

ทรัพย์สินระหว่างสามคนผัวเมีย-เจ้าของรวม-สมรสซ้อน ทรัพย์สินระหว่างสามคนผัวเมีย-เจ้าของรวม-สมรสซ้อน สามีจดทะเบียนกับภรรยาคนที่ 1 ห่างกัน 20 วัน ไปจดทะเบียนซ้อนกับภรรยาคนที่ 2 ทั้งสามคนอยู่กินฉันสามีภริยาในบ้านเดียวกันมานาน 20 ปี มีปัญหาว่าจะแบ่งทรัพย์สินกันอย่างไร?? การที่สามีและภรรยา 2 คน อยู่กินทำมาหาได้ร่วมกันได้ทรัพย์สินมาจนไม่สามารถแยกได้ว่าใครเป็นเจ้าของส่วนใด จึงต้องถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันทั้งสามคนต้องแบ่งทรัพย์สินเป็นสามส่วนเท่า ๆ กัน แต่ละคนมีสิทธิคนละหนึ่งส่วน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6292/2554 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ในเวลาห่างกันเพียง 20 วัน และอยู่กินฉันสามีภริยาทั้งกับโจทก์และจำเลยที่ 2 ในลักษณะเป็นครอบครัวเดียวกันมานานถึงประมาณ 20 ปี โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีนี้ ทรัพย์สินตามคำฟ้องที่โจทก์อ้างเป็นสินสมรสนั้น เป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างเวลาดังกล่าวโดยไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของคนละเท่าใด กรณีต้องสันนิษฐานว่าแต่ละคนมีส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 จึงต้องแบ่งทรัพย์เป็นสามส่วนเท่าๆ กัน และมีสิทธิคนละหนึ่งส่วน มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันและให้การสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตามทะเบียนสมรส สำนักทะเบียนอำเภอเมืองพะเยา เลขทะเบียนที่ 1435/16518 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2526 เป็นโมฆะ กับให้แบ่งทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินโฉนดเลขที่ 7482 ตำบลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ออกเป็น 3 ส่วน เท่าๆ กัน โดยให้แบ่งให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ฝ่ายละหนึ่งส่วนในฐานะสินสมรส ที่เหลืออีก 1 ส่วน เป็นของจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ถ้าการแบ่งเช่นนี้ไม่อาจกระทำได้หรือจะเสียหายมากนัก ให้ขายโดยประมูลราคากันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง หรือขายทอดตลาด ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองชำระเงินคนละ 2,500,000 บาท (สองล้านห้าแสนบาท) แก่โจทก์และให้แบ่งสินสมรสตามฟ้องโจทก์ข้อ 3 (1) ถึง 3 (27) ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 คนละส่วนเท่าๆ กัน ถ้าการแบ่งเช่นนี้ไม่อาจกระทำได้หรือจะเสียหายมากนัก ให้ขายโดยประมูลราคาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือขายทอดตลาด ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองศาล โดยกำหนดค่าทนายความรวม 100,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า พิเคราะห์แล้ว ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยมีว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าทรัพย์สินตามคำฟ้องเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละกึ่งหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 2 หากจะมีส่วนเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยที่ 1 ในทรัพย์สินใดก็ต้องไปแบ่งกันเองระหว่างจำเลยทั้งสองนั้น ชอบแล้วหรือไม่ ทั้งนี้ เห็นว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ยุติตามที่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ในเวลาห่างกันเพียง 20 วัน และอยู่กินฉันสามีภริยาทั้งกับโจทก์และจำเลยที่ 2 ในลักษณะเป็นครอบครัวเดียวกัน ทำมาหาได้ในธุรกิจของครอบครัวด้วยกันมานานถึงประมาณ 20 ปี โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีนี้ ทรัพย์สินตาม คำฟ้องที่โจทก์อ้างเป็นสินสมรสนั้น เป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างเวลาดังกล่าวโดยไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมีส่วนเป็นเจ้าของคนละเท่าใด ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ทรัพย์สินตามคำฟ้องเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทำมาหาได้ร่วมกัน โดยไม่มีข้อคำนึงว่าทรัพย์สินดังกล่าวรายการใดจะใส่ชื่อของผู้ใดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จึงให้แบ่งทรัพย์ออกเป็นสามส่วนเท่า ๆ กันนั้น มีเหตุผลรับฟังได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามาไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อนี้ฟังขึ้น |