ReadyPlanet.com


ถามต่อ


 ก กับ ข เป็นพี่น้องกัน มีที่ดินติดแม่น้ำ แปลง ก อยู่ทางเหนือ และแปลง ข อยู่ด้านใต้ ซึ่งติดกัน เดิมที่ทั้งสองแปลงเป็นแปลงเดียวกัน พึ่งจะแบ่งเป็นสองแปลงหลังพ่อแม่เสีย และ ก่อนแบ่ง ข ทำหน้าที่ดูแลที่ดินทั้งหมด และได้นำดินจากที่ดินส่วนใต้ไปถมในที่ดิน กเพื่อสร้างที่จอดเรือ อยากทราบว่า ที่ดินส่วนที่ถมใหม่เป็นของใคร สมมุติว่าเป็นการถมที่บนที่ดินที่งอกมาใหม่



ผู้ตั้งกระทู้ AUM :: วันที่ลงประกาศ 2009-12-16 13:16:19


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2016463)

มาตรา 1308 ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สิน ของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น

"สมมุติว่าเป็นการถมที่บนที่ดินที่งอกมาใหม่"

ตอบว่าใครเป็นเจ้าของที่งอกริมตลิ่งก็เป็นเจ้าของส่วนที่ถมใหม่ด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลีนนท์ วันที่ตอบ 2009-12-16 13:28:28


ความคิดเห็นที่ 2 (2016757)

ต้องใช้ราคาที่ดินที่ถมไปในฐานลาภมิควรได้

 โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทเพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย ก็ย่อมจำเป็นต้องถมดินเพื่อปรับระดับพื้นให้สูงพ้นจากน้ำท่วม อันเป็นการกระทำเพื่อครอบครองใช้สอยที่ดินพิพาทของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แม้ว่าขณะนั้นโจทก์ทั้งสองทราบอยู่แล้วว่า จำเลยกำลังร้องขอต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทกับได้ฟ้องร้องต่อโจทก์ทั้งสอง แต่ก็ยังมิได้มีผลแพ้ชนะกันออกมา ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งสองถมดินในที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยที่ดินของตน จึงไม่อาจฟังได้ว่า เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เมื่อจำเลยรับโอนที่ดินพิพาทมาในราคาเดียวกับราคาที่โจทก์ทั้งสองซื้อมา จำเลยจึงได้ดินถมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการถมดิน และได้มูลค่าที่ดินพิพาทเพิ่มขึ้นจากเดิมเมื่อเทียบกับราคาที่ดินพิพาทที่ยังไม่ได้ถม ดินถมดังกล่าวและมูลค่าที่ดินพิพาทที่เพิ่มขึ้นนั้น ถือว่าเป็นการเพิ่มพูนกองทรัพย์สินของจำเลย จึงเป็นทรัพย์สิ่งใดที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 จำเลยจึงต้องชดใช้ราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสองถมที่ดินไป

คำพิพากษาที่  5817/2551

ผู้แสดงความคิดเห็น admin วันที่ตอบ 2009-12-17 09:28:22



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล