ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การจัดการสินสมรสเรื่องกู้ยืมเงินและให้กู้ยืมเงิน-ความยินยอมจากคู่สมรส

การจัดการสินสมรสเรื่องกู้ยืมเงินและให้กู้ยืมเงิน-ความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ที่โจทก์ฎีกาว่า นิติกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยทั้งสองนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสของโจทก์ที่ต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 บัญญัติว่า สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้(4) ให้กู้ยืมเงิน  บทบัญญัติมาตรานี้มุ่งหมายให้การให้กู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมที่ต้องได้รับ ความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในการจัดการสินสมรส ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ไปกู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องกู้ยืมเงินมิใช่ให้กู้ยืมเงิน กรณีจึงหาต้องด้วยมาตรา 1476 ไม่

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2551

 การให้กู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย ในการจัดการสินสมรส การกู้ยืมเงินมิใช่ให้กู้ยืมเงินจึงไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรส ดังนั้นหากมิใช่หนี้ร่วม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดีได้เพียงสินสมรสในส่วนของลูกหนี้ตามคำ พิพากษาเท่านั้น มิได้กระทบกระเทือนสินสมรสในส่วนของคู่สมรสของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 36231 เป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีภริยากัน เมื่อเดือนมีนาคม 2546 โจทก์ได้รับหมายเรียกของศาลชั้นต้น ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 178/2545 ซึ่งแจ้งให้โจทก์ส่งต้นฉบับโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวต่อศาล โจทก์ไปขอตรวจดูสำนวนจึงได้ทราบความจริงว่าในคดีดังกล่าวจำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน และศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา จึงมีการบังคับคดีเพื่อขายทอดตลาดที่ดินโฉนดดังกล่าว โจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องจึงยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดไว้แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 2 โดยระบุในสัญญาว่า ได้นำโฉนดที่ดินอันเป็นสินสมรสดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 2 ยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์นั้น เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และเป็นนิติกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 แต่เป็นลายมือชื่อปลอม สัญญากู้ยืมจึงเป็นเอกสารปลอม ขอให้มีคำพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 400,000 บาท ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ฉบับลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542

ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า นิติกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หากจะไม่สมบูรณ์ก็เป็นเรื่องของจำเลยทั้งสอง และมิได้เกี่ยวข้องกับสินสมรสของโจทก์ เพราะมิใช่นิติกรรมอันเกี่ยวกับการจัดการสินสมรส โจทก์มิได้มีส่วนได้เสียในนิติกรรมและมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิ พิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ที่โจทก์ฎีกาว่า นิติกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยทั้งสองนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสของโจทก์ที่ต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 บัญญัติว่า สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้(4) ให้กู้ยืมเงิน

บทบัญญัติมาตรานี้มุ่งหมายให้การให้กู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมที่ต้องได้รับ ความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในการจัดการสินสมรส ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ไปกู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องกู้ยืมเงินมิใช่ให้กู้ยืมเงิน กรณีจึงหาต้องด้วยมาตรา 1476 ไม่

ที่โจทก์ฎีกาต่อมาว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 36231 ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นเอกสารสำคัญในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 178/2545 ซึ่งศาลได้มีหมายเรียกแจ้งให้โจทก์นำส่งต้นฉบับต่อศาลเพื่อบังคับคดีให้เป็น ไปตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว ซึ่งหากให้โจทก์นำส่งโฉนดที่ดินตามคดีดังกล่าวต่อศาลตามคำสั่งแล้ว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า การบังคับคดีในคดีแพ่งหมายแดงที่ 178/2545 นั้น หากโจทก์มิได้เป็นหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 การบังคับคดีก็หาอาจกระทบกระเทือนสิทธิโจทก์ได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 2 จะบังคับคดีได้เพียงสินสมรสในส่วนของจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้กระทบกระเทือนสินสมรสในส่วนของโจทก์ การกระทำดังกล่าวจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย”

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

เงินเดือนสามีได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส

สามีซื้อที่ดินโดยกู้ยืมเงินจากธนาคาร197,000 บาท มาชำระราคาที่ดินและจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้แก่ธนาคารและได้นำเงินเดือนของสามีผ่อนชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ธนาคารอาคารจนครบถ้วน และไถ่ถอนจำนอง สามีซื้อรถยนต์และชำระราคารถยนต์คันเป็นเงินสด โดยกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ 400,000 บาท สามีผ่อนชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ทุกเดือน ต่อมาฟ้องหย่าภริยา มีปัญหาว่าที่ดินและรถยนต์เป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยาหรือไม่ ตามข้อเท็จจริงมีการซื้อที่ดิน และซื้อรถยนต์ เป็นระยะเวลาในระหว่างสมรส ที่ดินและรถยนต์จึงเป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยา แม้เงินที่ใช้ในการผ่อนหนี้ค่าซื้อที่ดินเป็นเงินที่กู้มาจากธนาคารและเงินที่ใช้ซื้อรถยนต์เป็นเงินที่กู้จากสหกรณ์ออมทรัพย สามีจะเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้ด้วยเงินเดือนของสามีทั้งสิ้นก็ตาม แต่เงินเดือนของสามีก็เป็นเงินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นเงินสินสมรสนั่นเอง จึงรับฟังได้ว่าที่ดินพิพาทและรถยนต์พิพาทเป็นสินสมรส เมื่อหย่าขาดจากกันจึงต้องแบ่งสินสมรสดังกล่าวให้แก่ภริยากึ่งหนึ่งตามกฎหมาย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่  9570/2551)




ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

เพิกถอนนิติกรรมโฉนดห้ามโอน 10 ปี article
การขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว
การเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อนสมรส
ขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียว แยกสินสมรส
ได้สิทธิทำประโยชน์ที่ดินก่อนจดทะเบียนสมรส
เจ้าหนี้ยึดสินสมรสได้ทั้งหมดยกคำร้องขอกันส่วน
หญิงมีสามีมีอำนาจฟ้องปราศจากความยินยอมหรือไม่
สามีนำเงินสินสมรสออกให้กู้โดยไม่ได้รับความยินยอม
ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินส่วนของตน
ที่ดินและรถยนต์ภริยากู้ยืมเงินมาซื้อและผ่อนด้วยเงินเดือน
หย่ากันให้แบ่งสินสมรส-ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าแบ่งสินสมรสไม่ได้
กรณีเป็นที่สงสัยให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรส
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สิน
ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยลำพังเป็นสินสมรส
ข้อตกลงให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก
สัญญาค้ำประกันไม่ต้องได้รับความยินยอมคู่สมรส
การแบ่งทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์รวม ทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้
สินส่วนตัวและสินสมรส ของขวัญเนื่องในการสมรสจึงถือว่าเป็นสินสมรส
ข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าเรื่องยกทรัพย์สินให้ฝ่ายหญิง(ภรรยา)
กฎหมายคุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน (ม.1480)
ปลอมลายมือชื่อคู่สมรสในหนังสือให้ความยินยอมไปทำขายฝากที่ดิน
ตกลงให้สินส่วนตัวของฝ่ายหนึ่งตกเป็นสินสมรส
รางวัลที่ 1 สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว
สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้สินสมรส อายุความ
ความยินยอมในการจัดการสินสมรสไม่ต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก | บันทึกท้ายทะเบียนหย่า
เหตุสมควรขอให้แยกสินสมรส สามีไม่นำเงินสินสมรสมาอุปการะเลี้ยงดูภริยา
สัญญาแบ่งทรัพย์สินในการหย่า-ตกลงให้ที่ดินแก่กันไม่ต้องจดทะเบียนบังคับได้
เพิกถอนนิติกรรมขายฝาก ซึ่งรับซื้อฝากโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน
รับซื้อฝากที่ดินสินสมรสโดยไม่สุจริต- เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ทั้งแปลง
หนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินเมื่อยังไม่มีการหย่าใช้บังคับไม่ได้
เพิกถอนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินมีโฉนดระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย
ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดิน