ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เรียกค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

เรียกค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม พนักงานหญิงทั่วไปเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

   โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยตำแหน่งสุดท้ายเป็นหัวหน้าส่วนที่เรียกว่าผู้จัดการส่วน จำเลยมีระเบียบเกี่ยวกับตำแหน่งพนักงานฉบับแก้ไข พ.ศ.2530 ข้อ 4 สรุปได้ว่าพนักงานหญิงทั่วไปซึ่งมีตำแหน่งต่ำกว่าผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย เกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จำเลยเปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รัฐวิสาหกิจเช่นจำเลยได้รับการยกเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนของพนักงาน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ้างเดิม ต่อมาวันที่ 15 มีนาคม 2544 จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานมีผลตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2544 เนื่องจากโจทก์มีอายุ 55 ปี จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ตามระเบียบเดิม ศาลฎีกาเห็นว่า ในข้อที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจนั้น พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 เมื่อมติคณะรัฐมนตรีมิให้นำคำสั่ง กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไปมาใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจที่เกิดจากการแทรกแซงเข้าถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเช่นจำเลย จำเลยจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของระเบียบเดิม ส่วนในข้อที่เกี่ยวกับความแตกต่างกันระหว่างการเกษียณอายุของพนักงานที่เป็นหญิงและเป็นชายตามระเบียบดังกล่าวนั้น แม้จำเลยจะมีระเบียบเกี่ยวกับบำเหน็จพนักงานฉบับแก้ไข พ.ศ.2530 กำหนดให้ข้อ 4 ให้พนักงานหญิงทั่วไปซึ่งมีตำแหน่งต่ำกว่าผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ แต่สำหรับตำแหน่งของโจทก์คือตำแหน่งหัวหน้าส่วนที่เรียกว่าผู้จัดการส่วน ไม่ปรากฏว่าโดยลักษณะหรือสภาพของงานในตำแหน่งนี้ไม่อาจกำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อย่างพนักงานชายได้ ในเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยระเบียบนี้จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

อนึ่ง แม้ในข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง แต่การเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโดยอาศัยระเบียบซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยขัดแย้งกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้จึงเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งโจทก์ย่อมอุทธรณ์ได้แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง และในเมื่อการเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้วก็เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานกลางจะต้องใช้ดุลพินิจสั่งให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย ในชั้นนี้จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาใช้ดุลพินิจดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2549

พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 เป็นบทบัญญัติทั่วไป รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งสามารถกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่จะพ้นจากตำแหน่งพนักงานนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายดังกล่าวได้ เมื่อมติคณะรัฐมนตรีมิให้นำคำสั่ง กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไปมาใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจที่เกิดจากการแทรกแซงเข้าถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเช่นจำเลย จำเลยจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของระเบียบเดิม ส่วนในข้อที่เกี่ยวกับความแตกต่างกันระหว่างการเกษียณอายุของพนักงานที่เป็นหญิงและเป็นชายตามระเบียบดังกล่าวนั้น แม้จำเลยจะมีระเบียบเกี่ยวกับพนักงานฉบับแก้ไข พ.ศ.2530 กำหนดให้พนักงานหญิงทั่วไปซึ่งมีตำแหน่งต่ำกว่าผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบรูณ์ แต่สำหรับตำแหน่งของโจทก์คือตำแหน่งหัวหน้าส่วนที่เรียกว่าผู้จัดการส่วน ไม่ปรากฏว่าโดยลักษณะหรือสภาพของงานในตำแหน่งนี้ไม่อาจกำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อย่างพนักงานชายได้ ในเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยระเบียบนี้จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ในข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง แต่การเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโดยอาศัยระเบียบซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะขัดแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้จึงเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งโจทก์ย่อมอุทธรณ์ได้แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง และในเมื่อการเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้วก็เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานกลางจะต้องใช้ดุลพินิจสั่งให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม 1,499,550 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

 จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

    ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง
    โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

   ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยตำแหน่งสุดท้ายเป็นหัวหน้าส่วนที่เรียกว่าผู้จัดการส่วน จำเลยมีระเบียบเกี่ยวกับตำแหน่งพนักงานฉบับแก้ไข พ.ศ.2530 ข้อ 4 สรุปได้ว่าพนักงานหญิงทั่วไปซึ่งมีตำแหน่งต่ำกว่าผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย เกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อประมาณปี 2540 ถึง 2541 เกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ จำเลยประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรง จึงทำให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้เข้าถือหุ้นในกิจการของจำเลยเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนของจำเลยตามแผนฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินของรัฐบาล การเข้าถือหุ้นของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินดังกล่าวทำให้จำเลยเปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รัฐวิสาหกิจเช่นจำเลยได้รับการยกเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนของพนักงาน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ้างเดิม ต่อมาวันที่ 15 มีนาคม 2544 จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์พ้นสภาพการเป็นพนักงานมีผลตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2544 เนื่องจากโจทก์มีอายุ 55 ปี โจทก์มีตำแหน่งสุดท้ายเป็นหัวหน้าส่วนซึ่งต่ำกว่าผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของจำเลยและโจทก์มีอายุครบ 55 ปีบริบรูณ์ในวันที่ 19 เมษายน 2544 จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ตามระเบียบเดิม การเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า ในข้อที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจนั้น พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 ที่โจทก์อ้างเป็นบทบัญญัติทั่วไปที่รัฐวิสหากิจแต่ละแห่งสามารถกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่จะพ้นตำแหน่งพนักงานนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายดังกล่าวได้ เมื่อมติคณะรัฐมนตรีมิให้นำคำสั่ง กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไปมาใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจที่เกิดจากการแทรกแซงเข้าถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเช่นจำเลย จำเลยจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของระเบียบเดิม ส่วนในข้อที่เกี่ยวกับความแตกต่างกันระหว่างการเกษียณอายุของพนักงานที่เป็นหญิงและเป็นชายตามระเบียบดังกล่าวนั้น แม้จำเลยจะมีระเบียบเกี่ยวกับบำเหน็จพนักงานฉบับแก้ไข พ.ศ.2530 กำหนดให้ข้อ 4 ให้พนักงานหญิงทั่วไปซึ่งมีตำแหน่งต่ำกว่าผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ แต่สำหรับตำแหน่งของโจทก์คือตำแหน่งหัวหน้าส่วนที่เรียกว่าผู้จัดการส่วน ไม่ปรากฏว่าโดยลักษณะหรือสภาพของงานในตำแหน่งนี้ไม่อาจกำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อย่างพนักงานชายได้ ในเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยระเบียบนี้จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์โจทก์ฟังขึ้นบางส่วน

อนึ่ง แม้ในข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง แต่การเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโดยอาศัยระเบียบซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยขัดแย้งกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้จึงเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งโจทก์ย่อมอุทธรณ์ได้แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง และในเมื่อการเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้วก็เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานกลางจะต้องใช้ดุลพินิจสั่งให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย ในชั้นนี้จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาใช้ดุลพินิจดังกล่าวแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

 พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาโดยนัยที่กล่าวข้างต้นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 225 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้น คู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็น ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือคู่ความฝ่ายใด ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะ พฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความ ที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้




เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน

หน้าที่นายจ้างวางเงินก่อนฟ้องคดี article
ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานร้ายแรง article
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม-สินจ้างแทนการบอกกล่าว article
ลูกจ้างชั่วคราวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาฝ่ายเดียวต้องดำเนินการภายใน 7 วัน
เล่นอินเตอร์เน็ตในเวลาทำงานเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมแล้ว
ค่าจ้างค้างจ้ายกับดอกเบี้ยผิดนัดที่ลูกจ้างมีสิทธิคิดเอากับนายจ้าง
เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องตักเตือนเป็นหนังสือ
นายจ้างมอบอำนาจบังคับบัญชาให้ผู้อื่น
คำนวณจ่ายค่าชดเชย-ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างหรือไม่
ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งนายจ้าง
บำเหน็จดำรงชีพกับบำเหน็จตกทอด
อ้างเหตุเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย
การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจะกระทำได้แต่จ้างงานในโครงการเฉพาะ
การจงใจฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง คำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งใหม่
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุไม่อาจถอนได้
ฝ่าฝืนระเบียบนายจ้างมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เลิกจ้างโดยไม่ได้ตักเตือนก่อนเป็นหนังสือต้องจ่ายค่าชดเชย
ทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับในกรณีร้ายแรง
สิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ | ย้ายสถานประกอบกิจการ
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด
ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเพื่อคำนวณจ่ายค่าชดเชย
ตำแหน่งพนักงานขับรถ-สัญญาจ้างแรงงาน หรือสัญญาจ้างทำของ?
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
แม่บ้านทำงานบ้านฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างให้ลูกจ้างขับรถขนส่งทำงานติดต่อกันถึงวันละ 24 ชั่วโมงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างเป็นอำนาจบริหารจัดการของนายจ้าง
นายจ้างประกอบกิจการขนส่งย้ายที่ลงเวลาทำงานไปตั้งอยู่ที่อื่น
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานฝ่ายลูกจ้างไม่คัดค้าน
ดอกเบี้ยผิดนัดหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชย 15% ต่อปีไม่ใช่ 7.5%
สัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดทำให้สิทธิรับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเที่ยวระงับด้วย
สิทธิของลูกจ้างกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างประกาศหยุดกิจการชั่วคราว | ค่าจ้างระหว่างหยุดงาน
ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
สัญญาจ้างทดลองงาน | สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
บทความเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน
นายจ้างฟ้องไล่เบี้ยลูกจ้างให้รับผิดฐานละเมิดต่อบุคคลภายนอก
นายจ้างขอให้ศาลเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง
ตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาต่างประเทศ
ลูกจ้างส่งภาพโป๊ลามกอนาจารในเวลาทำงาน
ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง