ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สามีนำเงินสินสมรสออกให้กู้โดยไม่ได้รับความยินยอม

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

สามีนำเงินสินสมรสออกให้กู้โดยไม่ได้รับความยินยอม

การที่โจทก์ฟ้องว่าสามีโจทก์นำสินสมรสออกให้จำเลยที่ 1 กู้ และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนสามีโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ในฐานะคู่สมรสฝ่ายที่ได้รับความเสียหายมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้กู้เงินและการสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ได้และมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะอยู่แล้ว จะนำบทบัญญัติกรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิในฐานะเจ้าของทรัพย์สินติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนตามมาตรา 1336 และบทบัญญัติเรื่องกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1357 ถึง 1366 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3788/2552
    การที่โจทก์ฟ้องว่าสามีโจทก์นำสินสมรสออกให้จำเลยที่ 1 กู้ และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนสามีโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นการกล่าวหาว่าสามีโจทก์จัดการสินสมรสโดยฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1476 (เดิม) และมาตรา 1476 (5) ใหม่ โจทก์ในฐานะคู่สมรสฝ่ายที่ได้รับความเสียหายมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้กู้เงินและการสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ดังกล่าวได้ตามมาตรา 1480 ที่บัญญัติให้สิทธิแก่โจทก์ไว้ ซึ่งเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะอยู่แล้ว จะนำบทบัญญัติกรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์
ใช้สิทธิในฐานะเจ้าของทรัพย์สินติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนตามมาตรา 1336 และบทบัญญัติเรื่องกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1357 ถึง 1366 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้

          แม้ปรากฏว่าสามีโจทก์ให้จำเลยที่ 1 กู้เงินในปี 2528 อันเป็นเวลาก่อนที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. (ฉบับที่ 10)ฯ ใช้บังคับ และแม้โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2539 ซึ่งเป็นเวลาที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 63 ให้ใช้กฎหมายก่อนการแก้ไขบังคับซึ่งการเพิกถอนการให้กู้เงินกรณีเช่นนี้ มาตรา 1480 วรรคสาม (เดิม) บัญญัติให้นำความมาตรา 240 มาใช้บังคับโอยอนุโลม อันหมายความว่า โจทก์ต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่รู้เหตุให้เพิกถอนหรือสิบปีนับแต่วันทำนิติกรรมดังกล่าว ดังนั้น ฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการกู้เงินระหว่างสามีโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำนิติกรรม ส่วนกรณีที่สามีโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้แทนสามีโจทก์นั้น ระยะเวลาการเพิกถอนนิติกรรมตามกฎหมายทั้งสองฉบับคงเหมือนเดิม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทราบเรื่องดังกล่าวอย่างช้าภายในเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งเกินกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความทั้งสองกรณี

มาตรา 1336  ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 1356  ถ้าทรัพย์สินเป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน ท่านให้ใช้บทบัญญัติในหมวดนี้บังคับ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
 
มาตรา 1476  สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(4) ให้กู้ยืมเงิน
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6) ประนีประนอมยอมความ
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

มาตรา 1480  การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่งห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น

 




ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกแม้ไม่ได้จดทะเบียนก็มีผลสมบูรณ์
เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี
การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว
การเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรส
ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว แยกสินสมรส
ได้สิทธิทำประโยชน์ที่ดินก่อนจดทะเบียนสมรส
เจ้าหนี้ยึดสินสมรสได้ทั้งหมดยกคำร้องขอกันส่วน
หญิงมีสามีมีอำนาจฟ้องปราศจากความยินยอมหรือไม่
ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินส่วนของตน
ที่ดินและรถยนต์ภริยากู้ยืมเงินมาซื้อและผ่อนด้วยเงินเดือน
หย่ากันให้แบ่งสินสมรส-ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าแบ่งสินสมรสไม่ได้
กรณีเป็นที่สงสัยให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สิน
ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยลำพังเป็นสินสมรส
ข้อตกลงให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก
สัญญาค้ำประกันไม่ต้องได้รับความยินยอมคู่สมรส
การแบ่งทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์รวม ทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้
สินส่วนตัวและสินสมรส ของขวัญเนื่องในการสมรสจึงถือว่าเป็นสินสมรส
ข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าเรื่องยกทรัพย์สินให้ฝ่ายหญิง(ภรรยา)
กฎหมายคุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน (ม.1480)
ปลอมลายมือชื่อคู่สมรสในหนังสือให้ความยินยอมไปทำขายฝากที่ดิน
ตกลงให้สินส่วนตัวของฝ่ายหนึ่งตกเป็นสินสมรส
รางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้สินสมรส อายุความ
ความยินยอมในการจัดการสินสมรสไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน
การจัดการสินสมรสเรื่องกู้ยืมเงินและให้กู้ยืมเงิน-ความยินยอมจากคู่สมรส
เหตุสมควรขอให้แยกสินสมรส สามีไม่นำเงินสินสมรสมาอุปการะเลี้ยงดูภริยา
สัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่า-ตกลงให้ที่ดินแก่กันไม่ต้องจดทะเบียนบังคับได้
เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก ซึ่งรับซื้อฝากโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน
รับซื้อฝากที่ดินสินสมรสโดยไม่สุจริต- เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ทั้งแปลง
หนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินเมื่อยังไม่มีการหย่าใช้บังคับไม่ได้
เพิกถอนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนดระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดิน