ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ปลูกสร้างอาคารสูงปิดบังช่องแสงและทิศทางลม ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร ละเมิด

  ปลูกสร้างอาคารสูงปิดบังช่องแสงและทิศทางลม  ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร  ละเมิด

     การปลูกสร้างอาคารสูงของจำเลยทั้งสองที่ปลูกสร้างจนเกือบชิดหรือติดกับตัวอาคารทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ โดยมิได้รับความยินยอมของโจทก์ทั้งสี่ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสมาโดยตลอด กล่าวคือระหว่างปลูกสร้างอาคารได้มีการลงเสาเข็มพื้นฐานอาคารโดยไม่ถูกวิธีและปลอดภัยพอ เป็นเหตุให้ทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ในส่วนที่เป็นผนังห้อง เสา คาน เกิดรอยแตกร้าวโดยทั่วไป อาคารสูงของจำเลยทั้งสองปิดบังช่องของแสงและทิศทางลมซึ่งส่องและระบายเข้าออกในส่วนทางด้านหลังของทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ อีกทั้งระหว่างก่อสร้างได้ก่อให้เกิดมลภาวะซึ่งความเดือดร้อนเสียหายเช่นนี้ไม่เคยเกิดและมีมาก่อน โจทก์ทั้งสี่ไม่อาจอยู่อาศัยในทาวน์เฮาส์ของตนได้อย่างเป็นปกติสุข มีผลต่อความรู้สึกด้านจิตใจและความเป็นอยู่ รวมทั้งสุขภาพของคนในครอบครัวของโจทก์ทั้งสี่อย่างแสนสาหัส ยิ่งไปกว่านั้นโจทก์ทั้งสี่ยังได้สรุปความเสียหายก่อนที่มีคำขอท้ายฟ้องด้วยว่า "การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่ เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายทั้งต่อทรัพย์สิน สภาพความเป็นอยู่ สภาพจิตใจอย่างแสนสาหัส" ดังนี้ เห็นว่า แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสี่จะมิได้มีข้อความโดยชัดแจ้งระบุค่าทดแทน การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้สิทธิของตนในการปลูกสร้างอาคารสูงเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ คือทาวน์เฮาส์ที่อยู่ใกล้เคียงได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 มาด้วย ก็ตาม ก็หาได้วินิจฉัยเกินคำขอไม่

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5929/2548

        แม้โจทก์ทั้งสี่ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีเดียวกันเพราะโจทก์ทั้งสี่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงข้ออ้างที่โจทก์ทั้งสี่ยกขึ้นเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัว และเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนการพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนแยกกัน หาใช่คิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์ทุกคนรวมกันไม่ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท และจำเลยทั้งสองฎีกาในประเด็นค่าเสียหาย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

         การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าการปลูกสร้างอาคารสูงของจำเลยทั้งสอง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส และมีคำขอท้ายฟ้องด้วยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่ ดังนี้ แม้ตามคำขอจะมิได้มีข้อความระบุโดยชัดแจ้งเรื่องค่าทดแทน แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 มาด้วยก็ตาม ก็พอถือได้ว่ามีประเด็นพิพาทเรื่องค่าทดแทนความเสียหาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 ด้วย

          คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง 465,000 บาท เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงประเด็นค่าเสียหายจำนวน 340,000 บาท จึงต้องสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้แก่จำเลยทั้งสองผู้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง

          โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 2,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสี่ กับให้ร่วมกันชำระเงินค่าขาดรายได้ให้โจทก์ที่ 1 และที่ 3 เดือนละ 7,000 บาท โจทก์ที่ 2 เดือนละ 8,000 บาท และโจทก์ที่ 4 เดือนละ 15,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะระงับหรือหยุดการก่อสร้างอาคารและรื้อถอนอาคารเฉพาะในด้านที่อยู่ชิดกับอาคารของโจทก์ทั้งสี่ออกไปทั้งหมดและให้เว้นระยะการก่อสร้างห่างจากแนวเขตที่ดินตามโฉนดของโจทก์ทั้งสี่ไม่ต่ำกว่า 2 เมตร
          จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์ทั้งสี่คนละ 250,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ในต้นเงินที่จำเลยทั้งสองจะต้องให้โจทก์แต่ละรายนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จกับให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 3,000 บาท คำขออื่นให้ยก
          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 130,000 บาท โจทก์ที่ 2 จำนวน 150,000 บาท โจทก์ที่ 3 จำนวน 110,000 บาท และโจทก์ที่ 4 จำนวน 150,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินแต่ละจำนวนนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ทั้งสี่ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ทั้งสี่ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ โดยกำหนดค่าทนายความรวม 5,000 บาท คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 2,000 บาท แก่จำเลยทั้งสอง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
          จำเลยทั้งสองฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาฐานละเมิดโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง คือทาวน์เฮาส์สองชั้นบนที่ดินโฉนดเลขที่ 51775, 51776, 51777 และ 51779 ตามลำดับ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันดำเนินการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ สูง 7 ชั้น ลงบนที่ดินด้านหลังทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ดังกล่าว โดยทำการก่อสร้างไม่ถูกต้องทั้งมิได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอ เป็นเหตุให้ทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าซ่อมแซมทาวน์เฮาส์หลังละ 150,000 บาท ค่าเสื่อมราคาหลังละ 500,000 บาท และค่าที่ทำให้โจทก์ทั้งสี่มีรายได้ตกต่ำลดน้อยลงจากเดิมเดือนละ 7,000 บาท 8,000 บาท 7,000 บาท และ 15,000 บาท ตามลำดับ คิดตั้งแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยทั้งสองระงับหรือหยุดการก่อสร้าง และรื้อถอนอาคารเฉพาะที่อยู่ติดกับทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสองออกไปทั้งหมด และให้เว้นระยะการก่อสร้างห่างจากแนวเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ไม่ต่ำกว่า 2 เมตร ดังนี้ แม้โจทก์ทั้งสี่จะร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีเดียวกันเพราะโจทก์ทั้งสี่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงข้ออ้างที่โจทก์ทั้งสี่ยกขึ้นเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวข้างต้นแล้ว เป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสี่แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวที่ถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิด และเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคน ดังนั้น การพิจารณาทุนทรัพย์ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนแยกกัน หาใช่คิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์ทุกคนรวมกันไม่ คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 130,000 บาท โจทก์ที่ 2 จำนวน 150,000 บาท โจทก์ที่ 3 จำนวน 110,000 บาท และโจทก์ที่ 4 จำนวน 150,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกินคนละ 200,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยทั้งสองฎีกาในประเด็นค่าเสียหายเนื่องจากการซ่อมแซมทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสองฎีกาตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

         คดีคงมีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองเพียงข้อเดียวว่าที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 5 พิพากษากำหนดค่าทดแทนอันเนื่องมาจากจำเลยทั้งสองใช้สิทธิปลูกสร้างอาคารสูง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่เจ้าของทาวน์เฮาส์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือไม่ ในข้อนี้เห็นว่า แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มีคำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 มาโดยชัดแจ้งก็ตาม แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องว่าการปลูกสร้างอาคารสูงของจำเลยทั้งสองที่ปลูกสร้างจนเกือบชิดหรือติดกับตัวอาคารทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ โดยมิได้รับความยินยอมของโจทก์ทั้งสี่ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสมาโดยตลอด กล่าวคือระหว่างปลูกสร้างอาคารได้มีการลงเสาเข็มพื้นฐานอาคารโดยไม่ถูกวิธีและปลอดภัยพอ เป็นเหตุให้ทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ในส่วนที่เป็นผนังห้อง เสา คาน เกิดรอยแตกร้าวโดยทั่วไป อาคารสูงของจำเลยทั้งสองปิดบังช่องของแสงและทิศทางลมซึ่งส่องและระบายเข้าออกในส่วนทางด้านหลังของทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ อีกทั้งระหว่างก่อสร้างได้ก่อให้เกิดมลภาวะซึ่งความเดือดร้อนเสียหายเช่นนี้ไม่เคยเกิดและมีมาก่อน โจทก์ทั้งสี่ไม่อาจอยู่อาศัยในทาวน์เฮาส์ของตนได้อย่างเป็นปกติสุข มีผลต่อความรู้สึกด้านจิตใจและความเป็นอยู่ รวมทั้งสุขภาพของคนในครอบครัวของโจทก์ทั้งสี่อย่างแสนสาหัส ยิ่งไปกว่านั้นโจทก์ทั้งสี่ยังได้สรุปความเสียหายก่อนที่มีคำขอท้ายฟ้องด้วยว่า "การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่ เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายทั้งต่อทรัพย์สิน สภาพความเป็นอยู่ สภาพจิตใจอย่างแสนสาหัส?" ดังนี้ เห็นว่า แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสี่จะมิได้มีข้อความโดยชัดแจ้งระบุค่าทดแทน การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้สิทธิของตนในการปลูกสร้างอาคารสูงเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ คือทาวน์เฮาส์ที่อยู่ใกล้เคียงได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 มาด้วย ก็ตาม แต่ตามคำฟ้องที่โจทก์ได้บรรยายมาดังกล่าวข้างต้น พิจารณาประกอบคำให้การที่จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยทั้งสองโดยห่างจากที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตามกฎหมายและการก่อสร้างก็ได้รับอนุญาตจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและมีการตรวจสอบแบบแปลนและสถานที่ก่อสร้างแล้ว อีกทั้งวิธีการก่อสร้างก็ทำถูกตามขั้นตอนโดยมีวิศวกรควบคุมงานก่อสร้างและอาคารที่ปลูกสร้างก็ไม่ได้บังทิศทางลมอาคารทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ด้วย และในประการสำคัญคือศาลชั้นต้นก็ได้ชี้สองสถานกำหนดประเด็นพิพาทเรื่องค่าเสียหายไว้เพียงกว้าง ๆ ว่าโจทก์ทั้งสี่เสียหายหรือไม่เพียงใดด้วย ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสี่และคำให้การจำเลยทั้งสองเช่นนี้ ถือได้ว่าคดีมีประเด็นพิพาทเรื่องค่าทดแทนความเสียหายอันเกิดจากจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้สิทธิปลูกสร้างอาคารบนที่ดินของตนเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์คือทาวน์เฮาส์ที่อยู่ใกล้เคียงได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 ด้วย โดยถือว่ารวมอยู่ในประเด็นเรื่องค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสี่ที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นพิพาทไว้ในประเด็นพิพาทข้อ 2 นั่นเอง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 หาได้วินิจฉัยเกินคำขอไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยค่าเสียหายนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ด้วยนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยทั้งสองในปัญหาข้อกฎหมายข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

        อนึ่ง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสี่รวมเป็นเงิน 540,000 บาท จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสี่ไม่เกิน 75,000 บาท ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นให้จำเลยทั้งสองจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสองไม่เกินจำนวนดังกล่าว ดังนั้น คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเพียง 465,000 บาท เท่านั้น และเมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับประเด็นค่าเสียหายจากการซ่อมแซมทาวน์เฮาส์ของโจทก์ทั้งสี่ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 กำหนดให้แก่โจทก์ทั้งสี่จำนวน 340,000 บาท ศาลฎีกาจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาส่วนนี้ให้แก่จำเลยทั้งสองผู้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาที่จำเลยทั้งสองจะต้องเสียค่าขึ้นศาลจึงมีเพียง 125,000 บาท เป็นเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจำนวน 3,125 บาท แต่จำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในทุนทรัพย์จำนวน 540,000 บาท เป็นเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 13,500 บาท อันเป็นการเสียเงินค่าขึ้นศาลฎีกาเกินมาเป็นเงิน 10,375 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เสียเกินมาจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยทั้งสองด้วย

     พิพากษายืน กับให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความชั้นฎีกาจำนวน 3,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสี่

 
มาตรา 1337  บุคคลใดใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคำนึงประกอบไซร้ ท่านว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิจะปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไป ทั้งนี้ไม่ลบล้างสิทธิที่จะเรียกเอาค่าทดแทน

 




ทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์

สิทธิของบุคคลต่างด้าวในที่ดิน, การครอบครองที่ดินและสิทธิในกรรมสิทธิ์
ฟ้องขับไล่และกรรมสิทธิ์ที่ดิน, การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ,
กรรมสิทธิ์รวมและสินสมรส-ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนและหลังจดทะเบียนสมรส
หนังสือยินยอมคู่สมรสปลอม , ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
ทรัพย์สินระหว่างสามคนผัวเมีย-เจ้าของรวม-สมรสซ้อน
เงินในบัญชีร่วมกันทำมาหากินไม่ได้จดทะเบียนสมรส
การแจ้งความเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายอาจไม่ใช่เจ้าของรวมเสมอไป
เจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิด หรือคาดหมาย
ความเสียหายเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมาย
เพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไป
ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์
สิทธิยื่นใบเบิกเงินและรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
สิทธิเหนือพื้นดินคืออะไร
การได้ที่ดินของคนต่างด้าวโดยภรรยาคนไทยถือกรรมสิทธิ์แทน
การระวังแนวเขตรังวัดมีการชี้รุกล้ำที่ดินไม่เป็นเหตุเสียกรรมสิทธิ์
เพิกถอนนิติกรรมในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมใช้สิทธิติดตามเอาคืน
เรียกโฉนดที่ดินคืนจากเจ้าหนี้เงินกู้ยืม โฉนดที่ดินเป็นประกันเงินกู้
เจ้าของรวมทำพินัยกรรมจำหน่ายส่วนของตน ความยินยอมจากภริยา
ก่อสร้างสะพานลอยคนข้ามทำให้ได้รับความเดือดร้อนขอให้รื้อถอนสะพาน
สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งที่ดินที่ตนเองเป็นเจ้าของรวม แม้มีข้อตกลงห้ามแบ่งแยก
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล แม้เจ้าหนี้ยังมิได้ฟ้องลูกหนี้
กรรมสิทธิ์รวมแม้ซื้อโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่มีผลผูกพัน