ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม

-บุตรนอกกฎหมาย   บุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

-เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย

ในกรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายโดยมิใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ถ้าภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน ให้จ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีตายดังนี้... (2) เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4940/2545

ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "บุตร" ว่ามีความหมายอย่างไร เมื่อพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้มีฐานะด้อยในทางสังคมเพื่อให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างและครอบครัว ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนส่วนใหญ่มักจะอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ดังนั้น คำว่า "บุตร" ตามมาตรา 73 จึงต้องหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและรวมถึงบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนด้วยเมื่อโจทก์เป็นบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ส. ผู้ประกันตนซึ่งถึงแก่ความตายโจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ในกรณี ส. ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 73(2)

โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 6 หนังสือที่ รส 0725/19576 ลงวันที่ 22 กันยายน 2543 และคำวินิจฉัยคณะกรรมการอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่ 164/2544 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2544 และให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายให้แก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า นายสมบูรณ์ ศรีชัย ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2542 ด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ผู้ประกันตนอยู่กินกับนางสาวเพ็ญจันทร์ อุส่าห์ โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรหนึ่งคนคือโจทก์ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 6 สั่งจ่ายเงินค่าทำศพ30,000 บาท แต่ปฏิเสธการจ่ายเงินสงเคราะห์กรณีตาย เพราะโจทก์มิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตน โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์พิจารณาแล้วให้ยกอุทธรณ์ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า โจทก์ซึ่งมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนจะเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ในกรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายหรือไม่ พิเคราะห์แล้ว พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 73 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายโดยมิใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ถ้าภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน ให้จ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีตายดังนี้... (2) เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน" เห็นว่า พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "บุตร" ว่ามีความหมายอย่างไร ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็เขียนคำว่าบุตรไว้สองแบบคือ ตามมาตรา 73(2) ที่กล่าวมาใช้คำว่า "บุตร"ส่วนในมาตรา 75 ตรี เกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร และในมาตรา 77จัตวา (1) เกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพใช้คำว่า "บุตรชอบด้วยกฎหมาย"เมื่อใช้คำต่างกันในพระราชบัญญัติเดียวกันเช่นนี้ แสดงว่ามีความประสงค์จะให้ความหมายของคำว่า "บุตร" แตกต่างไปจากคำว่า "บุตรชอบด้วยกฎหมาย" โดยคำว่าบุตรนั้นถือเอาบุตรตามสภาพความเป็นจริง ซึ่งรวมถึงบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยเมื่อพิจารณาประกอบเหตุผลว่าบทกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้มีฐานะด้อยในทางสังคม เพื่อให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างและครอบครัว ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนส่วนใหญ่มักจะอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ดังนั้น ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติประกันสังคมดังกล่าวคำว่า "บุตร"ตามมาตรา 73 จึงต้องหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และรวมถึงบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายสมบูรณ์ ศรีชัย ผู้ประกันตน ซึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ในกรณีนายสมบูรณ์ ศรีชัย ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 73(2) ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษามานั้นชอบแล้วอุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  963/2539   การที่ผู้ประกันตนและมารดาทำหนังสือแจ้งความประสงค์ไม่ใช้สิทธิประกันสังคมกับโรงพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมทำความตกลงไว้ เนื่องจากเลือกใช้สิทธิให้ผู้ทำละเมิดเป็นผู้ออกค่ารักษาพยาบาลซึ่งมีมาตรฐานการรักษาพยาบาลสูงกว่าสิทธิที่จะได้รับจากการประกันสังคมนั้นไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

สามีภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนประกันสังคม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2535

คำว่า คู่สมรสตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533มาตรา 65 วรรคแรก หมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเท่านั้น

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ. 2533 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2534 โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร ต่อสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุโขทัยแต่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุโขทัย มีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าคลอดบุตรเนื่องจากมิได้เป็นคู่สมรสของผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 65 วรรคแรก เพราะจดทะเบียนสมรสภายหลังการคลอดบุตร โจทก์จึงยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2535 โจทก์ได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ว่า คณะกรรมการอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุโขทัย โจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวคลาดเคลื่อนต่อข้อกฎหมาย เพราะคำว่าคู่สมรสตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 นั้น มีความหมายเพียงว่า ชายหญิงที่อยู่กินเป็นสามีภริยากันตามประเพณีเท่านั้น ไม่จำต้องจดทะเบียนสมรสคำสั่งของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลย และให้จำเลยจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่โจทก์ เป็นเงินจำนวน 2,500 บาท

จำเลยให้การด้วยวาจาว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินประโยชน์ทดแทนค่าคลอดบุตรให้แก่โจทก์ เนื่องจากขณะที่ภริยาโจทก์คลอดบุตรภริยาของโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคู่สมรสของโจทก์ตามกฎหมาย

วันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์และจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่า ขณะที่โจทก์ยื่นคำขอรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัทนิมิตสุโขทัย จำกัดและโจทก์เป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533โดยจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 210 วันและโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร ตามที่พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 65 กำหนดไว้ สำหรับกรณีคลอดบุตร คณะกรรมการแพทย์กำหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนอัตราเหมาจ่ายเป็นเงิน 2,500 บาท เมื่อวันที่21 ตุลาคม 2534 โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรเนื่องจากนางนฤมล ทีปกรวรกุล ภริยาของโจทก์คลอดบุตรตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุโขทัยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2534 ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตรตามคำขอเนื่องจากนางนฤมลมิได้เป็นคู่สมรสของผู้ประกันตน รายละเอียดตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มกราคม2535 โจทก์ได้รับทราบคำสั่งคณะกรรมการอุทธรณ์ซึ่งได้วินิจฉัยยืนตามคำสั่งของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุโขทัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบคำสั่งของคณะกรรมการอุทธรณ์ โจทก์ได้จดทะเบียนสมรสกับนางนฤมลเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2534 และนางนฤมลคลอดบุตรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม2534 โจทก์และจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน

ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า นางนฤมลภริยาโจทก์คลอดบุตรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2534 และโจทก์ได้จดทะเบียนสมรสกับนางนฤมลเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2534 ดังนั้น ขณะที่นางนฤมลคลอดบุตรจึงยังถือไม่ได้ว่านางนฤมลเป็นคู่สมรสของโจทก์ตามกฎหมายโจทก์ไม่อาจใช้สิทธิรับประโยชน์ทดแทนในกรณีที่นางนฤมลคลอดบุตรได้ไม่มีเหตุเพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลย พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว โจทก์อุทธรณ์ว่าพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มิได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่สมรส" ที่บัญญัติอยู่ในมาตรา 65 วรรคแรก ไว้โดยเฉพาะจึงต้องมีความหมายตามที่เข้าใจกันตามธรรมดาคือมีความหมายเพียงว่าชายหญิงที่อยู่กินเป็นสามีภริยากันตามประเพณีเท่านั้น มิได้หมายความว่าต้องผ่านการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยการจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 แต่อย่างใด เห็นว่าแม้พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 จะไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่สมรส" ว่ามีความหมายอย่างไรดังที่โจทก์อุทธรณ์ก็ตามแต่เนื่องจากเป็นถ้อยคำในกฎหมายจึงต้องแปลความหมายโดยเทียบเคียงกับคำว่า "คู่สมรส" ในกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในกรณีนี้ก็คือบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว ซึ่งมีบทบัญญัติถึงคำว่า "คู่สมรส" อยู่ในมาตรา 1452, 1453 และมาตรา 1459 ในหมวดที่ 2 ว่าด้วยเงื่อนไขการสมรสโดยมาตรา 1452 บัญญัติว่า "ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้" มาตรา 1453 บัญญัติว่า "หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่าสามร้อยสิบวัน เว้นแต่...(2)สมรสกับคู่สมรสเดิม..." และมาตรา 1459บัญญัติว่า "การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกันหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้ ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ให้พนักงานทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับจดทะเบียน"ซึ่งคำว่า "คู่สมรส" ในบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่าหมายถึงชายหญิงที่ทำการสมรสกันและการสมรสที่ว่านั้นจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 1457 ที่บัญญัติว่า "การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น" ดังนี้ จะเห็นได้ว่าชายหญิงที่จะเป็นคู่สมรสกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นจะต้องสมรสกันโดยจดทะเบียนสมรสด้วย ดังนั้นคำว่า "คู่สมรส"ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กล่าวมาแล้วจึงหมายถึงสามีภริยาซึ่งจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเท่านั้น คำว่า"คู่สมรส" ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 65 วรรคแรกจึงต้องหมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายด้วยเช่นกันขณะที่นางนฤมลภริยาโจทก์คลอดบุตร โจทก์และนางนฤมลยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน นางนฤมลจึงไม่ใช่คู่สมรสของโจทก์ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 65 วรรคแรกโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีที่นางนฤมลคลอดบุตรที่ศาลแรงงานกลางพิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยอุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน