ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ข้อตกลงให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3)  @peesirilaw  หรือ (4) peesirilaw   (5)   leenont

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

 

QR CODE 

ข้อตกลงให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก 

สามีภริยาจดทะเบียนหย่าและได้ทำบันทึกข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินหลังการจดทะเบียนหย่าว่าทั้งสองตกลงยกที่ดินให้กับบุตร  ต่อมาสามีนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปจำนองกับธนาคารแล้วไถ่ถอนและได้นำไปขายฝากกับให้แก่นายทุนและมีการไถ่ถอน ต่อมาสามีได้นำไปขายฝากให้โจทก์ในคดีนี้โดยมีการกำหนดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีมีการชำระดอกเบี้ยกันเรื่อยมาแต่ไม่ได้ไถ่ถอนการขายฝากภายในกำหนด จนกระทั้งถึงแก่ความตายโดย(อดีต)ภริยาและบุตรยังคงอาศัยอยู่ในบ้านหลังพิพาท 

มีคำถามว่าข้อตกลงให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝากนั้นเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมหรือไม่??  ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อสัญญาขายฝากโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สัญญาขายฝากจึงไม่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืม สำหรับเรื่องดอกเบี้ยระหว่างสัญญาเป็นการชำระสินไถ่บางส่วน  ในประเด็นเรื่องบันทึกข้อตกลงหลังการจดทะเบียนหย่ามีผลบังคับกันได้อย่างหรือไม่???  สัญญาระหว่างสามีและภริยาดังกล่าวเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก สิทธิของบุคคลภายนอกจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลภายนอก(บุตร) ได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุตรได้แสดงเจตนาดังกล่าวจึงยังไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านตามสัญญา ดังนั้นสามีผู้มีชื่อเป็นเจ้าของจึงสามารถจำหน่าย จ่าย โอน ที่ดินและบ้านให้กับบุคคลอื่นได้

   คำพิพากษาศาลฎีกาที่  291/2541

          การที่โจทก์ผู้รับซื้อฝากคิดดอกเบี้ยจาก ส.ผู้ขายฝากและจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นภริยาและบุตรของ ส.เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 499 บัญญัติให้กำหนดสินไถ่กันไว้ได้ การที่โจทก์ตกลงกับ ส. และจำเลยทั้งสองให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก จึงเป็นการกำหนดให้ ส. และจำเลยทั้งสองชำระสินไถ่ให้โจทก์ทั้งสองบางส่วนนั่นเอง ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ถ้าศาลฟังว่าสัญญาขายฝากฉบับพิพาทได้ทำกันจริง สัญญาขายฝากดังกล่าวก็ตกเป็นโมฆะเพราะก่อนไปจดทะเบียนขายฝากโจทก์ทั้งสองได้รู้แล้วว่า ส.ได้จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 2 และตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นผู้เยาว์ ส. ไม่มีอำนาจเอาไปจดทะเบียนขายฝากให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นข้อที่จำเลยทั้งสองได้ยกเรื่องดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การและฟ้องแย้งด้วยแล้ว แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่ปัญหาที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ส. กับจำเลยที่ 2 จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุตรและยังเป็นผู้เยาว์ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 และสิทธิของจำเลยที่ 1 กับพวกจะเกิดมีขึ้นเมื่อได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น ตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวกได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 กับพวกจึงยังไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาท ส. ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของย่อมสามารถโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากที่ดินและบ้านพิพาทจาก ส. ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์กับ ส. มีเจตนาทำสัญญาขายฝากโดยได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และนิติกรรมการขายฝากถูกต้องตามแบบแล้ว แม้โจทก์จะไม่แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบว่าการขายฝากมีการชำระดอกเบี้ย ก็ไม่มีผลทำให้การขายฝากตกเป็นโมฆะ
_____________

          โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2528โจทก์ทั้งสองรับซื้อฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 35746 พร้อมด้วยบ้านเลขที่ 82/8 จากนายสมทบ  แต่นายสมทบไม่ได้ใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนดเวลา และถึงแก่ความตายไปเมื่อวันที่18 กุมภาพันธ์ 2535 โจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยที่ 1 บุตรนายสมทบ และจำเลยที่ 2 ภริยาที่หย่าขาดกันแล้วของนายสมทบอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินของโจทก์ทั้งสองอีกต่อไปจึงบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองออกไปจากบ้านและที่ดินดังกล่าวแต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย บ้านและที่ดินดังกล่าวหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าเดือนละ 7,000 บาท จำเลยทั้งสองพักอาศัยอยู่นับตั้งแต่สิ้นสุดระยะเวลาการไถ่จนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 4 ปี 1 เดือน โจทก์ทั้งสองต้องขาดประโยชน์ไปเป็นเงิน 343,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองพร้อมบริวารออกไปจากบ้านเลขที่ 82/8 กับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายจำนวน 343,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีและค่าขาดประโยชน์นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปอีกเดือนละ 7,000 บาทแก่โจทก์ทั้งสอง จนกว่าจำเลยทั้งสองพร้อมบริวารจะออกไปจากบ้านและที่ดินของโจทก์ทั้งสอง

          จำเลยทั้งสองให้การ กับจำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุตรนายสมทบ ส่วนจำเลยที่ 2 เคยเป็นภริยานายสมทบมาก่อน แต่ได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้วโดยมีบันทึกข้อตกลงในการหย่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับนายสมทบว่าทั้งสองฝ่ายตกลงยกทรัพย์สินรวมทั้งบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 นายธีระพล และนางสาววรรณิภา บุตรทั้งสามซึ่งเป็นผู้เยาว์ นายสมทบจึงไม่มีอำนาจขายฝากบ้านและที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองทราบข้อตกลงในการหย่าระหว่างนายสมทบกับจำเลยที่ 2 โจทก์ทั้งสองรับซื้อฝากไว้โดยไม่สุจริต ทั้งสัญญาขายฝากทำกันในขณะที่จำเลยที่ 1 ยังเป็นผู้เยาว์และไม่ได้รับอนุญาตจากศาล เป็นโมฆะ นอกจากนี้ สัญญาขายฝากดังกล่าวยังเป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยการแสดงเจตนาลวงด้วยการสมรู้กันระหว่างโจทก์ทั้งสองนายประสานและนายสมทบ ไม่มีเจตนาจะให้ผูกพันกันตามสัญญาขายฝากแต่มีเจตนาจะให้ผูกพันกันตามสัญญากู้ยืมที่นายสมทบเป็นผู้กู้จากนายประสานจำนวน 250,000 บาท บ้านและที่ดินพิพาทยังเป็นของจำเลยที่ 1 นายธีระพลและนางสาววรรณิภาโจทก์ทั้งสองจะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กลับคืนเป็นของนายสมทบตามเดิม โจทก์ทั้งสองไม่ได้กรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองบ้านและที่ดินพิพาทหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่เกินเดือนละ4,000 บาท ขอให้ยกฟ้อง และให้ทำลายหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 35746 ให้เจ้าพนักงานที่ดินถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากการเป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาทแล้วใส่ชื่อนายสมทบเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน และให้โจทก์ทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1

          โจทก์ทั้งสองให้การแก้ฟ้องแย้งว่า สัญญาขายฝากเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยสุจริต ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนายสมทบไม่ใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนดระยะเวลา บ้านและที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองหรือนายประสานไม่เคยทำสัญญากู้ยืมกับนายสมทบสัญญาขายฝากมิได้ทำขึ้นโดยเจตนาลวง จำเลยที่ 1 และนายสมทบเคยถูกบริษัทเอ็มแอนด์บีมัลตี้ จำกัด ฟ้องและถูกยึดบ้านพิพาทโจทก์ทั้งสองร้องขัดทรัพย์ ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดจำเลยทั้งสองทราบเรื่องดี แต่มิได้โต้แย้งการกระทำของโจทก์ทั้งสองประการใด จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งเพื่อประวิงคดีขอให้ยกฟ้องแย้ง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยทั้งสองกับบริวารออกไปจากบ้านและที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเดือนละ 7,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ 23 มีนาคม 2535 จนกว่าจำเลยทั้งสองกับบริวารจะออกไปจากบ้านและที่ดิน คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก และให้ยกฟ้องแย้งจำเลยที่ 1
          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
          จำเลยทั้งสองฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่านายสมทบ บุญแพทย์ กับจำเลยที่ 2 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2509 ระหว่างสมรสเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2518 นายสมทบได้ซื้อที่ดินพิพาทแปลงหมายเลขโฉนดที่ 35746 เนื้อที่ 47 ตารางวา จากนายพัฒพงศ์ และนายไพโรจน์ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2519 นายสมทบ จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 2 และได้ทำบันทึกข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินว่าทั้งสองฝ่ายตกลงยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่บุตรคือจำเลยที่ 1   นายธีระพล  และนางสาววรรณิภา  โดยที่มิได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่บุตรทั้งสาม ต่อมานายสมทบได้นำบ้านและที่ดินพิพาทไปจำนองไว้แก่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด แล้วไถ่ถอนจำนอง และนำไปขายฝากให้แก่นายตุ๋ย  กับนางทองเจือ และมีการไถ่ถอนการขายฝาก เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2528  นายสมทบ ได้ขายฝากบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองในราคา 250,000 บาท มีกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก 3 ปี โดยกำหนดชำระดอกเบี้ยในจำนวนเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และนายสมทบ ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งสอง แต่มิได้ไถ่ถอนการขายฝากภายในกำหนด จนกระทั่งนายสมทบถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2535 โดยจำเลยทั้งสองยังอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาท

          คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อแรกว่าสัญญาขายฝากที่พิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมหรือไม่ศาลฎีกาเห็นว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 499 บัญญัติให้กำหนดสินไถ่กันไว้ได้การที่โจทก์ทั้งสองตกลงกับนายสมทบและจำเลยทั้งสองให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝากจึงเป็นการกำหนดให้นายสมทบและจำเลยทั้งสองชำระสินไถ่ให้โจทก์ทั้งสองบางส่วนนั่นเอง เมื่อโจทก์ทั้งสองกับนายสมทบไปทำสัญญาขายฝากโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงว่าโจทก์ทั้งสองกับนายสมทบมีเจตนาที่จะทำสัญญาขายฝากระหว่างกันอย่างแท้จริง สัญญาขายฝากจึงไม่เป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืม

          ที่จำเลยทั้งสองฎีกาข้อต่อมาว่า ถ้าศาลฟังว่าสัญญาขายฝากเอกสารหมาย ล.6 หรือ จ.2 ได้ทำกันจริง สัญญาขายฝากดังกล่าวก็ตกเป็นโมฆะเพราะก่อนไปจดทะเบียนขายฝากโจทก์ทั้งสองได้รู้แล้วว่านายสมทบได้จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 2 และตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นผู้เยาว์นายสมทบไม่มีอำนาจเอาไปจดทะเบียนขายฝากให้โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปัญหาข้อนี้ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ยกเรื่องดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การและฟ้องแย้งด้วย แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่ปัญหาที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายสมทบ กับจำเลยที่ 2 จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุตรและยังเป็นผู้เยาว์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามมาตรา 374 และสิทธิของจำเลยที่ 1 กับพวกจะเกิดมีขึ้นเมื่อได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น ตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวกได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 กับพวกจึงยังไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาท นายสมทบซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของย่อมสามารถโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้ โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากที่ดินและบ้านพิพาทจากนายสมทบย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง

          จำเลยทั้งสองฎีกาข้อสุดท้ายว่า การขายฝากมีการชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนจึงต้องทำตามแบบสัญญาจำนองการที่โจทก์ทั้งสองกับนายสมทบจดทะเบียนขายฝากจึงไม่ถูกต้องตามแบบ และโจทก์ทั้งสองสมคบกับพวกปกปิดความจริงไม่แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบว่าการขายฝากมีการชำระดอกเบี้ยเป็นการทำนิติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ตกเป็นโมฆะโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง เห็นว่าโจทก์ทั้งสองกับนายสมทบมีเจตนาทำสัญญาขายฝากโดยได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว นิติกรรมการขายฝากจึงถูกต้องตามแบบ และแม้โจทก์ทั้งสองจะไม่แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบว่าการขายฝากมีการชำระดอกเบี้ย ก็ไม่มีผลทำให้การขายฝากตกเป็นโมฆะ
          พิพากษายืน
( สถิตย์ ไพเราะ - ม.ล.เฉลิมชัย เกษมสันต์ - จุมพล ณ สงขลา )
 


มาตรา 374    ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกไซร้ ท่านว่าบุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงได้
(วรรค 2)ในกรณีดั่งกล่าวมาในวรรคต้นนั้นสิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น
มาตรา 499    สินไถ่นั้น ถ้าไม่ได้กำหนดกันไว้ว่าเท่าใดไซร้ ท่านให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก
(วรรค  2)ถ้าปรากฏในเวลาไถ่ว่าสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปี
มาตรา 1532 เมื่อหย่ากันแล้วให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา
แต่ในระหว่างสามีภริยา
(ก) ถ้าเป็นการหย่ากันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนการหย่า
(ข) ถ้าเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาส่วนที่บังคับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น มีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า
***   ปรึกษากฎหมาย   ปรึกษาทนายความ ลีนนท์   085 960 4258   

 




ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

สัญญาค้ำประกันไม่อยู่ในบังคับมาตรา 1476 ไม่ต้องได้รับความยินยอมคู่สมรส
การแบ่งทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์รวม ทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้
สินส่วนตัวและสินสมรส ของขวัญเนื่องในการสมรสจึงถือว่าเป็นสินสมรส
ข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าเรื่องยกทรัพย์สินให้ฝ่ายหญิง(ภรรยา)
กฎหมายคุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน (ม.1480)
ปลอมลายมือชื่อคู่สมรสในหนังสือให้ความยินยอมไปทำขายฝากที่ดิน
ตกลงให้สินส่วนตัวของฝ่ายหนึ่งตกเป็นสินสมรส
รางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้สินสมรส อายุความ
ความยินยอมในการจัดการสินสมรสไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน
การจัดการสินสมรสเรื่องกู้ยืมเงินและให้กู้ยืมเงิน-ความยินยอมจากคู่สมรส
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก | บันทึกท้ายทะเบียนหย่า
เหตุสมควรขอให้แยกสินสมรส สามีไม่นำเงินสินสมรสมาอุปการะเลี้ยงดูภริยา
สัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่า-ตกลงให้ที่ดินแก่กันไม่ต้องจดทะเบียนบังคับได้
เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก ซึ่งรับซื้อฝากโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน
รับซื้อฝากที่ดินสินสมรสโดยไม่สุจริต- เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ทั้งแปลง
หนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินเมื่อยังไม่มีการหย่าใช้บังคับไม่ได้
เพิกถอนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนดระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดิน
เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี
การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว
การเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรส
ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว แยกสินสมรส
ได้สิทธิทำประโยชน์ที่ดินก่อนจดทะเบียนสมรส
เจ้าหนี้ยึดสินสมรสได้ทั้งหมดยกคำร้องขอกันส่วน
หญิงมีสามีมีอำนาจฟ้องปราศจากความยินยอมหรือไม่
สามีนำเงินสินสมรสออกให้กู้โดยไม่ได้รับความยินยอม
ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินส่วนของตน
ที่ดินและรถยนต์ภริยากู้ยืมเงินมาซื้อและผ่อนด้วยเงินเดือน
หย่ากันให้แบ่งสินสมรส-ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าแบ่งสินสมรสไม่ได้
สัญญาระหว่างสมรส
กรณีเป็นที่สงสัยให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส
ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยลำพังเป็นสินสมรส
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สิน