ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ข้อ 10. สมาคมกีฬาไทย ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร สร้างสรรค์เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง มอบเป็นรางวัลแก่นักกีฬาซึ่งชนะการแข่งขันได้อันดับ 1 ถึงอันดับ 3 ในกีฬาประเภทต่าง ๆ ประจำปี 2547 เป็นเหรียญทรงกลมรูปนกกางปีกถลาร่อน ซึ่งสวยงามมาก หนึ่งเดือนต่อมา นายวัฒนา ผลิตเหรียญซึ่งมีลักษณะเหมือนกับเหรียญรางวัลดังกล่าวจำนวน 10,000 เหรียญ ออกจำหน่ายโดยพลการ และยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า BOISE (อ่านว่า บอย-ซี) ซึ่งเขียนด้วยลวดลายพิเศษ เพื่อใช้กับสินค้าเหรียญที่ระลึกชนิดต่าง ๆ โดยติดเครื่องหมายการค้าดังกล่าวที่ซองบรรจุเหรียญ ส่วนคำว่า BOISE เป็นชื่อเมืองหลวงของมลรัฐ ไอดาโฮ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นชื่อเมืองที่ประชาชนทั่วไปไม่รู้จัก แต่ไม่ซ้ำหรือใกล้เคียงกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น

ให้วินิจฉัยว่า การกระทำของนายวัฒนา เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใดหรือไม่ และจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า BOISE ได้หรือไม่

ธงคำตอบ

เหรียญรางวัลทรงกลมรูปนกเป็นงานประติมากรรม เมื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงาน จึงเป็นงานศิลปประยุกต์ ซึ่งเป็นศิลปกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของสมาคมกีฬาไทย การที่นายวัฒนาผลิตเหรียญที่มีลักษณะเหมือนกับเหรียญรางวัลดังกล่าวออกจำหน่ายโดยพลการเป็นการลอกเลียนแบบในส่วนสาระสำคัญของงาน อันเป็นการทำซ้ำและเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตภายในอายุการคุ้มครอง จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ของสมาคมกีฬาไทยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 4 วรรคหก (7) วรรคสิบสาม และวรรคสิบห้า มาตรา 22 มาตรา 27 (1) และ (2)

คำว่า BOISE เป็นเครื่องหมายคำที่เป็นชื่อเมืองหลวงของมลรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ใช่ชื่อเมืองหลวงในประเทศดังกล่าว อันจะถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ (คำพิพากษาฎีกาที่ 2802/2546) ส่วนชื่อเมืองซึ่งเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ ที่จะไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ จะต้องเป็นชื่อเมืองที่ประชาชนทั่วไปรู้จัก แต่ BOISE เป็นชื่อเมืองที่ประชาชนทั่วไปไม่รู้จัก จึงเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) ประกอบประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2535) เรื่องการกำหนดชื่อทางภูมิศาสตร์ ตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ลงวันที่ 22 มกราคม 2535 ข้อ 4 และ 5 ทั้งเป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้จดทะเบียน และไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตา 8 และมาตรา 13 นายวัฒนา จึงขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า BOISE เพื่อใช้กับสินค้าเหรียญที่ระลึกได้

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

"ผู้สร้างสรรค์" หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใด อย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้

"ลิขสิทธิ์" หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น

"วรรณกรรม" หมายความว่า งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย

"โปรแกรมคอมพิวเตอร์" หมายความว่า คำสั่ง ชุดคำสั่งหรือสิ่งอื่นใด ที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผล อย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด

"นาฏกรรม" หมายความว่า งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือ การแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และให้หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย

"ศิลปกรรม" หมายความว่า งานอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือ หลายอย่างดังต่อไปนี้
(1) งานจิตรกรรม ได้แก่งานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบด้วยเส้น แสง สี หรือสิ่งอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ลงบนวัสดุอย่างเดียว หรือหลายอย่าง
(2) งานประติมากรรม ได้แก่งานสร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับปริมาตร ที่สัมผัสและจับต้องได้
(3) งานภาพพิมพ์ ได้แก่งานสร้างสรรค์ภาพด้วยกรรมวิธีทางการพิมพ์ และหมายความรวมถึงแม่พิมพ์หรือแบบพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์ด้วย
(4) งานสถาปัตยกรรม ได้แก่งานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง งานออกแบบตกแต่งภายในหรือภายนอก ตลอดจนบริเวณของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างหรือ การสร้างสรรค์หุ่นจำลองของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
(5) งานภาพถ่าย ได้แก่งานสร้างสรรค์ภาพที่เกิดจากการใช้เครื่องมือ บันทึกภาพโดยให้แสงผ่านเลนซ์ไปยังฟิล์มหรือกระจก และล้างด้วยน้ำยาซึ่งมีสูตรเฉพาะ หรือด้วยกรรมวิธีใด ๆ อันทำให้เกิดภาพขึ้น หรือการบันทึกภาพโดยเครื่องมือหรือวิธีการ อย่างอื่น
(6) งานภาพประกอบ แผนที่ โครงสร้าง ภาพร่าง หรืองานสร้างสรรค์ รูปทรงสามมิติอันเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์
(7) งานศิลปประยุกต์ ได้แก่งานที่นำเอางานตาม (1) ถึง (6) อย่างใด อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น นอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่า ของตัวงานดังกล่าวนั้น เช่น นำไปใช้สอย นำไปตกแต่งวัสดุหรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้ หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า
ทั้งนี้ ไม่ว่างานตาม (1) ถึง (7) จะมีคุณค่าทางศิลปะหรือไม่ และให้ หมายความรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย

"ดนตรีกรรม" หมายความว่า งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลง หรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และให้หมายความรวมถึง โน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว

"โสตทัศนวัสดุ" หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพโดยบันทึก ลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างใด อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก โดยใช้เครื่องมือ ที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย ถ้ามี

"ภาพยนตร์" หมายความว่า โสตทัศนวัสดุอันประกอบด้วยลำดับของภาพ ซึ่งสามารถนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์หรือสามารถบันทึกลงบนวัสดุอื่น เพื่อนำออก ฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์ และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์นั้นด้วย ถ้ามี

"สิ่งบันทึกเสียง" หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของเสียงดนตรี เสียงการแสดง หรือเสียงอื่นใด โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใด ๆ อันสามารถที่จะ นำมาเล่นซ้ำได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น แต่ทั้งนี้มิให้หมายความ รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น

"นักแสดง" หมายความว่า ผู้แสดง นักดนตรี นักร้อง นักเต้น นักรำ และผู้ซึ่ง แสดงท่าทาง ร้อง กล่าว พากย์ แสดงตามบทหรือในลักษณะอื่นใด

"งานแพร่เสียงแพร่ภาพ" หมายความว่า งานที่นำออกสู่สาธารณชนโดย การแพร่เสียงทางวิทยุกระจายเสียง การแพร่เสียงและหรือภาพทางวิทยุโทรทัศน์หรือ โดยวิธีอย่างอื่นอันคล้ายคลึงกัน

"ทำซ้ำ" หมายความรวมถึง คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จากต้นฉบับ จากสำเนา หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับ ในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

"ดัดแปลง" หมายความว่า ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(1) ในส่วนที่เกี่ยวกับวรรณกรรม ให้หมายความรวมถึง แปลวรรณกรรม เปลี่ยนรูปวรรณกรรมหรือรวบรวมวรรณกรรมโดยคัดเลือกและจัดลำดับใหม่
(2) ในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้หมายความรวมถึง ทำซ้ำ โดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำขึ้นใหม่
(3) ในส่วนที่เกี่ยวกับนาฏกรรม ให้หมายความรวมถึง เปลี่ยนงานที่มิใช่ นาฏกรรมให้เป็นนาฏกรรม หรือเปลี่ยนนาฏกรรมให้เป็นงานที่มิใช่นาฏกรรม ทั้งนี้ ไม่ว่า ในภาษาเดิมหรือต่างภาษากัน
(4) ในส่วนที่เกี่ยวกับศิลปกรรม ให้หมายความรวมถึง เปลี่ยนงานที่เป็น รูปสองมิติหรือสามมิติ ให้เป็นรูปสามมิติหรือสองมิติ หรือทำหุ่นจำลองจากงานต้นฉบับ
(5) ในส่วนที่เกี่ยวกับดนตรีกรรม ให้หมายความรวมถึง จัดลำดับเรียบเรียง เสียงประสานหรือเปลี่ยนคำร้องหรือทำนองใหม่

"เผยแพร่ต่อสาธารณชน" หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและ หรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น

"การโฆษณา" หมายความว่า การนำสำเนาจำลองของงานไม่ว่าในรูป หรือลักษณะอย่างใดที่ทำขึ้นโดยความยินยอมของผู้สร้างสรรค์ออกจำหน่าย โดยสำเนา จำลองนั้นมีปรากฏต่อสาธารณชนเป็นจำนวนมากพอสมควรตามสภาพของงานนั้น แต่ทั้งนี้ไม่หมายความรวมถึง การแสดงหรือการทำให้ปรากฏซึ่งนาฏกรรม ดนตรีกรรม หรือภาพยนตร์ การบรรยายหรือการปาฐกถา ซึ่งวรรณกรรม การแพร่เสียงแพร่ภาพ เกี่ยวกับงานใด การนำศิลปกรรมออกแสดงและการก่อสร้างงานสถาปัตยกรรม

"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้

"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา และให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญามอบหมายด้วย

"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการลิขสิทธิ์

"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 มาตรา 22 "ลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุยี่สิบห้าปีนับแต่ได้สร้างสรรค์ งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุ ยี่สิบห้าปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก "

มาตรา 27 "การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม มาตรา 15 (5) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำ ดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน "

 พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534

มาตรา 7 เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น

เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ

(1) ชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือชื่อในทางการค้าที่แสดงโดยลักษณะพิเศษและไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

(2) คำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

(3) กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ หรือตัวหนังสือ ตัวเลข หรือคำที่ประดิษฐ์ขึ้น

(4) ลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียนหรือของเจ้าของเดิมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียน หรือลายมือชื่อของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว

(5) ภาพของผู้ขอจดทะเบียนหรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว หรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วโดยได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น ถ้ามี แล้ว

(6) ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น

ชื่อ คำ หรือข้อความที่ไม่มีลักษณะตาม (1) หรือ (2) หากได้มีการจำหน่ายเผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้ว ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ก็ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ

 มาตรา 8 เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้รับจดทะเบียน

(1) ตราแผ่นดิน พระราชลัญจกร ลัญจกรในราชการ ตราจักรี
ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตราประจำตำแหน่ง ตราประจำกระทรวง ทบวง กรม หรือตราประจำจังหวัด

(2) ธงชาติของประเทศไทย ธงพระอิสริยยศ หรือธงราชการ

(3) พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย พระปรมาภิไธยย่อ พระนามาภิไธยย่อ หรือนามพระราชวงศ์

(4) พระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือรัชทายาท

(5) ชื่อ คำ ข้อความ หรือเครื่องหมายใด อันแสดงถึงพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือพระราชวงศ์

(6) ธงชาติหรือเครื่องหมายประจำชาติของรัฐต่างประเทศ ธงหรือเครื่องหมายขององค์การระหว่างประเทศ ตราประจำประมุขของรัฐต่างประเทศ เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายควบคุมและรับรองคุณภาพสินค้าของรัฐต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ หรือชื่อและชื่อย่อของรัฐต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ของรัฐต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศนั้น

(7) เครื่องหมายราชการ เครื่องหมายกาชาด นามกาชาด หรือกาเจนีวา

(8) เครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายกับเหรียญ ใบสำคัญ หนังสือรับรองประกาศนียบัตร หรือเครื่องหมายอื่นใดอันได้รับเป็นรางวัลในการแสดงหรือประกวดสินค้าที่รัฐบาลไทย ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐของประเทศไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศได้จัดให้มีขึ้น เว้นแต่ผู้ขอจดทะเบียนจะได้รับเหรียญ ใบสำคัญ หนังสือรับรอง ประกาศนียบัตร หรือเครื่องหมายเช่นว่านั้น เป็นรางวัลสำหรับสินค้านั้น และใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้านั้น แต่ทั้งนี้ต้องระบุปีปฏิทินที่ได้รับรางวัลด้วย

(9) เครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย

(10) เครื่องหมายที่เหมือนกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด หรือคล้ายกับเครื่องหมายดังกล่าวจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม

(11) เครื่องหมายที่คล้ายกับ (1) (2) (3) (4) (5) (6) หรือ (7)

(12) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

(13) เครื่องหมายอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

 มาตรา 13 ภายใต้บังคับมาตรา 27 ในกรณีที่เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนั้น นายทะเบียนเห็นว่า

(1) เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว หรือ

(2) เป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้า หรือแหล่งกำเนิดของสินค้า

ถ้าเป็นการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน หรือต่างจำพวกกันที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน ห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2546

พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ และของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ฯ มาตรา 3 ได้บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์และพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ฯมาตรา 3 กำหนดให้ส่วนงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่นและมาตรา 5 กำหนดให้ส่วนงานในสังกัดของจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าประกาศโฆษณาและการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และให้คำปรึกษาแนะนำและบริการเกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น การดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ จึงอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง นั้น มีความหมายเพียงว่าผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานอื่นอีกไม่ได้เท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกเป็นคดีนี้ได้ชื่อเมืองหลวงของประเทศและชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ ที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ แต่คำว่า "PHOENIX" ไม่ถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ เพราะเป็นเพียงชื่อเมืองหลวงของมลรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกามิใช่ชื่อเมืองหลวงของประเทศสหรัฐอเมริกา และจะถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ เสียทีเดียวหาได้ไม่ เพราะยังจะต้องพิจารณาในรายละเอียดว่าเป็นชื่อเมืองที่ประชาชนทั่วไปรู้จักหรือไม่ หากประชาชนทั่วไปไม่รู้จักแล้วก็ถือว่าเป็นชื่อที่มีลักษณะบ่งเฉพาะซึ่งไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนแม้โจทก์จะมิได้มีคำขอมาท้ายฟ้องขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย แต่ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องมีคำสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(5) และมาตรา 167 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมมาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนคำว่า "PHOENIX" เป็นเครื่องหมายการค้า จำเลยที่ 2 มีคำสั่งว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "PHOENIX" ของโจทก์ไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า แต่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำวินิจฉัยให้ยืนตามคำสั่งปฏิเสธของนายทะเบียนขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อรับจดทะเบียนต่อไป

จำเลยทั้งหกให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวมทั้งไม่มีอำนาจที่จะไปเพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เครื่องหมายการค้าคำว่า "PHOENIX" เป็นชื่อเมืองหลวงของรัฐอริโซนาประเทศสหรัฐอเมริกา นับว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ขอให้ยกฟ้อง

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า และให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า "PHOENIX" ของโจทก์ต่อไป

จำเลยทั้งหกอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า "มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ด้วยหรือไม่ ในปัญหาข้อนี้ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจบังคับให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาตรวจสอบคำขอของโจทก์ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจเพิกถอนคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารวมทั้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า เห็นว่า พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ และของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ฯ พ.ศ. 2535มาตรา 3 ได้บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์หรือของเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ และพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2535มาตรา 3 กำหนดให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น รวมทั้งดำเนินการด้านกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น และมาตรา 5 กำหนดให้กองตรวจสอบ 2 ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า กองทะเบียนและหนังสือสำคัญของจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการประกาศโฆษณาและการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา จัดเก็บเอกสารทางทะเบียน รวมทั้งออกหนังสือรับรองและต่ออายุทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และกองบริการและเผยแพร่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแนะนำและบริการเกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาและจัดทำสารบบและกำกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นไปตามกฎหมาย จากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เห็นได้ว่าการดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ที่เป็นข้อพิพาทกันในคดีนี้อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลยที่ 1 เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้งหมด จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อให้ร่วมรับผิดได้ทั้งนี้โดยเทียบเคียงแบบอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2541 ระหว่างนายสุรชาติ ฉวีวงศ์พงษ์เดช โจทก์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา จำเลย

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหกในประการต่อไปว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้เพราะคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าถึงที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 หรือไม่เห็นว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 นั้น มีความหมายเพียงว่า ผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อเจ้าพนักงานอื่นของฝ่ายบริหารต่อไปอีกไม่ได้เท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นคำวินิจฉัยที่โจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกเป็นคดีนี้ได้

มีปัญหาต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหกในประการสุดท้ายว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า "PHOENIX" ตามสำเนาคำขอจดทะเบียนเลขที่ 387011 เอกสารหมาย จ.3ของโจทก์ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะซึ่งไม่อาจรับจดทะเบียนได้หรือไม่ ปัญหาข้อนี้ปรากฏตามคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ในสำเนาคำขอจดทะเบียน เอกสารหมาย จ.3 ว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายที่ไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 6 เพราะเครื่องหมายคำว่า"PHOENIX" เป็นชื่อเมืองหลวงของรัฐอริโซนาในประเทศสหรัฐอเมริกานับว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7(2) และปรากฏตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 732/2543 เอกสารหมาย จ.16 ว่า คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว เห็นว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "PHOENIX" เป็นชื่อเมืองหลวงของรัฐอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา นับว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง(2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ประกอบประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2535) จึงไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 สำหรับหลักฐานที่โจทก์นำส่งเพื่อนำสืบลักษณะบ่งเฉพาะนั้นยังไม่อาจรับฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะ จึงมีมติยืนตามคำสั่งปฏิเสธของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และให้ยกอุทธรณ์เสีย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิจารณาแล้ว เห็นว่า สำหรับความหมายคำว่า "PHOENIX" ตามทางพิจารณาได้ความว่า หมายถึง นกในนิยายอยู่ในทะเลทรายอาระเบียซึ่งบินเข้ากองไฟและชุบชีวิตขึ้นใหม่ นอกจากนี้ยังหมายถึง ชื่อเมืองหลวงของรัฐอริโซนาในประเทศสหรัฐอเมริกาด้วยตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2535) เรื่อง การกำหนดชื่อทางภูมิศาสตร์ตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เอกสารหมาย จ.17ระบุว่า "ชื่อทางภูมิศาสตร์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534

1. ชื่อประเทศรวมทั้งเขตอิสระซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับประเทศ ชื่อกลุ่มประเทศที่รู้จักกันแพร่หลายหรือชื่อภูมิภาค

2. ชื่อทวีปหรืออนุทวีป

3. ชื่อมหาสมุทร

4. ชื่อเมืองหลวงของประเทศ

5. ชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ เช่น ชื่อเมืองท่า จังหวัด อำเภอ ตำบล มณฑล เกาะ ภูเขา แม่น้ำ ทะเลหรือทะเลสาป ที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จัก" ดังนั้น คำว่า "PHOENIX"จึงไม่ถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2535)ข้อ 4 เพราะเป็นเพียงชื่อเมืองหลวงของมลรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา มิใช่ชื่อเมืองหลวงของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ก็จะถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับดังกล่าวในข้อ 5 เสียทีเดียวหาได้ไม่ เพราะยังจะต้องพิจารณาในรายละเอียดว่าเป็นชื่อเมือง "ที่ประชาชนทั่วไปรู้จัก" หรือไม่ หากประชาชนทั่วไปไม่รู้จักแล้วย่อมไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2535) ข้อ 5 อันจะถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) ซึ่งต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 6 แต่ตามคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวข้างต้น ยังมิได้นำหลักเกณฑ์ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2535) ข้อ 5 ข้อที่ว่า ประชาชนทั่วไปรู้จักคำว่า "PHOENIX" เป็นชื่อเมืองหลวงของรัฐอริโซนาหรือไม่ ขึ้นพิจารณาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่จำเลยทั้งหกนำสืบและอุทธรณ์อ้างว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้พิจารณาปัญหาข้อนี้แล้วเห็นว่าเป็นชื่อเมืองโด่งดังที่ประชาชนทั่วไปรู้จักเพราะมีการแข่งขันอเมริกันฟุตบอลและบาสเกตบอลเอ็นบีเอ จึงมีสื่อมวลชนเสนอข่าวเมืองนี้อย่างแพร่หลายนั้นเป็นข้ออ้างที่ไม่อาจรับฟังได้ เพราะหากมีการพิจารณาปัญหาข้อนี้แล้วจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะไม่ระบุเหตุผลข้อนี้ให้ปรากฏในคำวินิจฉัยเอกสารหมาย จ.3 และ จ.16 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือที่ พณ 0704/6551 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 732/2543 ที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "PHOENIX" ของโจทก์และให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "PHOENIX" ของโจทก์ตามคำขอเลขที่ 387011ต่อไปนั้น จึงต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ อุทธรณ์ทุกข้อของจำเลยทั้งหกฟังไม่ขึ้น

อนึ่ง คดีนี้แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอมาท้ายฟ้องขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย แต่ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องมีคำสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 141(5) และมาตรา 167 บัญญัติไว้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมมาด้วยนั้นจึงไม่ถูกต้อง เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง"

พิพากษาแก้เป็นว่า ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้เป็นพับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

 

 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 57(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด
ผู้ทรงเช็คสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลัง
ใช้เงินค่าหุ้นโดยหักกลบลบหนี้
ค่าทดแทนสัญญาหมั้นไม่โอนแก่กันได้
ความเสียหายที่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิด
ทางจำเป็นสิ้นความจำเป็น-ไม่ใช่ทรัพยสิทธิ
สัญญาต่างตอบแทน การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
การเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือฟ้องขับไล่ไม่ต้องบอกกล่าวก่อน