ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด

ทนายความคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สินสมรส อำนาจปกครองบุตร ชู้สาว มรดก

 การริบทรัพย์สินของกลาง ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด

 

 การริบทรัพย์สินของกลาง รถกระบะเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดหรือไม่? นำรถกระบะเป็นพาหนะให้คนต่างด้าวนั่งโดยสารไม่ถือว่ารถกะบะเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง โดยสภาพรถกระบะก็เอาไว้บรรทุกคนได้อยู่แล้ว จึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
 
      คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2550

 

การที่จำเลยกระทำความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ เพื่อให้พ้นจากการจับกุม โดยใช้รถกระบะของกลางเป็นพาหนะให้คนต่างด้าวนั่งโดยสารมาด้วยนั้น ถือไม่ได้ว่ารถกระบะของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดดังกล่าวโดยตรงตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ทั้งตามปกติรถกระบะของกลางโดยสภาพมีไว้เพื่อบรรทุกคนและสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังที่อื่นอันเป็นวัตถุประสงค์ทั่วไป จึงริบรถกระบะของกลางไม่ได้

 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 และริบรถกระบะของกลาง
จำเลยให้การรับสารภาพ

 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง จำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี ริบรถกระบะของกลาง

   จำเลยอุทธรณ์

  ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุก 6 เดือน เมื่อลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงจำคุก 3 เดือน ไม่ริบรถกระบะของกลาง แต่ให้คืนแก่เจ้าของ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
             โจทก์ฎีกา
 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าต้องริบรถกระบะของกลางหรือไม่ เห็นว่า การที่จำเลยกระทำความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 เพื่อให้พ้นจากการจับกุม โดยใช้รถกระบะของกลางเป็นพาหนะให้คนต่างด้าวนั่งโดยสารมาด้วยนั้น ถือไม่ได้ว่ารถกระบะของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดดังกล่าวโดยตรงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) ทั้งตามปกติรถกระบะของกลางโดยสภาพมีไว้เพื่อบรรทุกคนและสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังที่อื่นอันเป็นวัตถุประสงค์ทั่วไป จึงริบรถกระบะของกลางไม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ริบรถกระบะของกลางนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น”

  พิพากษายืน

หมายเหตุคำพิพากษาศาลฎีกา

ศาลฎีกาวางแนวมาตลอดว่า ทรัพย์สินที่ศาลจะสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) จะต้องเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง คำพิพากษาศาลฎีกาที่หมายเหตุนี้ก็เดินตามหลักดังกล่าวข้างต้น

      ตามกฎหมายอาญาเยอรมัน ฝ่ายนิติบัญญัติได้จัดให้การริบทรัพย์สินเป็นมาตรการบังคับอย่างหนึ่ง (Massnahme) อย่างไรก็ตาม การริบทรัพย์สินมีไว้เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ที่ค่อนข้างจะหลากหลาย และด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีหลักในทางกฎหมายที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (keine eingeitliche rechtsnatur) การริบทรัพย์สินมีลักษณะคล้ายโทษทางอาญา (strafaehnlichen Charakter) ในกรณีที่บังคับเอากับผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมกระทำผิดที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินอยู่ในขณะที่มีคำพิพากษา (มาตรา 74 ll Nr. 1 ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน) หรือในกรณีที่เป็นการริบทรัพย์สินของบุคคลที่สาม (มาตรา 74a ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน) ทั้งสองกรณีดังกล่าว การริบทรัพย์สินในขณะเดียวกันก็มีไว้เพื่อเป็นการคุ้มครองสังคม เพื่อเป็นการป้องกันทั่วไปเพื่อให้เป็นไปตามแนวคิดของการสูญเสียกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดและเพื่อให้มีผลแก่ตัวผู้กระทำผิด อันจะเป็นผลให้วัตถุประสงค์ในการป้องกันพิเศษบรรลุผล ดังนั้น ผู้กระทำผิดที่ถูกริบทรัพย์สิน เช่น ถูกริบรถบรรทุกที่ใช้ในการกระทำความผิด จึงอาจที่จะได้รับผลร้ายที่มากกว่าการได้รับโทษทางอาญา ด้วยเหตุนี้ การริบทรัพย์สินจึงไม่ได้อยู่ภายใต้หลักความน่าตำหนิ (Schuldprinzip) ตามมาตรา 46 ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน หากแต่อยู่ภายใต้หลักสัดส่วน (Grundsatz der Verhaeltnismaessigkeit) ดังนั้น ตามมาตรา 74b l ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน หากตามกฎหมายไม่ได้บัญญัติบังคับให้ต้องริบทรัพย์สินแล้ว ก็ไม่อาจที่จะริบทรัพย์สินได้ หากว่าเมื่อเทียบกับคุณค่าของตัวทรัพย์สินแล้วจะเป็นการขัดต่อหลักสัดส่วน (เช่น ไม่มีการริบรถบรรทุกที่ใช้ในการกระทำความผิดในกรณีที่เป็นความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของความผิดศุลกากร) นอกจากนี้ในกรณีตามมาตรา 74, 74a ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน ศาลสามารถที่จะกำหนดให้การริบทรัพย์สินเป็นเงื่อนไขไว้ในคำพิพากษาและแทนที่ด้วยมาตรการอื่น ๆ ที่มีความรุนแรงน้อยกว่า หากมาตรการดังกล่าวได้ผลเช่นเดียวกับกรณีของการริบทรัพย์สิน เช่น การสั่งให้ทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวใช้ไมได้ เป็นต้น (มาตรา 74b ll ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน) ในทางตรงกันข้าม การริบทรัพย์สินถือว่าเป็นมาตรการเพื่อความปลอดภัย (Sicherungsmassnahme) ในกรณีที่มีการริบทรัพย์สินดังกล่าวมีไว้เพื่อที่จะคุ้มครองสังคม เนื่องจากทรัพย์สินดังกล่าวมีลักษณะที่เป็นอันตรายต่อสังคม (เช่น กล่องใส่วัตถุระเบิด) หรือจะมีอันตรายเกิดขึ้นหากว่าได้นำเอาทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด (เช่น เครื่องมือที่ใช้ลักทรัพย์) (มาตรา 74b ll Nr.2, lll ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน)

ในการริบทรัพย์สินนั้นมีเงื่อนไขสองประการกล่าวคือ ในประการแรก จะต้องมีการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา ซึ่งการที่จะทำการริบทรัพย์สินของผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมกระทำผิดนั้น การกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาดังกล่าวจะต้องเป็นการกระทำความผิดอาญาที่สามารถตำหนิตัวผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมกระทำผิดได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีของการริบทรัพย์สินที่เป็นมาตรการเพื่อความปลอดภัยนั้น การกระทำความผิดอาญาดังกล่าวไม่จำเป็นต้องสามารถตำหนิตัวผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมกระทำผิด (มาตรา 74 l, lll ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน) ถือว่าเป็นการเพียงพอแล้วหากว่าการกระทำความผิดอาญาดังกล่าวได้กระทำถึงขั้นพยายามกระทำความผิดหรือถึงขั้นตระเตรียมกระทำความผิดที่สามารถจะลงโทษในทางอาญาได้ (BGH 13, 311 มาตรา 49a ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมันตามกฎหมายเดิม) อย่างไรก็ตาม การริบทรัพย์สินแม้จะเป็นกรณีของมาตรการเพื่อรักษาความปลอดภัยก็ยังอยู่ในดุลพินิจของศาลว่าจะริบทรัพย์สินดังกล่าวหรือไม่ ในประการที่สองการริบทรัพย์สินนั้น ทรัพย์สินที่จะถูกริบได้นั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่เกิดขึ้นมาจากการกระทำความผิดอาญาร้ายแรง (ein Verbrechen) หรือความผิดอาญาธรรมดาที่ทำโดยเจตนา (ein Vosaetzliches Vergehen) (producta sceleris) หรือต้องเป็นทรัพย์สินที่ใช้หรือได้ใช้เพื่อจะกระทำความผิด ตลอดถึงการตระเตรียมการกระทำความผิด (instrumenta sceleris) การริบทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในมาตรา 74 l ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน ไม่ได้จำกัดเฉพาะทรัพย์ที่มีรูปร่าง (koerperliche Sachen) อย่างในกฎหมายเดิม แต่รวมถึงสิทธิต่าง ๆ (Rechte) ด้วย (vgl. มาตรา 74e l, 74f l ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน) การริบทรัพย์สินในฐานะที่เป็นมาตรการบังคับที่คล้ายโทษทางอาญา (strafaehnliche Massnahme) สามารถกระทำได้หากว่าตัวทรัพย์สินดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นวัตถุที่มีรูปร่างหรือสิทธิดังกล่าวเป็นของผู้กระทำผิดหรือของผู้ร่วมกระทำผิดในขณะที่มีคำพิพากษา ผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมกระทำผิดที่เป็นเจ้าของทรัพย์ในขณะที่มีคำพิพากษาไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ทรัพย์ดังกล่าวในการกระทำความผิดด้วยตนเอง ถือว่าเป็นการเพียงพอแล้วหากว่าผู้ร่วมกระทำความผิดคนอื่น ๆ ได้ใช้ทรัพย์ดังกล่าวโดยความรู้เห็นของผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมกระทำผิดที่เป็นเจ้าของทรัพย์ ตัวทรัพย์ที่จะถูกริบนั้นจะต้องมีความชัดเจนเพียงพอว่าจะมีการนำไปใช้ในการกระทำความผิดในกรณีที่จะมีการกระทำความผิดดังกล่าวในอนาคต (RG 59, 250)

ตัวอย่าง : ทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการกระทำความผิด (producta sceleris) คือเอกสารที่ทำปลอมขึ้น (มาตรา 267 ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน) และเงินปลอม (มาตรา 150 ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน) ในทางตรงกันข้าม ไม่อาจที่จะริบทรัพย์สินได้ในกรณีของสิ่งที่ได้มาจากการกระทำความผิดอาญา อย่างเช่น เงินที่ได้มาจากการขายทรัพย์ที่เป็นผลมาจากการกระทำความผิดฐานรับของโจร (RG 54, 223) ในส่วนของสิ่งที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อกระทำความผิด (instrumenta sceleris) เช่น เครื่องมือที่ใช้ในการลักทรัพย์ เครื่องมือที่ใช้ในการปลอมแปลง (มาตรา 150 ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน) อาวุธที่ใช้ในการกระทำความผิด (RG 44, 140 (142) ; BGH 31, 80) เงินที่เก็บสำรองไว้ให้แก่สมาชิกขององค์กรการก่อการร้ายที่สามารถนำไปใช้ในการก่อการร้ายครั้งใหม่ได้ (BGN NStZ 1985, 262) รถบรรทุกที่ได้ใช้ในการลักลอบขนส่งสินค้าหนีภาษี (BGH 3, 355) รถจักรยานยนต์ที่ผู้กระทำผิดใช้ในการนำผู้เสียหายไปยังสถานที่ที่จะข่มขืนกระทำชำเรา (BGH NJW 1955, 1327) ในทางตรงกันข้าม หากสิ่งดังกล่าวเป็นแต่เพียงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอยู่กับการกระทำความผิดอาญาแล้วก็ไม่อาจที่จะริบได้ตามมาตรา 74 ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน เช่น รถบรรทุกที่ถูกใช้โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้นำไปใช้ขับขี่ได้ (OLG Karlsruhe VRS 9, 549) รวมทั้งอาวุธปืนที่บุคคลมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต (OLG Hamm NJW 1954, 1169) ในทางตรงกันข้าม รถบรรทุกที่ผู้กระทำผิดใช้ในการหลบหนีจากที่เกิดเหตุ (BGN 10, 337) หรือพาทรัพย์ที่ลักมาหลบหนีไป (BGH NJW 1952, 892) ถือว่าเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอาญา (Jescheck, Lehrbuch des Strafrechts : Allgemeiner Teil, 4 Auflage 1988, 718-720)

ในการริบทรัพย์สินหลักจึงอยู่ตรงที่ว่าทรัพย์ดังกล่าวได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่ ถ้าใช่ก็น่าที่จะริบได้ ในทางตรงกันข้าม หากทรัพย์ดังกล่าวเป็นแต่เพียงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอยู่กับการกระทำความผิดแล้วก็ไม่น่าที่ศาลจะสั่งริบทรัพย์ดังกล่าวได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่หมายเหตุนี้จึงมีข้อที่น่าคิดว่าเหตุใดรถกระบะดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ในเมื่อข้อเท็จจริงก็ยุติว่าจำเลยกระทำความผิดฐานดังกล่าวโดยใช้รถกระบะดังกล่าวในการกระทำความผิด

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 33 ในการริบทรัพย์สิน นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตาม กฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้อีกด้วยคือ
(1) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ
(2) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด
เว้นแต่ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจ ด้วยในการกระทำความผิด




คำพิพากษาศาลฎีกา

ผิดสัญญาหมั้นเรียกค่าทดแทนและสินสอดคือ article
การรับสภาพหนี้อายุความสะดุดหยุดลง article
สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี article
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
การรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่
สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยลูกจ้าง
อายุความเรียกค่าเสียหาย | ค่าสินไหมทดแทน | ฟ้องนายจ้าง
สัญญาขายฝาก-การวางทรัพย์-การขยายกำหนดเวลาไถ่
ตรวจค้น-จับกุมมิชอบด้วยกฎหมาย
ไม่แจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาทราบไม่ทำให้การสอบสวนคดีไม่ชอบ
ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นที่นำยึดทรัพย์
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน- สภาพการจ้าง
สัญญากู้ยืมเงินแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้,การคิดดอกเบี้ยผิดนัด
การเข้ามอบตัวถือว่าจำเลยถูกจับแล้ว
ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ | ปัสสาวะสีม่วง | เสพเมทแอมเฟตามีน
สัญญาที่ผู้บริโภคเสียเปรียบเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงาน
ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม-ผู้เสียหาย
ครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย 62 เม็ด โทษ 4 ปี 9 เดือน
ความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
ผลของการไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวัน
นับอายุความละเมิดเรียกค่าเสียหาย
มีเหตุสมควรให้รอการลงโทษ
ทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสน | เขตอำนาจศาลแขวง
นำสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ
การกระทำต่อเนื่อง-ความผิดฐานบุกรุก
ภาระจำยอมโดยอายุความ-ใช้ทางในลักษณะปรปักษ์
ดอกผลนิตินัย
พรากผู้เยาว์,กระทำชำเราเด็กหญิงไม่เกิน 15 ปี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง- “สภาพการจ้าง” คืออะไร?
รับของโจร รับซื้อทรัพย์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าได้มาโดยการลักทรัพย์
อายุความสิทธิเรียกร้องมูลละเมิด
เจ้าเพนักงานพิทักษ์ทรัพย์-สิทธิจัดการทรัพย์สินลูกหนี้
กฎหมายยกเลิกความผิด-การใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย
ประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ | ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง
เรียกค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
ความผิดฐานพรากเด็ก(ผู้เยาว์)อายุยังไม่เกิน 15 ปี
การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญา
เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การฟอกเงิน-ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามคำขอของจำเลย
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
การใช้ดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการ
รับสมอ้างต่อศาลว่าเป็นจำเลย ละเมิดอำนาจศาล เปลี่ยนตัวจำเลย
ฎีกาไม่มีลายมือชื่อไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ฎีกา
ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น
สิทธิในการดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วม
คำร้องสอดเป็นฟ้องซ้อน-ปัญหาข้อกฎหมาย
ความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ละเมิดอำนาจศาล-ทนายความเรียกค่าวิ่งเต้นคดี
ศาลไม่อาจลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง เมทแอมเฟตามีน
ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นที่จะขอให้ศาลเพิกถอนผู้จัดการมรดก
ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น,ชั้นอุทธรณ์
ผลของคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด | ผู้ชำระบัญชี
ผู้จัดการมรดก-ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก พินัยกรรม
สิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้าง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้
ผู้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วเงิน
สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ, ปรับโครงสร้างหนี้
ข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ครอบครองปรปักษ์ก่อนออกโฉนดที่ดินไม่นำมารวมหลังออกโฉนด
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ร้องขัดทรัพย์-ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
ช่วยซ่อนเร้นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
ขอให้ศาลรวมโทษจำคุก,ความผิดหลายกรรม
ฐานค่าจ้างในการคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างและดอกเบี้ย
สิทธิแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับสภาพหนี้ มิได้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมไม่ระงับ
อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
การประเมินภาษีเงินได้-อำนาจออกหมายเรียก
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ อำนาจศาลชั้นต้นที่จะสั่งแก้ไขคำสั่งที่ผิดหลง
การจราจรติดขัดไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
หนี้ที่จะต้องรับผิดตามสัญญาจำนอง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุด
พิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้อง
ผู้ให้เช่าซื้อ(เจ้าหนี้)ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย ฟ้องซ้ำ หลายกรรมต่างกัน
เหตุสุดวิสัย หรือ ประมาทเลินเล่อ เรียกค่าขาดไร้อุปการะ
ไม่เข้าเหตุถอนคืนการให้ | หมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ขอให้ศาลแรงงานพิจารณาคดีใหม่      
ถอนคืนการให้-ประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบหรือไม่?
คำสั่งยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ | อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้อง
ใบแต่งทนาย-ทนายความขอแรง
คำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง คำสั่งระหว่างพิจารณา
อำนาจสอบสวน ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ควบคุมหรือขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ลูกหนี้ร่วม-เจ้าหนี้ฟ้องให้ล้มละลายได้
ทางจำเป็นและทางภาระจำยอม
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนังสือให้ความยินยอมทำนิติกรรม
ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดที่ศาลสั่งริบ
เรียกค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน