ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ทนายความคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สินสมรส อำนาจปกครองบุตร ชู้สาว มรดก

โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ  การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 มาตรา 4 (6) (ง) ซึ่งบัญญัติว่า การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตน ไม่ให้ถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร และใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542

      การขายที่ดินภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มามีข้อยกเว้นหลายประการที่ไม่เข้าลักษณะเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไร แสดงว่าการขายที่ดินที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มามิใช่เป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนอันถือได้ว่าเป็นการขายที่ดินที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มา แต่เมื่อโอนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวให้บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทน การโอนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร การโอนที่ดินให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายโดยเสน่หามิใช่กรณีที่ทำเป็นทางค้าหรือหากำไรจึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้จะเป็นการโอนให้ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาก็ตาม

     คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4182/2550

         การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นตามมาตรา 3 (6) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ ยังมีข้อยกเว้นหลายประการที่ไม่เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร แสดงว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มามิใช่เป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป หากแต่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาเป็นแต่ละกรณีไป แม้คดีนี้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าโจทก์แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนอันถือได้ว่าเป็นการขายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่เมื่อผู้ที่โจทก์โอนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทน การโอนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/2 (6) โจทก์จึงไม่จำต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

         โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งมารดาโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2522 จำนวน 1 ใน 2 ส่วน คิดเป็นเนื้อที่ 470 ตารางวา และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538 อีกจำนวน 235 ตารางวา โดยมิได้ระบุว่าเป็นที่ดินส่วนใด เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2538 โจทก์ให้บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินส่วนของโจทก์จำนวน 1 ใน 3 ส่วน โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นส่วนใด ต่อมาโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินให้ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะเงินเพิ่ม และภาษีส่วนท้องถิ่นรวมเป็นเงิน 343,200 บาท โดยเจ้าพนักงานประเมินให้เหตุผลว่า โจทก์ต้องชำระภาษีธุรกิจเฉพาะตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 ซึ่งตามมาตรา 91/1 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ถือว่าการให้กรรมสิทธิ์รวมแก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นการขาย โจทก์อุทธรณ์การประเมิน ต่อมาคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ลดภาษีที่เรียกเก็บลง คงเหลือ 114,400 บาท โจทก์เห็นว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในการโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ เนื่องจากเป็นการให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโดยไม่มีการแบ่งแยกไม่ได้ระบุว่าเป็นส่วนใด ถือว่าโจทก์ให้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินส่วนที่ถือครองเกิน 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ที่ดินมา ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เลขที่ สภ.3 (อธ.3)/272/2547 ลงวันที่ 15 มกราคม 2547 (ที่ถูกลงวันที่ 30 มิถุนายน 2547) หรือขอให้ลดค่าภาษีที่ต้องชำระเหลือเพียง 10,400 บาท

       จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การว่า เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2522 มารดาโจทก์ได้แบ่งกรรมสิทธิ์รวม (ไม่มีค่าตอบแทน) ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมจำนวน 1 ใน 2 ส่วน โดยที่ดินดังกล่าวมีเนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 40 ตารางวา เท่ากับถือกรรมสิทธิ์คนละ 470 ตารางวา ต่อมาวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538 มารดาโจทก์ได้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินดังกล่าวโดยไม่มีค่าตอบแทนให้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมเฉพาะส่วนของมารดาโจทก์อีก 1 ใน 2 ส่วน โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงดังกล่าวเพิ่มอีก 235 ตารางวา รวมทั้งสิ้นโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน 705 ตารางวา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2538 โจทก์แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมเฉพาะที่ดินส่วนของโจทก์จำนวน 1 ใน 3 ส่วน ส่วนของบุคคลอื่นคงเดิม โดยตีราคาทรัพย์ที่โอนเป็นเงิน 5,200,000 บาท ขณะที่ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน 5,170,000 บาท เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้ตรวจสอบแล้วไม่พบหลักฐานการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40) สำหรับเดือนธันวาคม 2538 ของโจทก์ เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือเชิญพบโจทก์ 2 ครั้ง แต่โจทก์มิได้ไปพบและมิได้แจ้งเหตุขัดข้องแต่อย่างใด เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 91/15 (1) และ 91/16 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะและเงินเพิ่มเติมตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเบี้ยปรับงดให้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ทป.127/2546 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2546 โจทก์อุทธรณ์การประเมิน คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้วมีคำวินิจฉัยว่า โจทก์แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายไม่มีค่าตอบแทนถือเป็นการขายตามมาตรา 90/1 (4) แห่งประมวลรัษฎากร โดยได้โอนเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2538 ซึ่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉับที่ 244) พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับอยู่ โดยมาตรา 3 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมิได้บัญญัติข้อยกเว้นไว้อันเป็นการแตกต่างจากพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 มาตรา 4 (6) (ง) ซึ่งบัญญัติว่า การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตน ไม่ให้ถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร และใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป ดังนั้น เมื่อโจทก์แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายภายใน 5 ปี นับตั้งแต่ได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 3 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ประมวลรัษฎากร แต่เนื่องจากโจทก์ได้รับการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมมาไม่พร้อมกัน โดยที่ดินจำนวน 470 ตารางวา ในจำนวน 940 ตารางวา โจทก์ได้รับเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2522 ถือเป็นการครอบครองที่ดินเกินกว่า 5 ปี ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ส่วนที่ดินจำนวน 235 ตารางวา ใน 470 ตารางวา ได้รับเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538 เป็นการถือครองเพียง 1 ปี ซึ่งการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้แก่บุตรจำนวน 235 ตารางวา ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นที่ดินส่วนใด จึงพิจารณาปรับปรุงรายรับตามการประเมินเหลือเพียง 1 ใน 3 ของราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของที่ดิน เป็นผลให้ภาษีตามการประเมินเปลี่ยนแปลงลดลง เป็นเงินภาษี 52,000 บาท เงินเพิ่ม 52,000 บาท และภาษีส่วนท้องถิ่น 10,400 บาท รวม 114,400 บาท คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้วขอให้ยกฟ้อง

ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
  จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

  ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้แย้งกันฟังเป็นยุติในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2522 มารดาโจทก์ได้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมโดยไม่มีค่าตอบแทนในที่ดินโฉนดเลขที่ 1673 ตำบลวัดอรุณ (บางกอกใหญ่ฝั่งเหนือ) อำเภอบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ให้แก่โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมจำนวน 1 ใน 2 ส่วน โดยที่ดินดังกล่าวมีเนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 40 ตารางวา เท่ากับถือกรรมสิทธิ์รวมคนละ 470 ตารางวา ต่อมาวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538 มารดาโจทก์ได้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินดังกล่าวโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมเฉพาะส่วนของมารดาโจทก์อีก 1 ใน 2 ส่วน โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก 235 ตารางวา รวมทั้งสิ้นโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม 705 ตารางวา ต่อมาเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2538 โจทก์ได้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่นายสุรเชษฐ์ บุญธินันท์ บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เฉพาะส่วนของโจทก์จำนวน 1 ใน 3 ส่วน โดยตีราคาทรัพย์ที่โอน 5,200,000 บาท ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการโอนที่ดิน 5,170,000 บาท ตามภาพถ่ายโฉนดที่ดินและบันทึกการประเมินราคาทรัพย์สิน โจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ต่อมาโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินให้ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ เงินเพิ่ม และภาษีส่วนท้องถิ่นรวม 343,200 บาท ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ โจทก์อุทธรณ์การประเมิน คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ลดภาษีที่เรียกเก็บลง เป็นเงินภาษี 104,000 บาท เงินเพิ่ม 104,000 บาท และภาษีส่วนท้องถิ่น 20,800 บาท รวมลดให้ทั้งสิ้น 228,800 บาท คงเหลือเรียกเก็บเป็นเงินภาษี 52,000 บาท เงินเพิ่ม 52,000 บาท และภาษีส่วนท้องถิ่น 10,400 บาท รวมเรียกเก็บทั้งสิ้นเป็นเงิน 114,400 บาท โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากโจทก์ได้รับแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมาไม่พร้อมกัน โดยจำนวน 470 ตารางวา ใน 940 ตารางวา ได้รับมาเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2522 เป็นการถือครองที่ดินเกินกว่า 5 ปี ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ และจำนวน 235 ตารางวา ใน 470 ตารางวา ได้รับมาเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2538 เป็นการถือครองเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้แก่บุตรจำนวน 235 ตารางวา ไม่สามารถระบุว่าเป็นที่ดินส่วนใด จึงพิจารณาปรับปรุงรายรับตามการประเมินลงเหลือเพียง 1 ใน 3 ส่วนของราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน เป็นผลให้ภาษีตามการประเมินเปลี่ยนแปลงลดลงตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

       มีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า การที่โจทก์แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายโดยไม่มีค่าตอบแทน เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่ โดยจำเลยอุทธรณ์ว่า มาตรา 3 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติยกเว้นกรณีโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายโดยไม่มีค่าตอบแทน จึงถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร เพราะเข้าลักษณะขายอสังหาริมทรัพย์ไปภายใน 5 ปี นับแต่ได้มา ส่วนมาตรา 4 (6) (ง) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 ซึ่งบัญญัติว่าการโอนอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนไม่ให้ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป ย่อมไม่มีผลย้อนหลังไปถึงกรณีของโจทก์ด้วยนั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นว่า การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นตามมาตรา 3 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 ยังมีข้อยกเว้นหลายประการที่ไม่เข้าลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร แสดงว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มามิใช่เป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป หากแต่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาเป็นแต่ละกรณีไป แม้คดีนี้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าโจทก์แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนอันถือได้ว่าเป็นการขายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่เมื่อผู้ที่โจทก์โอนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทน การโอนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/2 (6) โจทก์จึงไม่จำต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษามานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น”

พิพากษายืน

หมายเหตุ

คำว่า "ขาย" ในแง่ภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ได้บัญญัติให้หมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ ให้เช่าซื้อ หรือจำหน่ายจ่ายโอน ไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ ฉะนั้น คำว่า "ขาย" ในแง่ภาษีธุรกิจเฉพาะจึงมีความหมายกว้างกว่าคำว่า "ขาย" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น การให้โดยเสน่หาหรือการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้แก่บุคคลอื่นโดยไม่มีค่าตอบแทนจึงถือเป็นการขายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ดังกล่าว แม้จะไม่ถือเป็นการขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ตาม อย่างไรก็ดีการขายที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะต้องเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 91/2 (6)

กรณีอย่างไรจึงจะถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรนั้นประมวลรัษฎากร มาตรา 91/2 (6) ได้บัญญัติให้อำนาจรัฐบาลกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข แต่การกำหนดนั้นก็ต้องอยู่ในขอบเขตที่เห็นได้ว่าเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไร เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/2 (6) ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ กรณีที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะต้องเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไรเท่านั้น ฉะนั้น หากมีการกำหนดให้กรณีที่มิใช่การขายเป็นทางค้าหรือหากำไรถือเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไรด้วย ย่อมเป็นการกำหนดเกินขอบเขตที่กฎหมายแม่ได้ให้อำนาจไว้ กรณีที่กำหนดขึ้นมานั้นย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองสูงสุดย่อมใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 11 (2) เพิกถอนได้ หากศาลปกครองสูงสุดไม่เพิกถอน ศาลภาษีอาการกลางและศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรซึ่งเป็นศาลยุตธรรมย่อมมีอำนาจตีความว่า กรณีที่พระราชกฤษฎีกากำหนดขึ้นมานั้นไม่ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรจึงไม่อยู่ในบังคับจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/2 (6) ทั้งนี้ เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้เสียภาษี

รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (5) กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้จะเป็นกรณีที่บิดามารดาโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยเสน่หาหรือแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยไม่มีค่าตอบแทนก็ตามกรณีจึงเป็นการกำหนดให้ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรโดยไม่คำนึงว่าความจริงเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไรหรือไม่ เมื่อกรณีที่บิดามารดาโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยเสน่หาไม่อาจถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ศาลฎีกาจึงมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10889/2546 วินิจฉัยว่า "การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มามิได้เป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 จึงได้กำหนดข้อยกเว้นไว้บางกรณี การโอนที่ดินให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายโดยเสน่หามิใช่กรณีที่ทำเป็นทางค้าหรือหากำไรจึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้จะเป็นการโอนให้ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาก็ตาม"

คดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4182/2550 ที่กำลังหมายเหตุอยู่นี้ก็เดินตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว และต่อมาพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 มาตรา 4 (6) (ง) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันก็บัญญัติให้การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายของตน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้จะเป็นการโอนภายใน 5 ปีก็ตาม

ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นการโอนก่อนหรือหลังพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 มีผลใช้บังคับ การโอนนั้นไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเพียงแต่อ้างตัวบทกฎหมายต่างกัน กล่าวคือ การโอนก่อนพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับจะอ้างกฎหมายแม่คือประมวลรัษฎากร มาตรา 91/2 (6) โดยถือว่าการโอนดังกล่าวไม่ถือเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไร ส่วนการโอนหลังจากพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับจะอ้างมาตรา 4 (6) (ง) ของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว

 ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม

ประมวลรัษฎากร

 มาตรา 91/1 ในหมวดนี้
    (1) " รายรับ " หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือ ประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ 
    (2) " มูลค่า " หมายความว่า ราคาตลาดของทรัพย์สิน ของกิจการ ของค่าตอบแทนหรือของประโยชน์ใด ๆ
    (3) " ราคาตลาด " หมายความว่า ราคาที่ซื้อขายกันหรือที่คิดค่าบริการกันตามความเป็นจริงทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่ง
 ในกรณีที่ราคาตลาดมีหลายราคาหรือไม่อาจทราบราคาตลาดได้แน่นอน ให้อธิบดี โดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศใช้เกณฑ์คำนวณเพื่อให้ได้ราคาตลาดเป็นมูลค่าของสินค้าหรือบริการได้
    (4) " ขาย " หมายความรวมถึงสัญญาจะขาย ขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้ ให้เช่าซื้อหรือจำหน่ายจ่ายโอน ไม่ว่าจะมีประโยชน์ตอบแทนหรือไม่

ให้นำบทนิยามคำว่า "บุคคล" "บุคคลธรรมดา" "คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล" "นิติบุคคล"   "ตัวแทน" "สถานประกอบการ" และ "เดือนภาษี" ตามมาตรา 77/1 มาใช้บังคับ

 มาตรา 91/15 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามหมวดนี้ ในเมื่อ
    (1) ปรากฏแก่เจ้าพนักงานประเมินว่าผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
    (2) ในกรณีเจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป หรือ
    (3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการแทนผู้ประกอบกิจการ ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือไม่สามารถแสดงหลักฐานเพื่อการคำนวณภาษี

 มาตรา 91/16 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรา 91/15 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจ
    (1) จัดทำรายการลงในแบบแสดงรายการตามหลักฐานที่เห็นว่าถูกต้อง เมื่อผู้ประกอบกิจการมิได้ยื่นแบบแสดงรายการ
    (2) แก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการหรือในเอกสารอื่นประกอบแบบแสดงรายการเพื่อให้ถูกต้อง
    (3) กำหนดราคาขายสินค้าโดยเทียบเคียงกับราคาขายในวันเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันของสินค้าประเภทหรือชนิดเดียวกันตามราคาตลาดที่อาจเทียบเคียงกันได้
    (4) กำหนดดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการซื้อหรือขายตั๋วเงินหรือแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราการออกตั๋วเงิน หรือการส่งเงินไปต่างประเทศตามราคาตลาดที่อาจเทียบเคียงได้
    (5) กำหนดรายรับซึ่งผู้ประกอบกิจการควรได้รับ เพราะผู้ประกอบกิจการกับผู้ซื้อมีการควบคุมหรือความสัมพันธ์กันในด้านทุนหรือด้านการจัดการ
    (6) กำหนดดอกเบี้ย ราคาทรัพย์สิน หรือค่าบริการ ตามราคาตลาดในวันให้กู้ยืมเงิน วันที่โอนหรือให้บริการ ในกรณีที่การให้กู้ยืมเงิน การโอนทรัพย์สิน หรือการให้บริการนั้นไม่มีดอกเบี้ย ค่าตอบแทน หรือค่าบริการ หรือมีดอกเบี้ย ค่าตอบแทน หรือค่าบริการต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
    (7) กำหนดรายรับโดยพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่หรือพฤติการณ์ของผู้ประกอบกิจการ หรือสถิติการค้าของผู้ประกอบกิจการเองหรือของผู้ประกอบกิจการอื่นที่กระทำกิจการทำนองเดียวกัน หรือพิจารณาจากหลักเกณฑ์อย่างอื่นอันอาจแสดงรายรับได้โดยสมควร
    (8) ประเมินภาษีตามที่รู้เห็นหรือพิจารณาว่าถูกต้อง เมื่อมีกรณีตามมาตรา 91/15 (3) โดยไม่ต้องปฏิบัติตาม (1) ถึง (7) ก็ได้

มาตรา 89/1 บุคคลใดไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ

   ในกรณีที่อธิบดีอนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดในมาตรา 3 อัฏฐ และได้มีการชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้น เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้ลดลงเหลือร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน

การคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือยื่นแบบนำส่งภาษีตามส่วน 7 จนถึงวันชำระภาษีหรือนำส่ง




คำพิพากษาศาลฎีกา

ผิดสัญญาหมั้นเรียกค่าทดแทนและสินสอดคือ article
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง article
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี article
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
การรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
ดอกผลนิตินัย
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน-ปัญหาข้อกฎหมาย
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่      
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน