ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ใช้เงินค่าหุ้นโดยหักกลบลบหนี้

ใช้เงินค่าหุ้นโดยหักกลบลบหนี้

ข้อ 7. บริษัทสยาม จำกัด จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2547 มีทุนจดทะเบียน 3,000,000 บาท มีมูลค่าหุ้นละ 100 บาท มีนายหนึ่งและนายสอง เป็นกรรมการ ต่อมาในเดือนมีนาคม 2547 บริษัทฯ ขาดเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ จึงขอยืมเงินจากนายหนึ่ง จำนวน 1,000,000 บาท อย่างไรก็ตามในเดือนสิงหาคม 2547 กิจการของบริษัทฯ ได้ดีขึ้น ผู้ถือหุ้นประสงค์จะตอบแทนความช่วยเหลือของนายหนึ่ง ผู้ถือหุ้นจึงได้ประชุมกันลงมติพิเศษ ให้บริษัทฯ ออกหุ้นเพิ่มทุนจำนวนทั้งสิ้น 10,000 หุ้น โดยให้เสนอขายให้นายหนึ่งคนเดียวในราคาหุ้นละ 90 บาท โดยให้ถือว่า เงินที่กู้ยืมส่วนหนึ่งจำนวน 900,000 บาท ที่บริษัทฯ ยืมไปจากนายหนึ่งเป็นเงินชำระค่าหุ้นและให้คืนเงินที่กู้ยืมที่เหลืออีก 100,000 บาท ให้นายหนึ่ง

ให้วินิจฉัยว่า มติพิเศษของผู้ถือหุ้นดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคำตอบ

การที่ผู้ถือหุ้นบริษัทสยาม จำกัด ลงมติพิเศษให้เพิ่มทุนโดยเสนอขายหุ้นให้นายหนึ่งคนเดียวนั้นกระทำไม่ได้ เพราะขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1222 ซึ่งบัญญัติว่า บรรดาหุ้นที่ออกใหม่นั้นต้องเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหลายตามส่วนจำนวนหุ้นซึ่งเขาถืออยู่ ส่วนที่ลงมติเสนอขายในราคาหุ้นละ 90 บาท ต่อหุ้นก็กระทำไม่ได้ เพราะต่ำกว่ามูลค่าหุ้นที่ตั้งไว้ จึงขัดต่อมาตรา 1105 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติห้ามมิให้ออกขายหุ้นในราคาต่ำไปกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้ และที่ลงมติให้นายหนึ่งชำระค่าหุ้นเพิ่มทุน โดยทำการหักกลบลบหนี้กับเงินที่บริษัทสยาม จำกัด ยืมมาจากนายหนึ่งก็กระทำไม่ได้เช่นกัน เพราะขัดต่อมาตรา 1119 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ในการใช้เงินค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่ ดังนั้น มติพิเศษของผู้ถือหุ้นทั้งสามประการดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1222 มาตรา 1105 มาตรา 1119

มาตรา 1222 "บรรดาหุ้นที่ออกใหม่นั้น ต้องเสนอให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหลาย ตามส่วนจำนวนหุ้นซึ่งเขาถืออยู่

คำเสนอเช่นนี้ ต้องทำเป็นหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ถือหุ้นทุก ๆ คนระบุจำนวนหุ้นให้ทราบว่าผู้นั้นชอบที่จะซื้อได้กี่หุ้น และให้กำหนดวันว่าถ้าพ้นวัน นั้นไปมิได้มีคำสนองมาแล้วจะถือว่าเป็นอันไม่รับซื้อ

เมื่อวันที่กำหนดล่วงไปแล้วก็ดี หรือผู้ถือหุ้นได้บอกมาว่าไม่รับซื้อหุ้น นั้นก็ดี กรรมการจะเอาหุ้นเช่นนั้นขายให้แก่ผู้ถือหุ้นคนอื่นหรือจะรับซื้อ ไว้เองก็ได้ "

มาตรา 1105 " อันหุ้นนั้น ท่านห้ามมิให้ออกโดยราคาต่ำไปกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้

การออกหุ้นโดยราคาสูงกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้นั้นหากว่าหนังสือ บริคณห์สนธิให้อำนาจไว้ ก็ให้ออกได้ และในกรณีเช่นนั้นต้องส่งใช้ จำนวนที่ล้ำมูลค่าพร้อมกันไปกับการส่งใช้เงินคราวแรก

อนึ่ง เงินส่งใช้ค่าหุ้นคราวแรกนั้น ต้องมิให้น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า แห่งมูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้ "

มาตรา 1119 "หุ้นทุก ๆ หุ้นจำต้องให้ใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้น ซึ่งออกตามบทบัญญัติ มาตรา 1108
อนุมาตรา (5) หรือ มาตรา 1221

ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2532

ธนาคารจำเลยเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ภายในกำหนดเวลา5 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2522 ใช้บังคับ การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติ นี้ จะนำมาตรา 1222 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับหาได้ไม่ มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2522 บัญญัติให้ธนาคารพาณิชย์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่ประสงค์จะเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลธรรมดาซึ่งไม่ใช่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่ออกใหม่นั้น หมายความว่าต้องขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไป ดังนั้น การที่กรรมการธนาคารมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเกินกำหนดดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่เมื่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นมีมติให้ขายหุ้นใหม่แก่บุคคลภายนอกเท่าที่จำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว คือเพียงร้อยละยี่สิบห้าเท่านั้น การที่กรรมการธนาคารลงมติให้ขายเกินกำหนดดังกล่าว แม้ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่เมื่อขัดต่อ มติ ที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้น ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมในอันที่จะจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ โจทก์และโจทก์ร่วมชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติของกรรมการธนาคารได้

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลจำพวกบริษัทจำกัดมีวัตถุที่ประสงค์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ เดิมมีทุนจดทะเบียน50,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้น 500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาทและยังมิได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน (จำกัด) จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 โดย จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนจำเลยที่ 1เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2526 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาเรื่องการเพิ่มทุนของจำเลยที่ 1 จาก 50,000,000 บาทเป็น 100,000,000 บาท เป็นที่ตกลงกันในที่ประชุมว่า หากจะมีการขายหุ้นออกใหม่จะต้องขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมดตามอัตราส่วนจำนวนหุ้นซึ่งแต่ละคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนหุ้น แต่หากจะขายหุ้นก่อนวันที่ 8 มีนาคม 2527 จะต้องขายให้แก่บุคคลภายนอกในอัตราร้อยละยี่สิบห้าของหุ้นทั้งหมดส่วนที่เหลือจะต้องนำมาขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามเจตนารมณ์ ที่ตกลงกันข้างต้น ต่อมาวันที่ 16ธันวาคม 2526 ได้มีการประชุมยืนยันมติเดิมนี้อีก มติดังกล่าวจึงเป็นมติพิเศษ ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินการจำหน่ายหุ้นครั้งแรกจำนวน 100,000 หุ้น โดยจำหน่ายให้ผู้ถือหุ้นเดิม 50,000 หุ้น และจำหน่ายแก่บุคคลภายนอก 50,000 หุ้น ตามมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2526 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2526 และครั้งที่ 2/2526 วันที่ 16 ธันวาคม 2526 โจทก์ไม่ทักท้วงเพราะเห็นว่าเป็นไปตามมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ดังกล่าวและจำนวนหุ้นที่ขายให้บุคคลภายนอกก็ยังอยู่ในจำนวนไม่เกินร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่ออกใหม่ทั้งหมด เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2527จำเลยที่ 2-11 ในฐานะกรรมการจำเลยที่ 1 ได้ประชุมกันแล้ว มีมติซึ่งเป็นการฝ่าฝืนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น คือให้มีการจำหน่ายหุ้นงวดที่ 2 จำนวน 230,000 หุ้น โดยนำหุ้นใหม่ 30,000 หุ้น เสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมในราคาหุ้นละ 300 บาท ตามอัตราส่วนหุ้นเดิม 20หุ้นต่อหุ้นใหม่ 1 หุ้น ส่วนหุ้นใหม่ที่เหลืออีก 200,000 หุ้นนั้นให้เสนอขายแก่บุคคลภายนอกในราคาหุ้นละ 600 บาท และหุ้นที่แจ้งว่าจะขายแก่บุคคลภายนอกนั้น ก็มิได้มีการออกหนังสือชี้ชวนให้ประชาชนเข้าซื้อหุ้นได้ ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2522 มาตรา 24 และไม่ดำเนินกรรมวิธีเสนอขายต่อสาธารณชน ไม่มีกำหนดวิธีจองซื้อกำหนดเวลาหรือเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้มีสิทธิจองซื้อแต่ประการใดเมื่อมีการเปิดเผยข่าวว่าจะขายแก่บุคคลภายนอกก็ปรากฏตัวผู้จองซื้อเป็นการแน่นอนแล้วอันเป็นพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต โจทก์ได้ขอให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 11 ระงับการกระทำที่เป็นการละเมิดต่อกฎหมาย แต่ไม่เป็นผลการกระทำของจำเลยดังกล่าวข้างต้น เป็นการกระทำที่มิชอบเพราะขัดต่อ มติ ที่ประชุมและขัดต่อกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้การปฏิบัติงานของกรรมการต้องอยู่ภายใต้ความครอบงำของที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นการละเมิดสิทธิอันพึงมีพึงได้ในการจองซื้อหุ้นใหม่ของโจทก์ทั้งหลายและผู้ถือหุ้นเดิมทุกราย และจำเลยที่ 2 มีเจตนาทุจริตตั้งใจจะลดอัตราส่วนจำนวนหุ้นที่โจทก์และกลุ่มผู้ถือหุ้นที่โต้แย้งจำเลยในการเพิ่มทุน โดยขอเพิ่มข้อความในมติเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน2526 ตามที่กล่าวข้างต้น เพื่อมิให้มีเสียงคัดค้านการจัดการหรือการดำเนินการในธนาคารจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการได้อีกต่อไป โจทก์แต่ละคนมีความประสงค์จะจองซื้อหุ้นเต็มตามสิทธิของตน ขอให้สั่งเพิกถอนมติที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1ครั้งที่ 388 ในส่วนที่เกี่ยวกับการนำหุ้นใหม่ขายแก่บุคคลภายนอกทั้งสิ้น และให้พิพากษาว่าการเสนอขายและรับจองหรือการขายหุ้นออกใหม่ของจำเลยที่ 1 ที่มิใช่เป็นผู้ถือหุ้นเดิม ในส่วนที่เกี่ยวกับหุ้นจำนวน 400,000 หุ้นตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นวิสามัญครั้งที่ 1/2526 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2526 เป็นการกระทำที่ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ห้ามจำเลยทุกคนดำเนินการเสนอขาย ขายหรือออกใบหุ้นที่ออกใหม่จำนวน 400,000 หุ้น ซึ่งเป็นการขัดต่อ มติ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นวิสามัญครั้งที่ 1/2526 วันที่ 24 (ที่ถูกวันที่ 25)พฤศจิกายน 2526 ข้อ 2.3 ให้แก่บุคคลภายนอกอีกต่อไป ให้จำเลยที่ 1 และคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้นวิสามัญครั้งที่ 1/2526 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2526 ข้อ 2.3ในเรื่องการขายหุ้นโดยเคร่งครัด จนกว่าจะขายหุ้นที่เหลือหมดทั้ง400,000 หุ้น นายประชา ภูมิสิริกุล กับพวก รวม 37 คน ผู้ถือหุ้นในธนาคารจำเลยที่ 1 ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมชุดที่ 1 ศาลอนุญาตนางสาวมารศรี ว่องวัฒนโรจน์ กับพวกรวม 7 คนผู้ถือหุ้นในธนาคารจำเลยที่ 1 ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมชุดที่ 2 ศาลอนุญาต จำเลยที่ 1ถึงที่ 11 ให้การว่า โจทก์และโจทก์ร่วมทุกคนไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจำพวกบริษัทจำกัดได้เพราะไม่มีบทกฎหมายให้อำนาจไว้ ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีข้อพิพาทใด ๆ กับโจทก์และโจทก์ร่วม และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กระทำการใด ๆ อันเป็นการละเมิด หรือกระทำการอันเป็นการผิดมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่1/2526 และครั้งที่ 2/2526 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ โดยตรงกับโจทก์และโจทก์ร่วม มติที่ประชุมของกรรมการจำเลยที่ 1ครั้งที่ 388 ที่ประชุมเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2527 ไม่ฝ่าฝืนมติของที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2526 และครั้งที่ 2/2526ที่ประชุมกันเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2526 และ 16 ธันวาคม 2526ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ร่วม ในการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2526 มีผู้ถือหุ้นเสนอว่าตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ การขายหุ้นของธนาคารพาณิชย์ในช่วงก่อนถึงวันที่8 มีนาคม 2527 จะต้องขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่ออกใหม่ทั้งหมดจริงตามที่โจทก์กล่าวในคำฟ้อง ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วจึงลงมติเป็นเอกฉันท์ว่า "2.3 หุ้นเพิ่มทุนที่ยังเหลืออีก 400,000 หุ้นนั้น ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติ ธนาคารพาณิชย์ให้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาออกจำหน่ายเป็นคราว ๆ ได้ โดยเสนอขายผู้ถือหุ้นเดิมตามอัตราส่วนจำนวนหุ้น ซึ่งแต่ละคนมีชื่ออยู่ในทะเบียนหุ้น แต่ต้องเรียกค่าหุ้นล้ำมูลค่าตามจำนวนที่จะเห็นสมควรกำหนด" จำเลยที่ 1 หรือผู้หนึ่งผู้ใดไม่ได้หลอกลวงหรือตระบัดย์สัตย์ ต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในการออกหุ้นจำหน่ายแก่บุคคลภายนอกนั้น พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์มิได้บังคับว่าต้องให้ออกหนังสือชี้ชวน ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องจำเลยทุกคนกระทำการไปโดยสุจริต โจทก์ โจทก์ร่วมและผู้ถือหุ้นเดิมมิได้ถูกช่วงชิงสิทธิในการซื้อหุ้นใหม่แต่อย่างใด ไม่มีบทกฎหมายใดที่จะให้มีการเพิกถอนมติของคณะกรรมการได้ ขอให้ยกฟ้องศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำฟ้อง คำให้การ และเอกสารที่โจทก์จำเลยอ้างอิงคดีพอวินิจฉัยได้จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย แล้วพิพากษาให้เพิกถอนมติกรรมการของจำเลยที่ 1ในการประชุมครั้งที่ 388 ในส่วนที่เกี่ยวกับการขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่บุคคลภายนอกและให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ปฏิบัติตามมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นในส่วนที่เกี่ยวกับการขายหุ้นเพิ่มทุน สำหรับคำขอของโจทก์นอกจากนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกคดีบังคับให้ไม่ได้จึงให้ยก โจทก์ โจทก์ร่วมทุกคนอุทธรณ์ ต่อมาขอถอนอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์อนุญาต จำเลยทั้งสิบเอ็ดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยทั้งสิบเอ็ดฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่จำเลยโจทก์และโจทก์ร่วมขอแถลงการณ์ด้วยวาจา เห็นว่า ไม่จำเป็นแก่คดีให้งดเสีย ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า โจทก์และโจทก์ร่วมทุกคนเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทธนาคารแหลมทองจำกัด จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2526 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 มีมติพิเศษในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2526 ว่าให้เพิ่มทุนของจำเลยที่ 1 จากที่จดทะเบียนไว้ 50,000,000 บาท เป็น 100,000,000 บาทโดยการออกหุ้นใหม่อีก 500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท หุ้นเพิ่มทุนที่ออกใหม่นี้ในชั้นแรกให้ออกจำหน่ายเพียง 100,000 หุ้นก่อนให้เสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิม 50,000 หุ้น โดยขายให้ตามส่วนจำนวนหุ้นซึ่งแต่ละคนมีชื่อถืออยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันจะออกหุ้นนั้น ในอัตราส่วนถือหุ้นเดิม 10 หุ้น ให้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้ 1หุ้น ในราคาหุ้นละ 150 บาท ซึ่งแยกเป็นมูลค่าหุ้น 100 บาท และค่าหุ้นล้ำมูลค่า 50 บาท ส่วนที่เสนอขายแก่บุคคลภายนอก 50,000 หุ้นนั้นให้ขายในราคาหุ้นละ 250 บาท ซึ่งแยกเป็นมูลค่าหุ้น 100 บาท และค่าหุ้นล้ำมูลค่า 150 บาท หุ้นเพิ่มทุนที่ยังเหลืออีก 400,000 หุ้นที่ประชุมลงมติว่า "2.3 หุ้นเพิ่มทุนที่ยังเหลืออีก 400,000 หุ้นนั้น ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์(ที่ถูกพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์) ให้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาออกจำหน่ายเป็นคราว ๆ ได้ โดยเสนอขายผู้ถือหุ้นเดิมตามอัตราส่วนจำนวนหุ้น ซึ่งแต่ละคนมีชื่ออยู่ในทะเบียนหุ้น แต่ต้องเรียกค่าหุ้นล้ำมูลค่าด้วยตามจำนวนที่จะเห็นสมควรกำหนด"และ "2.4 ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมอบหมายอำนาจตามข้อบังคับข้อ 4 ทวิให้คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินที่จะเรียกสูงกว่ามูลค่าของหุ้นเพิ่มทุน 400,000 หุ้น ที่จะออกจำหน่ายในต่อ ๆ ไป"ปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นธนาคารแหลมทองจำกัด เอกสารหมาย จ.5 (ตรงกับเอกสารหมาย ล.1) เมื่อวันที่16 ธันวาคม 2526 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 มีมติในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 2/2526 เป็นเอกฉันท์ยืนยันตามมติพิเศษในเรื่องหุ้นเพิ่มทุนในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2526 ปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นธนาคารแหลมทอง จำกัดเอกสารหมาย จ.7 (ตรงกับเอกสารหมาย ล.2) เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2527กรรมการของจำเลยที่ 1 รวม 8 นาย มีมติในการประชุมครั้งที่ 388ในเรื่องหุ้นเพิ่มทุนที่เหลืออีก 400,000 หุ้น ว่า ให้เสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นใหม่จำนวน 200,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 600 บาท และเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิม 30,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 300 บาท ในอัตราผู้ถือหุ้นเดิม 20 หุ้น ขายหุ้นเพิ่มทุนให้ 1 หุ้น กำหนดเปิดจองหุ้นตั้งแต่วันที่ 3 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 2527 สำหรับหุ้นที่เสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นใหม่ ถ้ามีผู้เสนอซื้อมากกว่า 200,000 หุ้น คณะกรรมการก็จะประชุมพิจารณาจัดสรรหุ้นจำนวน 200,000 หุ้นนี้อีกครั้งหนึ่งปรากฏตามสำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการธนาคารแหลมทอง จำกัดเอกสารหมาย ล.4

ที่จำเลยทั้งสิบเอ็ดฎีกาว่า โจทก์และโจทก์ร่วมทุกคนเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจำพวกบริษัทจำกัด ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งจำเลยที่ 1มิได้กระทำการใด ๆ อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการผิดไปจากมติ (พิเศษ) ของที่ประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่1/2526 และครั้งที่ 2/2526 นั้น แม้จำเลยทั้งสิบเอ็ดจะยกปัญหาตามฎีกาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงข้อเดียวว่า "มติที่ประชุมครั้งที่ 388/2527ของกรรมการจำเลยที่ 1 นั้น เป็นการละเมิดต่อโจทก์และเป็นการผิดกฎหมายหรือไม่" จำเลยทั้งสิบเอ็ดก็มิได้โต้แย้งขอให้กำหนดปัญหาตามฎีกาข้อนี้ขึ้นเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ทั้งที่มีโอกาสโต้แย้งเพราะศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหลังจากกำหนดประเด็นข้อพิพาท 1 เดือนเศษถือว่าจำเลยทั้งสิบเอ็ดสละข้อต่อสู้ข้อนี้แล้ว จึงไม่มีอำนาจยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คดีคงมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาตามฎีกาของจำเลยทั้งสิบเอ็ด กับตามคำแก้ฎีกาของโจทก์และโจทก์รวมทุกคนว่ามติกรรมการของจำเลยที่ 1 ในการประชุมครั้งที่ 388 ในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแก่บุคคลภายนอก ขัดต่อกฎหมายและละเมิดต่อโจทก์กับโจทก์ร่วมทุกคนหรือไม่เห็นว่า มติพิเศษของที่ประชุมให้ผู้ถือหุ้นให้จำเลยที่ 1 เพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ 500,000 หุ้น ได้เสนอขายไปแล้ว 100,000 หุ้นโดยขายให้ผู้ถือหุ้นเดิม 50,000 หุ้น ขายให้แก่บุคคลภายนอก 50,000หุ้น ส่วนที่เหลืออีก 400,000 หุ้นนั้นที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2526 (ซึ่งที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 2/2526 มีมติยืนยันตามมติเดิม)ว่า ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ให้กรรมการเป็นผู้พิจารณาออกขายเป็นคราว ๆ ปรากฏข้อความละเอียดตามที่ศาลฎีกายกขึ้นกล่าวในตอนต้น ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มิใช่รัฐวิสาหกิจและยังมิได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดจึงต้องบังคับตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 ซึ่งบัญญัติว่า

"มาตรา 24 ภายในห้าปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ ธนาคารพาณิชย์ใดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์อยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ ประสงค์จะเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ ถ้าธนาคารพาณิชย์นั้นยังมิได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1)... ฯลฯ...

(2) หุ้นที่ออกในการเพิ่มทุนนั้น ธนาคารพาณิชย์ต้องดำเนินการขายให้แก่บุคคลธรรมดาซึ่งไม่เป็นผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์นั้นไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่ออกใหม่ และจะขายให้แต่ละคนเกินร้อยละศูนย์จุดห้าของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดไม่ได้

บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ห้ามมิให้บริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้นและบทบัญญัติว่าด้วยการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ มิให้นำมาใช้บังคับแก่การเพิ่มทุนตามมาตรานี้

ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ"

ปรากฏว่า เมื่อกรรมการของจำเลยที่ 1 มีมติให้การประชุมครั้งที่ 388 นั้น ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 ใช้บังคับดังนั้นจะนำมาตรา 1222 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่าบรรดาหุ้นที่ออกใหม่เมื่อเพิ่มทุนจะต้องเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นทั้งหลายตามส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นเดิมถืออยู่ ถ้าไม่มีผู้ซื้อแล้ว กรรมการจึงจะเอาหุ้นที่ออกใหม่ขายให้แก่ผู้อื่นหรือรับซื้อไว้เอง มาใช้บังคับไม่ได้ นอกจากนี้หมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 ยังมีข้อความว่า "ฯลฯ...อีกประการหนึ่ง การธนาคารพาณิชย์นับว่าเป็นกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชนเป็นการสมควรที่จะให้สาธารณชนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบกิจการด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้" แสดงถึงเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ว่าต้องการให้บุคคลทั่วไปที่มิใช่นิติบุคคลมีโอกาสเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์มากยิ่งขึ้นมิใช่จำกัดแต่ผู้ถือหุ้นเดิมเท่านั้น ข้อความว่า "ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่ออกใหม่ตามมาตรา 24(2) แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 นั้น มีความหมายชัดเจนว่าเป็นจำนวนตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไป ไม่ใช่ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าลงมา หุ้นเพิ่มทุนที่เสนอขายคราวนี้มีจำนวน 500,000 หุ้นตามมาตรา 24(2) แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2522 จะต้องเสนอขายให้แก่บุคคลธรรมดาที่มิได้เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ 125,000 หุ้นขึ้นไปมติกรรมการของจำเลยที่ 1 ในการประชุมครั้งที่ 388 ให้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแก่บุคคลภายนอก 200,000 หุ้น รวมกับที่เสนอขายไปก่อนหน้านั้น50,000 หุ้นแล้ว เป็น 250,000 หุ้น จึงไม่ขัดต่อกฎหมายดังกล่าวในปัญหาว่า มตินี้ละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ร่วมหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่าลำพังแต่ข้อความในรายงานการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่1/2526 ที่ระบุว่าที่ประชุมมีมติว่า "2.3 หุ้นเพิ่มทุนที่เหลืออีก400,000 หุ้นนั้นภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ให้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาออกจำหน่ายเป็นคราว ๆ ได้...ฯลฯ..."ยังไม่อาจชี้ขาดข้อเท็จจริงได้ว่า ที่ประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่1/2526 มีมติให้ขายหุ้นเพิ่มทุนแก่บุคคลภายนอกเท่าที่จำเป็นแก่การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522มาตรา 25(2) คือขายให้เพียงร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นเพิ่มทุนเท่านั้น ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา คดีนี้ไม่มีการสืบพยาน การที่จะหาความจริงว่า ผู้ถือหุ้นได้ตกลงอย่างไรในการขายหุ้นเพิ่มทุนจึงต้องพิจารณาไปถึงความเป็นมาของการลงมติในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2526 ของที่ประชุมผู้ถือหุ้นว่าเป็นอย่างไร โดยอาศัยพิจารณาจากคำฟ้องและคำให้การของคู่ความ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดถึงความเป็นมาของมติดังกล่าวว่าก่อนถึงวันประชุมผู้ถือหุ้นหลายคนรวมทั้งโจทก์ได้พิจารณาระเบียบวาระเรื่องการขายหุ้นเพิ่มทุน ซึ่งมีข้อความว่า "หุ้นเพิ่มทุนที่ยังเหลืออีก 400,000หุ้น นั้น ให้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาออกจำหน่ายเป็นคราว ๆแต่ต้องเรียกค่าหุ้นล้ำมูลค่าหุ้นด้วย ตามจำนวนที่เห็นสมควรกำหนด"แล้วมีความเห็นคัดค้านเพราะมีความประสงค์จะให้มีการขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นเดิมเท่านั้น จึงได้ทักท้วงและขอให้เพิ่มข้อความว่าให้กรรมการต้องเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมเท่านั้น มิฉะนั้นจะไม่ออกเสียงสนับสนุนการเพิ่มทุนคราวนี้ ซึ่งจะทำให้การเพิ่มทุนไม่ผ่านมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งตามกฎหมายจะต้องมีคะแนนเสียงสนับสนุนไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมด ในที่สุดจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ตกลงยินยอมให้เพิ่มข้อความในมติเป็นว่า "หุ้นเพิ่มทุนที่ยังเหลืออีก 400,000 หุ้นนั้น ให้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาออกจำหน่ายเป็นคราว ๆ ได้ โดยเสนอขายผู้ถือหุ้นเดิมตามอัตราส่วนจำนวนหุ้น ซึ่งแต่ละคนมีชื่ออยู่ในทะเบียนหุ้น แต่ต้องเรียกค่าหุ้นล้ำมูลค่าด้วยตามจำนวนที่เห็นสมควรกำหนด" โจทก์และผู้ถือหุ้นจึงยินยอมสนับสนุนการเพิ่มทุนคราวนี้ในการประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2526 (ครั้งที่ 1/2526) ขณะจะลงคะแนนเสียงในระเบียบวาระนี้ได้มีผู้เสนอว่า ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ การขายหุ้นของธนาคารพาณิชย์ในช่วงก่อนวันที่ 8มีนาคม 2527 นั้น จำต้องขายให้แก่บุคคลภายนอกในอัตราร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่ออกใหม่ทั้งหมด ที่ประชุมจึงได้เพิ่มเติมข้อความที่ว่า "ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์" ลงในมติของที่ประชุม จำเลยทั้งสิบเอ็ดก็มิได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า ปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์ ทั้งยังได้ให้การยอมรับข้ออ้างของโจทก์เป็นใจความว่า ในการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2526มีผู้ถือหุ้นเสนอว่าตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ การขายหุ้นของธนาคารพาณิชย์ในช่วงก่อนจะถึงวันที่ 8 มีนาคม 2527 จะต้องเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของหุ้นที่ออกใหม่ทั้งหมด (คำให้การข้อ 3) เมื่อจำเลยทั้งสิบเอ็ดมิได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองเช่นนี้ ต้องถือว่าจำเลยทั้งสิบเอ็ดยอมรับว่า ที่มาของการลงมติของผู้ถือหุ้นในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2526 เป็นดังที่โจทก์กล่าวในคำฟ้อง เมื่อการลงมติดังกล่าวมีที่มาเช่นว่านี้แล้วศาลฎีกาจึงเชื่อว่า ในการประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นครั้งที่1/2526 ที่ประชุมมีมติให้ขายหุ้นเพิ่มทุนแก่บุคคลภายนอกซึ่งไม่เป็นผู้ถือหุ้นเดิมเพียงร้อยละยี่สิบห้าของจำนวนหุ้นที่ออกใหม่เท่านั้น ดังนั้น มติที่ประชุมครั้งที่ 388/2527 ของกรรมการจำเลยที่ 1 จึงขัดต่อ มติ ของที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นครั้งที่1/2526 และครั้งที่ 2/2526 แม้มติของกรรมการจำเลยที่ 1ดังกล่าวจะไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการขายหุ้นเพิ่มทุน แต่เมื่อขัดต่อ มติ ของที่ประชุมใหญ่วิสามัญของผู้ถือหุ้นเช่นนี้ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมในอันที่จะจองซื้อหุ้นที่ออกใหม่ โจทก์และโจทก์ร่วมชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติดังกล่าวของกรรมการจำเลยที่ 1 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นด้วยในผล"

พิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2540

จำเลยที่ 2 อ้างว่า ไม่ได้ค้างชำระค่าหุ้นเพราะได้ชำระค่าหุ้นไปแล้วร้อยละ 25 และต่อมาจำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 ไปไม่ได้ชำระคืนจึงได้ตกลงหักกลบลบหนี้กันก่อนที่โจทก์จะบังคับคดีนี้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1119 วรรคสองที่กำหนดไว้ว่าในการใช้เงินค่าหุ้นนั้นผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1121 เป็นเรื่องกรรมการบริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นตามปกติแต่กรณีของโจทก์เป็นการดำเนินการบังคับคดีอายัดเงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 2 ค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 เพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้อง โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาอันเป็นวิธีบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้โดยตรง ย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 1121

คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 581,051 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 เมษายน 2534 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เฉพาะดอกเบี้ยถึงวันฟ้องให้ไม่เกิน 54,473 บาท

โจทก์ยื่นคำร้องว่า เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2537เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการอายัดเงินค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 และมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1คือจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 จำเลยที่ 2และผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ได้รับหมายโดยชอบแล้วเพิกเฉยไม่นำเงินค่าหุ้นตามที่ถูกอายัดไปชำระให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทั้งไม่แจ้งข้อขัดข้อง จำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3ต่างเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 เนื่องจากยังคงค้างชำระเงินค่าหุ้นโดยจำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายให้ชำระจนเต็มมูลค่าหุ้น ขอให้ศาลดำเนินการบังคับคดีตามสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 และนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์

จำเลยที่ 2 ยื่นคำคัดค้านว่า ไม่เคยได้รับหนังสือจากเจ้าพนักงานบังคับคดีและมิได้เป็นลูกหนี้จำเลยที่ 1 หรือค้างชำระค่าหุ้น แต่จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 ไปใช้ในกิจการเป็นจำนวนหลายล้านบาท และยังไม่ได้ชำระคืน นอกจากนี้จำเลยที่ 2ยังมีสิทธิไล่เบี้ยจำเลยที่ 1 เนื่องจากเคยค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อธนาคารกรุงเทพ จำกัดซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ ธนาคารจึงฟ้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันและจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1ไปเป็นเงิน 2,247,869.49 บาท หากจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดก็ขอหักกลบลบหนี้ จำเลยที่ 1 มิได้มีคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ส่งล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า21 วัน โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ได้ขอให้ยกคำร้อง

ผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ยื่นคำคัดค้าน

ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ยื่นคำคัดค้านว่า ได้ชำระหนี้ค่าหุ้นที่ค้างอยู่ให้จำเลยที่ 1 โดยการหักกลบลบหนี้ ซึ่งหลังจากหักหนี้แล้วจำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 อีกจำนวนมาก เหตุที่ยังมีรายชื่อผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ค้างชำระค่าหุ้นอยู่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ยังมิได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น

ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว มีคำสั่งให้ดำเนินการบังคับคดีตามสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ในเงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ค้างชำระและนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์

จำเลยที่ 2 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยที่ 2 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยข้อแรกตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ยังคงค้างชำระค่าหุ้นแก่จำเลยที่ 1 หรือไม่ จำเลยที่ 2 อ้างว่า ไม่ได้ค้างชำระค่าหุ้นเพราะได้ชำระค่าหุ้นไปแล้วร้อยละ 25 และต่อมาจำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 ไปไม่ได้ชำระคืน จึงได้ตกลงหักกลบลบหนี้กันก่อนที่โจทก์จะบังคับคดีนี้ เห็นว่า ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1119 วรรคสอง เพราะบทกฎหมายดังกล่าวนี้ได้กำหนดไว้ว่า ในการใช้เงินค่าหุ้นนั้นผู้ถือหุ้นจะหักหนี้กับบริษัทหาได้ไม่ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ค้างชำระค่าหุ้นจริง

ปัญหาข้อสองตามฎีกาของจำเลยที่ 2 มีว่า โจทก์มีสิทธิดำเนินการบังคับคดีอายัดเงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 2 ค้างชำระหรือไม่ จำเลยที่ 2 อ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิดำเนินการบังคับคดีดังกล่าว เพราะโจทก์ไม่ได้ส่งคำบอกกล่าวเรียกเก็บเงินค่าหุ้นเป็นจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 21 วัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1121 เห็นว่า ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1121นั้น เป็นเรื่องกรรมการบริษัทเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นตามปกติแต่กรณีของโจทก์เป็นการดำเนินการบังคับคดีอายัดเงินค่าหุ้นที่จำเลยที่ 2 ค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 เพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องโจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาอันเป็นวิธีบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้โดยตรงย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 1121

พิพากษายืน

 




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 57(วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด
ผู้ทรงเช็คสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลัง
ค่าทดแทนสัญญาหมั้นไม่โอนแก่กันได้
ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
ความเสียหายที่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นต้องรับผิด
ทางจำเป็นสิ้นความจำเป็น-ไม่ใช่ทรัพยสิทธิ
สัญญาต่างตอบแทน การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
การเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือฟ้องขับไล่ไม่ต้องบอกกล่าวก่อน