ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต

สร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต

ข้อ 1 นายเดช เป็นเจ้าของที่ดินเลขที่ 1234 ส่วนนายวัน เป็นเจ้าของที่ดิน โฉนดเลขที่ 1235 ซึ่งมีเขตที่ดินติดต่อกัน นายวัน สร้างบ้านสองหลัง แท็งก์เก็บน้ำ และรั้วบ้าน โดยเข้าใจว่าบ้านทั้งสองหลังและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวสร้างอยู่ในเขตที่ดินของตน เมื่อนายวัน สร้างบ้านหลังแรก แท็งก์น้ำและรั้วบ้านเสร็จกับสร้างบ้านหลังที่สองจนถึงขั้นทำคานชั้นบนเสร็จแล้ว นายเดชกับนายวัน ได้ร่วมกันทำการรังวัดสอบเขตที่ดิน ปรากฏว่าชายคาบ้านหลังแรก แท็งก์เก็บน้ำและรั้วบ้านบางส่วนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของนายเดช ส่วนบ้านหลังที่สอง สร้างอยู่ในที่ดินของนายเดชทั้งหลัง นายเดช จึงห้ามไม่ให้นายวัน ก่อสร้างต่อไป แต่นายวัน ยังขืนก่อสร้างจนแล้วเสร็จ นายเดชต้องการให้นายวัน รื้อถอนบ้านทั้งสองหลัง และสิ่งปลูกสร้างอื่นที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของตน

ให้วินิจฉัยว่า นายวันต้องรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างตามที่นายเดชต้องการหรือไม่เพียงใด

ธงคำตอบ

นายวัน สร้างบ้านหลังแรกโดยเข้าใจว่าสร้างอยู่ในเขตที่ดินของตน เป็นการสร้างโรงเรือนโดยเข้าใจว่า ตนมีสิทธิที่จะสร้างได้ จึงเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของนายเดช โดยสุจริต นายวัน จึงเป็นเจ้าของบ้านหลังแรกและไม่ต้องรื้อถอนส่วนที่รุกล้ำของบ้านหลังนี้ แต่นายวัน ต้องเสียเงินให้แก่นายเดช ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินนั้น และนายเดช ต้องจดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจำยอม แก่นายวัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง

ส่วนแท็งก์เก็บน้ำและรั้วบ้านมิใช่โรงเรือน ตามความหมายของ มาตรา 1312 และไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงเรือน แม้นายวัน จะสร้างโดยสุจริตก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง นายวัน จึงต้องรื้อถอนแทงก์เก็บน้ำและรั้วบ้าน ส่วนที่รุกล้ำออกจากที่ดินของนายเดช ( คำพิพากษาฎีกาที่ 951-952/2542 , 1511/2542 )

สำหรับบ้านหลังที่สอง แม้ขณะลงมือก่อสร้าง นายวัน จะกระทำโดยสุจริตก็ตาม แต่เมื่อนายวัน ก่อสร้างไปถึงขั้นทำคานชั้นบนแล้วจึงทราบว่าบ้านได้สร้างอยู่ในที่ดิน ของนายเดช แต่นายวัน ยังขืนสร้างต่อไปจนเสร็จ ถือได้ว่านายวัน สร้างบ้านหลังที่สองในที่ดินของนายเดช โดยไม่สุจริต ตามมาตรา 1311 เพราะกรณีการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นซึ่งจะถือว่าเป็นการสร้างโดยสุจริต ตามมาตรา 1310 จะต้องเป็นการกระทำโดยสุจริตตั้งแต่ลงมือก่อสร้าง จนกระทั่งสร้างเสร็จสมบูรณ์ ดังนี้ เมื่อนายเดชต้องการให้รื้อถอนบ้านดังกล่าว นายวัน จึงต้องรื้อถอนออกไป ( คำพิพากษาฎีกาที่ 2313/2537 )

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1312 บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดย สุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินนั้น และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม ต่อภายหลังถ้าโรงเรือนนั้นสลายไปทั้งหมด เจ้าของที่ดินจะเรียกให้เพิกถอน การจดทะเบียนเสียก็ได้

ถ้าบุคคลผู้สร้างโรงเรือนนั้นกระทำการโดยไม่สุจริต ท่านว่าเจ้าของที่ ดินจะเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และทำที่ดินให้เป็นตามเดิมโดยผู้สร้างเป็นผู้ ออกค่าใช้จ่ายก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2542

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าสร้างโรงเรือนย่อมหมายถึงสร้างบ้าน สำหรับอยู่อาศัยเท่านั้น ดังนั้น โรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำ และแท็งก์น้ำจึงมิใช่โรงเรือนตามความหมายของบทบัญญัติ มาตรานี้ และไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงเรือนด้วย แม้จำเลยจะสร้างหรือทำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์โดยสุจริต ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1312 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 บัญญัติให้ จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่รุกล้ำเท่านั้น จึงไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดิน ของผู้อื่นได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของผู้อื่นอีก 2 เมตร แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร กำหนดให้อาคารที่ปลูกใน ที่ดินเอกชนให้ผนังด้านที่มีหน้าต่าง ประตูหรือช่องระบายอากาศ อยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตร ก็เป็นกรณีที่ผู้ปลูกสร้างอาคารจะต้องปฏิบัติตาม ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่กรณีของจำเลยเป็นการ สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ข้อบัญญัติดังกล่าว ไม่มีผลให้โจทก์ต้องผูกพันในการกระทำของจำเลย โจทก์จึง ไม่ต้องจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลย เพิ่มขึ้นตามข้อบัญญัติดังกล่าวอีก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคสองบัญญัติว่า ถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะค่าฤชาธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสียดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองให้เป็นพับโดยมิได้สั่งค่าทนายความจึงหมายความรวมถึงค่าทนายความทั้งสองศาลให้เป็นพับด้วย

คดีทั้งสองสำนวนนี้เดิมศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษารวมกันมาโดยให้เรียกนายเศกสิทธิ์ ศรีสินทรัพย์ โจทก์ที่ 1 นางสมบัติดิษกร โจทก์ที่ 2 ในสำนวนแรกและเป็นจำเลยที่ 1 และที่ 2ในสำนวนหลังว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับเรียกจำเลยในสำนวนแรกและโจทก์ในสำนวนหลังว่า จำเลย

สำนวนแรกโจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 75830 เลขที่ดิน 3533 ตำบลลาดพร้าวอำเภอลาดพร้าว (ที่ถูกอำเภอบางกะปิ) กรุงเทพมหานครเนื้อที่ประมาณ 1 งาน 3 ตารางวา จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 75831 เลขที่ดิน 3534 ตำบลลาดพร้าว อำเภอลาดพร้าวกรุงเทพมหานคร มีเขตติดต่อกัน เมื่อกลางปี 2535 โจทก์ทั้งสองยื่นคำขอตรวจสอบที่ดินและทำการรังวัดที่ดินปรากฏว่าแนวรั้วที่โจทก์ทั้งสองสร้างไว้ยังไม่ถึงแนวเขตที่ดิน ต่อมาเดือนกันยายน 2535 โจทก์ทั้งสองยื่นคำขอตรวจสอบแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสองอีกครั้ง ปรากฏว่าจำเลยได้บุกรุกเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โดยสร้างบ้านเลขที่ 2/55 ตั้งแท็งก์น้ำปั๊มน้ำ วางระบบประปา สร้างโรงรถ และวางสิ่งของรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสองคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 13 ตารางวาโจทก์ทั้งสองได้แจ้งจำเลยให้ทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจำเลยเพิกเฉย เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายคิดเป็นเงินเดือนละ 8,000 บาท นับแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2535ถึงวันฟ้องเป็นเวลา 20 เดือน เป็นเงิน 160,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองหากไม่รื้อถอน ให้โจทก์ทั้งสองรื้อถอนได้เอง โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง กับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 160,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี และค่าเสียหายเดือนละ8,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง

จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

สำนวนหลังจำเลยฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 75831 เลขที่ดิน 3534 ตำบลลาดพร้าว อำเภอบางกะปิกรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1 งาน 22 ตารางวา โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 75830 เลขที่ดิน 3533 ตำบลลาดพร้าวอำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1 งาน 3 ตารางวาจำเลยซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 75831 ซึ่งว่างเปล่า และได้สร้างบ้านเลขที่ 2/55 โดยก่อนสร้างได้ทำการรังวัดสอบเขตที่ดินและสอบถามโจทก์ทั้งสองแล้ว จึงสร้างบ้านและกำแพงรั้วแสดงอาณาเขตเมื่อสร้างบ้านเสร็จก็ได้อยู่อาศัยมาโดยตลอด จนกระทั่งโจทก์ทั้งสองและเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่า จำเลยรุกล้ำที่ดินโจทก์ทั้งสองบางส่วนเนื้อที่ประมาณ 13 ตารางวา ซึ่งจำเลยไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยได้ขอซื้อที่ดินส่วนรุกล้ำจากโจทก์ทั้งสองแต่ตกลงกันไม่ได้ การที่จำเลยปลูกโรงเรือนรุกล้ำโดยสุจริตย่อมได้สิทธิภารจำยอม ขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินเฉพาะส่วนที่จำเลยสร้างบ้านเลขที่ 2/55 รุกล้ำเข้าไปเนื้อที่ 13 ตารางวา โดยให้จำเลยเสียค่าตอบแทนให้โจทก์ทั้งสองปีละ 5,000 บาท หากโจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ทั้งสอง

โจทก์ทั้งสองให้การว่า ในปีที่จำเลยสร้างบ้านเลขที่ 2/55จำเลยได้รังวัดที่ดิน และจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ทั้งสองได้สร้างกำแพงรั้วยังไม่ถึงแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสองแต่เมื่อจำเลยรู้ถึงแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่ยังสร้างกำแพงรั้วไม่ถึงแนวเขต จำเลยถือเอาประโยชน์โดยสร้างบ้านเลขที่ 2/55 รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ต่อมาปี 2535โจทก์ทั้งสองได้ทราบความจริงจึงได้แจ้งให้จำเลยทราบ และขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและสิ่งของต่าง ๆ ที่รุกล้ำอยู่ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นเนื้อที่ 13 ตารางวา ออกไป จำเลยได้เจรจาขอซื้อที่ดิน 13 ตารางวา แต่ไม่สามารถตกลงราคากันได้การที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยจึงต้องรื้อถอนมุมเสาบ้าน ชายกันสาด โรงรถ และสิ่งของต่าง ๆ ที่ยังรุกล้ำอยู่ออกไปเสียจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โดยจะให้โจทก์ทั้งสองจดทะเบียนเป็นภารจำยอมไม่ได้หากฟังได้ว่าจำเลยสร้างบ้านรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยสุจริต จำเลยก็มีสิทธิเพียงขอให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมได้เฉพาะในส่วนที่เป็นโรงเรือนคือมุมเสาบ้านและชายกันสาดที่รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง เนื้อที่ประมาณ 1 ตารางวา เท่านั้น ส่วนโรงรถและสิ่งของต่าง ๆ ที่วางอยู่ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองอีก 12 ตารางวา นั้น ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรือนที่รุกล้ำ จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 จำเลยจึงต้องรื้อถอนโรงรถและสิ่งของต่าง ๆ ที่ยังรุกล้ำอยู่ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองออกไป จะขอบังคับให้โจทก์ทั้งสองจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินเนื้อที่ทั้ง 13 ตารางวา หาได้ไม่ ที่จำเลยยินยอมเสียค่าใช้ที่ดินตอบแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นรายปี ปีละ 5,000 บาท นั้นหากโจทก์ทั้งสองจะต้องจดทะเบียนเป็นภารจำยอมให้แก่จำเลยในส่วนที่ได้มีการรุกล้ำ โจทก์ทั้งสองจำต้องไถ่ถอนจำนองที่ดินซึ่งติดจำนองอยู่แก่ธนาคาร ซึ่งตามระเบียบของธนาคารจะไม่รับจำนองที่ดินที่ติดภาระผูกพันต่าง ๆ ซึ่งในส่วนนี้ย่อมทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย ต้องเสียดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายจากการใช้ที่ดินของจำเลย ที่ให้โจทก์ทั้งสองต้องจดทะเบียนที่ดินเป็นภารจำยอมในส่วนที่จำเลยจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายที่จำเลยได้รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ค่าใช้ที่ดินในส่วนนี้โจทก์ทั้งสองขอให้จำเลยชำระให้เป็นรายเดือนเดือนละ 10,000 บาททั้งคดีเดิมโจทก์ทั้งสองได้ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น ตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 12897/2537 ในประเด็นพิพาทอันเป็นสาระสำคัญอย่างเดียวกันและจำเลยได้ขาดนัดยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้นัดสืบพยานโจทก์ทั้งสองแล้ว แต่จำเลยกลับนำคำให้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับมายื่นฟ้องเป็นคดีนี้ ฟ้องของจำเลยในคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองจดทะเบียนภารจำยอมแก่จำเลยในที่ดินโฉนดเลขที่ 75830 เลขที่ดิน 3533 ตำบลลาดพร้าวอำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เฉพาะส่วนที่โรงเรือนเลขที่ 2/55ของจำเลยรุกล้ำเข้าไปคิดเป็นเนื้อที่ 13 ตารางวา โดยประมาณโดยให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ทั้งสองเป็นรายปี ปีละ 40,000บาท หากโจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ทั้งสอง คำขอของโจทก์ทั้งสองให้ยก

โจทก์ทั้งสองและจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์ทั้งสองไปจดทะเบียนภารจำยอมให้จำเลยเฉพาะส่วนที่โรงเรือนเลขที่ 2/55 ของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โดยให้วัดเป็นแนวดิ่ง ตามแนวชายคาหรือส่วนใดส่วนหนึ่งที่ยื่นล้ำออกจากตัวโรงเรือน ตั้งฉากกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองยาวตลอดแนวที่ปลูกสร้างรุกล้ำ ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนภารจำยอมให้จำเลยเป็นผู้ชำระ กับให้จำเลยรื้อถอนแท็งก์น้ำ ปั๊มน้ำ ท่อน้ำประปาโรงรถ และสิ่งของอื่นออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินตามส่วนของที่ดินที่ตกเป็นภารจำยอมตารางวาละ 2,500 บาท ต่อปี แก่โจทก์ทั้งสอง นับแต่วันฟ้องจนกว่าโรงเรือน ส่วนที่รุกล้ำจะสลายไป นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 75830 ตำบลลาดพร้าว อำเภอบางกะปิกรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1 งาน 3 ตารางวา ส่วนจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 75831 ซึ่งมีเขตที่ดินติดต่อกับที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยได้สร้างโรงรถ เดินท่อน้ำประปาและทำปั๊มน้ำ แท็งก์น้ำ ไว้ในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง คิดเป็นเนื้อที่13 ตารางวา กับสร้างบ้านซึ่งมีบางส่วนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวนั้นด้วยโดยสุจริต

คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยประการแรกว่า สิ่งปลูกสร้างและสิ่งของต่าง ๆ เช่น โรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำและแท็งก์น้ำ นอกจากตัวบ้านที่รุกล้ำ จำเลยจะต้องรื้อถอนออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 บัญญัติว่า บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินนั้น และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าสร้างโรงเรือน ซึ่งย่อมหมายถึงสร้างบ้านสำหรับอยู่อาศัยดังนั้น โรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำ และแท็งก์น้ำ จึงมิใช่โรงเรือนตามความหมายของบทบัญญัติมาตรานี้ และไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงเรือนด้วย แม้จำเลยจะสร้างหรือทำโดยสุจริต ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1312 ดังกล่าวจำเลยต้องรื้อถอนออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง

ปัญหาต่อไปมีว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้โจทก์ทั้งสองไปจดทะเบียนภารจำยอมให้จำเลยเฉพาะส่วนที่โรงเรือนเลขที่ 2/55ของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยให้วัดเป็นแนวดิ่ง ตามแนวชายคาหรือส่วนใดส่วนหนึ่งที่ยื่นล้ำออกจากตัวโรงเรือน ตั้งฉากกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองยาวตลอดแนวที่ปลูกสร้างรุกล้ำนั้นชอบหรือไม่ เห็นว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้กำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนภารจำยอมไว้ชัดแจ้งแล้วไม่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยซึ่งจะต้องตกลงกันอีกแต่อย่างใด ดังที่จำเลยฎีกา และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 นั้น ย่อมหมายถึงให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่รุกล้ำเท่านั้นไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของผู้อื่นอีก 2 เมตร โดยวัดจากตัวโรงเรือนส่วนที่รุกล้ำเข้าไป แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 74กำหนดให้อาคารที่ปลูกในที่ดินเอกชนให้ผนังด้านที่มีหน้าต่างประตูหรือช่องระบายอากาศอยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตร ก็ตาม ก็เป็นกรณีที่ผู้ปลูกสร้างอาคารจะต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร แต่กรณีของจำเลยเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวจึงไม่มีผลให้โจทก์ทั้งสองต้องผูกพันในการกระทำของจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินของโจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยเป็นเนื้อที่ถึง 13 ตารางวาตามที่จำเลยฎีกา

ปัญหาประการสุดท้ายมีว่า ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ โดยมิได้สั่งค่าทนายความให้เป็นพับด้วยนั้นมีผลให้จำเลยจะต้องใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคสอง บัญญัติว่าถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะ ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าป่วยการพยานค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดีและค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย ดังนั้นคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ โดยมิได้สั่งค่าทนายความจึงรวมถึงค่าทนายความทั้งสองศาลให้เป็นพับด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว

พิพากษายืน

คดีทั้งสองสำนวนนี้เดิมศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษารวมกันมาโดยให้เรียกนายเศกสิทธิ์ ศรีสินทรัพย์ โจทก์ที่ 1 นางสมบัติดิษกร โจทก์ที่ 2 ในสำนวนแรกและเป็นจำเลยที่ 1 และที่ 2ในสำนวนหลังว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับเรียกจำเลยในสำนวนแรกและโจทก์ในสำนวนหลังว่า จำเลย

สำนวนแรกโจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 75830 เลขที่ดิน 3533 ตำบลลาดพร้าวอำเภอลาดพร้าว (ที่ถูกอำเภอบางกะปิ) กรุงเทพมหานครเนื้อที่ประมาณ 1 งาน 3 ตารางวา จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 75831 เลขที่ดิน 3534 ตำบลลาดพร้าว อำเภอลาดพร้าวกรุงเทพมหานคร มีเขตติดต่อกัน เมื่อกลางปี 2535 โจทก์ทั้งสองยื่นคำขอตรวจสอบที่ดินและทำการรังวัดที่ดินปรากฏว่าแนวรั้วที่โจทก์ทั้งสองสร้างไว้ยังไม่ถึงแนวเขตที่ดิน ต่อมาเดือนกันยายน 2535 โจทก์ทั้งสองยื่นคำขอตรวจสอบแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสองอีกครั้ง ปรากฏว่าจำเลยได้บุกรุกเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โดยสร้างบ้านเลขที่ 2/55 ตั้งแท็งก์น้ำปั๊มน้ำ วางระบบประปา สร้างโรงรถ และวางสิ่งของรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสองคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 13 ตารางวาโจทก์ทั้งสองได้แจ้งจำเลยให้ทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจำเลยเพิกเฉย เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายคิดเป็นเงินเดือนละ 8,000 บาท นับแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2535ถึงวันฟ้องเป็นเวลา 20 เดือน เป็นเงิน 160,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองหากไม่รื้อถอน ให้โจทก์ทั้งสองรื้อถอนได้เอง โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง กับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 160,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี และค่าเสียหายเดือนละ8,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง

จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

สำนวนหลังจำเลยฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 75831 เลขที่ดิน 3534 ตำบลลาดพร้าว อำเภอบางกะปิกรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1 งาน 22 ตารางวา โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 75830 เลขที่ดิน 3533 ตำบลลาดพร้าวอำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1 งาน 3 ตารางวาจำเลยซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 75831 ซึ่งว่างเปล่า และได้สร้างบ้านเลขที่ 2/55 โดยก่อนสร้างได้ทำการรังวัดสอบเขตที่ดินและสอบถามโจทก์ทั้งสองแล้ว จึงสร้างบ้านและกำแพงรั้วแสดงอาณาเขตเมื่อสร้างบ้านเสร็จก็ได้อยู่อาศัยมาโดยตลอด จนกระทั่งโจทก์ทั้งสองและเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งว่า จำเลยรุกล้ำที่ดินโจทก์ทั้งสองบางส่วนเนื้อที่ประมาณ 13 ตารางวา ซึ่งจำเลยไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยได้ขอซื้อที่ดินส่วนรุกล้ำจากโจทก์ทั้งสองแต่ตกลงกันไม่ได้ การที่จำเลยปลูกโรงเรือนรุกล้ำโดยสุจริตย่อมได้สิทธิภารจำยอม ขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินเฉพาะส่วนที่จำเลยสร้างบ้านเลขที่ 2/55 รุกล้ำเข้าไปเนื้อที่ 13 ตารางวา โดยให้จำเลยเสียค่าตอบแทนให้โจทก์ทั้งสองปีละ 5,000 บาท หากโจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ทั้งสอง

โจทก์ทั้งสองให้การว่า ในปีที่จำเลยสร้างบ้านเลขที่ 2/55จำเลยได้รังวัดที่ดิน และจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ทั้งสองได้สร้างกำแพงรั้วยังไม่ถึงแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสองแต่เมื่อจำเลยรู้ถึงแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่ยังสร้างกำแพงรั้วไม่ถึงแนวเขต จำเลยถือเอาประโยชน์โดยสร้างบ้านเลขที่ 2/55 รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ต่อมาปี 2535โจทก์ทั้งสองได้ทราบความจริงจึงได้แจ้งให้จำเลยทราบ และขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและสิ่งของต่าง ๆ ที่รุกล้ำอยู่ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นเนื้อที่ 13 ตารางวา ออกไป จำเลยได้เจรจาขอซื้อที่ดิน 13 ตารางวา แต่ไม่สามารถตกลงราคากันได้การที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยจึงต้องรื้อถอนมุมเสาบ้าน ชายกันสาด โรงรถ และสิ่งของต่าง ๆ ที่ยังรุกล้ำอยู่ออกไปเสียจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โดยจะให้โจทก์ทั้งสองจดทะเบียนเป็นภารจำยอมไม่ได้หากฟังได้ว่าจำเลยสร้างบ้านรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยสุจริต จำเลยก็มีสิทธิเพียงขอให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมได้เฉพาะในส่วนที่เป็นโรงเรือนคือมุมเสาบ้านและชายกันสาดที่รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง เนื้อที่ประมาณ 1 ตารางวา เท่านั้น ส่วนโรงรถและสิ่งของต่าง ๆ ที่วางอยู่ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองอีก 12 ตารางวา นั้น ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรือนที่รุกล้ำ จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 จำเลยจึงต้องรื้อถอนโรงรถและสิ่งของต่าง ๆ ที่ยังรุกล้ำอยู่ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองออกไป จะขอบังคับให้โจทก์ทั้งสองจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินเนื้อที่ทั้ง 13 ตารางวา หาได้ไม่ ที่จำเลยยินยอมเสียค่าใช้ที่ดินตอบแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นรายปี ปีละ 5,000 บาท นั้นหากโจทก์ทั้งสองจะต้องจดทะเบียนเป็นภารจำยอมให้แก่จำเลยในส่วนที่ได้มีการรุกล้ำ โจทก์ทั้งสองจำต้องไถ่ถอนจำนองที่ดินซึ่งติดจำนองอยู่แก่ธนาคาร ซึ่งตามระเบียบของธนาคารจะไม่รับจำนองที่ดินที่ติดภาระผูกพันต่าง ๆ ซึ่งในส่วนนี้ย่อมทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย ต้องเสียดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายจากการใช้ที่ดินของจำเลย ที่ให้โจทก์ทั้งสองต้องจดทะเบียนที่ดินเป็นภารจำยอมในส่วนที่จำเลยจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายที่จำเลยได้รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ค่าใช้ที่ดินในส่วนนี้โจทก์ทั้งสองขอให้จำเลยชำระให้เป็นรายเดือนเดือนละ 10,000 บาททั้งคดีเดิมโจทก์ทั้งสองได้ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น ตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 12897/2537 ในประเด็นพิพาทอันเป็นสาระสำคัญอย่างเดียวกันและจำเลยได้ขาดนัดยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้นัดสืบพยานโจทก์ทั้งสองแล้ว แต่จำเลยกลับนำคำให้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับมายื่นฟ้องเป็นคดีนี้ ฟ้องของจำเลยในคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองจดทะเบียนภารจำยอมแก่จำเลยในที่ดินโฉนดเลขที่ 75830 เลขที่ดิน 3533 ตำบลลาดพร้าวอำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เฉพาะส่วนที่โรงเรือนเลขที่ 2/55ของจำเลยรุกล้ำเข้าไปคิดเป็นเนื้อที่ 13 ตารางวา โดยประมาณโดยให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ทั้งสองเป็นรายปี ปีละ 40,000บาท หากโจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ทั้งสอง คำขอของโจทก์ทั้งสองให้ยก

โจทก์ทั้งสองและจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์ทั้งสองไปจดทะเบียนภารจำยอมให้จำเลยเฉพาะส่วนที่โรงเรือนเลขที่ 2/55 ของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โดยให้วัดเป็นแนวดิ่ง ตามแนวชายคาหรือส่วนใดส่วนหนึ่งที่ยื่นล้ำออกจากตัวโรงเรือน ตั้งฉากกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองยาวตลอดแนวที่ปลูกสร้างรุกล้ำ ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนภารจำยอมให้จำเลยเป็นผู้ชำระ กับให้จำเลยรื้อถอนแท็งก์น้ำ ปั๊มน้ำ ท่อน้ำประปาโรงรถ และสิ่งของอื่นออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินตามส่วนของที่ดินที่ตกเป็นภารจำยอมตารางวาละ 2,500 บาท ต่อปี แก่โจทก์ทั้งสอง นับแต่วันฟ้องจนกว่าโรงเรือน ส่วนที่รุกล้ำจะสลายไป นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 75830 ตำบลลาดพร้าว อำเภอบางกะปิกรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1 งาน 3 ตารางวา ส่วนจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 75831 ซึ่งมีเขตที่ดินติดต่อกับที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยได้สร้างโรงรถ เดินท่อน้ำประปาและทำปั๊มน้ำ แท็งก์น้ำ ไว้ในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง คิดเป็นเนื้อที่13 ตารางวา กับสร้างบ้านซึ่งมีบางส่วนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวนั้นด้วยโดยสุจริต

คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยประการแรกว่า สิ่งปลูกสร้างและสิ่งของต่าง ๆ เช่น โรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำและแท็งก์น้ำ นอกจากตัวบ้านที่รุกล้ำ จำเลยจะต้องรื้อถอนออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 บัญญัติว่า บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินนั้น และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าสร้างโรงเรือน ซึ่งย่อมหมายถึงสร้างบ้านสำหรับอยู่อาศัยดังนั้น โรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำ และแท็งก์น้ำ จึงมิใช่โรงเรือนตามความหมายของบทบัญญัติมาตรานี้ และไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงเรือนด้วย แม้จำเลยจะสร้างหรือทำโดยสุจริต ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1312 ดังกล่าวจำเลยต้องรื้อถอนออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง

ปัญหาต่อไปมีว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้โจทก์ทั้งสองไปจดทะเบียนภารจำยอมให้จำเลยเฉพาะส่วนที่โรงเรือนเลขที่ 2/55ของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยให้วัดเป็นแนวดิ่ง ตามแนวชายคาหรือส่วนใดส่วนหนึ่งที่ยื่นล้ำออกจากตัวโรงเรือน ตั้งฉากกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองยาวตลอดแนวที่ปลูกสร้างรุกล้ำนั้นชอบหรือไม่ เห็นว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้กำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนภารจำยอมไว้ชัดแจ้งแล้วไม่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยซึ่งจะต้องตกลงกันอีกแต่อย่างใด ดังที่จำเลยฎีกา และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 นั้น ย่อมหมายถึงให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่รุกล้ำเท่านั้นไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของผู้อื่นอีก 2 เมตร โดยวัดจากตัวโรงเรือนส่วนที่รุกล้ำเข้าไป แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 74กำหนดให้อาคารที่ปลูกในที่ดินเอกชนให้ผนังด้านที่มีหน้าต่างประตูหรือช่องระบายอากาศอยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตร ก็ตาม ก็เป็นกรณีที่ผู้ปลูกสร้างอาคารจะต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร แต่กรณีของจำเลยเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวจึงไม่มีผลให้โจทก์ทั้งสองต้องผูกพันในการกระทำของจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินของโจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยเป็นเนื้อที่ถึง 13 ตารางวาตามที่จำเลยฎีกา

ปัญหาประการสุดท้ายมีว่า ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ โดยมิได้สั่งค่าทนายความให้เป็นพับด้วยนั้นมีผลให้จำเลยจะต้องใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคสอง บัญญัติว่าถ้ามิได้ระบุค่าฤชาธรรมเนียมชนิดใดไว้โดยเฉพาะ ค่าฤชาธรรมเนียมนั้นให้รวมถึงค่าป่วยการพยานค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดีและค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย ดังนั้นคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ โดยมิได้สั่งค่าทนายความจึงรวมถึงค่าทนายความทั้งสองศาลให้เป็นพับด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว

พิพากษายืน

มาตรา 161 ภายใต้บังคับบทบัญญัติห้ามาตราต่อไปนี้ ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีเป็นผู้รับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือแต่บางส่วนศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีนั้นรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือให้คู่ความแต่ละฝ่ายรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนของตนหรือตามส่วนแห่งค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งคู่ความทุกฝ่ายได้เสียไปก่อนได้ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี

คดีที่ไม่มีข้อพิพาทให้ฝ่ายเริ่มคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียม (แก้ไข*ฉบับที่ 24* พ.ศ. 2551)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2537

จำเลยสร้างบ้านจนถึงขั้นทำคานชั้นบนเสร็จแล้วจึงทราบว่าบ้านได้ก่อสร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยยังขืนสร้างต่อไปจนเสร็จ ถือได้ว่าจำเลยได้ก่อสร้างบ้านในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1311

โจทก์ฟ้อง ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสามรื้อถอนอาคารบ้านพักครูสองหลังครึ่งออกไปจากที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 55 แล้วส่งมอบให้โจทก์ โดยห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทอีกต่อไป และให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้อง 100,407 บาท กับค่าเสียหายอีกเป็นรายเดือนเดือนละ 180 บาทนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรื้อบ้านพักครูและส่งมอบที่ดินคืนให้โจทก์

จำเลยทั้งสามให้การว่า จำเลยที่ 1 ได้เช่าที่ดินของกรมการศาสนา แปลงโฉนดเลขที่ 4302 เพื่อสร้างโรงเรียนและบ้านพักครูซึ่งอยู่ในสังกัดจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมดูแลและจัดการก่อสร้างที่ดินบริเวณส่วนที่มีการก่อสร้างบ้านพักครู 2 หลังครึ่งรุกล้ำจากเขตที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1เช่าไว้นั้น เป็นที่ดินของกรมการศาสนา โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 รื้อถอนบ้านพักครู2 หลัง ที่ปลูกสร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 55 ออกไปจากที่ดินของโจทก์โดยห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินส่วนดังกล่าวอีกต่อไป และให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 180 บาท นับแต่วันที่ 16 พฤษภาคม2525 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะรื้อบ้านพักครูทั้งสองหลังนั้นและส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ส่วนอื่นให้ยกเสีย

จำเลยที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยที่ 1 และที่ 3 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปรากฏว่าศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เฉพาะข้อกฎหมาย ส่วนข้อเท็จจริงไม่รับเพราะเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองดังนั้นในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินที่จำเลยที่ 1เช่าวัดกลางสวนในบริเวณที่ใช้ปลูกบ้านพักครู มิได้อยู่ในเขตที่ดินของวัดกลางสวนแต่อยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 55 ของโจทก์ บ้านพักครูหลังแรกนั้นได้สร้างขึ้นในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต ส่วนหลังที่ 2และหลังที่ 3 นั้นได้สร้างขึ้นโดยจำเลยที่ 3 เข้าใจว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของกรมการศาสนา แต่ในขณะที่บ้านพักครูหลังที่ 2และที่ 3 ยังสร้างไม่เสร็จ จำเลยที่ 3 ได้ทราบแล้วว่าบ้านพักครูหลังที่ 2 และที่ 3 สร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยที่ 3ก็ได้ทำการก่อสร้างต่อไปจนแล้วเสร็จ ปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีว่า การปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตนั้น จะถือเอาความสุจริตในขณะลงมือก่อสร้างจนถึงขั้นที่ไม่อาจรื้อถอนได้โดยใช้เงินพอสมควรเพราะได้ทำคานชั้นบนเสร็จแล้ว หรือจะต้องเป็นการกระทำโดยสุจริตตั้งแต่ลงมือก่อสร้างจนกระทั่งสร้างเสร็จสมบูรณ์ศาลฎีกาเห็นว่า การที่จำเลยที่ 3 สร้างบ้านพักครูหลังที่ 2และที่ 3 ไปจนถึงขั้นทำคานชั้นบนเสร็จแล้วจำเลยที่ 3 จึงทราบว่าบ้านพักครูหลังที่ 2 และที่ 3 ได้ก่อสร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์แต่จำเลยที่ 3 ยังขืนสร้างต่อไปจนเสร็จนั้นถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้ก่อสร้างบ้านพักครู 2 หลังนี้ในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1311

พิพากษายืน

มาตรา 1310 บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้น ๆ แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดิน เพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง

แต่ถ้าเจ้าของที่ดินสามารถแสดงได้ว่า มิได้มีความประมาทเลินเล่อ จะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และ ทำที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้ เว้นไว้แต่ถ้าการนี้จะทำไม่ได้โดยใช้เงิน พอควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมด หรือแต่บางส่วนตามราคาตลาดก็ได้

มาตรา 1311 บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของ เว้นแต่เจ้าของ จะเลือกให้ส่งคืนตามที่เป็นอยู่ ในกรณีเช่นนี้เจ้าของที่ดินต้องใช้ราคาโรงเรือน หรือใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้น แล้วแต่จะเลือก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5182/2546

ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องและเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3)(5) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง จึงเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา 18 วรรคห้า คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 227 และ 228 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้รับฟ้องแย้งได้

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนบนที่ดินของจำเลยและสร้างรั้วคอนกรีตล้อมรอบรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ ขอให้จำเลยรื้อถอนรั้วคอนกรีตและอาคารที่รุกล้ำออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารและรั้วคอนกรีตโดยสุจริตจึงขอให้โจทก์จดทะเบียนโอนขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำให้แก่จำเลยในราคา 100,000 บาทหากโจทก์ไม่ยอมก็ขอให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิภารจำยอมให้แก่จำเลย โดยจำเลยยอมเสียเงินเป็นค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์ 100,000 บาท ดังนี้หากฟังได้ว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารและรั้วคอนกรีตรุกล้ำโดยสุจริตหรือฟังได้ด้วยว่ารั้วคอนกรีตติดตรึงเป็นส่วนหนึ่งของอาคารโรงเรือน จำเลยก็มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312ไม่ต้องรื้อถอนโรงเรือนส่วนที่รุกล้ำ แต่ต้องเสียค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมโดยตรง ชอบที่จะรับฟ้องแย้งไว้พิจารณาพิพากษา

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 47243 จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 47244 อยู่ติดที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนบ้านเลขที่ 95/87 บนที่ดินของจำเลย และสร้างรั้วคอนกรีตล้อมรอบอาคารโรงเรือนปรากฏว่าการก่อสร้างของจำเลยรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ยาวตลอดแนวที่ดินจากทิศเหนือจรดทิศใต้ คิดเป็นเนื้อที่ดินของโจทก์ที่ถูกรุกล้ำประมาณ 26 ตารางวา เป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิและไม่สุจริต ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วคอนกรีตและอาคารโรงเรือนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ ให้จำเลยทำที่ดินของโจทก์ให้เป็นไปตามเดิมโดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย และห้ามจำเลยไม่ให้เกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ หากจำเลยไม่รื้อรั้วคอนกรีตและอาคารโรงเรือนที่รุกล้ำออกไป ให้โจทก์จ้างผู้อื่นรื้อถอนและทำที่ดินให้เป็นไปตามเดิม โดยให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่าย ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์อัตราเดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนรั้วคอนกรีตและอาคารโรงเรือนที่รุกล้ำออกไปเสร็จ

จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยซื้อที่ดินตามฟ้องจากบริษัทกรีนวัลเล่เรียลเอสเตท จำกัด เมื่อปี 2532 เวลานั้นมีแต่หลักไม้ทาสีแดงเพื่อแสดงแนวเขตที่ดินเท่านั้นต่อมาจำเลยว่าจ้างให้ผู้รับเหมาดำเนินการก่อสร้างบ้านในที่ดินของจำเลย โดยอาศัยแนวเขตที่ดินตามที่บริษัทกรีนวัลเล่เรียลเอสเตท จำกัด ปักหลักไม้ทาสีแดงไว้ จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าปลูกสร้างโรงเรือนและรั้วในที่ดินของจำเลย ภายหลังจากที่จำเลยก่อสร้างบ้านรั้วคอนกรีตเรียบร้อยแล้วจำเลยเคยขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการรังวัดสอบเขตที่ดินเมื่อปี 2534 จึงทราบว่าแนวเขตตามหลักไม้ทาสีแดงที่บริษัทกรีนวัลเล่เรียลเอสเตท จำกัด ปักไว้นั้นล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ บริษัทกรีนวัลเล่เรียลเอสเตท จำกัดเคยแจ้งให้โจทก์และจำเลยไปตกลงกัน แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบตามกำหนดนัด จึงยังไม่สามารถตกลงกันได้ ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมานั้นสูงเกินจริงเพราะที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า หากคิดค่าเสียหายไม่ควรจะเกินเดือนละ 500 บาท ขอให้ยกฟ้องและบังคับโจทก์ขายที่ดินส่วนพิพาทให้แก่จำเลยในราคา 100,000 บาท หากโจทก์ไม่ขายให้โจทก์รับเงินค่าใช้ที่ดินจำนวน 100,000 บาท และจดทะเบียนสิทธิภารจำยอมให้แก่จำเลย

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยว่าเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข จึงไม่รับฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนรั้วคอนกรีตและอาคารโรงเรือนส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ ให้จำเลยทำที่ดินของโจทก์ให้เป็นตามเดิม โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 150,000 บาท

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีอำนาจพิจารณาพิพากษาให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาพิพากษาได้หรือไม่ เห็นว่า ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องและเป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3)(5) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งจึงเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคห้า คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 227 และ 228 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้รับฟ้องแย้งได้ ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ต่อไปมีว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้หรือไม่ สำหรับปัญหาดังกล่าวนั้น โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 47243 ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี (บางพลีใหญ่) จังหวัดสมุทรปราการ จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 47244อยู่ติดที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันตก จำเลยปลูกสร้างโรงเรืยนบ้านเลขที่ 95/87 บนที่ดินของจำเลยและสร้างรั้วคอนกรีตล้อมรอบอาคารโรงเรือน แต่ปรากฏว่าการก่อสร้างดังกล่าวของจำเลยรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ยาวตลอดแนวที่ดินจากทิศเหนือจรดทิศใต้คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 26 ตารางวา เป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิและไม่สุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนรั้วคอนกรีตและอาคารที่รุกล้ำออกไปจากที่ดินของโจทก์ ให้จำเลยทำที่ดินให้เป็นไปตามเดิมโดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจากบริษัทกรีนวัลเล่เรียลเอสเตทจำกัด เมื่อปี 2532 ขณะนั้นมีหลักไม้ทาสีแดงเป็นแนวเขตที่ดิน ต่อมาจำเลยได้ว่าจ้างให้ผู้รับเหมาก่อสร้างดำเนินการก่อสร้างบ้านในที่ดินของจำเลย โดยอาศัยแนวเขตที่ดินตามที่บริษัทกรีนวัลเล่เรียลเอสเตท จำกัด ปักหลักไม้ทาสีแดงไว้ ภายหลังจากที่จำเลยก่อสร้างบ้านและรั้วคอนกรีตเรียบร้อยแล้ว จำเลยขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการรังวัดสอบเขตที่ดินเมื่อปี 2534 จึงทราบว่าแนวเขตที่ดินตามหลักไม้ทาสีแดงที่บริษัทกรีนวัลเล่เรียลเอสเตท จำกัด ปักไว้นั้นล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ซึ่งบริษัทกรีนวัลเล่เรียลเอสเตท จำกัด ทราบแล้ว และแจ้งให้โจทก์และจำเลยไปตกลงกัน แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบตามกำหนดนัด จึงไม่สามารถตกลงกันได้และไม่ทราบว่ามีการรุกล้ำกันจริงหรือไม่ และจำเลยขอฟ้องแย้งโจทก์ว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารและรั้วคอนกรีตโดยสุจริตจึงขอให้โจทก์จดทะเบียนโอนขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำให้แก่จำเลยในราคา 100,000 บาท หากโจทก์ไม่ยอมจำเลยก็ขอให้โจทก์จดทะเบียนสิทธิภารจำยอมในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โดยจำเลยยอมเสียเงินเป็นค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท นั้น เห็นว่าตามประเด็นข้อพิพาทที่ว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนและรั้วคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารและรั้วคอนกรีตรุกล้ำโดยสุจริตหรือฟังได้ด้วยว่ารั้วคอนกรีตติดตรึงเป็นส่วนหนึ่งของอาคารโรงเรือน จำเลยก็มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ไม่ต้องรื้อถอนโรงเรือน ส่วนที่รุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ต้องเสียค่าใช้ที่ดินให้แก่โจทก์และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมได้ตามที่จำเลยมีคำขอบังคับตามฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมโดยตรงชอบที่จะต้องรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาชอบแล้ว ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน"

พิพากษายืน

มาตรา 1 ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็น อย่างอื่น
(1) ศาล หมายความว่า ศาลยุติธรรมหรือผู้พิพากษาที่มี อำนาจพิจารณาคดีแพ่ง
(2) คดี หมายความว่า กระบวนพิจารณานับตั้งแต่เสนอคำฟ้อง ต่อศาลเพื่อขอให้รับรองคุ้มครองบังคับตาม หรือเพื่อการใช้ซึ่งสิทธิ์ หรือหน้าที่
(3) คำฟ้อง หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้ เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะได้เสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะได้เสนอชั้นต้นหรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาไม่ว่าจะได้เสนอใน ขณะที่เริ่มคดี โดยคำฟ้องคำร้องขอ หรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้อง เพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วย การสมัครใจหรือถูกบังคับหรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่
(4) คำให้การ หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ซึ่ง คู่ความฝ่ายหนึ่งยกข้อต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ นอกจากคำแถลงการณ์
(5) คำคู่ความ หมายความว่า บรรดาคำฟ้อง คำให้การ หรือคำ ร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาลเพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ
(6) คำแถลงการณ์ หมายความว่า คำแถลงด้วยวาจาหรือเป็น หนังสือซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งกระทำหรือยื่นต่อศาล ด้วยมุ่งหมายที่จะ เสนอความเห็นต่อศาลในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคำคู่ความ หรือในปัญหาข้อใดที่ศาลจะพึงมีคำสั่งหรือคำพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้ คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่แสดง หรือกล่าวทบทวน หรือยืนยัน หรืออธิบาย ข้อความแห่งคำพยานหลักฐานและปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง ทั้งปวง คำแถลงการณ์อาจรวมอยู่ในคำคู่ความ
(7) กระบวนพิจารณา หมายความว่า การกระทำใด ๆ ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้อันเกี่ยวด้วยคดี ซึ่งได้กระทำไป โดยคู่ความในคดีนั้นหรือโดยศาล หรือคำสั่งของศาล ไม่ว่าการนั้นจะ เป็นโดยคู่ความฝ่ายใดทำต่อศาลหรือต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือ ศาลทำต่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่าย และรวมถึงการส่ง คำคู่ความและเอกสารอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้
(8) การพิจารณา หมายความว่า กระบวนพิจารณาทั้งหมดใน ศาลใดศาลหนึ่ง ก่อนศาลนั้นชี้ขาดตัดสินหรือจำหน่ายคดีโดยคำ พิพากษาหรือคำสั่ง
(9) การนั่งพิจารณา หมายความว่า การที่ศาลออกนั่งเกี่ยวกับ การพิจารณาคดี เช่น ชี้สองสถาน สืบพยาน ทำการไต่สวน ฟังคำ ขอต่าง ๆ และฟังคำแถลงการณ์ด้วยวาจา
(10) วันสืบพยาน หมายความว่า วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบ พยาน
(11) คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้อง ต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณา ให้รวมถึง บุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะ ทนายความ
(12) บุคคลผู้ไร้ความสามารถ หมายความว่า บุคคลใด ๆ ซึ่ง ไม่มีความสามารถตามกฎหมาย หรือความสามารถถูกจำกัด โดย บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ
(13) ผู้แทนโดยชอบธรรม หมายความว่า บุคคลซึ่งตามกฎหมาย มีสิทธิที่จะทำการแทนบุคคลไร้ความสามารถ หรือเป็นบุคคลที่จะต้อง ให้คำอนุญาตหรือให้ความยินยอมแก่ผู้ไร้ความสามารถในอันที่จะ กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
(14) เจ้าพนักงานบังคับคดี หมายความว่า เจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีหรือพนักงานอื่นผู้มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้อยู่ ในอันที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและให้หมายความรวมถึงบุคคล ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ปฏิบัติการแทน

มาตรา 18 ให้ศาลมีอำนาจที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ของศาลได้รับไว้เพื่อยื่นต่อศาล หรือส่งให้แก่คู่ความ หรือบุคคลใด ๆ

ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้ยื่นไว้ดังกล่าวแล้วนั้น อ่านไม่ออก หรืออ่านไม่เข้าใจหรือการเขียนฟุ่มเฟือยเกินไป หรือไม่มีรายการ ไม่มีลายมือชื่อ ไม่แนบเอกสารต่าง ๆ ตามที่กฎหมายต้องการ หรือมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วน ศาลจะมีคำสั่งให้คืนคำคู่ความนั้นไปให้ทำมาใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติม หรือชำระ หรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน ระยะเวลาและกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตลอดจนเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ตามที่ศาลเห็นสมควรก็ได้ ถ้ามิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาล ในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำคู่ความนั้น

ถ้าศาลเห็นว่าคำคู่ความที่ได้นำมายื่นดั่งกล่าวข้างต้นมิได้เป็นไป ตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายที่บังคับไว้ นอกจากที่กล่าวมาในวรรคก่อน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเห็นว่าสิทธิของคู่ความหรือบุคคล ซึ่งยื่นคำคู่ความนั้นได้ถูกจำกัดห้ามโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เรื่องเขตอำนาจศาล ก็ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความนั้นไป เพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ

ถ้าไม่มีข้อขัดดังกล่าวแล้ว ก็ให้ศาลจดแจ้งแสดงการรับคำคู่ความ นั้นไว้บนคำคู่ความนั้นเองหรือในที่อื่น

คำสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความตาม มาตรานี้ ให้อุทธรณ์ และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 227 มาตรา 228 และ มาตรา 247

มาตรา 227 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความ ตาม มาตรา 18 หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตาม มาตรา 24 ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องนั้น มิให้ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่าง พิจารณาและให้อยู่ภายในข้อบังคับของการอุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี

มาตรา 228 ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคำสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) ให้กักขัง หรือปรับไหม หรือจำขังผู้ใด ตามประมวลกฎหมายนี้
(2) มีคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความใน ระหว่างการพิจารณา หรือมีคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อจะบังคับคดี ตามคำพิพากษาต่อไป หรือ
(3) ไม่รับหรือคืนคำคู่ความตาม มาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาด เบื้องต้นตาม มาตรา 24 ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หาก เสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ

คำสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันมีคำสั่งเป็นต้นไป

แม้ถึงว่าจะมีอุทธรณ์ในระหว่างพิจารณา ให้ศาลดำเนินคดีต่อไป และมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้นแต่ถ้าในระหว่าง พิจารณาคู่ความอุทธรณ์คำสั่งชนิดที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (3) ถ้าศาล อุทธรณ์เห็นว่าการกลับหรือแก้ไขคำสั่งที่คู่ความอุทธรณ์นั้นจะเป็น การวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อใดที่ศาลล่างมิได้ วินิจฉัยไว้ ให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจทำคำสั่งให้ศาลล่างงดการพิจารณา ไว้ในระหว่างอุทธรณ์ หรืองดการวินิจฉัยคดีไว้จนกว่าศาลอุทธรณ์จะ ได้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์นั้น

ถ้าคู่ความมิได้อุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรานี้ ก็ให้อุทธรณ์ได้ในเมื่อศาลพิพากษาคดีแล้วตามความใน มาตรา 223




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 55(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

การโอนสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
สิทธิไถ่ถอนการขายฝาก
จำนองครอบไปถึงทรัพย์หมดทุกส่วน
ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด