ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง

ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง

 ให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งระหว่างใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้แต่เพียงทางเดียว จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีไปฟ้องศาลแรงงานอีกจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  238/2545

   ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ถึงมาตรา 125 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งระหว่างใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้แต่เพียงทางเดียวจะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี อันเป็นเงินตามสิทธิในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ แล้ว ถือว่าโจทก์เลือกใช้สิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีไปฟ้องศาลแรงงานอีกจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด เมื่อปรากฏว่าระหว่างที่พนักงานตรวจแรงงานพิจารณาคำร้องของโจทก์ โจทก์ได้นำมูลกรณีเลิกจ้างอันเดียวกันนี้ไปยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางอีก ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องเรียกเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ดังกล่าว

           การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมนั้นเป็นการฟ้องเรียกตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมิใช่ฟ้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในส่วนนี้ได้

          โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างครั้งสุดท้ายทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาอาวุโส ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ80,300 บาท จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ทำการจดทะเบียนตั้งบริษัทควีซีดี แมเนจเม้นท์ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านระบบคุณภาพเช่นเดียวกับกิจการของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการกระทำการที่เป็นปฏิปักษ์และจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่สอบสวนความผิดก่อนจึงเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเสื่อมเสียชื่อเสียงไม่สามารถหางานใหม่ทำได้ ขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน149,893.33 บาท ค่าจ้างค้างจ่ายเป็นเงิน 8,030 บาท ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นเงิน 10,706.67 บาท ค่าชดเชยเป็นเงิน481,800 บาท และค่าเสียหายเป็นเงิน 963,600 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของเงินดังกล่าวทุกรายการนับแต่วันเลิกจ้างจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าชดเชยทุกระยะ 7 วันด้วย

          จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การว่า โจทก์ได้ดำเนินการเป็นคู่แข่งของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง โดยได้จัดตั้งบริษัทคิวซีดี แมเนจเม้นท์ จำกัดซึ่งมีวัตถุประสงค์และดำเนินกิจการในด้านการให้คำปรึกษาแนะนำในการจัดทำระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐานสากล การจัดฝึกอบรมการตรวจประเมินระบบคุณภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อกิจการของจำเลยที่เป็นนายจ้างและจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย อันเป็นความผิดร้ายแรง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างมาก จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องสอบสวนจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า การที่โจทก์จดทะเบียนตั้งบริษัทคิวซีดีแมเนจเมนท์ จำกัด และบริษัทดังกล่าวยื่นประมูลงานแข่งกับจำเลยถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจทำให้จำเลยเสียหาย แต่เป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้างและไม่ถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยเป็นเงิน 481,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี คำนวณตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2543 อันเป็นวันเลิกจ้างจนถึงวันชำระเสร็จ ค่าจ้างเป็นเงิน 50 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี คำนวณตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2543 ไปจนถึงวันชำระเสร็จ และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นเงิน 10,706.67บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี คำนวณตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม2543 ไปจนถึงวันชำระเสร็จให้แก่โจทก์ คำขออื่นให้ยก

          จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "ปรากฏข้อเท็จจริงตามสำนวนว่าภายหลังจากจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม2543 โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่า โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ต่อมาในวันที่ 22 พฤษภาคม 2543 โจทก์ได้นำมูลกรณีเลิกจ้างดังกล่าวไปฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้เพื่อขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์อีก รวมทั้งเรียกค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย จึงเห็นสมควรวินิจฉัยเสียก่อนว่า การที่โจทก์นำมูลกรณีที่ถูกจำเลยเลิกจ้างไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว ขณะอยู่ระหว่างการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์นำมูลกรณีเดียวกันนี้ไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานกลางจะมีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์หรือไม่เห็นว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 123 บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้ และลูกจ้างมีความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน..." แสดงว่าเมื่อเข้ากรณีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123นอกจากลูกจ้างจะมีสิทธิฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติแล้วกฎหมายยังกำหนดแนวทางใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 ถึงมาตรา 125 โดยให้ลูกจ้างมีสิทธิร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ตามมาตรา 123 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนและมีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว หากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งก็สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานเพื่อให้พิจารณาอีกครั้งหนึ่งได้ตามมาตรา 125 บทบัญญัติตามมาตรา 123 ดังกล่าวมีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งแต่เพียงทางเดียว กล่าวคือ จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ หากลูกจ้างเลือกใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นแนวทางใหม่แล้ว ก็ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเป็นคดีต่อศาลแรงงานตามแนวทางปกติในระหว่างนั้น ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2543 ขอให้บังคับบริษัทแอลวีเอ็ม(เอเชีย) จำกัด จำเลยคดีนี้จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าจ้างค้างจ่าย และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีอันเป็นเงินตามสิทธิในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แก่โจทก์ จึงถือว่าโจทก์เลือกใช้สิทธิที่จะดำเนินการต่อจำเลยคดีนี้ด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะนำคดีไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุดเมื่อปรากฏว่าต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม 2543 ระหว่างพนักงานตรวจแรงงานพิจารณาคำร้องของโจทก์ โจทก์ได้นำมูลกรณีเลิกจ้างอันเดียวกันไปยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้อีกเพื่อขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์เช่นเดียวกับที่ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานไว้ ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องเรียกเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 ดังกล่าวที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องและพิจารณาพิพากษาในส่วนนี้ให้จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์หรือไม่ ส่วนที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนั้น เป็นการฟ้องเรียกตามสิทธิในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มิใช่ฟ้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในส่วนนี้ได้"

          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องในส่วนที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากจำเลย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

 มาตรา 123 ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยว กับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้และลูกจ้างมี ความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้าง ทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ตามแบบที่อธิบดีกำห ในกรณีที่เกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราช บัญญัตินี้ ถ้าลูกจ้างถึงแก่ความตายให้ทายาทโดยธรรมมีสิทธิยื่น คำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้

 มาตรา 124 เมื่อมีการยื่นคำร้องตาม มาตรา 123 ให้ พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่รับคำร้อง
 ในกรณีที่มีความจำเป็นไม่อาจมีคำสั่งภายในเวลาตาม วรรคหนึ่งได้ ให้พนักงานตรวจแรงงานขอขยายเวลาต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายพร้อมด้วยเหตุผล และอธิบดีหรือผู้ ซึ่งอธิบดีมอบหมายอาจพิจารณาอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องมีระยะเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนด ตามวรรคหนึ่ง
 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วปรากฎว่าลูกจ้าง มีสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้ นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรม ของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายใน สิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่ง
 ให้นายจ้างจ่ายเงินตามวรรคสามให้แก่ลูกจ้างหรือทายาท โดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ณ สถานที่ทำงาน ของลูกจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้าง ซึ่งถึงแก่ความตายร้องขอให้พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจ สั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าว ณ สำนักงานของพนักงาน ตรวจแรงงานหรือสถานที่อื่นตามที่นายจ้างและลูกจ้างหรือ ทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายตกลงกัน
 ในกรณีที่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึง แก่ความตายไม่มารับเงินดังกล่าวภายในสิบห้าวันนับแต่วัน ที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่ง ให้พนักงานตรวจแรงงาน นำส่งเงินนั้นเพื่อเก็บรักษาในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างโดย ฝากไว้กับธนาคาร ในการนี้ ถ้ามีดอกเบี้ยหรือดอกผลใด เกิดขึ้นเนื่องจากการฝากเงิน ให้ตกเป็นสิทธิแก่ลูกจ้าง หรือ ทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายซึ่งมีสิทธิได้ รับเงินนั้น
 ในกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานเห็นว่าลูกจ้างหรือ ทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่มีสิทธิได้ รับเงินตาม มาตรา 123 ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่ง และแจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างและลูกจ้างหรือทายาทโดย ธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายทราบ

 มาตรา 125 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตาม มาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมขอ ลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง
 ในกรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้าง ซึ่งถึงแก่ความตายไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด ให้คำสั่งนั้น เป็นที่สุด
 ในกรณที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวาง เงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้อ คดีได้
 เมื่อคดีถึงที่สุดและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจำนวนใด ให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตา ให้ศาลมีอำนาจจ่ายเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาลให้แก่ลูกจ้างหรือ ทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายได้
 

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522

มาตรา 49 การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงาน อาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไป ในอัตราค่าจ้างที่ได้รับใน ขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกัน ต่อไปได้ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหาย ให้นายจ้างชดใช้ให้แทน โดยให้ศาลคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาทำงานของลูกจ้าง ความ เดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง และเงินค่า ชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ประกอบการพิจารณา    

 




เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน

คำเตือนให้ชำระหนี้โดยชอบตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง
ผู้รับเหมาชั้นต้นมีสิทธิไล่เบี้ยเงินค่าจ้างที่ได้จ่ายแทนนายจ้างไปแล้ว
ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาต่างประเทศ
ลูกจ้างส่งภาพโป๊ลามกอนาจารในเวลาทำงาน
หน้าที่นายจ้างวางเงินก่อนฟ้องคดี
ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานร้ายแรง
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม-สินจ้างแทนการบอกกล่าว
ลูกจ้างชั่วคราวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาฝ่ายเดียวต้องดำเนินการภายใน 7 วัน
เล่นอินเตอร์เน็ตในเวลาทำงานเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
ค่าจ้างค้างจ้ายกับดอกเบี้ยผิดนัดที่ลูกจ้างมีสิทธิคิดเอากับนายจ้าง
เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือ
นายจ้างมอบอำนาจบังคับบัญชาให้ผู้อื่น
คำนวณจ่ายค่าชดเชย-ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างหรือไม่
ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง
บำเหน็จดำรงชีพกับบำเหน็จตกทอด
อ้างเหตุเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจะกระทำได้แต่จ้างงานในโครงการเฉพาะ
การจงใจฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง คำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งใหม่
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุไม่อาจถอนได้
เรียกค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ฝ่าฝืนระเบียบนายจ้างมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เลิกจ้างโดยไม่ได้ตักเตือนก่อนเป็นหนังสือต้องจ่ายค่าชดเชย
ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในกรณีร้ายแรง
สิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ | ย้ายสถานประกอบกิจการ
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด
ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเพื่อคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ตำแหน่งพนักงานขับรถ-สัญญาจ้างแรงงาน หรือสัญญาจ้างทำของ?
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
แม่บ้านทำงานบ้านฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างให้ลูกจ้างขับรถขนส่งทำงานติดต่อกันถึงวันละ 24 ชั่วโมงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างเป็นอำนาจบริหารจัดการของนายจ้าง
นายจ้างประกอบกิจการขนส่งย้ายที่ลงเวลาทำงานไปตั้งอยู่ที่อื่น
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานฝ่ายลูกจ้างไม่คัดค้าน
ดอกเบี้ยผิดนัดหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชย 15% ต่อปีไม่ใช่ 7.5%
สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดทำให้สิทธิรับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเที่ยวระงับด้วย
สิทธิของลูกจ้างกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างประกาศหยุดกิจการชั่วคราว | ค่าจ้างระหว่างหยุดงาน
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
สัญญาจ้างทดลองงาน | สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
บทความเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน
นายจ้างฟ้องไล่เบี้ยลูกจ้างให้รับผิดฐานละเมิดต่อบุคคลภายนอก
นายจ้างขอให้ศาลเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง