ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินส่วนของตน

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินส่วนของตน

การจดทะเบียนสมรสทำให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินใดที่ได้มาภายหลังการสมรส กฎหมายให้สันนิษฐานว่า เป็นสินสมรส ในกรณีที่สามีภริยาชอบด้วยกฎหมายซื้อที่ดินโดยใส่ชื่อภริยาแต่เพียงผู้เดียว ก็ไม่ทำให้สินสมรสนั้นเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวได้ ในคดีนี้ สามี ภริยา จดทะเบียนสมรสกัน ไม่มีบุตรด้วยกัน แต่ภริยามีบุตรที่เกิดจากสามีเก่า 2 คน ในระหว่างสมรส สามีภริยาซื้อที่ดิน 1 แปลง ใส่ชื่อภริยาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ก่อนภริยาเสียชีวิตได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่บุตรที่เกิดจากสามีเก่าทั้งสองคน สามีมาฟ้องเป็นคดีนี้อ้างว่าเป็นสินสมรส ภริยาไม่มีสิทธินำสินสมรสส่วนของสามีไปทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใด

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3720/2548
 
  โจทก์ได้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาระหว่างสมรส ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินสมรสที่โจทก์และ ข มีสิทธิคนละครึ่งหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอมด้วย ข. จึงไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์พิพาทเกินกว่าส่วนของตนให้แก่จำเลยทั้งสองได้

  เมื่อทรัพย์พิพาทส่วนที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งเป็นสินสมรสไม่ใช่ทรัพย์มรดกจึงไม่อยู่ในอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
 
มาตรา 1474  สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

มาตรา 1476  สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(4) ให้กู้ยืมเงิน
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6) ประนีประนอมยอมความ
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

มาตรา 1480  การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่งห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น

มาตรา 1754  ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม
ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อนๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย
 
   โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 613 ให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งเป็นจำนวนเนื้อที่ 85 ตารางวา พร้อมแบ่งสิ่งปลูกสร้างบ้าน 3 หลังให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง หากแบ่งไม่ได้ให้เอาทรัพย์พิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง

  จำเลยที่ 1 ให้การขอให้ยกฟ้อง
 จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ

   ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง (บ้าน 3 หลัง) บนที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 613 ตำบลโพนทอง (ตำบลในเมือง) อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง หากแบ่งไม่ได้ให้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง

  จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน

  จำเลยทั้งสองฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของนางเขียน โดยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อเดือนเมษายน 2526 ไม่มีบุตรด้วยกัน ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของนายสุวรรณ โอนขายมาเป็นสิทธิชื่อนางเขียนเมื่อปี 2530 ต่อมามีการปลูกสร้างบ้านบนที่ดินหลายหลัง และปี 2540 นางเขียนได้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสองรวมทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทด้วย จำเลยทั้งสองเป็นบุตรนางเขียนกับสามีคนก่อน มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการแรกว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับนางเขียนหรือไม่ โจทก์มีนายสุวรรณเจ้าของที่ดินเดิมมาเบิกความเป็นพยานสนับสนุนว่าพยานได้โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และนางเขียนซึ่งเป็นสามีภริยากันเมื่อปี 2530 ตามสารบัญจดทะเบียน เอกสารหมาย จ.3 โดยโจทก์ให้ใส่ชื่อนางเขียนเป็นผู้รับโอน ส่วนจำเลยทั้งสองอ้างตนเองเบิกความว่านางเขียนได้ซื้อที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2524 และปลูกสร้างบ้านบนที่ดินก่อนนางเขียนจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่เพิ่งมาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทางทะเบียนในปี 2530 เห็นว่า โจทก์มีนายสุวรรณเจ้าของที่ดินเดิมเป็นพยานคนกลางมิได้มีผลประโยชน์กับฝ่ายใดมาเบิกความประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทว่าโอนขายให้แก่โจทก์และนางเขียน เมื่อปี 2530 คำเบิกความของนายสุวรรณมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ส่วนจำเลยทั้งสองคงมีแต่คำเบิกความลอยๆ ว่านางเขียนซื้อที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2524 แต่ยังไม่สามารถจดทะเบียนโอนให้แก่นางเขียนได้เนื่องจากที่ดินติดจำนองอยู่นั้น เห็นว่า หากนางเขียนซื้อที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2524 จริง การที่ที่ดินพิพาทของนายสุวรรณติดจำนองอยู่หาเป็นอุปสรรคในการที่จะโอนกรรมสิทธิ์ซื้อขายกันไม่ เพราะนายสุวรรณย่อมได้เงินจากการขายไปชำระหนี้เพื่อไถ่จำนองได้ พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักให้น่าเชื่อว่าพยานหลักฐานจำเลยทั้งสอง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโจทก์และนางเขียนได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสที่โจทก์และนางเขียนมีสิทธิในทรัพย์พิพาทนั้นคนละครึ่งหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ยินยอมด้วย นางเขียนจึงไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์ที่พิพาทเกินกว่าส่วนของตนให้แก่จำเลยทั้งสองได้ ปัญหาต้องวินิจฉัยประการสุดท้ายมีว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความมรดกหรือไม่ เห็นว่าเมื่อทรัพย์พิพาทส่วนที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งเป็นสินสมรสไม่ใช่ทรัพย์มรดก จึงไม่อยู่ในอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น”

   พิพากษายืน
 




ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกแม้ไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลสมบูรณ์
เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี
การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว
การเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรส
ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว แยกสินสมรส
ได้สิทธิทำประโยชน์ที่ดินก่อนจดทะเบียนสมรส
เจ้าหนี้ยึดสินสมรสได้ทั้งหมดยกคำร้องขอกันส่วน
หญิงมีสามีมีอำนาจฟ้องปราศจากความยินยอมหรือไม่
สามีนำเงินสินสมรสออกให้กู้โดยไม่ได้รับความยินยอม
ที่ดินและรถยนต์ภริยากู้ยืมเงินมาซื้อและผ่อนด้วยเงินเดือน
หย่ากันให้แบ่งสินสมรส-ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าแบ่งสินสมรสไม่ได้
กรณีเป็นที่สงสัยให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สิน
ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยลำพังเป็นสินสมรส
ข้อตกลงให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก
สัญญาค้ำประกันไม่ต้องได้รับความยินยอมคู่สมรส
การแบ่งทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์รวม ทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้
สินส่วนตัวและสินสมรส ของขวัญเนื่องในการสมรสจึงถือว่าเป็นสินสมรส
ข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าเรื่องยกทรัพย์สินให้ฝ่ายหญิง(ภรรยา)
กฎหมายคุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน (ม.1480)
ปลอมลายมือชื่อคู่สมรสในหนังสือให้ความยินยอมไปทำขายฝากที่ดิน
ตกลงให้สินส่วนตัวของฝ่ายหนึ่งตกเป็นสินสมรส
รางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้สินสมรส อายุความ
ความยินยอมในการจัดการสินสมรสไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน
การจัดการสินสมรสเรื่องกู้ยืมเงินและให้กู้ยืมเงิน-ความยินยอมจากคู่สมรส
เหตุสมควรขอให้แยกสินสมรส สามีไม่นำเงินสินสมรสมาอุปการะเลี้ยงดูภริยา
สัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่า-ตกลงให้ที่ดินแก่กันไม่ต้องจดทะเบียนบังคับได้
เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก ซึ่งรับซื้อฝากโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน
รับซื้อฝากที่ดินสินสมรสโดยไม่สุจริต- เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ทั้งแปลง
หนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินเมื่อยังไม่มีการหย่าใช้บังคับไม่ได้
เพิกถอนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนดระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดิน