ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่

ทนายความคดีครอบครัว ฟ้องหย่า สินสมรส อำนาจปกครองบุตร ชู้สาว มรดก

ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่

สามีเป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา 

โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกันและไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตา

การจะอ้างสมัครใจแยกกันอยู่ |   เหตุฟ้องหย่าที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว  สามีเป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าภริยาได้  แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน และไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตาม

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2543

เหตุฟ้องหย่าอันที่มิใช่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 นั้นโจทก์ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายประพฤติตนไม่สมควรหรือกระทำการอันเข้าเงื่อนไขที่มาตรา 1516 ได้ระบุไว้นอกจากอนุมาตรา(4/2) ส่วนเหตุฟ้องหย่าที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น หากพฤติการณ์แห่งคดีมิได้เป็นไปดังที่ได้กล่าวมาทั้งสองกรณีนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน และไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตาม

แม้จะถูกฟ้องหย่าหลายครั้ง จำเลยก็ไม่เคยคิดที่จะฟ้องหย่าโจทก์หรือมีความประสงค์ที่จะหย่าขาดจากโจทก์แต่อย่างใด รวมทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติกรรมในทำนองชู้สาวกับชายอื่นหรือนอกใจโจทก์ ตรงข้ามกับโจทก์ซึ่งมีพฤติกรรมอันส่อแสดงว่านอกใจจำเลยและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา จึงเป็นเหตุที่ทำให้จำเลยต้องทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยและสำนักราชเลขาธิการ รวมทั้งทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงต่อบิดาและมารดาของหญิงที่ยุ่งเกี่ยวกับสามีของตน ตลอดจนฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงนั้นด้วย การที่จำเลยต้องกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ในหนังสือร้องเรียนและเบิกความเป็นพยานในคดีดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงนั้นแม้ถ้อยคำบางคำอาจเกินเลยและรุนแรงไปบ้างก็ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวด้วยความหึงหวงในตัวสามีอันเป็นธรรมชาติของภริยาโดยทั่วไป ทั้งเป็นการกล่าวโดยสุจริต โดยชอบธรรมเพื่อป้องกันส่วนได้เสียตามคลองธรรม จึงมิใช่เป็นการหมิ่นประมาท ดังนั้น ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงอันต้องด้วยเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(3) อีกทั้งพฤติการณ์ระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิใช่กรณีที่สมัครใจแยกกันอยู่ตามมาตรา 1516(4/2) แต่เป็นกรณีโจทก์เป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา เมื่อจำเลยมิได้ประสงค์จะหย่าขาดจากโจทก์โจทก์ก็ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์หย่าขาดจากจำเลย

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยาน และพิพากษาให้โจทก์หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับจำเลย

จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์จำเลย

จำเลยฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

ศาลชั้นต้นพิจารณาโดยสืบพยานโจทก์และจำเลยใหม่แล้วพิพากษาให้โจทก์หย่าขาดกับจำเลย

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยาจดทะเบียนสมรสที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2505 มีบุตร 1 คนโจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลย และศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องรวม 2 คดี ได้แก่

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2523 วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนาแยกกับโจทก์หรือละทิ้งโจทก์ โจทก์เป็นฝ่ายหาทางแยกกับจำเลย เพราะจำเลยนำสืบได้ว่า โจทก์มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับนางสาวปิยะพรรณและส่งเสียให้นางสาวปิยะพรรณไปศึกษาในต่างประเทศ และโจทก์จะทำการสมรสกับนางสาวปิยะพรรณ

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5347/2538 วินิจฉัยว่า จำเลยมิได้ประพฤติชั่วและมิได้กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง

ส่วนจำเลยได้ฟ้องนางดารัตน์ วิภาตะกลัศ เรียกค่าทดแทนเนื่องจากนางดารัตน์แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับโจทก์ในคดีนี้ตั้งแต่ปี 2523 โดยโจทก์มิได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจ คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2539 ให้นางดารัตน์ชำระเงิน200,000 บาท แก่จำเลยในคดีนี้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ

ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทอ้างว่าจำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีที่จำเลยฟ้องเรียกค่าทดแทนจากนางดารัตน์ โดยเจตนาใส่ความโจทก์หลายเรื่อง ปรากฏว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามฎีกาทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกามีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นของโจทก์ตามคำสั่งคำร้องของศาลฎีกาที่ 2085/2539 นอกจากนี้โจทก์ยังฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาท โดยกล่าวหาว่าจำเลยกล่าวข้อความเป็นเท็จใส่ความโจทก์ต่อหน้าบุคคลหลายคนว่า โจทก์จบดอกเตอร์เพราะจำเลยส่งเสีย พอจบกลับมาไล่เตะลูกเมีย ทิ้งลูกเมียไปหาเมียใหม่ เมียคนแรกถูกหลอกเกือบหมดตัว พอคนที่สองก็ถูกหลอกเกลี้ยงตัว ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน ปรับ 500บาท โทษจำคุกรอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี โจทก์จึงนำข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวมาฟ้องหย่าจำเลยเป็นครั้งที่สาม ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีหมายเลขแดงที่ ค. 18/2536

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์เป็นการร้ายแรงหรือไม่ และโจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เกินกว่า3 ปี หรือไม่ เห็นว่า เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อาจแยกได้เป็น 2 กรณี คือ

1. เหตุฟ้องหย่า ที่มิใช่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจึงต้องกล่าวอ้างว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกระทำการเข้าเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใด ดังที่ปรากฏในมาตรา 1516 นอกจากมาตรา 1516(4/2)

2. เหตุฟ้องหย่า ที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายดังที่ปรากฏในมาตรา 1516(4/2)

ทั้งนี้ เหตุฟ้องหย่าอันเนื่องจากกรณีที่ 1 นั้น โจทก์ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายประพฤติตนไม่สมควร หรือกระทำการอันเข้าเงื่อนไขที่มาตรา 1516 ได้ระบุไว้นอกจากอนุมาตรา (4/2)ส่วนเหตุฟ้องหย่าอันเกี่ยวจากกรณีที่ 2 ก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นหากพฤติการณ์แห่งคดีมิได้เป็นไปดังที่ได้กล่าวมาทั้งสองกรณีนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกันและไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตาม

เมื่อต้นเหตุแห่งการฟ้องหย่าในคดีนี้ เกิดจากความพยายามของโจทก์ที่ต้องการหย่าขาดจากจำเลยตลอดมานับตั้งแต่โจทก์เรียนจบปริญญาเอกกลับมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา แต่โจทก์ก็มิอาจที่จะหย่าขาดจากจำเลยได้ เพราะศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้องถึง 2 ครั้งนอกจากนี้ ยังฟ้องจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาท และนำข้อเท็จจริงจากคดีดังกล่าวมาฟ้องหย่าจำเลยด้วย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องอีก เห็นได้ว่า แม้จะถูกฟ้องหย่าหลายครั้งหลายครารวมทั้งในคดีนี้ก็ต้องย้อนกลับมาที่ศาลฎีกาถึง 2 ครั้ง จำเลยก็ไม่เคยคิดที่จะฟ้องหย่าโจทก์หรือมีความประสงค์ที่จะหย่าขาดจากโจทก์แต่อย่างใดรวมทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติกรรมในทำนองชู้สาวกับชายอื่นหรือนอกใจโจทก์ ตรงข้ามกับโจทก์ซึ่งมีพฤติกรรมอันส่อแสดงว่านอกใจจำเลยและยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา ดังจะเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2523 และในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2539 จึงเป็นเหตุที่ทำให้จำเลยต้องทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย และสำนักราชเลขาธิการ รวมทั้งทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงต่อบิดาและมารดาของหญิงที่ยุ่งเกี่ยวกับสามีของตน ตลอดจนฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงนั้นด้วย การที่จำเลยต้องกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ในหนังสือร้องเรียน และเบิกความเป็นพยานในคดีดังกล่าวตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องข้อ 2.1 และ 2.2 ว่า เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงนั้น แม้ถ้อยคำบางคำอาจเกินเลยและรุนแรงไปบ้างก็ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวด้วยความหึงหวงในตัวสามี อันเป็นธรรมชาติของภริยาโดยทั่วไป ทั้งเป็นการกล่าวโดยสุจริต โดยชอบธรรม เพื่อป้องกันส่วนได้เสียตามคลองธรรม จึงมิใช่เป็นกรณีหมิ่นประมาท จริงอยู่สำนักราชเลขาธิการมิใช่เป็นหน่วยงานที่จำเลยพึงร้องเรียนโดยตรง แต่มีเหตุที่อาจทำให้จำเลยเชื่อโดยสุจริตใจว่า สมควรที่จะต้องร้องขอความเป็นธรรมต่อสำนักราชเลขาธิการด้วย เพราะเกี่ยวพันกับการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งนายกเหล่ากาชาดของจังหวัดว่ามีความเหมาะสมเพียงใดหรือไม่ที่จะให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ว่าราชการจังหวัดดำรงตำแหน่งนายกเหล่ากาชาดของจังหวัดนั้น

กล่าวโดยสรุป ข้อเท็จจริงตามหนังสือชี้แจงและคำเบิกความของจำเลยในทุกประเด็นตามข้อ 2.1 และ 2.2 ที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง เพราะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชังนั้น เห็นว่า ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง อันต้องด้วยเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(3) นอกจากนี้พฤติการณ์ระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิใช่กรณีที่สมัครใจแยกกันอยู่ตามมาตรา 1516(4/2)แต่เป็นกรณีโจทก์เป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาเมื่อจำเลยมิได้ประสงค์จะหย่าขาดจากโจทก์ โจทก์ก็ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้ ทั้งน่าจะเป็นบทเรียนให้โจทก์จำเลยได้คิดใคร่ครวญและทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้ว่า โจทก์จำเลยได้ร่วมในชะตากรรมอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้มาเนิ่นนานเกินควรแล้ว สมควรที่จะได้ยุติความบาดหมางทั้งสิ้นทั้งปวงเพื่อบุตรที่โจทก์จำเลยมีอยู่เพียงคนเดียวซึ่งต้องได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอันเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างบิดามารดา ทั้งที่บุตรมิได้ร่วมก่อขึ้นเลย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ทุกข้อฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

 มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

 ฟ้องหย่าอ้างเหตุสมัครใจแยกกันอยู่

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรณีจะดำเนินฟ้องหย่าฝ่ายเดียวทำอย่างไรปัจจุบันไม่ทราบที่อยู่ที่ติดต่อ

เคยจดทะเบียนสมรสสมัยเป็นนักศึกษา(แฟนต้องการหลักประกันในขนะนั้น)กับแฟนไม่เคยอยู่ด้วยกันแต่ในที่สุดก็ไม่ได้เจอกันแยกไปทำงานกันคนละที่และเลิกกันไปไม่ได้พบกันอีกเลยเป็นเวลากว่า 20 ปี แต่ต้องการจดทะเบียนหย่าจะดำเนินการอย่างไรได้บ้างครับ กรณีจะดำเนินฟ้องหย่าฝ่ายเดียวทำอย่างไรปัจจุบันไม่ทราบที่อยู่ที่ติดต่อ... 




นิติกรรม

นิติกรรมอำพรางคู่กรณีต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม article
องค์ประกอบของนิติกรรม article
สัญญารับเหมาก่อสร้างเลิกกัน คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม article
การโอนที่ดินในระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ
สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน
ทำสัญญากู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของสมาคมไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
แม้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะแต่ยังต้องรับผิดต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อตกลงให้ผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ชำระค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ขายที่ดินห้ามโอนภายใน 10 ปีเป็นการสละการครอบครอง
สิทธิได้รับค่าตอบแทนก่อนบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิต
ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันชีวิต-อ้างถูกฉ้อฉลให้ทำสัญญา
ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ลูกหนี้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินอัตราเป็นโมฆะต้องนำมาหักเป็นต้นเงิน
สัญญาเช่าบ้านภายหลังการซื้อขาย
ผู้จะขายไม่ได้รับใบอนุญาตให้จัดสรรที่ดินผู้จะซื้อไม่รู้สัญญาไม่เป็นโมฆะ
ผู้แทนโดยชอบธรรมทำสัญญาขายไม้มรดกส่วนของผู้เยาว์-ไม่ต้องขออนุญาตศาลก่อน
คู่สัญญามีอำนาจฟ้องให้โอนทรัพย์สินให้บุตรได้
การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรม
การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในสัญญาถือว่าเป็นเบี้ยปรับ
จดทะเบียนจำนองที่ดินเฉพาะส่วนของตน
สิทธิในการเช่าซื้อเป็นมรดกหรือไม่?
ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้อื่นมาขอเฉลี่ยหนี้
สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของรวม
สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด
สัญญเช่าตึกแถว ผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของตึกแถวที่ให้เช่า
สัญญาจะซื้อจะขายมีผลอย่างไรกับสัญญาซื้อขาย
หนังสือมอบอำนาจ พิมพ์ลายนิ้วมือ
กฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฝ่าฝืนเป็นโมฆะ | ดอกเบี้ยผิดนัด
สิทธิของผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า"บุริมสิทธิ"
สัญญาที่ทำขึ้นโดยไม่มีเจตนาแท้จริงให้ผูกพันกัน
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย, ฝ่าฝืนกฎหมาย
การขายอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน
ผลของการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม