ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




นายจ้างขอให้ศาลเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง

นายจ้างขอให้ศาลเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง

พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ ห้ามนายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง เว้นแต่จะได้รับอนุญาติจากศาลแรงงาน คดีนี้ นายจ้างมีคำสั่งพักงานลูกจ้างและยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานเพื่อขอให้ศาลแรงงานเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดไม่มีเหตุอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างและศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการละทิ้งหน้าที่ที่จะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงนั้นลูกจ้างต้องมีหน้าที่ปฏิบัติที่สำคัญให้นายจ้างแล้วไม่ปฏิบัติเป็นเวลานาน หากออกไปจากการปฏิบัติหน้าที่แล้วจะเกิดความเสียหายต่อการผลิตของนายจ้างอย่างไร การที่กรรมการลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ออกไปบอกพนักงานรับเหมาค่าแรงให้ไปรวมตัวกันที่โรงอาหารช่วงบ่ายยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902 -1904/2556

            การพักงานไม่เกิน 7 วัน โดยไม่จ่ายค่าจ้างเป็นโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้าง การที่ผู้ร้องมีคำสั่งพักงานผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างและเป็นกรรมการลูกจ้างโดยจ่ายค่าจ้างให้ไม่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการสั่งให้ผู้คัดค้านทั้งสองหยุดทำงานชั่วคราวเพื่อดำเนินการยื่นคำร้องขออนุญาตลงโทษผู้คัดค้านทั้งสองต่อศาลแรงงานภาค 1 การกระทำของผู้ร้องไม่เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52

          การละทิ้งหน้าที่ที่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องกรณีร้ายแรงต้องเป็นกรณีลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติที่สำคัญให้นายจ้างแล้วไม่ปฏิบัติเป็นเวลานาน เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 มีหน้าที่สำคัญอย่างไร หากออกไปจากการปฏิบัติหน้าที่แล้วจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องอย่างไร การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ออกไปบอกพนักงานของบริษัทรับเหมาค่าแรงให้ไปรวมตัวกันที่โรงอาหารซึ่งเป็นเวลาช่วงบ่ายใกล้เลิกงานแล้วถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรง

            การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ละทิ้งหน้าที่แต่ยังไม่ถึงขนาดหรือมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านที่ 1 ตามคำร้องของผู้ร้อง เมื่อศาลแรงงานภาค 1 เห็นว่าผู้ร้องควรลงโทษด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือเสียก่อน ศาลแรงงานภาค 1 ก็สามารถอนุญาตให้ลงโทษผู้คัดค้านที่ 1 ด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือซึ่งเป็นโทษที่อยู่ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง และเป็นโทษสถานเบากว่าการเลิกจ้างได้ ถือเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอ
 
            คดีทั้งสามสำนวนนี้ศาลแรงงานภาค 1 สั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน โดยให้เรียกผู้ร้องในสำนวนที่สามซึ่งเป็นผู้คัดค้านในสำนวนแรกและสำนวนที่สองว่าผู้ร้อง และเรียกผู้ร้องในสำนวนแรกและสำนวนที่สองซึ่งเป็นผู้คัดค้านในสำนวนที่สามว่าผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ

          ผู้ร้องยื่นคำร้องในสำนวนที่สามและยื่นคำคัดค้านในสำนวนแรกและสำนวนที่สองขอให้ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสอง และยกคำร้องของผู้คัดค้านทั้งสอง
          ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำร้องในสำนวนแรกและสำนวนที่สองและยื่นคำคัดค้านในสำนวนที่สาม ขอให้เพิกถอนคำสั่งพักงานของผู้ร้อง ให้รับผู้คัดค้านทั้งสองเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมและยกคำร้องของผู้ร้อง

            ศาลแรงงานภาค 1 พิพากษายกคำร้องของผู้ร้องและให้เพิกถอนคำสั่งพักงานของผู้ร้อง

            ผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
            ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านทั้งสองเป็นลูกจ้างและเป็นกรรมการลูกจ้างของผู้ร้อง ผู้ร้องมีคำสั่งพักงานผู้คัดค้านทั้งสองโดยจ่ายค่าจ้างและสวัสดิการให้ตามหนังสือการพักงาน ผู้คัดค้านทั้งสองไม่ได้เล่นการพนันทายผลฟุตบอล ในวันที่พนักงานของบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงร่วมกันผละงานนั้นผู้คัดค้านที่ 1 ได้ละทิ้งงาน แต่ผู้คัดค้านทั้งสองไม่ได้ยุยงส่งเสริม สนับสนุนให้พนักงานของบริษัทรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในบริษัทผู้ร้องร่วมกันผละงานและละทิ้งหน้าที่เข้าร่วมในการผละงาน แล้ววินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้กระทำผิดตามคำร้องจึงไม่มีเหตุอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้าง สำหรับการละทิ้งงานของผู้คัดค้านที่ 1 กรณียังถือไม่ได้ว่ากระทำผิดระเบียบข้อบังคับการทำงานที่ร้ายแรง และผู้ร้องยังไม่ได้ว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือ จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านที่ 1

            มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้ร้องในประเด็นแรกว่า ผู้คัดค้านทั้งสองมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ร้องที่สั่งพักงานผู้คัดค้านทั้งสองได้หรือไม่ ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า คำสั่งพักงานผู้คัดค้านทั้งสองโดยจ่ายค่าจ้างและสวัสดิการให้ ไม่ใช่การลงโทษตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 และไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งสอง หรือผู้คัดค้านทั้งสองต้องใช้สิทธิทางศาลนั้น เห็นว่า แม้ผู้คัดค้านทั้งสองจะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษพักงานของผู้ร้องก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องมีคำสั่งพักงานผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง ก่อนยื่นคำร้องขออนุญาตลงโทษผู้คัดค้านทั้งสองต่อศาลแรงงานภาค 1 โดยจ่ายค่าจ้าง การพักงานเช่นนี้เป็นการสั่งให้ผู้คัดค้านทั้งสองหยุดทำงานชั่วคราวเพื่อดำเนินการยื่นคำร้องขออนุญาตลงโทษผู้คัดค้านทั้งสองต่อศาลแรงงานภาค 1 เสียก่อน อีกทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องก็กำหนดโทษทางวินัยไว้ในข้อ 4.2 และ 4.2.3 ว่าโทษทางวินัยคือการพักงานไม่เกิน 7 วัน โดยไม่จ่ายค่างจ้าง/ค่าตอบแทน เมื่อผู้ร้องได้จ่ายค่าจ้างในระหว่างที่ผู้คัดค้านทั้งสองไม่ได้ทำงานจึงไม่ถือเป็นการลงโทษแก่ผู้คัดค้านทั้งสอง และการกระทำของผู้ร้องไม่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 แต่อย่างใด อุทธรณ์ของผู้ร้องข้อนี้ฟังขึ้น

          มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้ร้องในประเด็นต่อไปว่า ผู้คัดค้านทั้งสองละทิ้งหน้าที่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ เห็นว่า การละทิ้งหน้าที่ที่จะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงนั้น จะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติที่สำคัญให้นายจ้างแล้วไม่ปฏิบัติเป็นเวลานานแต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 มีหน้าที่สำคัญอย่างไร หากออกไปจากการปฏิบัติหน้าที่แล้วจะเกิดความเสียหายต่อการผลิตของผู้ร้องอย่างไร ดังนั้นการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ละทิ้งหน้าที่ออกไปบอกพนักงานของบริษัทรับเหมาค่าแรงให้ไปรวมตัวกันที่โรงอาหารช่วงบ่ายใกล้เวลาเลิกงานแล้ว กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรง ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างต้องตักเตือนผู้คัดค้านที่ 1 เป็นหนังสือก่อน เมื่อยังไม่ได้ดำเนินการจึงยังไม่มีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านที่ 1 ทันที ในส่วนของผู้คัดค้านที่ 2 ศาลแรงงานภาค 1 วินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ ผู้ร้องอุทธรณ์ว่า ผู้คัดค้านที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานภาค 1 ถือเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

            มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้ร้องในประเด็นต่อไปว่า ศาลแรงงานภาค 1 วินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ละทิ้งหน้าที่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ศาลต้องอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านที่ 1 โดยการตักเตือนเป็นหนังสือโดยผู้ร้องไม่ต้องร้องขอได้หรือไม่ โดยผู้ร้องอุทธรณ์ว่า แม้ผู้ร้องจะไม่ได้ร้องขอ แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ให้ศาลแรงงานพิพากษาเกินคำขอได้นั้น เห็นว่า แม้ตามคำขอท้ายคำร้องของผู้ร้องจะขอให้ศาลแรงงานภาค 1 อนุญาตให้ลงโทษผู้คัดค้านที่ 1 ด้วยการเลิกจ้างก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานภาค 1 เห็นว่าผู้คัดค้านที่ 1 ละทิ้งหน้าที่ แต่ยังไม่ถึงขนาดหรือมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านที่ 1 โดยเห็นว่าการกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 ดังกล่าวผู้ร้องควรลงโทษด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ศาลแรงงานภาค 1 ก็สามารถอนุญาตให้ลงโทษผู้คัดค้านที่ 1 ด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือ ซึ่งเป็นโทษที่อยู่ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง และเป็นโทษในสถานเบากว่าการเลิกจ้างได้ ถือเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีและไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอแต่ประการใด ดังนั้นที่ศาลแรงงานภาค 1 ไม่มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านที่ 1 ด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือให้เสร็จสิ้นไปไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของผู้ร้องข้อนี้ฟังขึ้น

            พิพากษาแก้เป็นว่า อนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านที่ 1 ด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือ และยกคำร้องของผู้คัดค้านทั้งสองนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานภาค 1
 
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518

มาตรา  52  ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใดๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน




เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน

การจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การค้ำประกันของพนักงานรัฐวิสาหกิจ, คดีละเมิดของพนักงานรัฐวิสาหกิจ
คำเตือนให้ชำระหนี้โดยชอบตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง, การเรียกร้องเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาล ประกันสังคม
ผู้รับเหมาชั้นต้นมีสิทธิไล่เบี้ยเงินค่าจ้างที่ได้จ่ายแทนนายจ้างไปแล้ว
ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาต่างประเทศ
ลูกจ้างส่งภาพโป๊ลามกอนาจารในเวลาทำงาน
ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง
หน้าที่นายจ้างวางเงินก่อนฟ้องคดี
ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานร้ายแรง
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม-สินจ้างแทนการบอกกล่าว
ลูกจ้างชั่วคราวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาฝ่ายเดียวต้องดำเนินการภายใน 7 วัน
เล่นอินเตอร์เน็ตในเวลาทำงานเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
ค่าจ้างค้างจ้ายกับดอกเบี้ยผิดนัดที่ลูกจ้างมีสิทธิคิดเอากับนายจ้าง
เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือ
นายจ้างมอบอำนาจบังคับบัญชาให้ผู้อื่น
คำนวณจ่ายค่าชดเชย-ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างหรือไม่
ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง
บำเหน็จดำรงชีพกับบำเหน็จตกทอด
อ้างเหตุเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจะกระทำได้แต่จ้างงานในโครงการเฉพาะ
การจงใจฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง คำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งใหม่
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุไม่อาจถอนได้
เรียกค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
ฝ่าฝืนระเบียบนายจ้างมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เลิกจ้างโดยไม่ได้ตักเตือนก่อนเป็นหนังสือต้องจ่ายค่าชดเชย
ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในกรณีร้ายแรง
สิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ | ย้ายสถานประกอบกิจการ
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด
ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเพื่อคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ตำแหน่งพนักงานขับรถ-สัญญาจ้างแรงงาน หรือสัญญาจ้างทำของ?
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
แม่บ้านทำงานบ้านฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างให้ลูกจ้างขับรถขนส่งทำงานติดต่อกันถึงวันละ 24 ชั่วโมงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างเป็นอำนาจบริหารจัดการของนายจ้าง
นายจ้างประกอบกิจการขนส่งย้ายที่ลงเวลาทำงานไปตั้งอยู่ที่อื่น
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานฝ่ายลูกจ้างไม่คัดค้าน
ดอกเบี้ยผิดนัดหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชย 15% ต่อปีไม่ใช่ 7.5%
สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดทำให้สิทธิรับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเที่ยวระงับด้วย
สิทธิของลูกจ้างกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างประกาศหยุดกิจการชั่วคราว | ค่าจ้างระหว่างหยุดงาน
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
สัญญาจ้างทดลองงาน | สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
บทความเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน
นายจ้างฟ้องไล่เบี้ยลูกจ้างให้รับผิดฐานละเมิดต่อบุคคลภายนอก