ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




กรรมสิทธิ์รวมและสินสมรส-ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนและหลังจดทะเบียนสมรส

บิดา มารดา และบุตร ทนาย อาสา ปรึกษา เรื่อง อำนาจปกครองบุตร ฟรี

 

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ  

 

กรรมสิทธิ์รวมและสินสมรส-ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนและหลังจดทะเบียนสมรส

ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยร่วมกันซื้อที่ดินมาในปี 2538 ซึ่งโจทก์กับจำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยากันโดยยังไม่จดทะเบียนสมรสในขณะนั้น ดังนั้นเงินที่นำไปซื้อที่ดินเป็นเงินที่โจทก์ จำเลยทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันก่อนที่โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกันที่ดินและบ้านดังกล่าวจึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลย การจดทะเบียนสมรสกันในภายหลังไม่มีผลทำให้ที่ดินและบ้านดังกล่าวกลายเป็นสินสมรสแต่อย่างใด จึงยังคงเป็นสินส่วนตัวของทั้งโจทก์และจำเลย

รถยนต์กระบะที่จำเลยขายไปนั้นจำเลยรับว่าเป็นสินสมรสของโจทก์และจำเลย แต่จำเลยไม่นำเงินที่ขายรถยนต์กระบะมาแบ่งให้โจทก์โดยจำเลยอ้างว่า เนื่องจากต้องนำเงินมารักษาพยาบาลบิดามารดาจำเลยซึ่งโจทก์ก็ทราบดีและยินยอมว่าโจทก์ไม่ติดใจเงินจำนวนนี้ ดังนั้นจึงถือว่ารถยนต์กระบะคันนี้ได้ถูกแบ่งไปแล้วและไม่จำต้องนำมาแบ่งซ้ำซ้อนอีกนั้นสำหรับปัญหานี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่าจำเลยนำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้ที่ยืมมารักษาพยาบาลบิดามารดาของจำเลย จึงเป็นการขายเพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสเมื่อจำเลยไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในปัญหาข้อนี้ไว้ในฎีกาโดยชัดแจ้งจึงต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13718/2555

เงินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันก่อนที่โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกัน เมื่อนำเงินดังกล่าวไปซื้อที่ดินและบ้าน ที่ดินและบ้านที่ซื้อจึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลย การจดทะเบียนสมรสกันในภายหลังไม่มีผลทำให้ที่ดินและบ้านดังกล่าวกลายเป็นสินสมรสแต่อย่างใด จึงยังคงเป็นสินส่วนตัวของทั้งโจทก์และจำเลย ซึ่งต้องแบ่งกันคนละกึ่งหนึ่ง

 

กรรมสิทธิ์รวมและสินสมรส-ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนและหลังจดทะเบียนสมรส-เงินที่นำไปซื้อที่ดินเป็นเงินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันก่อนจดทะเบียนสมรสที่ดินนั้นจึงเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน การจดทะเบียนสมรสกันในภายหลังไม่มีผลทำให้ที่ดินและบ้านดังกล่าวกลายเป็นสินสมรสแต่อย่างใด จึงยังคงเป็นสินส่วนตัวของทั้งโจทก์และจำเลย

 

 

โจทก์ฟ้อง ขอให้พิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน หากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ ขอให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองนางสาว ส. และเด็กหญิง ธ. บุตรผู้เยาว์ทั้งสอง แต่เพียงผู้เดียว กับให้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า หมายเลขทะเบียน กข 6408 สุพรรณบุรี

จำเลยให้การและฟ้องแย้งขอให้จำเลยและโจทก์หย่าขาดจากกัน ให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง กับให้แบ่งทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันและสินสมรส คือ รถยนต์ 4 คัน กับที่ดิน 8 แปลง ให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่ง คิดเป็นเงิน 600,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกันให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองนางสาว ส. และเด็กหญิง ธ. บุตรผู้เยาว์ทั้งสอง แต่เพียงผู้เดียว ให้จำเลยชดใช้เงิน 65,000 บาท แก่โจทก์ ให้โจทก์และจำเลยร่วมกันรับผิดชำระหนี้ 433,000 บาท แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรคนละกึ่งหนึ่ง และให้แบ่งทรัพย์สิน คือ รถยนต์ตู้ยี่ห้อโตโยต้า หมายเลขทะเบียน 3 ฝ - 6057 กรุงเทพมหานคร รถยนต์กระบะยี่ห้อนิสสัน หมายเลขทะเบียน ผ 1715 กาญจนบุรี รถยนต์เก๋งยี่ห้อฮอนด้า หมายเลขทะเบียน กข 6408 สุพรรณบุรี ที่ดินโฉนดเลขที่ 1 ตำบลหนองปรือ กิ่งอำเภอหนองปรือ (บ่อพลอย) จังหวัดกาญจนบุรี ที่ดินโฉนดเลขที่ 98 ตำบลหนองปรือ กิ่งอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี และที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี 5 แปลง เลขที่ 6213, 6214, 6215, 6216 และ 6217 แก่โจทก์และจำเลยคนละกึ่งหนึ่ง ถ้าการแบ่งเช่นว่านี้ไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนัก ก็ให้ขายโดยประมูลราคากันเองระหว่างโจทก์และจำเลยหรือขายทอดตลาดแล้วนำเงินที่ขายได้มาแบ่งกันคนละกึ่งหนึ่งก็ได้ สำหรับที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน เลขที่ 6213, 6214, 6215, 6216, และ 6217 หากไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อผู้มีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินทางทะเบียนได้ ให้โจทก์หรือจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่มีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินชดใช้เงินทดแทนเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของราคาที่ดิน คือ 5,000 บาท 7,500 บาท 10,000 บาท 20,000 บาท และ 15,000 บาท ตามลำดับแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้ ค่าฤชาธรรมเนียมของโจทก์และจำเลยตามฟ้องและฟ้องแย้งให้เป็นพับ คำขออื่นของโจทก์และจำเลยนอกจากนี้ให้ยก

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พิพากษาแก้เป็นว่าให้แบ่งทรัพย์สินบ้านเลขที่ 628/1 เฉพาะส่วนที่ปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 98 ตำบลหนองปรือ กิ่งอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ให้โจทก์และจำเลยคนละกึ่งหนึ่ง ถ้าการแบ่งเช่นว่านี้ไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนัก ก็ให้ขายโดยประมูลราคากันเองระหว่างโจทก์และจำเลย หรือขายทอดตลาดแล้วนำเงินที่ขายได้มาแบ่งคนละกึ่งหนึ่งก็ได้ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ในส่วนฟ้องและฟ้องแย้งให้เป็นพับ

โจทก์และจำเลยฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า สำหรับปัญหาเรื่องที่ดินโฉนดเลขที่ 1147 และเลขที่ 98 นั้น ศาลฎีกาเห็นควรพิจารณาฎีกาของโจทก์จำเลยไปด้วยกัน โจทก์มีตัวโจทก์และนายสมชาย บิดาโจทก์เป็นพยาน โดยนายสมชายเบิกความว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 1147 และที่ดินโฉนดเลขที่ 98 มีเนื้อที่ติดกัน เดิมเป็นของพยาน พยานซื้อมาจากบุคคลภายนอกเมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว โดยขณะที่ซื้อมีบ้านชั้นเดียวปลูกอยู่บนที่ดินทั้งสองแปลง ต่อมาพยานได้แบ่งขายที่ดินโฉนดเลขที่ 98 พร้อมบ้านชั้นเดียวให้นายเกลียว น้องชายในราคา 35,000 บาท ที่ดินทั้งสองแปลงเดิมไม่มีเอกสารสิทธิ ภายหลังที่พยานโอนขายให้นายเกลียวแล้ว ทางราชการได้ออกเอกสารสิทธิให้แก่พยานและนายเกลียว โดยพยานเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 1147 ส่วนนายเกลียวเป็นเจ้าของที่ดินเลขที่ 98 ส่วนตัวบ้านนั้นปลูกคร่อมเต็มเนื้อที่ที่ดินทั้งสองแปลง ต่อมาพยานขอซื้อที่ดินคืนจากนายเกลียวในราคาเดิม 35,000 บาท ที่ดินส่วนที่พยานซื้อคืนจากนายเกลียวคือที่ดินโฉนดเลขที่ 98 นั้น พยานให้นายเกลียวโอนให้แก่โจทก์ โดยระบุว่าเป็นการขาย (บิดาโจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าว แต่ใส่ชื่อโจทก์) เพราะพยานตั้งใจยกที่ดินทั้งโฉนดเลขที่ 98 และ 1147 ให้โจทก์ สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 98 นั้น โจทก์เบิกความว่าบิดาโจทก์ขายให้นายเกลียว ในราคา 35,000 บาท เมื่อบิดายกบ้านเลขที่ 628/1 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินนายเกลียวด้วยให้โจทก์ โจทก์จึงขอซื้อที่ดินที่มีบ้านเลขที่ 628/1 ตั้งอยู่ด้วยจากนายเกลียวในราคา 100,000 บาท ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 98 และหนังสือสัญญาขายที่ดิน ซึ่งสัญญาขายที่ดินระบุว่า มีสิ่งปลูกสร้างเป็นห้องแถวไม้ชั้นเดียว เนื่องจากเป็นการระบุตามเอกสารเดิม ความจริงขณะซื้อที่ดินจากนายเกลียวนั้น มีสิ่งปลูกสร้างเป็นห้องแถวไม้ 2 ชั้น คือ บ้านเลขที่ 628/1 ปลูกสร้างอยู่แล้ว เนื่องจากบิดาโจทก์ต่อเติมชั้นที่สองให้ โจทก์ได้ชำระราคาที่ดินและค่าบ้านให้นายเกลียวหมดแล้ว ซึ่งตามคำเบิกความของโจทก์นั้น โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 98 และบ้านเลขที่ 628/1 ส่วนที่ตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าวเอง มิใช่บิดาเป็นผู้ซื้อ แล้วใส่ชื่อทางทะเบียนเป็นชื่อโจทก์ ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 1147 นั้น บิดาโจทก์ซื้อมาจากบุคคลภายนอก แล้วยกให้โจทก์ตามสำเนาโฉนดที่ดินและสำเนาหนังสือสัญญาให้ที่ดิน สำหรับปัญหาที่ดินทั้งสองแปลงและบ้านดังกล่าวจำเลยเบิกความว่า โจทก์และจำเลยพักอาศัยอยู่ในบ้านเลขที่ 628/1 ซึ่งเป็นบ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินที่ซื้อมาจากนายเกลียวและปลูกอยู่บนที่ดินของนายสมชาย บิดาโจทก์ เดิมบ้านดังกล่าวมี 2 ห้อง โดยห้องหนึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินของบิดาโจทก์ ส่วนอีกห้องหนึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินนายเกลียวซึ่งโจทก์และจำเลยร่วมกันซื้อมาจากนายเกลียว โดยในขณะนั้นโจทก์กับจำเลยยังคงทำอาชีพส่งอาหารให้ลูกค้าตามที่สั่ง รวมทั้งจำเลยยังขับรถยนต์ตู้รับจ้างในบางครั้งตามที่มีผู้ว่าจ้างต่อมาโจทก์และจำเลยซื้อที่ดินจากบิดาโจทก์ 50,000 บาท เพื่อจะได้ทุบกำแพงกั้นห้องทั้งสองให้ทะลุถึงกัน และระบุว่าบิดาโจทก์ยกให้โดยเสน่หาเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีแต่ให้เจ้าหน้าที่ตีราคาที่ดินว่า 50,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ซื้อขายกันจริง เห็นว่า สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 1147 นั้น โจทก์และนายสมชาย บิดาโจทก์เบิกความสอดคล้องต้องกันว่า นายสมชาย บิดาโจทก์ยกให้โจทก์โดยเสน่หา ปรากฏหลักฐานตามสัญญาให้ที่ดิน และสารบัญจดทะเบียนของโฉนดที่ดินเลขที่ 1147 ซึ่งระบุว่า นายสมชายจดทะเบียนการให้ที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547 ที่จำเลยเบิกความว่า ตนกับโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 1147 ในราคา 50,000 บาท นั้น นอกจากขัดกับหลักฐานทางทะเบียนดังกล่าวแล้ว จำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่วินิจฉัยว่า ทางนำสืบของจำเลยไม่ปรากฏว่ามีการชำระเงิน 50,000 บาท ให้แก่นายสมชาย บิดาโจทก์นั้นว่าไม่ชอบอย่างไร นับว่ามีพิรุธ ส่วนจำนวนเงิน 50,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินนั้น ก็เป็นราคาของที่ดินดังกล่าว ไม่ใช่ราคาซื้อขายดังที่จำเลยฎีกา ซึ่งราคาซื้อขายอาจจะมากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ก็ได้ แล้วแต่ข้อตกลงของคู่สัญญา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่จำต้องแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 1147 และบ้านเลขที่ 628/1 ให้จำเลยกึ่งหนึ่งนั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 98 และบ้านเลขที่ 628/1 ส่วนที่อยู่บนที่ดินดังกล่าวนั้นเห็นได้ว่า คำเบิกความของนายสมชาย บิดาโจทก์ที่นำสืบว่า พยานซื้อที่ดินดังกล่าวคืนจากนายเกลียว แล้วให้ใส่ชื่อโจทก์ เพราะต้องการยกที่ดินดังกล่าวให้โจทก์เช่นเดียวกับที่ดินและบ้านแปลงติดกันตามโฉนดเลขที่ 98 และบ้านเลขที่ 628/1 ส่วนที่อยู่บนที่ดินดังกล่าวดังที่วินิจฉัยไว้ข้างต้นนั้นขัดกับคำเบิกความของโจทก์ที่เบิกความว่า โจทก์ซื้อมาจากนายเกลียวในราคา 100,000 บาท โดยคำเบิกความของโจทก์ดังกล่าวนี้ ตรงกับที่ระบุไว้ในสารบัญจดทะเบียนว่า วันที่ 4 ตุลาคม 2538 นายเกลียวขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ จึงมีน้ำหนักให้รับฟังมากกว่านายสมชายบิดาโจทก์ที่เบิกความว่า พยานเป็นคนซื้อที่ดินดังกล่าวพร้อมบ้านบนที่ดิน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยร่วมกันซื้อที่ดินดังกล่าวมาในปี 2538 ซึ่งโจทก์กับจำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยากันโดยยังไม่จดทะเบียนสมรสในขณะนั้นจำเลยนำสืบว่า จำเลยยังช่วยโจทก์ทำมาหากิน โดยจำเลยช่วยโจทก์ขายก๋วยเตี๋ยว ส่งก๋วยเตี๋ยวให้ลูกค้า ซึ่งโจทก์ก็เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านรับว่า จำเลยช่วยทำหน้าที่ดังกล่าว ดังนั้นเงินที่นำไปซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 98 และบ้านเลขที่ 628/1 บางส่วนจึงเป็นเงินที่โจทก์ จำเลยทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันก่อนที่โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกัน เมื่อนำเงินดังกล่าวไปซื้อมา ที่ดินและบ้านดังกล่าวจึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลย การจดทะเบียนสมรสกันในภายหลังไม่มีผลทำให้ที่ดินและบ้านดังกล่าวกลายเป็นสินสมรสแต่อย่างใด จึงยังคงเป็นสินส่วนตัวของทั้งโจทก์และจำเลยที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้แบ่งกันคนละกึ่งหนึ่งนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ที่โจทก์ฎีกาว่าเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ฝ่ายเดียวโดยจำเลยไม่มีส่วนร่วมใดๆ นั้น ฟังไม่ขึ้น

ส่วนฎีกาของจำเลยข้อสุดท้ายว่า รถยนต์กระบะ ซึ่งจำเลยขายไปได้เงิน 130,000 บาท ซึ่งจำเลยฎีการับว่ารถยนต์กระบะดังกล่าวเป็นสินสมรสของโจทก์และจำเลย แต่จำเลยไม่นำเงินที่ขายรถยนต์กระบะดังกล่าวมาแบ่งให้โจทก์เป็นเงิน 65,000 บาท นั้น จำเลยฎีกาว่าจำเลยจำเป็นต้องขายรถยนต์กระบะคันดังกล่าว เนื่องจากต้องนำเงินมารักษาพยาบาลบิดามารดาจำเลยซึ่งโจทก์ก็ทราบดีและยินยอมว่าโจทก์ไม่ติดใจเงินจำนวนนี้ ดังนั้นจึงถือว่ารถยนต์กระบะคันนี้ได้ถูกแบ่งไปแล้วและไม่จำต้องนำมาแบ่งซ้ำซ้อนอีกนั้นสำหรับปัญหานี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่าจำเลยนำสืบว่าจำเลยนำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้ที่ยืมมารักษาพยาบาลบิดามารดาของจำเลย จึงเป็นการขายเพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา 1533 นั้น จำเลยไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในปัญหาข้อนี้ไว้ในฎีกาโดยชัดแจ้งจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 

กรรมสิทธิ์ร่วมกัน สินส่วนตัว, สินสมรส, จดทะเบียนสมรสภายหลัง




ทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์

หนังสือยินยอมคู่สมรสปลอม , ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
ทรัพย์สินระหว่างสามคนผัวเมีย-เจ้าของรวม-สมรสซ้อน
เงินในบัญชีร่วมกันทำมาหากินไม่ได้จดทะเบียนสมรส
การแจ้งความเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายอาจไม่ใช่เจ้าของรวมเสมอไป
เจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิด หรือคาดหมาย
ปลูกสร้างอาคารสูงปิดบังช่องแสงและทิศทางลม ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร ละเมิด
ความเสียหายเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมาย
เพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไป
ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์
สิทธิยื่นใบเบิกเงินและรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
สิทธิเหนือพื้นดินคืออะไร
การได้ที่ดินของคนต่างด้าวโดยภรรยาคนไทยถือกรรมสิทธิ์แทน
การระวังแนวเขตรังวัดมีการชี้รุกล้ำที่ดินไม่เป็นเหตุเสียกรรมสิทธิ์
เพิกถอนนิติกรรมในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมใช้สิทธิติดตามเอาคืน
เรียกโฉนดที่ดินคืนจากเจ้าหนี้เงินกู้ยืม โฉนดที่ดินเป็นประกันเงินกู้
เจ้าของรวมทำพินัยกรรมจำหน่ายส่วนของตน ความยินยอมจากภริยา
ก่อสร้างสะพานลอยคนข้ามทำให้ได้รับความเดือดร้อนขอให้รื้อถอนสะพาน
สิทธิที่จะเรียกให้แบ่งที่ดินที่ตนเองเป็นเจ้าของรวม แม้มีข้อตกลงห้ามแบ่งแยก
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล แม้เจ้าหนี้ยังมิได้ฟ้องลูกหนี้
กรรมสิทธิ์รวมแม้ซื้อโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่มีผลผูกพัน