ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายอาจไม่ใช่เจ้าของรวมเสมอไป

 ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายอาจไม่ใช่เจ้าของรวมเสมอไป

โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส แม้ที่ดินและหุ้นได้มาในระหว่างโจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตาย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันทรัพย์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส อันจะถือเป็นสินสมรส การที่ศาลจะมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ฟังได้เพียงว่าโจทก์อาจมีสิทธิเป็นเจ้าของร่วมกันในทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินฉันสามีกับผู้ตายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ อันเป็นเพียงข้อเท็จจริงในเรื่องการมีส่วนได้เสียเพื่อวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้หรือไม่เท่านั้น หรือไม่เท่านั้นไม่ใช่การวินิจฉัยว่าที่ดินและหุ้นที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งในคดีนี้เป็นทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมทำมาหาได้กับผู้ตาย ที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมกึ่งหนึ่ง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่ปรากฏว่าขณะแต่งงานกับผู้ตายโจทก์มีเงินหรือทรัพย์สินอะไรที่สามารถขายได้เงินมากพอที่จะนำมาร่วมซื้อที่ดินกับผู้ตาย ก่อนแต่งงานกับผู้ตายไม่ปรากฏว่าโจทก์ประกอบอาชีพที่มั่นคง มีรายได้แน่นอนหลังจากแต่งงานกับผู้ตายแล้วโจทก์ไปเรียนเสริมสวย หลังเรียนจบก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ใช้วิชาที่เรียนมาประกอบวิชาชีพหรือประกอบอาชีพใดที่จะได้เงินมาร่วมลงทุนซื้อที่ดินกับผู้ตายกึ่งหนึ่งทั้งไม่ปรากฏว่าได้เข้าไปช่วยเหลือกิจการงานหรือธุรกิจใดของผู้ตาย ที่ดินกับหุ้นจึงเป็นทรัพย์สินของผู้ตาย ที่โจทก์มิได้มีส่วนร่วมทำมาหาได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งที่ดินและหุ้นอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12734/2558

แม้ที่ดินและหุ้นจะได้มาในระหว่างโจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตาย แต่เมื่อโจทก์กับผู้ตายไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ที่ดินและหุ้นดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส อันจะถือเป็นสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) แม้ศาลจะมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ฟังข้อเท็จจริงเพียงว่า เมื่อโจทก์เป็นภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์อาจมีสิทธิเป็นเจ้าของร่วมกันในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกับผู้ตายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงในเรื่องการมีส่วนได้เสียเพียงเพื่อวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้น แต่ไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าที่ดินและหุ้นที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งในคดีนี้เป็นทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมทำมาหาได้กับผู้ตายหรือไม่ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันคู่ความให้ต้องรับฟังว่าที่ดินและหุ้นที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งในคดีนี้เป็นทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกับผู้ตายและโจทก์มีกรรมสิทธิ์ร่วมกึ่งหนึ่ง

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าแบ่งทรัพย์กรรมสิทธิ์รวมตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง และจดทะเบียนโอนทรัพย์ตามพินัยกรรมให้แก่โจทก์ ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้ให้ใช้เงินในทรัพย์กรรมสิทธิ์รวมครึ่งหนึ่งเป็นเงิน 80,544,956 บาท ถ้าไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งห้าในการแบ่งทรัพย์กรรมสิทธิ์รวมและโอนทรัพย์ตามพินัยกรรมให้โจทก์ และหากตกลงแบ่งทรัพย์กรรมสิทธิ์รวมกันไม่ได้ ให้เอาทรัพย์นั้นตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง ให้กองมรดกรับผิดเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 80,544,956 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะโอนทรัพย์แบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์แล้วเสร็จ

จำเลยทั้งห้าให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันจดทะเบียนแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 50897 และ 119045 (เก่า) หรือ 170562 (ใหม่) ตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร โฉนดเลขที่ 19729 ตำบลบางจาก อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร โฉนดเลขที่ 13709 และ 13710 ตำบลคลองเตย (ที่ 11 พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร โฉนดเลขที่ 7026 ตำบลคลองตัน (ที่11 พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร โฉนดเลขที่ 16978 ตำบลบางจาก อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง และแบ่งหุ้นบริษัทเพชรบุรีการแพทย์ จำกัด (หุ้นโรงพยาบาลเพชรเวช) ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง หากแบ่งไม่ได้ให้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้โจทก์กึ่งหนึ่ง หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งห้า และหากไม่สามารถปฏิบัติได้ให้ใช้เงินกึ่งหนึ่งของราคาทรัพย์สินกรรมสิทธิ์รวมที่โจทก์มีสิทธิรับตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้อง คำขออื่นให้ยก ให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้จำนวน 40,000 บาท

จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 20,000 บาท แทนโจทก์

จำเลยที่ 1 และที่ 3 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ประการต่อไปว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 50897 และ 119045 (เก่า) หรือ 170562 (ใหม่) ตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร โฉนดเลขที่ 19729 ตำบลบางจาก อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร โฉนดเลขที่ 7026 ตำบลคลองตัน (ที่ 11 พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร โฉนดเลขที่ 13709 และ 13710 ตำบลคลองเตย (ที่ 11 พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร และหุ้นในบริษัทเพชรบุรีการแพทย์ จำกัด ตามฟ้อง เป็นทรัพย์สินที่โจทก์กับนายสุจิตร ผู้ตาย ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาหรือไม่ ในข้อนี้ศาลชั้นต้นฟังว่า ที่ดินและหุ้นดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างโจทก์กับผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยาจึงต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ศาลอุทธรณ์ฟังว่า โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยาและมีเจตนาร่วมทำกินกับผู้ตายเกิดทรัพย์สินระคนกัน ไม่ว่าทรัพย์สินจะได้มาจากทรัพย์สินหรือแรงงานของฝ่ายใดก็ต้องถือว่ามีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์รวมของบุคคลทั้งสองคนละครึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1357 เห็นว่า ในเรื่องการอยู่กินฉันสามีภริยาระหว่างโจทก์กับผู้ตายโดยไม่จดทะเบียนสมรสตั้งแต่ปี 2514 จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อปี 2527 นั้น ในคดีที่โจทก์ร้องขอจัดการมรดกของผู้ตาย ศาลแพ่งมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และนางสุวรรณี ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้คัดค้านในคดีดังกล่าวเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับโจทก์ โดยฟังว่าโจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายจนถึงแก่ความตายจริงตามสำเนาคำพิพากษา คดีถึงที่สุดตามสำเนาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6236-6237/2537 คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 จึงต้องฟังว่า โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายตั้งแต่ปี 2514 จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อปี 2527 จริง อย่างไรก็ดี แม้ที่ดินและหุ้นดังกล่าวจะได้มาในระหว่างโจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตาย แต่เมื่อโจทก์กับผู้ตายไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ที่ดินและหุ้นดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส อันจะถือเป็นสินสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 (1) เพราะทรัพย์สินที่ได้มาอันจะถือเป็นสินสมรสได้ก็ต่อเมื่อมีการสมรสชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์มิได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84/1 ถึงแม้ในคดีหมายเลขแดงที่ 2076/2530 ของศาลแพ่ง ศาลจะมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็เพียงฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อโจทก์เป็นภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์อาจมีสิทธิเป็นเจ้าของร่วมกันในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกับผู้ตายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอตั้งผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ซึ่งเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงในเรื่องการมีส่วนได้เสียเพียงเพื่อวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้น แต่ไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าที่ดินและหุ้นที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งในคดีนี้เป็นทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมทำมาหาได้กับผู้ตายหรือไม่ และในคดีดังกล่าวศาลยังนำข้อเท็จจริงที่โจทก์เป็นทายาทตามพินัยกรรมของผู้ตายมาพิจารณาประกอบอีกทางหนึ่ง คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันคู่ความให้ต้องรับฟังว่าที่ดินและหุ้นที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งในคดีนี้เป็นทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมทำมาหาได้กับผู้ตายและโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมกึ่งหนึ่งโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์โดยต้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ให้มีน้ำหนักรับฟังได้ว่าที่ดินและหุ้นที่ได้มาระหว่างอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเป็นทรัพย์สินที่โจทก์กับผู้ตายได้ร่วมทำมาหากินจนได้เงินไปซื้อที่ดินและหุ้นตามฟ้อง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่ปรากฏว่าขณะแต่งงานกับผู้ตายโจทก์มีเงินหรือทรัพย์สินอะไรที่สามารถขายได้เงินมากพอที่จะนำมาร่วมซื้อที่ดินกับผู้ตาย ก่อนแต่งงานกับผู้ตายไม่ปรากฏว่า โจทก์ซึ่งมีอายุ 19 ปี ประกอบอาชีพที่มั่นคง มีรายได้แน่นอน เพียงแต่ช่วยบิดามารดาค้าขายอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา หลังจากแต่งงานกับผู้ตายแล้วก็ย้ายมาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ไปเรียนเสริมสวยที่โรงเรียนเสริมสวยเกศสยาม โดยไม่ปรากฏว่าใช้เวลาเรียนนานเท่าไร หลังเรียนจบก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ใช้วิชาที่เรียนมาประกอบวิชาชีพหรือประกอบอาชีพใดที่จะได้เงินมาร่วมลงทุนซื้อที่ดินกับผู้ตายกึ่งหนึ่งดังที่เบิกความ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้เข้าไปช่วยเหลือกิจการงานหรือธุรกิจใดของผู้ตายเป็นกิจจะลักษณะพอที่จะถือได้ว่าช่วยกันประกอบอาชีพ แม้กระทั่งการเก็บค่าเช่าก็ไม่เคยเกี่ยวข้องทั้งขณะที่ผู้ตายยังมีชีวิตและหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วก็ตาม เงินที่ผู้ตายได้มาจากการขายที่ดินโจทก์ก็ไม่เคยได้รับโดยส่วนหนึ่งผู้ตายนำไปให้ผู้อื่นกู้ การที่โจทก์เพียงแต่เบิกความลอยๆ โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน ทั้งไม่ปรากฏว่าเคยเรียกร้องให้ผู้ตายใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินรวมทั้งเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการถือหุ้น ทั้งๆที่โจทก์เพียงอยู่กินกับผู้ตายโดยไม่จดทะเบียนสมรส ในขณะที่ผู้ตายมีบุตรและหญิงอื่นที่เคยอยู่กินฉันสามีภริยามาก่อนถือเป็นเรื่องผิดวิสัยอย่างยิ่ง ฝ่ายจำเลยมีจำเลยที่ 1 เบิกความเป็นพยานยืนยันว่า เงินที่ผู้ตายนำไปซื้อที่ดินทุกแปลงเป็นเงินส่วนตัวของผู้ตายโดยโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ตายนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินไปซื้ออสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย โดยโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำนิติกรรมทั้งไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ไม่เคยได้รับมอบอำนาจจากผู้ตายให้ไปซื้อที่ดินและเก็บค่าเช่า โจทก์มีฐานะยากจน หลังจากมาพักอาศัยอยู่กับผู้ตายโจทก์ไม่เคยเข้ามาช่วยเหลือกิจการงานของผู้ตาย ผู้ตายประกอบธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ และมีรถให้เช่า โดยมีนายเกษียร น้องต่างมารดาของผู้ตาย และนายโอฬาร เบิกความสนับสนุน ซึ่งนายเกษียรเบิกความว่า ผู้ตายประกอบธุรกิจซื้อขายที่ดินมาตั้งแต่ปี 2487 มีตึกแถวบริเวณซอยมหาพฤฒารามปัจจุบันคือซอยสว่าง ประมาณ 100 ห้อง โดยผู้ตายนำมาแบ่งขาย และนายโอฬารเบิกความว่า พยานเคยรับราชการที่สำนักงานเขตพระโขนงระหว่างปี 2518 ถึงปี 2533 เคยไปทำหนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินให้ผู้ตายที่บ้านผู้ตายประมาณ 10 ครั้ง โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้โทรศัพท์แจ้งให้ทราบและไปรับพยาน โจทก์ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการซื้อที่ดินของผู้ตาย โดยที่ทนายโจทก์มิได้ถามค้านทำลายน้ำหนักแห่งคำเบิกความพยานจำเลยทั้งสามปากนี้ให้ปรากฏข้อพิรุธว่า ข้อความที่พยานจำเลยเบิกความดังกล่าวไม่เป็นความจริง และยังเจือสมกับหลักฐานการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 1813 ตำบลวัดแก้วแจ่มฟ้า (บางรัก) อำเภอบางรัก กรุงเทพมหานคร ซึ่งระบุว่า ผู้ตายซื้อที่ดินมาเมื่อปี 2503 แบ่งแยกเมื่อปี 2504 รวม 75 โฉนด เริ่มขายตั้งแต่ปี 2504 จนถึงปี 2514 รวม 25 โฉนด หลังจากนั้นก็ยังคงมีการขายที่ดินต่อมาอีกหลายแปลง ทำให้พยานหลักฐานของจำเลยทั้งห้ามีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ เชื่อว่าผู้ตายประกอบธุรกิจซื้อขายที่ดิน ให้เช่าบ้านและรถยนต์ รวมทั้งให้กู้ยืมเงินก่อนที่จะแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์มานับสิบปี หลังจากแต่งงานกับโจทก์แล้วผู้ตายก็ยังคงประกอบธุรกิจเดิมโดยที่โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจต่างๆของผู้ตายที่ทำมาแต่เดิมให้พอฟังว่าร่วมกันทำมาหากินก่อร่างสร้างตัวกับผู้ตาย ส่วนบัญชีเงินฝากที่ผู้ตายเปิดร่วมกับโจทก์ก็เพิ่งเปิดเมื่อปี 2525 หลังจากผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์สิบปีเศษ และเป็นช่วงที่ผู้ตายเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลพญาไทก่อนที่จะถึงแก่ความตายเพียง 1 ปีเศษ ไม่ใช่ช่วงเวลาที่ผู้ตายจะร่วมประกอบธุรกิจการค้าใดๆกับโจทก์ได้อีก จะมีก็เพียงเรื่องขายที่ดินซึ่งก็ปรากฏว่าผู้ที่ดำเนินการให้แก่โจทก์ก็คือจำเลยที่ 1 การเปิดบัญชีร่วมกับโจทก์ในช่วงดังกล่าวจึงน่าจะเป็นเพียงเพื่อการเบิกถอนเงินในกรณีจำเป็นในการรักษาพยาบาลและดำรงชีพในช่วงเวลานั้นมากกว่า ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่ผู้ตายซื้อที่ดินและหุ้นดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9354/2539 ที่นางลินดา ฟ้องโจทก์และนางสาวนิภาภัทร เป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง ขอให้พิพากษาว่า พินัยกรรมฉบับลงวันที่ 15 เมษายน 2525 ปลอม ให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 13709 และ 13710 ตำบลคลองเตย (ที่ 11 พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร แก่โจทก์และแบ่งทรัพย์มรดกอันดับที่ 1 ถึงที่ 31 ให้โจทก์ 1 ใน 3 คิดเป็นเงิน 49,497,938 บาท หากแบ่งไม่ได้ให้นำออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ทรัพย์ตามพินัยกรรมที่จำเลยทั้งสองได้รับถ้าคิดตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องจะเป็นเงิน 20,000,000 บาท แต่ตามบัญชีทรัพย์ดังกล่าว มรดกคิดเป็นเงินประมาณ 148,000,000 บาท ทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองจะได้ตามพินัยกรรมจึงเป็นเพียง 1 ใน 7 ของทรัพย์มรดก ซึ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 50897 และ 119045 (เก่า) หรือ 170562 (ใหม่) ตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร โฉนดเลขที่ 16978 และ 19729 ตำบลบางจาก อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร และโฉนดเลขที่ 7026 ตำบลคลองตัน (ที่ 11 พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร รวมทั้งหุ้นในบริษัทเพชรบุรีการแพทย์ จำกัด ก็ระบุอยู่ในบัญชีทรัพย์ตามที่ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยในคดีดังกล่าวว่าเป็นทรัพย์มรดกทั้งสิ้น ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 13709 และ 13710 พร้อมบ้านเลขที่ 27 ซอยอารีย์ ถนนสุขุมวิท ศาลฎีกาก็วินิจฉัยไว้ในคดีดังกล่าวว่ายังเป็นของผู้ตายอันเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทต่อไปเช่นกันตามสำเนาคำพิพากษา พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะให้รับฟังว่า โจทก์ร่วมออกเงินซื้อที่ดินและหุ้นกับผู้ตายแต่กลับฟังได้ว่าเป็นเงินของผู้ตายฝ่ายเดียว รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 50897 และ 119045 (170562) ตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร โฉนดเลขที่ 19729 ตำบลบางจาก อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร โฉนดเลขที่ 7026 ตำบลคลองตัน (ที่ 11 พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร โฉนดเลขที่ 13709 และ 13710 ตำบลคลองเตย (ที่ 11 พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร กับหุ้นในบริษัทเพชรบุรีการแพทย์ จำกัด จึงเป็นทรัพย์สินของนายสุจิตร ผู้ตาย ที่โจทก์มิได้มีส่วนร่วมทำมาหาได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งที่ดินและหุ้นดังกล่าวอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ข้อนี้ฟังขึ้น และเห็นว่าเป็นกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) และ 247

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันจดทะเบียนแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 50897 และ 119045 (เก่า) หรือ 170562 (ใหม่) ตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร โฉนดเลขที่ 19729 ตำบลบางจาก อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร โฉนดเลขที่ 7026 ตำบลคลองตัน (ที่ 11 พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร โฉนดเลขที่ 13709 และ 13710 ตำบลคลองเตย (ที่ 11 พระโขนงฝั่งเหนือ) อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร และแบ่งหุ้นบริษัทเพชรบุรีการแพทย์ จำกัด กึ่งหนึ่ง ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าในศาลชั้นต้น และค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

 




ทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์

สิทธิของบุคคลต่างด้าวในที่ดิน, การครอบครองที่ดินและสิทธิในกรรมสิทธิ์
ฟ้องขับไล่และกรรมสิทธิ์ที่ดิน, การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ,
กรรมสิทธิ์รวมและสินสมรส-ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนและหลังจดทะเบียนสมรส
หนังสือยินยอมคู่สมรสปลอม , ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
ทรัพย์สินระหว่างสามคนผัวเมีย-เจ้าของรวม-สมรสซ้อน
เงินในบัญชีร่วมกันทำมาหากินไม่ได้จดทะเบียนสมรส
การแจ้งความเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน
เจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิด หรือคาดหมาย
ปลูกสร้างอาคารสูงปิดบังช่องแสงและทิศทางลม ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร ละเมิด
ความเสียหายเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมาย
เพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไป
ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์
สิทธิยื่นใบเบิกเงินและรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
สิทธิเหนือพื้นดินคืออะไร
การได้ที่ดินของคนต่างด้าวโดยภรรยาคนไทยถือกรรมสิทธิ์แทน
การระวังแนวเขตรังวัดมีการชี้รุกล้ำที่ดินไม่เป็นเหตุเสียกรรมสิทธิ์
เพิกถอนนิติกรรมในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมใช้สิทธิติดตามเอาคืน
เรียกโฉนดที่ดินคืนจากเจ้าหนี้เงินกู้ยืม โฉนดที่ดินเป็นประกันเงินกู้
เจ้าของรวมทำพินัยกรรมจำหน่ายส่วนของตน ความยินยอมจากภริยา
ก่อสร้างสะพานลอยคนข้ามทำให้ได้รับความเดือดร้อนขอให้รื้อถอนสะพาน
สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งที่ดินที่ตนเองเป็นเจ้าของรวม แม้มีข้อตกลงห้ามแบ่งแยก
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล แม้เจ้าหนี้ยังมิได้ฟ้องลูกหนี้
กรรมสิทธิ์รวมแม้ซื้อโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่มีผลผูกพัน