ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




กฎหมายคุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน (ม.1480)

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

กฎหมายคุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน (ม.1480)

การจัดการสินสมรสไม่ได้รับความยินยอมเพิกถอนไม่ได้หากผู้รับโอนสุจริตเสียค่าตอบแทน

มาตรา 1480 บัญญัติหลักเกณฑ์ในการจะเพิกถอนนิติกรรมนั้นไว้เป็นการเฉพาะแล้วว่า ไม่สามารถเพิกถอนได้หากบุคคลภายนอกได้ทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน จึงเป็นข้อยกเว้นหลัก"ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2557

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

 เผยแพร่เมื่อ: 1 พ.ย. 2559 11:17:00

คำพิพากษาย่อสั้น

ในกรณีที่สามีหรือภริยาจัดการสินสมรสไปโดยมิได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง มี ป.พ.พ. มาตรา 1480 บัญญัติหลักเกณฑ์ในการที่ฝ่ายที่ได้รับความเสียหายจะเพิกถอนนิติกรรมนั้นไว้เป็นการเฉพาะแล้วว่า ไม่สามารถเพิกถอนได้หากได้ความว่าบุคคลภายนอกได้ทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์ทั่วไปว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนมาใช้แก่กรณีนี้ได้

เมื่อโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารมหาชนที่เปิดเผยแก่บุคคลโดยทั่วไประบุว่าจำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยทางมรดก ย่อมทำให้เข้าใจว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 มีผลให้เชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยที่ 2 สามารถทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ ส่วนข้อผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่บุคคลภายนอกไม่อาจรับรู้ได้ จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกทำนิติกรรมโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ไม่อาจเพิกถอนได้

คำพิพากษาย่อยาว

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 176160 ตำบลคลองตันเหนือ (ที่ 11 ฝั่งพระโขนงเหนือ) อำเภอวัฒนา (พระโขนง) กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างคือบ้านเลขที่ 14/2 ซอยสุขุมวิท 61 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หากจำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

จำเลยที่ 1 ให้การขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ

ศาลชั้นต้นพิพากษา ยกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 10,000 บาท

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนที่ไม่มีผู้ใดโต้แย้งฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นสามีภริยากัน จดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2528 เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2546 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางสมพร ซึ่งเป็นมารดาได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 176160 พร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทบนที่ดินดังกล่าวเป็นชื่อของจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียว โดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นมรดกที่ได้รับจากมารดา แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ซึ่งร่วมกันซื้อมาจากทายาทอื่นของมารดาจำเลยที่ 2 หลังจากนั้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2550 ได้มีการทำนิติกรรมขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวทั้งแปลงระหว่างจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ขายฝากกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ซื้อฝาก โดยมีนางสาวเกียว เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมขายฝากที่ดินในส่วนที่เป็นสินสมรส

ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นนี้ตามฎีกาโจทก์มีเพียงว่า จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมซื้อฝากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้มีปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสินสมรสอันเป็นเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 ได้บัญญัติวางหลักเกณฑ์ในกรณีที่สามีหรือภริยาจัดการสินสมรสไปโดยมิได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายที่ได้รับความเสียหายจะเพิกถอนได้หรือไม่ อย่างไร ไว้เป็นการเฉพาะแล้วว่า หากได้ความว่าบุคคลภายนอกได้ทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนแล้ว ก็ไม่สามารถเพิกถอนได้ จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์ทั่วไปว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนมาใช้แก่คดีนี้ได้ 

สำหรับปัญหาว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ทำนิติกรรมกับจำเลยที่ 2 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ เห็นว่า จากทางนำสืบของโจทก์เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 หลงเชื่อคำชักชวนและเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้นายชิดชนกนำโฉนดที่ดินพิพาทไปค้ำประกันเงินกู้ มีการนำโฉนดที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินโดยเปิดเผยและถูกต้องตามกฎหมาย ที่จำเลยที่ 2 กล่าวอ้างว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหลายฉบับโดยไม่อ่านข้อความและไม่ทราบว่าเป็นการทำนิติกรรมขายฝากนั้น เมื่อคำนึงว่าจำเลยที่ 2 จบการศึกษาชั้นปริญญาตรี ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของมารดา ไม่เชื่อว่าจำเลยที่ 2 จะหละหลวมและหลงเชื่อคำหลอกลวงของผู้อื่นได้ง่ายขนาดนั้น ทั้งจำเลยที่ 2 เบิกความอ้างสาเหตุที่หลวมตัวลงชื่อทำนิติกรรมขายฝากก็ขัดแย้งกันเอง เช่น อ้างว่านายชิดชนกขอโฉนดที่ดินพิพาทไปค้ำประกันโดยไม่จดทะเบียน แต่เมื่อนายชิดชนกชักชวนไปที่สำนักงานที่ดิน จำเลยที่ 2 ก็ไปและยังยินยอมลงชื่อในเอกสารหลายฉบับ วิญญูชนย่อมรู้ดีว่าเป็นการทำนิติกรรมและต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน ทั้งจำเลยที่ 2 ยังยอมรับเงินค่าตอบแทนและเช็คอีก 12 ฉบับ จากนายชิดชนกอีกด้วย จึงน่าเชื่อว่าเป็นการทำนิติกรรมโดยสมัครใจของจำเลยที่ 2 เพื่อผลประโยชน์บางอย่าง แต่ปิดบังมิให้โจทก์รู้ จนกระทั่งโจทก์ทราบความจริงเอง แต่อย่างไรก็ตาม โจทก์และจำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 1 มาก่อน จึงไม่มีข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกันสมคบกับนายชิดชนกหรือจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ทราบว่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างส่วนหนึ่งเป็นสินสมรสของโจทก์ เมื่อในโฉนดที่ดินพิพาทระบุว่า จำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาทางมรดก อันเป็นเอกสารมหาชนที่เปิดเผยแก่บุคคลโดยทั่วไปให้เข้าใจว่าที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 ข้อผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่บุคคลภายนอกไม่อาจรับรู้ได้ เมื่อหลักฐานทางเอกสารปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ย่อมเข้าใจได้โดยสุจริตว่าจำเลยที่ 2 สามารถทำนิติกรรมได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ ส่วนนางสาวเกียวผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าร่วมสมคบหรือรู้ว่าที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 พยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่มีเหตุผลและน้ำหนัก ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมขายฝากกับจำเลยที่ 2 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ไม่อาจขอเพิกถอนได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษานั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ 




ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกแม้ไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลสมบูรณ์
เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี
การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว
การเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรส
ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว แยกสินสมรส
ได้สิทธิทำประโยชน์ที่ดินก่อนจดทะเบียนสมรส
เจ้าหนี้ยึดสินสมรสได้ทั้งหมดยกคำร้องขอกันส่วน
หญิงมีสามีมีอำนาจฟ้องปราศจากความยินยอมหรือไม่
สามีนำเงินสินสมรสออกให้กู้โดยไม่ได้รับความยินยอม
ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินส่วนของตน
ที่ดินและรถยนต์ภริยากู้ยืมเงินมาซื้อและผ่อนด้วยเงินเดือน
หย่ากันให้แบ่งสินสมรส-ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าแบ่งสินสมรสไม่ได้
กรณีเป็นที่สงสัยให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สิน
ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยลำพังเป็นสินสมรส
ข้อตกลงให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก
สัญญาค้ำประกันไม่ต้องได้รับความยินยอมคู่สมรส
การแบ่งทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์รวม ทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้
สินส่วนตัวและสินสมรส ของขวัญเนื่องในการสมรสจึงถือว่าเป็นสินสมรส
ข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าเรื่องยกทรัพย์สินให้ฝ่ายหญิง(ภรรยา)
ปลอมลายมือชื่อคู่สมรสในหนังสือให้ความยินยอมไปทำขายฝากที่ดิน
ตกลงให้สินส่วนตัวของฝ่ายหนึ่งตกเป็นสินสมรส
รางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้สินสมรส อายุความ
ความยินยอมในการจัดการสินสมรสไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน
การจัดการสินสมรสเรื่องกู้ยืมเงินและให้กู้ยืมเงิน-ความยินยอมจากคู่สมรส
เหตุสมควรขอให้แยกสินสมรส สามีไม่นำเงินสินสมรสมาอุปการะเลี้ยงดูภริยา
สัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่า-ตกลงให้ที่ดินแก่กันไม่ต้องจดทะเบียนบังคับได้
เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก ซึ่งรับซื้อฝากโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน
รับซื้อฝากที่ดินสินสมรสโดยไม่สุจริต- เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ทั้งแปลง
หนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินเมื่อยังไม่มีการหย่าใช้บังคับไม่ได้
เพิกถอนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนดระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดิน