการแบ่งสินสมรสออกจากกัน สินสมรสที่แยกออกจากกันจึงตกเป็นทรัพย์สินของแต่ละฝ่าย เพียงแต่ให้ตกเป็นของบุคคลอื่นเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายเท่านั้น พินัยกรรมที่นายชื้นทำตามเอกสารหมาย จ.9 จึงผูกพันโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนพินัยกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรสดังกล่าวนั้น เห็นว่า ในการทำพินัยกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างสามีภริยาต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1481 ซึ่งบัญญัติว่า"สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้" ดังนี้แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าโจทก์ตกลงยินยอมให้นายชื้นทำพินัยกรรมดังกล่าวข้อตกลงยินยอมนั้นย่อมฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้น และยังขัดต่อความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 ที่กำหนดให้บุคคลใด ๆมีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้น เหตุนี้ ข้อตกลงยินยอมดังกล่าว จึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่นายชื้นจัดทำมีผลผูกพันไปถึงที่ดินสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ด้วย โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ได้

ปัญหาต่อไปตามฎีกาข้อ 7 ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 ในส่วนที่นางพลายยกให้นายชื้นเป็นสินส่วนตัวของนายชื้นหรือไม่ และโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของเพียงใด เห็นว่าตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดที่ดินเลขที่ 4837 นางพลายยกที่ดินส่วนนี้ให้นายชื้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2476 ก่อนที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้จังต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับ ซึ่งในกฎหมายดังกล่าว บทที่ 72 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมีย บัญญัติว่า"ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันมีแขก(วันแต่งงาน) ให้เป็นสินเดิม ถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส" ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลย ได้ความจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า นางพลาย ยายของนายชื้น ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้นายชื้นตอนนายชื้นแต่งงาน แต่เป็นเวลาภายหลังการแต่งงาน ดังนั้น ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่างนายชื้นกับโจทก์ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าทั้งนายชื้นและโจทก์มีสินเดิมการแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68คือชายหาบ หญิงคอน นายชื้นจึงมีส่วนเป็นเจ้าของ 2 ส่วน และโจทก์มี 1 ส่วน หาใช่เป็นของนายชื้นและโจทก์คนละกึ่งหนึ่งดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยไม่ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2ฟังขึ้นบางส่วน อนึ่ง ศาลฎีกาเห็นว่า เพื่อสะดวกในการคิดคำนวณความเป็นเจ้าของในที่ดินแปลงนี้ของโจทก์และนายชื้น สมควรกำหนดให้ที่ดินแปลงนี้ทั้งแปลงเป็น 12 ส่วน จำนวนครึ่งหนึ่งหรือ 6 ส่วน ที่เป็นสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียตกเป็นส่วนของนายชื้น 4 ส่วนของโจทก์ 2 ส่วน อีก 6 ส่วนที่นายชื้นซื้อมาเป็นเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 อันตกเป็นส่วนของโจทก์และนายชิ้นคนละ 3 ส่วน เท่า ๆ กัน รวมแล้วนายชิ้นมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 จำนวน 7 ส่วน โจทก์มี 5 ส่วนนายชื้น จึงมีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสให้บุคคลอื่นได้เพียงเฉพาะส่วนของตนจำนวน 7 ส่วนเท่านั้น หามีอำนาจทำเกินไปถึงส่วนของโจทก์อีก5 ส่วนไม่ พินัยกรรมที่นายชื้นทำขึ้นจึงไม่มีผลผูกพันสินสมรสส่วนของโจทก์

พิพากษาแก้เป็นว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 ตำบลลาดน้ำเค็มอำเภอผักไห่ (เสนาใหญ่) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของในฐานะเป็นสินสมรส 5 ใน 12 ส่วน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2

ซื้อบ้านและที่ดินมาก่อนจดทะเบียนสมรส 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6030/2549

          จำเลยที่ 1 ซื้อบ้านและที่ดินเพื่อเป็นเรือนหอ อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 2 แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ซื้อบ้านและที่ดินมาก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 2  บ้านและที่ดินจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1)


 




ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว
การเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรส
ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว แยกสินสมรส
ได้สิทธิทำประโยชน์ที่ดินก่อนจดทะเบียนสมรส
เจ้าหนี้ยึดสินสมรสได้ทั้งหมดยกคำร้องขอกันส่วน
หญิงมีสามีมีอำนาจฟ้องปราศจากความยินยอมหรือไม่
สามีนำเงินสินสมรสออกให้กู้โดยไม่ได้รับความยินยอม
ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินส่วนของตน
ที่ดินและรถยนต์ภริยากู้ยืมเงินมาซื้อและผ่อนด้วยเงินเดือน
หย่ากันให้แบ่งสินสมรส-ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าแบ่งสินสมรสไม่ได้
กรณีเป็นที่สงสัยให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สิน
ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยลำพังเป็นสินสมรส
ข้อตกลงให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก
สัญญาค้ำประกันไม่ต้องได้รับความยินยอมคู่สมรส
การแบ่งทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์รวม ทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้
ข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าเรื่องยกทรัพย์สินให้ฝ่ายหญิง(ภรรยา)
กฎหมายคุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน (ม.1480)
ปลอมลายมือชื่อคู่สมรสในหนังสือให้ความยินยอมไปทำขายฝากที่ดิน
ตกลงให้สินส่วนตัวของฝ่ายหนึ่งตกเป็นสินสมรส
รางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้สินสมรส อายุความ
ความยินยอมในการจัดการสินสมรสไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน
การจัดการสินสมรสเรื่องกู้ยืมเงินและให้กู้ยืมเงิน-ความยินยอมจากคู่สมรส
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก | บันทึกท้ายทะเบียนหย่า
เหตุสมควรขอให้แยกสินสมรส สามีไม่นำเงินสินสมรสมาอุปการะเลี้ยงดูภริยา
สัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่า-ตกลงให้ที่ดินแก่กันไม่ต้องจดทะเบียนบังคับได้
เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก ซึ่งรับซื้อฝากโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน
รับซื้อฝากที่ดินสินสมรสโดยไม่สุจริต- เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ทั้งแปลง
หนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินเมื่อยังไม่มีการหย่าใช้บังคับไม่ได้
เพิกถอนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนดระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดิน
เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี