ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




กระทำความผิดนอกราชอาณาจักร

 กระทำความผิดนอกราชอาณาจักร แจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา

ข้อ 1. นายเอกกับนายต้นเป็นคนไทยได้รับทุนรัฐบาลไทยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอินเดียด้วยกัน ขณะที่อยู่บริเวณห้องผู้โดยสารขาออก ที่สนามบินประเทศอินเดีย เพื่อจะเดินทางกลับมาเยี่ยมญาติที่ประเทศไทย นายเอกซื้อของที่สนามบินจนเงินหมดจึงขอยืมเงินนายต้นเพื่อเสียภาษีสนามบิน นายต้นไม่ให้ จึงเป็นปากเป็นเสียงกัน ในขณะนั้นเอง
นายเอกถือโอกาสล้วงเอาเงินจากกระเป๋าเสื้อนายต้นไปห้าพันบาท นายต้นโกรธนายเอกมาก ครั้นนายเอก นายต้นเดินทางกลับถึงประเทศไทย นายต้นยังไม่หายโกรธจึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน กองปราบปรามว่านายเอกใช้กำลังทำร้ายชกต่อยตนจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายแล้วในทันทีทันใดนั้นได้ลักเอาเงินของตนไป
ห้าพันบาทที่สนามบินประเทศอินเดีย อันเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์

ให้วินิจฉัยว่า นายเอกและนายต้นมีความผิดฐานใด และรับโทษในราชอาณาจักรได้หรือไม่

ธงคำตอบ

นายเอก คนไทยล้วงเอาเงินจากกระเป๋าเสื้อของนายต้น คนไทยที่ไปด้วยกันที่ประเทศอินเดีย เป็นการกระทำผิดฐานลักทรัพย์นอกราชอาณาจักร เมื่อนายเอกซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดเป็นคนไทย และนายต้นผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน นายเอกจึงต้องรับโทษภายในราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 8 (ก)

ส่วนการที่นายต้นไปแจ้งความร้องทุกข์ดังกล่าว เป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาเพื่อจะแกล้งให้นายเอกต้องรับโทษในความผิดฐานชิงทรัพย์ซึ่งหนักขึ้นกว่าความผิดฐานลักทรัพย์ นายต้นจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172, มาตรา 174 วรรคสอง และเมื่อความผิดฐานชิงทรัพย์ที่นายต้น กล่าวหาว่านายเอกกระทำมีอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำตั้งแต่สามปีขึ้นไป นายต้นจึงมีความผิดตามมาตรา 181 (1) ด้วย ซึ่งความผิดเหล่านี้นายต้นต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามมาตรา 4 วรรคแรก

 ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 8 ผู้ใดกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร และ
(ก) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิด ได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(ข) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทย เป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ

ถ้าความผิดนั้นเป็นความผิดดังระบุไว้ต่อไปนี้ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร คือ
(1) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตามที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 217 มาตรา 218 มาตรา 221 ถึง มาตรา 223 ทั้งนี้เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับ มาตรา 220 วรรคแรก และ มาตรา 224 มาตรา 226 มาตรา 228 ถึง มาตรา 232 มาตรา 237 และ มาตรา 233 ถึง มาตรา 236 ทั้งนี้เฉพาะเมื่อเป็นกรณีต้องระวางโทษตาม มาตรา 238
(2) ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 (1) และ (2) มาตรา 268 ทั้งนี้เว้นแต่กรณีเกี่ยวกับ มาตรา 267 และ มาตรา 269
(2/1) ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 269/1 ถึง มาตรา 269/7(2/2) ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 269/8 ถึง มาตรา 269/15(3) ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 276 มาตรา 280 และ มาตรา 285 ทั้งนี้เฉพาะที่เกี่ยวกับ มาตรา 276
(4) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 288 ถึง มาตรา 290
(5) ความผิดต่อร่างกายตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 295 ถึง มาตรา 298
(6) ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บหรือคนชรา ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 306 ถึง มาตรา 308
(7) ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 309 มาตรา 310 มาตรา 312 ถึง มาตรา 315 และ มาตรา 317 ถึง มาตรา 320
(8) ความผิดฐานลักทรัพย์ และวิ่งราวทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 334 ถึง มาตรา 336
(9) ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 337 ถึง มาตรา 340
(10) ความผิดฐานฉ้อโกง ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 341 ถึง มาตรา 344 มาตรา 346 และ มาตรา 347
(11) ความผิดฐานยักยอก ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 352 ถึง มาตรา 354
(12) ความผิดฐานรับของโจร ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 357
(13) ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 358 ถึง มาตรา 360

มาตรา 172 "ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา แก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มี อำนาจสืบสวนคดีอาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ" (แก้ไขใหม่)

มาตรา 174 ถ้าการแจ้งข้อความตาม มาตรา 172 หรือ มาตรา 173 เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อ ความปลอดภัย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับ ไม่เกินหกหมื่นบาท (แก้ไขโทษปรับใหม่)

ถ้าการแจ้งตามความในวรรคแรกเป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใด ต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

มาตรา 181 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 174 มาตรา 175 มาตรา 177 มาตรา 178 หรือมาตรา 180
(1) เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่มี ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท (แก้ไขโทษ)
(2) เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่มี ระวางโทษถึงประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามแสนบาท (แก้ไขโทษ)

มาตรา 4 ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมาย

การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักร




การสอบเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ 60(วิชากฎหมายอาญา ฯ)

ความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม
ลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์
การคำนวณรายได้และรายจ่ายของนิติบุคคล และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
อำนาจพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
การกระทำโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
อำนาจรับคดีไว้พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง
ความผิดฐานฆ่าโดยเจตนาโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
การขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์