ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เลิกจ้างไม่เป็นธรรม-สินจ้างแทนการบอกกล่าว

  เลิกจ้างไม่เป็นธรรมกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

ลูกจ้างบกพร่องต่อหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้าง-ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ส่วนการการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างอันแท้จริงของนายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างอาจจะไม่ใช่เหตุตามคำให้การของนายจ้างหรือที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างก็ได้ และเป็นคนละประเด็นกับการเลิกจ้างนั้นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่านายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุใดและเป็นธรรมหรือไม่ 
  
   คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6098/2551

            ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์ในฐานะผู้จัดการแผนกรับรถได้รับเรื่องการสั่งซ่อมรถยนต์คันพิพาทจากแผนกควบคุมแล้ว โจทก์มีหน้าที่ส่งเรื่องพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังหน่วยงานของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเพื่อเคลมค่าอะไหล่กับบริษัทผู้รับประกันภายในเวลาอันสมควร แต่โจทก์ไม่กระทำ ถือว่าโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 อันเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้ของจำเลยแล้ว

        ส่วนการพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างอันแท้จริงของนายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างอาจจะไม่ใช่เหตุตามคำให้การของจำเลยหรือที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ก็ได้ และเป็นคนละกรณีกับการพิจารณาการเลิกจ้างนั้นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุใดและเป็นธรรมหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางหยิบยกเอาประกาศเรื่องระเบียบว่าด้วยเวลาปฏิบัติงานของแผนกแจ้งซ่อมเอกสารหมาย จ.3 และหนังสือแจ้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงเวลาปฏิบัติงานของแผนกแจ้งซ่อมเอกสารหมาย จ.4 มาวินิจฉัยประกอบทางนำสืบของโจทก์ว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นผลมาจากจำเลยไม่พอใจที่จำเลยขอเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานปกติของโจทก์แล้ว แต่โจทก์โต้แย้งคัดค้านและยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงานจนเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานของโจทก์ได้ ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างเพราะเหตุโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อตามที่จำเลยให้การต่อสู้ได้ คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายแล้ว

          โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 34,200 บาท และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง และค่าชดเชย 54,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

          จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

          ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย 54,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันเลิกจ้าง และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 18,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกเสีย

            จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

            ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าและโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า โจทก์ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลแผนกแจ้งซ่อมได้รับเอกสารพร้อมอะไหล่ที่ซ่อมเพื่อส่งเรียกร้องและเรียกเก็บเงินจากบริษัทรับประกันแล้ว แต่โจทก์เก็บเรื่องไว้ไม่ส่งต่อให้แผนกอื่นเพื่อส่งเรียกร้องต่อไปจนล่วงเลยเวลา 30 วัน นับแต่วันรับรถยนต์เข้าซ่อม ทำให้จำเลยเสียสิทธิเรียกเก็บค่าอะไหล่และค่าแรงเป็นเงิน 32,220 บาท การกระทำของโจทก์เป็นการจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยและเป็นธรรม ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยแล้วว่า โจทก์ในฐานะผู้จัดการแผนกรับรถได้รับเรื่องการสั่งซ่อมรถยนต์คันพิพาทจากแผนกควบคุมแล้ว โจทก์มีหน้าที่ส่งเรื่องพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังหน่วยงานของจำเลยเพื่อดำเนินการเรียกร้องค่าอะไหล่จากบริษัทผู้รับประกันภายในเวลาอันสมควร แต่โจทก์ไม่ได้กระทำการดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 อันเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้ของจำเลยแล้ว ส่วนการพิจารณาว่า การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างอันแท้จริงของนายจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวอาจจะไม่ใช่เหตุตามคำให้การต่อสู้ของจำเลยหรือที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ก็ได้ และเป็นคนละกรณีกับการพิจารณาว่า การเลิกจ้างนั้นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุใดและเป็นธรรมหรือไม่ ดังนั้นที่ศาลแรงงานกลางหยิบยกเอาประกาศเรื่องระเบียบว่าด้วยเวลาปฏิบัติงานของแผนกแจ้งซ่อมเอกสารหมาย จ. 3 และหนังสือแจ้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงเวลาปฏิบัติงานของแผนกแจ้งซ่อมเอกสารหมาย จ. 4 มาวินิจฉัยประกอบกับทางนำสืบของโจทก์ว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นผลมาจากจำเลยไม่พอใจที่จำเลยขอเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานปกติของโจทก์แล้ว แต่โจทก์โต้แย้งคัดค้านและยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงานจนเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานของโจทก์ได้ ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างเพราะเหตุโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยบกพร่องหรือประมาทเลินเล่อตามที่จำเลยให้การต่อสู้ได้ คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น

          พิพากษายืน.

 

 




เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน

การจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การค้ำประกันของพนักงานรัฐวิสาหกิจ, คดีละเมิดของพนักงานรัฐวิสาหกิจ
คำเตือนให้ชำระหนี้โดยชอบตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง, การเรียกร้องเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาล ประกันสังคม
ผู้รับเหมาชั้นต้นมีสิทธิไล่เบี้ยเงินค่าจ้างที่ได้จ่ายแทนนายจ้างไปแล้ว
ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาต่างประเทศ
ลูกจ้างส่งภาพโป๊ลามกอนาจารในเวลาทำงาน
ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง
หน้าที่นายจ้างวางเงินก่อนฟ้องคดี
ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานร้ายแรง
ลูกจ้างชั่วคราวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาฝ่ายเดียวต้องดำเนินการภายใน 7 วัน
เล่นอินเตอร์เน็ตในเวลาทำงานเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
ค่าจ้างค้างจ้ายกับดอกเบี้ยผิดนัดที่ลูกจ้างมีสิทธิคิดเอากับนายจ้าง
เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือ
นายจ้างมอบอำนาจบังคับบัญชาให้ผู้อื่น
คำนวณจ่ายค่าชดเชย-ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างหรือไม่
ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง
บำเหน็จดำรงชีพกับบำเหน็จตกทอด
อ้างเหตุเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจะกระทำได้แต่จ้างงานในโครงการเฉพาะ
การจงใจฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง คำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งใหม่
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุไม่อาจถอนได้
เรียกค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ฝ่าฝืนระเบียบนายจ้างมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เลิกจ้างโดยไม่ได้ตักเตือนก่อนเป็นหนังสือต้องจ่ายค่าชดเชย
ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในกรณีร้ายแรง
สิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ | ย้ายสถานประกอบกิจการ
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด
ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเพื่อคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ตำแหน่งพนักงานขับรถ-สัญญาจ้างแรงงาน หรือสัญญาจ้างทำของ?
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
แม่บ้านทำงานบ้านฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างให้ลูกจ้างขับรถขนส่งทำงานติดต่อกันถึงวันละ 24 ชั่วโมงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างเป็นอำนาจบริหารจัดการของนายจ้าง
นายจ้างประกอบกิจการขนส่งย้ายที่ลงเวลาทำงานไปตั้งอยู่ที่อื่น
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานฝ่ายลูกจ้างไม่คัดค้าน
ดอกเบี้ยผิดนัดหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชย 15% ต่อปีไม่ใช่ 7.5%
สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดทำให้สิทธิรับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเที่ยวระงับด้วย
สิทธิของลูกจ้างกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างประกาศหยุดกิจการชั่วคราว | ค่าจ้างระหว่างหยุดงาน
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
สัญญาจ้างทดลองงาน | สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
บทความเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน
นายจ้างฟ้องไล่เบี้ยลูกจ้างให้รับผิดฐานละเมิดต่อบุคคลภายนอก
นายจ้างขอให้ศาลเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง