ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาฝ่ายเดียวต้องดำเนินการภายใน 7 วัน

 ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาฝ่ายเดียวต้องดำเนินการภายใน 7 วัน

ศาลออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายโดยชอบแล้ว เมื่อจำเลยไม่มาศาลตามกำหนด โดยไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุที่ไม่มา ศาลจึงได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด เมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีต้องยกคำร้อง 
 
   
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3022/2552

  การพิจารณาคดีแรงงานมีวิธีพิจารณาต่างกับคดีแพ่งทั่วๆ ไป โดยมี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ บัญญัติไว้เป็นพิเศษ กรณีที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ได้บัญญัติไว้แล้วอย่างไรก็ต้องบังคับไปตามนั้น จะนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ เท่านั้น

  คดีนี้เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ศาลแรงงานกลางได้กำหนดเวลานัดพิจารณาและสืบพยาน โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายโดยชอบแล้วจึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนด โดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดเมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีจึงต้องยกคำร้อง ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ไต่สวนจึงเป็นการถูกต้องแล้ว

          คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายพร้อมดอกเบี้ยศาลแรงงานกลางกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์วันที่ 1 ตุลาคม 2550 เวลา 9 นาฬิกา โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลาดังกล่าวส่งให้จำเลยพร้อมสำเนาคำฟ้องโดยวิธีปิดหมาย ณ บ้านเลขที่ 38/12 หมู่ 12 ถนนบางนา - ตราด ซอยพารุ่งเรืองตรงข้ามข้ามสะพานยูเทิร์นไบเทค แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร ตามที่โจทก์ระบุไว้ในคำฟ้องว่าเป็นภูมิลำเนาของลำเลย ครั้นถึงวันเวลานัดปรากฏว่าจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลแรงงานกลางจึงมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดแล้วพิจารณาคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว และพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามคำฟ้อง วันที่ 22 ตุลาคม 2550 จำเลยยื่นคำร้องว่า การดำเนินคดีของโจทก์ตั้งแต่ฟ้องจนถึงการบังคับคดีจำเลยไม่ทราบ เพราะไม่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง จำเลยไม่คิดว่าโจทก์จะฟ้องจำเลยเนื่องจากโจทก์ละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 23 ถึง 27 มกราคม 2550 เป็นเวลาเกินกว่า 3 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงซึ่งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย และจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและเงินใดๆ แก่โจทก์ ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 ส่งได้โดยวิธีปิดหมายไว้ ณ อาคารสำนักงานของจำเลย ซึ่งคณะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องไม่ได้อยู่ที่สำนักงานของจำเลย จำเลยจึงไม่ทราบและไม่ได้ไปศาลตามกำหนดนัดในวันที่ 1 ตุลาคม 2550 กรณีดังกล่าวมิใช่ความผิดของจำเลยแต่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือซึ่งจำเลยไม่อาจหยั่งรู้และไม่อาจบังคับได้ จำเลยจึงไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณาแต่อย่างใด จำเลยเพิ่งทราบว่าถูกฟ้องเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2550 เนื่องจากพนักงานบริษัทอื่นซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องนำหมายเรียกพร้อมสำเนาคำฟ้องและคำบังคับมาให้จำเลย จึงต้องถือว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้เพิ่งสิ้นสุดลง และจำเลยเพิ่งทราบถึงคดีที่จำเลยขาดนัดในวันดังกล่าวซึ่งจะครบกำหนดยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ภายใน 7 วัน ในวันที่ 25 ตุลาคม 2550 คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 ขอให้ศาลมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องของจำเลยและมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ แล้วพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี

          ศาลแรงงานกลางนัดไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 เวลา 13 นาฬิกา เมื่อถึงกำหนดนัดศาลแรงงานกลางได้สอบถามจำเลย จำเลยยอมรับว่าบ้านเลขที่ 38/12 หมู่ที่ 12 ถนนบางนา - ตราด ซอยรถรุ่งเรือง (ที่ถูกคือซอยพารุ่งเรือง) ใกล้เคียงตรงข้ามสะพานยูเทิร์นไบเทค แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร เป็นภูมิลำเนาของจำเลย ศาลแรงงานกลางเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วให้งดการไต่สวน

          ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เจ้าพนักงานเดินหมายของศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาของจำเลยตามคำสั่งศาลโดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74 ประกอบมาตรา 79 จำเลยไม่มาศาลตามนัดโดยไม่แจ้งให้ทราบเหตุที่ไม่มา และจำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เกินกำหนด 7 วัน นับแต่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง

          จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า “...การพิจารณาคดีแรงงานมีวิธีพิจารณาต่างกับคดีแพ่งทั่วๆ ไป โดยมีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 บัญญัติไว้เป็นพิเศษ กรณีที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ได้บัญญัติไว้แล้วอย่างไรก็ต้องบังคับไปตามนั้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เท่านั้น

          คดีนี้เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ศาลแรงงานกลางได้กำหนดวันเวลานัดพิจารณาและสืบพยาน โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายโดยชอบแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนด โดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด เมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีต้องยกคำร้อง ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ไต่สวนจึงเป็นการถูกต้องแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษายืน

มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม

มาตรา 37 เมื่อศาลแรงงานสั่งรับคดีไว้พิจารณาแล้ว ให้ศาลแรงงานกำหนดวันเวลาในการพิจารณาคดีโดยเร็ว และออกหมายเรียกจำเลยให้มาศาลตามกำหนด ในหมายนั้นให้จดแจ้งรายการแห่งข้อหาและ คำขอบังคับให้จำเลยทราบ และให้ศาลแรงงานสั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลาเดียวกันนั้นด้วย จำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก่อนวันเวลาที่ศาลแรงงาน นัดให้มาศาลก็ได้

มาตรา 40 เมื่อโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้มาศาลตามมาตรา 37 แล้ว ไม่มาตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานทราบเหตุที่ไม่มา ให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจาก สารบบความ
--เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา 37 แล้ว ไม่มาตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานทราบเหตุที่ไม่มา ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด และพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว
---ในกรณีที่โจทก์หรือจำเลยได้แจ้งให้ศาลแรงงานทราบเหตุแล้ว และศาลแรงงานเห็นเป็นการสมควร ก็ให้กำหนดวันเวลานัดใหม่เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมาศาล

มาตรา 41 ในกรณีที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง หรือมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตามมาตรา 40 วรรคสอง หากโจทก์หรือจำเลยมาแถลงให้ศาลแรงงาน ทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่ง ศาลแรงงานมีอำนาจไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นนั้นได้ และหากเห็นเป็นการสมควร ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตามมาตรา 40 และดำเนินกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำหลังจากที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 40 นั้นใหม่เสมือนหนึ่งมิได้เคยมีกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้น
 




เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน

การจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การค้ำประกันของพนักงานรัฐวิสาหกิจ, คดีละเมิดของพนักงานรัฐวิสาหกิจ
คำเตือนให้ชำระหนี้โดยชอบตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง, การเรียกร้องเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาล ประกันสังคม
ผู้รับเหมาชั้นต้นมีสิทธิไล่เบี้ยเงินค่าจ้างที่ได้จ่ายแทนนายจ้างไปแล้ว
ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาต่างประเทศ
ลูกจ้างส่งภาพโป๊ลามกอนาจารในเวลาทำงาน
ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง
หน้าที่นายจ้างวางเงินก่อนฟ้องคดี
ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานร้ายแรง
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม-สินจ้างแทนการบอกกล่าว
ลูกจ้างชั่วคราวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เล่นอินเตอร์เน็ตในเวลาทำงานเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
ค่าจ้างค้างจ้ายกับดอกเบี้ยผิดนัดที่ลูกจ้างมีสิทธิคิดเอากับนายจ้าง
เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือ
นายจ้างมอบอำนาจบังคับบัญชาให้ผู้อื่น
คำนวณจ่ายค่าชดเชย-ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างหรือไม่
ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง
บำเหน็จดำรงชีพกับบำเหน็จตกทอด
อ้างเหตุเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจะกระทำได้แต่จ้างงานในโครงการเฉพาะ
การจงใจฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง คำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งใหม่
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุไม่อาจถอนได้
เรียกค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ฝ่าฝืนระเบียบนายจ้างมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เลิกจ้างโดยไม่ได้ตักเตือนก่อนเป็นหนังสือต้องจ่ายค่าชดเชย
ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในกรณีร้ายแรง
สิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ | ย้ายสถานประกอบกิจการ
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด
ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเพื่อคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ตำแหน่งพนักงานขับรถ-สัญญาจ้างแรงงาน หรือสัญญาจ้างทำของ?
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
แม่บ้านทำงานบ้านฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างให้ลูกจ้างขับรถขนส่งทำงานติดต่อกันถึงวันละ 24 ชั่วโมงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างเป็นอำนาจบริหารจัดการของนายจ้าง
นายจ้างประกอบกิจการขนส่งย้ายที่ลงเวลาทำงานไปตั้งอยู่ที่อื่น
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานฝ่ายลูกจ้างไม่คัดค้าน
ดอกเบี้ยผิดนัดหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชย 15% ต่อปีไม่ใช่ 7.5%
สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดทำให้สิทธิรับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเที่ยวระงับด้วย
สิทธิของลูกจ้างกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างประกาศหยุดกิจการชั่วคราว | ค่าจ้างระหว่างหยุดงาน
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
สัญญาจ้างทดลองงาน | สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
บทความเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน
นายจ้างฟ้องไล่เบี้ยลูกจ้างให้รับผิดฐานละเมิดต่อบุคคลภายนอก
นายจ้างขอให้ศาลเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง