ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เจ้าของรวมทำพินัยกรรมจำหน่ายส่วนของตน ความยินยอมจากภริยา

   -ปรึกษากฎหมาย นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

     โทร.085-9604258

   -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์   

   (1) @leenont 

   (2) @peesirilaw  

   (3) 0859604258 เพิ่มด้วยหมายเลขโทรศัพท์

  -Line Official Account : เพิ่มเพื่อน QR CODE

QR CODE

   เจ้าของรวม ทำพินัยกรรม จำหน่ายส่วนของตน ความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่น

    ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายกับผู้ตาย เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของตนให้บุตรและกำหนดให้บุตรเป็นผู้จัดการมรดก การที่ผู้ตายยกที่ดินส่วนของตนให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยานั้นศาลฎีกาเห็นว่าการทำพินัยกรรมเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินที่จะมีผลเมื่อตายและเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ทำพินัยกรรมซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 บัญญัติว่า "บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้" และ มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติว่า"เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายทรัพย์สินส่วนของตนหรือ... ก็ได้" ผู้ตายย่อมมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของผู้ตายให้แก่บุตรได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากภริยา

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3921/2546

  ผู้ตายกับผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน ผู้ตายย่อมมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้านได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361และมาตรา 1646 โดยไม่จำต้องรับความยินยอมจากผู้ร้อง

  ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องเป็นภริยานายรวย เล็กกุล ผู้ตาย มีบุตรด้วยกัน 8 คนเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2542 ผู้ตายถึงแก่ความตาย มีทรัพย์มรดกคือที่ดินโฉนดเลขที่ 8372โดยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้ร้อง ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรม และไม่ได้ตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก จึงมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ผู้ร้องมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามกฎหมายขอให้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

     ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายกับผู้ร้อง ก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้านและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก ขอให้ยกคำร้องขอและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งนางสำราญ ไกรกิจราษฎร์ ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของนายรวย เล็กกุล ผู้ตาย โดยให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ยกคำร้องขอของผู้ร้อง
 ผู้ร้องอุทธรณ์

 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน

ผู้ร้องฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติเบื้องต้นว่า ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ร้องกับผู้ตาย ผู้ตายถึงแก่ความตายโดยมีมรดกคือที่ดินโฉนดเลขที่ 8372 ตำบลท่าตาล อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก โดยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้ร้อง มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินเฉพาะส่วนของผู้ตายดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่... ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้ตายทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินเฉพาะส่วนของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้านและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกทรัพย์ดังกล่าว ที่ผู้ร้องฎีกาว่า ผู้คัดค้านเบิกความว่า ผู้ตายลงชื่อในพินัยกรรมไม่ได้เพราะไม่ได้นำแว่นตาไป นางสาวส้มลิ้มเบิกความว่า ผู้ตายสายตาไม่ดีมือสั่นลงชื่อไม่ได้ จึงขอพิมพ์หัวแม่มือในพินัยกรรม นางผ่องพรรณเบิกความว่า ผู้ตายอ่านหนังสือออกและเขียนได้ แต่วันทำพินัยกรรมลงชื่อไม่ได้ไม่ทราบเพราะเหตุใด และนางปรานอมเบิกความว่า ผู้ตายลงลายพิมพ์นิ้วมือในคำร้องขอทำพินัยกรรม แต่ไม่มีบันทึกในพินัยกรรมว่าเหตุใดผู้ตายจึงลงลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรมซึ่งแตกต่างกันจึงน่าเชื่อว่าผู้ตายไม่ได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือโดยสมัครใจ เห็นว่า ผู้คัดค้านกับนางสาวส้มลิ้มเบิกความแตกต่างกันในพลความ ส่วนนางผ่องพรรณและนางปรานอมไม่ทราบว่าเหตุใดผู้ตายไม่ลงชื่อในพินัยกรรมและไม่มีบันทึกในพินัยกรรมว่าเหตุใดผู้ตายจึงลงลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรม คำเบิกความจึงไม่แตกต่างกับผู้คัดค้านและนางส้มลิ้ม ดังนั้นจึงไม่ทำให้พยานหลักฐานผู้คัดค้านมีน้ำหนักลดน้อยลง ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของตนซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้ร้องให้แก่ผู้คัดค้านโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อกำหนดในพินัยกรรมจึงไร้ผลนั้น แม้ปัญหานี้ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ก็ตามแต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความมีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ซึ่งปัญหานี้ศาลฎีกาเห็นว่า การทำพินัยกรรมเป็นการจำหน่ายทรัพย์สินที่จะมีผลเมื่อตายและเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ทำพินัยกรรมซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 บัญญัติว่า "บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้"นอกจากนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติว่า " เจ้าของรวม คนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายทรัพย์สินส่วนของตนหรือ... ก็ได้" แม้ผู้ตายและผู้ร้องจะมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 8372 ก็ตาม ผู้ตายย่อมมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้านได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว โดยไม่จำต้องรับความยินยอมจากผู้ร้อง ดังนี้ ข้อกำหนดแห่งพินัยกรรมในส่วนนี้จึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น"

                   พิพากษายืน

     มาตรา 1361 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือ จำนอง หรือก่อให้เกิดภารติดพันก็ได้
     แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภารติดพันได้ ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน
     ถ้าเจ้าของรวมคนใดจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภารติดพัน ทรัพย์สินโดยมิได้รับความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน แต่ภายหลังเจ้าของ รวมคนนั้นได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินแต่ผู้เดียวไซร้ ท่านว่านิติกรรมนั้นเป็นอัน สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  9761/2555

 ป.พ.พ. มาตรา 1361 บัญญัติว่า “เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จะจำหน่ายส่วนของตนหรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน” แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง 1 ใน 7 ส่วน แต่จากการไต่สวนข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของจ่าสิบเอก บ.  จดทะเบียนใส่ชื่อของจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเพียงคนเดียว และนำที่ดินดังกล่าวไปจำนองเพื่อประกันหนี้ไว้แก่โจทก์ ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและบรรดาทายาทอื่นของจ่าสิบเอก บ. โต้แย้งคัดค้านแต่อย่างใด ทั้งผู้ร้องและพี่น้องคนอื่นซึ่งเป็นบุตรของจำเลยยังเคยเจรจากับโจทก์ว่าไม่คิดจะโกงโจทก์ และภายหลังโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว ผู้ร้องยังมีส่วนเจรจากับโจทก์โดยขอให้โจทก์ยอมลดยอดหนี้ให้แก่จำเลย จนจำเลยและโจทก์ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และเมื่อมีการยึดที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาด ผู้ร้องยังได้ไปดูแลการขายทอดตลาดแทนจำเลยอีกด้วย แสดงว่าตลอดระยะเวลาประมาณ 20 ปี นับแต่จำเลยนำที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไปจำนองไว้แก่โจทก์ ผู้ร้องรู้มาโดยตลอด แต่ไม่เคยโต้แย้งหรือคัดค้าน แสดงว่าผู้ร้องมีเจตนาให้จำเลยแสดงตนเป็น เจ้าของที่ดินพิพาทแต่ผู้เดียวและยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพิพาทได้ การจำนองผูกพันผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงออกจากการขายทอดตลาดได้

 




ทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์

การได้ที่ดินของคนต่างด้าวโดยภรรยาคนไทยถือกรรมสิทธิ์แทน
การระวังแนวเขตรังวัดมีการชี้รุกล้ำที่ดินไม่เป็นเหตุเสียกรรมสิทธิ์
เพิกถอนนิติกรรมในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมใช้สิทธิติดตามเอาคืน
เรียกโฉนดที่ดินคืนจากเจ้าหนี้เงินกู้ยืม โฉนดที่ดินเป็นประกันเงินกู้
ก่อสร้างสะพานลอยคนข้ามทำให้ได้รับความเดือดร้อนขอให้รื้อถอนสะพาน
สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งที่ดินที่ตนเองเป็นเจ้าของรวม แม้มีข้อตกลงห้ามแบ่งแยก
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล แม้เจ้าหนี้ยังมิได้ฟ้องลูกหนี้
กรรมสิทธิ์รวมแม้ซื้อโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่มีผลผูกพัน
หนังสือยินยอมคู่สมรสปลอม , ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
ทรัพย์สินระหว่างสามคนผัวเมีย-เจ้าของรวม-สมรสซ้อน
เงินในบัญชีร่วมกันทำมาหากินไม่ได้จดทะเบียนสมรส
เจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิด หรือคาดหมาย
ปลูกสร้างอาคารสูงปิดบังช่องแสงและทิศทางลม ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร ละเมิด
ความเสียหายเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมาย
เพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไป
ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์
สิทธิยื่นใบเบิกเงินและรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
สิทธิเหนือพื้นดินคืออะไร