ReadyPlanet.com


ฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตร


 สวัสดีค่ะ ดิฉันทำงานเป็นช่างเสริมสวย  มีรายได้ไม่แน่นอน  ฉันมีลูกสองคน คนโตอยู่กับพ่อ  กำลังเรียนมหาวิทยาลัย  พ่อส่งให้เดือนละ 5 พันบาท  คนเล็กดิฉันเอาเขามาอยู่ด้วยที่สกลนคร   เปิดร้านเสริมสวยโดยที่เช่าเขาอยู่   เมื่อก่อนสามีส่งลูกคนเล็ก  5000  บาท ทุกเดือนเหมือนกัน  แต่ช่วงนี้เขาขาดส่ง 6  เดือนแล้ว  ฉันสามารถฟ้องค่าเลี้ยงจากสามีให้กับลูกสาวคนเล็กได้ไหมค่ะ   ถ้าฉันมีบ้านหรือมีเงินมากมายดิฉันคิดว่าฉันคงจะเลี้ยงได้   แต่ตอนนี้ฉันไม่มีอะไรเลย แต่ลูกคนเล็กต้องการอยู่กับดิฉัน สามีทำงานราชการ  เขามีผู้หญิงมาเป็นสิบกว่าปี และมีหนี้สินเยอะ



ผู้ตั้งกระทู้ ศิริ :: วันที่ลงประกาศ 2013-11-14 21:31:59


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2434793)

ในกรณีที่คุณกับสามี จดทะเบียนสมรสกัน บุตรที่เกิดมาย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของคุณและสามี ดังนั้น คุณและสามี ซึ่งเป็นบิดา มารดา จึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรในขณะที่บุตรทั้งสองเป็นผู้เยาว์ (อายุไม่ครบ 20 ปี) การที่สามีคุณเคยส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรคนเล็กเดือนละ 5,000 บาท ตลอดมา ต่อมาก็หยุดส่งไป 6 เดือนแล้ว จึงเป็นกรณีที่บิดาไม่อุปการะเลี้ยงดูบุตรตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ คุณในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีสิทธิฟ้องสามี ให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ครับ

แต่หากในกรณีที่คุณกับสามีไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรที่เกิดมาจึงเป็นบุตรนอกสมรส ซึ่งบิดานอกกฎหมายไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูในกรณีดังกล่าว คุณในฐานะมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิฟ้องบิดาของเด็กให้จดทะเบียนรับรองบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูไปในคดีเดียวกันได้ครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง (คลิ๊กที่หัวข้อเพื่ออ่านต่อ)

เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์เสมือนเป็นลูกหนี้ร่วมกัน หลังจากหย่าขาดจากกันแล้ว กรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียว ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเงินนั้นจากอีกฝ่ายหนึ่งได้แม้บุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม แต่การเรียกร้องเงินดังกล่าวนี้มีอายุความ 5 ปีนับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปแล้ว

 

ไม่ได้จดทะเบียนสมรส สามารถเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรได้หรือไม่

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-9604258 วันที่ตอบ 2013-12-05 15:10:18


ความคิดเห็นที่ 2 (2434794)

เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลัง
เกี่ยวกับการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังคือ การหย่าโดยความยินยอม กฎหมายให้บิดามารดาตกลงกันว่าฝ่ายใดจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเท่าใด หากไม่ได้ตกลงเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ เมื่อฟังว่าหลังจดทะเบียนหย่า จำเลยไม่เคยให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เลย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังได้

ภาระหน้าที่สำคัญของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์ได้แก่หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและหน้าที่นี้มิได้หมดไปเมื่อจดทะเบียนหย่ากันแล้ว การที่สามีภริยาบันทึกที่ท้ายทะเบียนหย่าว่าให้บุตรผู้เยาว์อยู่ภายใต้อำนาจปกครองของมารดาแต่เพียงผู้เดียวนั้นมิได้หมายความว่ามารดาแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้ที่ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น มารดามีสิทธิเรียกให้บิดารับผิดจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูย้อนหลังนับแต่วันจดทะเบียนหย่าถึงวันฟ้องได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544)

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร. 085-9604258 วันที่ตอบ 2013-12-05 15:18:27



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล