ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาต่างประเทศ

ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาต่างประเทศ

ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาต่างประเทศ

บริษัท ย. อยู่ต่างประเทศทำหนังสือมอบอำนาจให้บริษัทจำเลยที่ 1 โดยกรรมการจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจัดหาคนหางานไปทำงานในประเทศไนจีเรีย จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจ้างงานโจทก์ ในฐานะนายจ้าง จำเลยทั้งสองจึงเป็นตัวแทนทำสัญญาจ้างงานแทนบริษัท ย. ซึ่งเป็นตัวการอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามสัญญาจ้างงานนั้นเอง การทำสัญญาจ้างแทนไม่ใช่กรณีจำเลยทั้งสองเป็นนายจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครอบแรงงานฯ จึงต้องบังคับตามสัญญาตัวแทน จำเลยที่ 2 กระทำแทนจำเลยที่ 1 ในขอบอำนาจจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4115/2556

          บริษัท ย. มีหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนกระทำการทุกอย่างแทนในการจัดหาคนหางานไปทำงานในประเทศไนจีเรีย จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จัดทำสัญญาจ้างงานกับโจทก์ จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราของจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้าง เป็นกรณีจำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนทำสัญญาจ้างงานแทนบริษัท ย. ซึ่งเป็นตัวการอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามสัญญาจ้างงานนั้นเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 824

            จำเลยทั้งสองทำสัญญาจ้างงานกับโจทก์แทนบริษัท ย. ไม่ใช่กรณีจำเลยทั้งสองเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครอบแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ประกอบมาตรา 820, 821 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ในขอบอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2
 
            โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้หนี้โจทก์เป็นเงิน 76,617.31 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากยอดเงิน 70,002 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

            จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องและบังคับให้โจทก์ใช้เงินค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ 75,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นให้แก่จำเลยทั้งสอง

            โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสอง

            ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 76,617.13 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงิน 70,002 บาท นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 18 พฤษภาคม 2550) จนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ และให้ยกฟ้องแย้ง
            จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

            ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่ามีปัญหาวินิจฉัยประการแรกตามที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด เห็นว่า ตามที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจ ที่ระบุว่าบริษัทยูจินเอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไนจีเรีย) จำกัด มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนกระทำการทุกอย่างแทนในการจัดหาคนหางานไปทำงานในประเทศไนจีเรีย ซึ่งจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้จัดทำสัญญาจ้างงานกับโจทก์ จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราของจำเลยที่ 1 ในนามนายจ้างนั้นเป็นกรณีต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 ที่จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนทำสัญญาจ้างงานแทนบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นตัวการอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามสัญญาจ้างงานนั้นแต่ลำพังตนเอง กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปตามที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสองเป็นเพียงนายหน้า ผู้ชี้ช่องในการจัดหางานและจัดส่งโจทก์ไปทำงาน ศาลแรงงานกลางแปลความหมายในสัญญาจ้างงานผิดพลาด ไม่ตรงตามเจตนาของคู่สัญญาเป็นการนอกฟ้องขัดต่อพยานหลักฐานเอกสารที่ปรากฏ เป็นการวินิจฉัยข้อกฎหมายผิดพลาดไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมายอีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

            มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่สองตามที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามกฎหมายเท่านั้น ตามสัญญาจ้างงานก็มิได้ระบุให้คิดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น เห็นว่า การที่ฝ่ายจำเลยลดค่าจ้างโดยโจทก์ไม่ยินยอมฝ่ายจำเลยผิดสัญญา จึงต้องชดใช้ค่าจ้างส่วนที่ลดลงให้โจทก์ เมื่อนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างส่วนที่ลดลงนั้นก็ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ดังนั้นการที่ศาลแรงงานกลางกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี จึงเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          มีปัญหาวินิจฉัยประการสุดท้ายตามที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางยกฟ้องแย้งโดยวินิจฉัยข้อกฎหมายผิดพลาดหรือไม่ เห็นว่า การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ฝ่ายจำเลยผิดสัญญาจ้างงานและได้คืนเงินค่าบริการและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดหางานที่เรียกเก็บไป 86,000 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อฝ่ายจำเลยผิดสัญญาจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ เป็นการวินิจฉัยโดยถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน อนึ่ง เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดแทนบริษัทยูจินเอ็นจิเนียรริ่ง (ประเทศไนจีเรีย) จำกัด ผู้เป็นกิจการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 ตามข้างต้น ไม่ใช่กรณีจำเลยทั้งสองเป็นนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 ประกอบมาตรา 820, 821 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ในขอบอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิด

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
 
ศาลแรงงานกลาง - นายประเวศ อัศวรัตน์
 
ป.พ.พ. มาตรา 820, 821, 824, 1167

มาตรา 820  ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน

มาตรา 821  บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดีรู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน

มาตรา 824  ตัวแทนคนใดทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ ท่านว่าตัวแทนคนนั้นจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง แม้ทั้งชื่อของตัวการจะได้เปิดเผยแล้ว เว้นแต่ข้อความแห่งสัญญาจะแย้งกันกับความรับผิดของตัวแทน

มาตรา 1167  ความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัท และบุคคลภายนอกนั้น ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยตัวแทน

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

มาตรา 5 ในพระราชบัญญัตินี้
"นายจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่าย ค่าจ้างให้ และหมายความรวมถึง
(1) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง
(2) ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจ กระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำ การแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนด้วย
(3) ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการได้ว่าจ้างด้วยวิธีเหมาค่าแรง โดย มอบให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดรับช่วงไปควบคุมดูแลการทำงานและรับผิด ชอบจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างอีกทอดหนึ่งก็ดี มอบหมายให้บุคคลหนึ่ง บุคคลใดเป็นผู้จัดการหาลูกจ้างมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจ จัดหางานก็ดี โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดใน กระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการให้ ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของลูกจ้างดังกล่าวด้วย
"ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร
"ผู้ว่าจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงว่าจ้างบุคคลอีกบุคคลหนึ่งให้ ดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานใดเพื่อประโยชน์แก่ตน โดย จะจ่ายสินจ้างตอบแทนผลสำเร็จแห่งการงานที่ทำนั้น
"ผู้รับเหมาชั้นต้น" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับจะดำเนินงานทั้งหมด หรือบางส่วนของงานใดจนสำเร็จประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง
"ผู้รับเหมาช่วง" หมายความว่า ผู้ซึ่งทำสัญญากับผู้รับเหมาชั้นต้น โดยรับจะดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานใดในความรับผิดชอบ ของผู้รับเหมาชั้นต้นเพื่อประโยชน์แก่ผู้ว่าจ้าง และหมายความรวมถึงผู้ซึ่ง ทำสัญญากับผู้รับเหมาช่วงเพื่อรับช่วงงานในความรับผิดชอบของผู้รับเหมาช่วง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะรับเหมาช่วงกันกี่ช่วงก็ตาม
"สัญญาจ้าง" หมายความว่า สัญญาไม่ว่าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจา ระบุชัดเจน หรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยายซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้างและนายจ้าง ตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้
"วันทำงาน" หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างทำงานตามปกติ
"วันหยุด" หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างหยุดประจำ สัปดาห์หยุดตามประเพณี หรือหยุดพักผ่อนประจำปี
"วันลา " หมายความว่า วันที่ลูกจ้างลาป่วย ลาเพื่อทำหมัน ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น ลาเพื่อรับราชการทหาร ลาเพื่อการฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถ หรือลาเพื่อคลอดบุตร
"ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่าย เป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำ งานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะ เวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำ งานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างให้แก่ ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับ ตามพระราชบัญญัตินี้
"ค่าจ้างในวันทำงาน" หมายความว่า ค่าจ้างที่จ่ายสำหรับการทำ ทำงานเต็มเวลาการทำงานปกติ
"อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ" หมายความว่า อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการ ค่าจ้างกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้
"อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน" หมายความว่า อัตราค่าจ้างที่คณะ กรรมการค่าจ้างกำหนดเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดอัตราค่าจ้าง ขั้นต่ำ
"การทำงานล่วงเวลา" หมายความว่า การทำงานนอกหรือเกิน เวลาทำงานปกติหรือเกินชั่วโมงทำงานในแต่ละวันที่นายจ้างตกลงกัน ตาม มาตรา 23 ในวันทำงานหรือวันหยุดแล้วแต่กรณี 
"ค่าล่วงเวลา" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็น การตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน
"ค่าทำงานในวันหยุด" หมายความว่า เงินที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้าง เป็นการตอบแทนการทำงานในวันหยุด
"ค่าล่วงเวลาในวันหยุด" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด
"ค่าชดเชย" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อ เลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
"ค่าชดเชยพิเศษ" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเพราะมีเหตุกรณีพิเศษที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
"เงินสะสม" หมายความว่า เงินที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้าง
"เงินสมทบ" หมายความว่า เงินที่นายจ้างสมทบให้แก่ลูกจ้างเพื่อ ส่งเข้าสมทบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
"พนักงานตรวจแรงงาน" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ ปฎิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญัติ

 




เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน

คำเตือนให้ชำระหนี้โดยชอบตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง
ผู้รับเหมาชั้นต้นมีสิทธิไล่เบี้ยเงินค่าจ้างที่ได้จ่ายแทนนายจ้างไปแล้ว
ลูกจ้างส่งภาพโป๊ลามกอนาจารในเวลาทำงาน
ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง
หน้าที่นายจ้างวางเงินก่อนฟ้องคดี
ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานร้ายแรง
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม-สินจ้างแทนการบอกกล่าว
ลูกจ้างชั่วคราวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาฝ่ายเดียวต้องดำเนินการภายใน 7 วัน
เล่นอินเตอร์เน็ตในเวลาทำงานเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
ค่าจ้างค้างจ้ายกับดอกเบี้ยผิดนัดที่ลูกจ้างมีสิทธิคิดเอากับนายจ้าง
เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือ
นายจ้างมอบอำนาจบังคับบัญชาให้ผู้อื่น
คำนวณจ่ายค่าชดเชย-ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างหรือไม่
ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง
บำเหน็จดำรงชีพกับบำเหน็จตกทอด
อ้างเหตุเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจะกระทำได้แต่จ้างงานในโครงการเฉพาะ
การจงใจฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง คำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งใหม่
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุไม่อาจถอนได้
เรียกค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ฝ่าฝืนระเบียบนายจ้างมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เลิกจ้างโดยไม่ได้ตักเตือนก่อนเป็นหนังสือต้องจ่ายค่าชดเชย
ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในกรณีร้ายแรง
สิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ | ย้ายสถานประกอบกิจการ
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด
ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเพื่อคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ตำแหน่งพนักงานขับรถ-สัญญาจ้างแรงงาน หรือสัญญาจ้างทำของ?
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
แม่บ้านทำงานบ้านฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างให้ลูกจ้างขับรถขนส่งทำงานติดต่อกันถึงวันละ 24 ชั่วโมงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างเป็นอำนาจบริหารจัดการของนายจ้าง
นายจ้างประกอบกิจการขนส่งย้ายที่ลงเวลาทำงานไปตั้งอยู่ที่อื่น
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานฝ่ายลูกจ้างไม่คัดค้าน
ดอกเบี้ยผิดนัดหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชย 15% ต่อปีไม่ใช่ 7.5%
สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดทำให้สิทธิรับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเที่ยวระงับด้วย
สิทธิของลูกจ้างกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างประกาศหยุดกิจการชั่วคราว | ค่าจ้างระหว่างหยุดงาน
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
สัญญาจ้างทดลองงาน | สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
บทความเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน
นายจ้างฟ้องไล่เบี้ยลูกจ้างให้รับผิดฐานละเมิดต่อบุคคลภายนอก
นายจ้างขอให้ศาลเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง