ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




คดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์เป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่

คดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์เป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่

คำร้องสอดถือเสมือนเป็นคำให้การและฟ้องแย้งผู้ร้องสอดอ้างกรรมสิทธิ์ 

ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอำนาจ

ฟ้องต่อศาลจังหวัดขอให้ขับไล่ออกจากที่ดินพิพาท  แต่เมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดโดยอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด คำร้องสอดของผู้ร้องสอดถือเสมือนเป็นคำให้การและฟ้องแย้งโจทก์อยู่ในตัว จึงมีผลเปลี่ยนคดีจากคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ เมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 225,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2550

ฟ้องต่อศาลจังหวัดขอให้ขับไล่ออกจากที่ดินพิพาท  แต่เมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดโดยอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด คำร้องสอดของผู้ร้องสอดถือเสมือนเป็นคำให้การและฟ้องแย้งโจทก์อยู่ในตัว จึงมีผลเปลี่ยนคดีจากคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ เมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 225,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงลพบุรี

โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดลพบุรีขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า จำเลยอยู่ในที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของผู้ร้องสอด ซึ่งถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่เมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดโดยอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด มอบหมายให้จำเลยดูแลทำประโยชน์ตลอดมาผู้ร้องสอดมีความจำเป็นที่จะต้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดี ตามป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ขอให้พิพากษาห้ามโจทก์เข้าเกี่ยวข้องหรือกระทำการใดๆ หรืออ้างสิทธิในที่ดินพิพาท ศาลจังหวัดลพบุรีมีคำสั่งอนุญาต คำร้องสอดของผู้ร้องสอดถือเสมือนเป็นคำให้การและฟ้องแย้งโจทก์อยู่ในตัว จึงมีผลเปลี่ยนคดีจากคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ เมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 225,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงลพบุรีที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดลพบุรีจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงลพบุรีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่

ผู้ร้องสอดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามมาตรา 58 จึงถือได้ว่าผู้ร้องสอดได้ถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมาตรา 142 (1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ ดังนั้น หากศาลแขวงลพบุรีพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ศาลแขวงลพบุรีย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดและจำเลยซึ่งเป็นบริวารของผู้ร้องสอดได้ การที่ศาลแขวงลพบุรีมีคำสั่งไม่รับโอนคดีนี้ไว้พิจารณา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดลพบุรีว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินมือเปล่าเนื้อที่ 20 ไร่ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 11 ตำบลเกาะแก้ว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2544 จำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกเข้าไปในที่ดินดังกล่าวของโจทก์และใช้รถแทรกเตอร์ไถพืชไร่ที่โจทก์ปลูกไว้เสียหาย เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยทั้งสอง ให้จำเลยทั้งสองขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินพิพาทและห้ามเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวอีกต่อไป

จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่บริษัทสำโรงไทยเกษตร จำกัด ครอบครองทำประโยชน์โดยมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลตลอดมา โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว จำเลยทั้งสองไม่ได้บุกรุกที่ดินของโจทก์ แต่โจทก์เป็นฝ่ายบุกรุกที่ดินของบริษัทสำโรงไทยเกษตร จำกัด ทำให้บริษัทดังกล่าวได้รับความเสียหาย บริษัทดังกล่าวจึงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แจ้งความดำเนินคดีแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ขอให้ยกฟ้อง

ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า ผู้ร้องสอดมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 35679 ตำบลเกาะแก้ว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี และที่ดินพิพาท โดยมอบหมายให้จำเลยทั้งสองดูแลทำประโยชน์และเสียภาษีบำรุงท้องที่ ผู้ร้องสอดมีความจำเป็นที่จะต้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความในคดีนี้ และพิพากษาห้ามโจทก์เข้าเกี่ยวข้องหรือกระทำการใดๆ หรืออ้างสิทธิในที่ดินพิพาท

ศาลจังหวัดลพบุรีมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) และมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลพบุรี สาขาโคกสำโรง ให้ทำการรังวัดทำแผนที่พิพาทเพื่อความสะดวกแก่การพิจารณาพิพากษาและคิดคำนวณทุนทรัพย์พิพาท

ระหว่างพิจารณาของศาลจังหวัดลพบุรี โจทก์ยื่นคำแถลงขอเสียค่าขึ้นศาลโดยระบุว่าที่ดินพิพาทมีราคาประเมินไร่ละ 15,000 บาท ทนายจำเลยและทนายผู้ร้องสอดแถลงว่าที่ดินพิพาทมีราคาประเมินไร่ละ 15,000 บาทจริง
ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงว่า โจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้คำร้องสอด แต่ผู้ร้องสอดมิได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ผู้ร้องสอดเป็นฝ่ายชนะคดีโจทก์โดยขาดนัด ขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีผู้ร้องสอดเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198

ศาลจังหวัดลพบุรีมีคำสั่งว่า ที่ดินพิพาทตามแผนที่พิพาทซึ่งคู่ความรับรองแล้วมีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ คำนวณราคาทุนทรัพย์เป็นเงิน 225,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงลพบุรี จึงมีคำสั่งโอนคดีนี้ไปให้ศาลแขวงลพบุรีพิจารณาพิพากษาต่อไป ส่วนที่ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องสอดเนื่องจากผู้ร้องสอดไม่ยื่นคำร้องขอให้ผู้ร้องสอดเป็นฝ่ายชนะคดีด้วยเหตุโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้คำร้องสอดนั้น เห็นว่า คดีนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท เป็นคดีมโนสาเร่ โจทก์มีสิทธิยื่นคำให้การในวันนัดพิจารณาได้ จึงให้โจทก์ยื่นคำให้การแก้คำร้องสอดในวันนัดพิจารณาที่ศาลแขวงลพบุรีจะได้กำหนดขึ้นต่อไป
ศาลแขวงลพบุรีมีคำสั่งรับโอนคดีไว้พิจารณาพิพากษา

โจทก์ให้การแก้คำร้องสอดว่า เมื่อปี 2523 โจทก์ซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 804 ตำบลเกาะแก้ว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี จากนายคำพันธ์ มายังเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ แต่ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ระบุเนื้อที่ 29 ไร่ 73 ตารางวา โจทก์ให้นายคำพันธ์โอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่นายสง่า ขุมทรัพย์ ภริยาโจทก์สำหรับที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 11 ไร่ 85 ตารางวา โจทก์ให้นางสง่าแจ้งการเสียภาษีบำรุงท้องที่ ต่อมาปี 2532 ผู้ร้องสอดได้เข้ามาซื้อที่ดินในตำบลเกาะแก้ว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยซื้อเฉพาะที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเท่านั้น โจทก์จึงให้นางสง่าขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 804 ให้แก่ผู้ร้องสอดและมอบการครอบครองที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องสอดแล้วครั้นปี 2543 กรมที่ดินได้ทำการรังวัดออกโฉนดที่ดินในตำบลเกาะแก้ว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ร้องสอดโต้แย้งว่าโจทก์ส่งมอบที่ดินให้แก่ผู้ร้องสอดผิดแปลงเนื่องจากที่ดินที่โจทก์ส่งมอบให้แก่ผู้ร้องสอดอยู่ทางทิศตะวันออกมีเนื้อที่เพียง 19 ไร่ ส่วนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่โจทก์ขายให้แก่ผู้ร้องสอดอยู่ทางทิศตะวันตก เพื่อยุติปัญหาระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอด นายเฉลิมชัย จำปีกาง เจ้าพนักงานที่ดินผู้เป็นหัวหน้าคณะเดินสำรวจและรังวัดได้แนะนำให้โจทก์และผู้ร้องสอดแลกเปลี่ยนที่ดินกัน โดยให้โจทก์ครอบครองที่ดินที่อยู่นอกที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของผู้ร้องสอดซึ่งมีเนื้อที่ 19 ไร่ โจทก์ตกลงตามที่นายเฉลิมชัยเสนอและนำเจ้าพนักงานที่ดินสำรวจและรังวัดที่ดินของโจทก์และที่ดินส่วนที่ขายให้แก่ผู้ร้องสอด ต่อมาเดือนมิถุนายน 2544 โจทก์ได้ถูกพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เรียกไปพบเนื่องจากจำเลยที่ 2 ร้องทุกข์ว่าโจทก์บุกรุกที่ดินของผู้ร้องสอด โจทก์จึงทราบว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้รังวัดและออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ร้องสอดเกินเข้ามาในที่ดินของโจทก์ เป็นการออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ร้องสอดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ร้องสอดได้อ้างสิทธิของผู้ร้องสอดบุกรุกเข้าไปทำลายทรัพย์สินในที่ดินของโจทก์และแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์โดยไม่มีสิทธิ ผู้ร้องสอดจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องสอด

ศาลแขวงลพบุรีมีคำสั่งว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินซึ่งจำเลยทั้งสองต่อสู้เพียงว่า ที่ดินเป็นของบุคคลภายนอก โดยไม่ได้ต่อสู้ว่าเป็นของตนเองจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่ภายหลังบุคคลภายนอกคือผู้ร้องสอดได้ร้องสอดเข้ามาโดยอ้างว่าที่ดินเป็นของผู้ร้องสอด ซึ่งศาลจังหวัดลพบุรีอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) จึงทำให้คดีระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ คดีนี้มีทั้งส่วนที่เป็นคดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งคดีเกี่ยวกับการร้องสอดเป็นคดีที่รวมเข้ามาเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาคดี เมื่อคดีหลักระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งศาลแขวงลพบุรีไม่มีอำนาจพิจารณาคดี อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จึงเพิกถอนคำสั่งเดิมเสีย และมีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับโอนคดีไว้พิจารณา ให้ส่งสำนวนคืนศาลจังหวัดลพบุรี
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า คำสั่งของศาลแขวงลพบุรีที่เพิกถอนคำสั่งเดิมที่ให้รับโอนคดีนี้ไว้พิจารณา และมีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับโอนคดีนี้ไว้พิจารณาให้ส่งสำนวนคืนศาลจังหวัดลพบุรีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า แม้คดีนี้โจทก์จะเริ่มคดีโดยยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดลพบุรีขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทอย่างคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ และจำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองอยู่ในที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของผู้ร้องสอด ซึ่งถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดมอบหมายให้จำเลยทั้งสองดูแลและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวตลอดมา ผู้ร้องสอดมีความจำเป็นที่จะต้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเพื่อยังให้ได้รับการรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) ซึ่งศาลจังหวัดลพบุรีมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้แล้ว คำร้องสอดของผู้ร้องสอดดังกล่าวซึ่งถือเสมือนเป็นคำให้การและฟ้องแย้งโจทก์อยู่ในตัว จึงมีผลเปลี่ยนคดีจากคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีที่มีทุนทรัพย์เมื่อที่ดินพิพาทมีราคา 225,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงลพบุรีที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดลพบุรีจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงลพบุรีที่มีเขตอำนาจตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่ การที่ศาลแขวงลพบุรีเพิกถอนคำสั่งรับโอนคดีเป็นไม่รับโอนคดีโดยวินิจฉัยว่า คดีนี้มีทั้งส่วนที่เป็นคดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ด้วยกันและศาลแขวงลพบุรีไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์นั้น เห็นว่า ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) มีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 จึงถือได้ว่าผู้ร้องสอดได้ถูกโจทก์ฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยทั้งสองด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ ดังนั้น หากศาลแขวงลพบุรีพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ศาลแขวงลพบุรีย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดและจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบริวารของผู้ร้องสอดได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลแขวงลพบุรีมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเดิม และมีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับโอนคดีนี้ไว้พิจารณา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย”

พิพากษายกคำสั่งของศาลแขวงลพบุรีที่ให้เพิกถอนคำสั่งรับโอนคดีนี้ไว้พิจารณาและคำสั่งไม่รับโอนคดีนี้ไว้พิจารณา กับคำสั่งที่ให้ส่งสำนวนคืนศาลจังหวัดลพบุรี ให้ศาลแขวงลพบุรีรับโอนคดีไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ.

หมายเหตุ

 โจทก์ยื่นฟ้องเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ต่อศาลจังหวัดลพบุรี ศาลจังหวัดลพบุรีมีเขตอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 2 ที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นแล้ว แม้จะมีเหตุให้กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์และทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลแขวงก็ตาม ก็ไม่น่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลไปได้ บทบัญญัติพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 ที่ให้มีการโอนคดีไปยังศาลแขวงก็น่าจะใช้ขณะยื่นฟ้องเท่านั้น ซึ่งเป็นความเห็นที่ไม่ตรงกับแนวคำพิพากษาฎีกาในปัจจุบันคดีนี้ก็เดินตามแนวดังกล่าว ทำให้การร้องสอดตามมาตรา 57 ซึ่งเป็นสาขาของคดีเดิมกลับมีผลกระทบต่อเขตอำนาจศาลในคดีเดิมได้
ไพโรจน์ วายุภาพ 




พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

ศาลแขวงไม่รับโอนคดีจากศาลจังหวัดเป็นการไม่ชอบ
ศาลแขวงพิพากษาลงโทษปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทไม่ได้
อำนาจฟ้องคดีนอกเขตศาล เพิกถอนการจดทะเบียนการโอนที่ดิน
พิพากษายกฟ้องโดยผู้พิพากษาคนเดียว
คดีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท อยู่ในอำนาจศาลแขวง
ผู้พิพากษาคนเดียวลงโทษจำคุก 8 เดือนได้หรือไม่?
ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะ
อำนาจพิจารณาคดีของผู้พิพากษาคนเดียว