ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ขอให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าค่าศึกษาเล่าเรียน

ขอให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าค่าศึกษาเล่าเรียน

โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองเป็นเดือนละ 30,000 บาท(จากเดิมเดือนละ 8,000 บาท) เนื่องจากบุตรทั้งสองมีการศึกษาสูงขึ้นและโจทก์มีรายได้ไม่พอกับภาวะค่าครองชีพขณะนั้น ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองแก่โจทก์เพิ่มเป็นเดือนละ 16,000 จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องว่า โจทก์ยึดทรัพย์ของจำเลย ขอให้ศาลวินิจฉัยคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยจะต้องรับผิดชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองจนกว่าบุตรทั้งสองศึกษาสำเร็จชั้นปริญญาตรีหรือเพียงแค่บุตรทั้งสองบรรลุนิติภาวะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3618/2543

   สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมมีข้อความว่า "จำเลยยอมรับผิดชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าศึกษาเล่าเรียนให้แก่บุตรทั้งสองคือ เด็กชาย อ. และเด็กชาย พ. เป็นเงินจำนวนเดือนละ 16,000 บาท โดยจำเลยยินยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บุตรทั้งสองคนจนกว่าจะเรียนจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะ" ดังนี้ เมื่อสัญญาใช้คำว่า "หรือ" จำเลยต้องชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองคนละ8,000 บาท ต่อเดือน จนกว่าบุตรคนใดคนหนึ่งจะจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะในกรณีหนึ่งกรณีใดที่มาถึงก่อนแก่โจทก์จึงจะเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุตร โดยให้คิดคำนวณสำหรับบุตรเป็นรายบุคคลไป
 
มาตรา 11  ในกรณีที่มีข้อสงสัย  ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น

มาตรา 171  ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร

มาตรา 368  สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย

มาตรา 850  อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน
 
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองของโจทก์และจำเลยคือนายอาทิตย์  กับนายอิทธิพล  เป็นเงินเดือนละ 8,000 บาท แก่โจทก์จนกว่าบุตรทั้งสองจะศึกษาสำเร็จชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะให้จำเลยนำเงินที่จะต้องชำระดังกล่าวเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของนายอิทธิพลและโจทก์ภายในวันที่ 20 ทุกเดือน นับแต่เดือนธันวาคม 2538 หากจำเลยผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้โจทก์บังคับคดีทั้งหมดได้ทันที และให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองแต่เพียงผู้เดียว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองเป็นเดือนละ 30,000 บาท เนื่องจากบุตรทั้งสองมีการศึกษาสูงขึ้นและโจทก์มีรายได้ไม่พอกับภาวะค่าครองชีพขณะนั้น ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองแก่โจทก์เพิ่มเป็นเดือนละ 16,000 บาทนับแต่เดือนมกราคม 2540 เป็นต้นไปจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว (คดีอยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาในเวลานั้น) พิพากษายืนคดีถึงที่สุดแล้ว หลังจากนั้นจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลย จำเลยเห็นว่า นายอาทิตย์บรรลุนิติภาวะแล้วจำเลยจะขอชำระเฉพาะค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับนายอิทธิพลจนถึงวันที่นายอิทธิพลบรรลุนิติภาวะแต่โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยินยอมโดยจะคำนวณเงินคิดถึงวันที่บุตรทั้งสองเรียนจบปริญญาตรี โจทก์และจำเลยขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยจะต้องรับผิดชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองจนกว่าบุตรทั้งสองศึกษาสำเร็จชั้นปริญญาตรีหรือเพียงแค่บุตรทั้งสองบรรลุนิติภาวะ

   ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยจะต้องรับผิดชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองจนกว่าบุตรทั้งสองจะเรียนจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งที่มาถึงก่อน เฉพาะค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับนายอาทิตย์ นั้น จำเลยต้องรับผิดชำระเพียงแค่เท่าที่นายอาทิตย์ บรรลุนิติภาวะเท่านั้นเนื่องจากเวลาที่นายอาทิตย์บรรลุนิติภาวะถึงกำหนดก่อนเวลาที่นายอาทิตย์จะศึกษาสำเร็จชั้นปริญญาตรี

   โจทก์อุทธรณ์
   ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับ ให้จำเลยรับผิดชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองจนกว่าบุตรทั้งสองจะศึกษาสำเร็จชั้นปริญญาตรี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ

   จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมในข้อ 1. มีข้อความว่า "จำเลยยอมรับผิดชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนให้แก่บุตรทั้งสอง คือ เด็กชายอาทิตย์ และเด็กชายอิทธิพล  เป็นเงินจำนวนเดือนละ 8,000 บาท (ต่อมาได้แก้ไขเป็นเดือนละ 16,000 บาท แล้ว)โดยจำเลยยินยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บุตรทั้งสองคนจนกว่าจะเรียนจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะ" เห็นได้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกำหนดให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดมีสองกรณี กล่าวคือ กรณีแรกเมื่อบุตรทั้งสองเรียนจบปริญญาตรี กรณีที่สองเมื่อบุตรทั้งสองบรรลุนิติภาวะ โดยใช้คำว่า"หรือ" ซึ่งหมายความถึงกรณีหนึ่งกรณีใดก็ได้ที่มาถึงก่อน อีกทั้งตามสัญญาก็น่าจะแปลว่าจำเลยต้องรับผิดชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนแก่บุตรแต่ละคนแยกจากกันคนละครึ่ง แล้วแต่ว่าบุตรคนใดเรียนจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะ จำเลยก็หลุดพ้นความรับผิดต่อบุตรคนนั้นเป็นคน ๆ ไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยมีความรับผิดไปจนกว่าบุตรทั้งสองจะสำเร็จปริญญาตรีนั้นยังไม่ถูกต้องเห็นสมควรแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้อง

  อนึ่ง ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้มีคำพิพากษาแก้ไข เป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

  พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองคนละ 8,000 บาท ต่อเดือนจนกว่าบุตรคนใดคนหนึ่งจะจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะในกรณีหนึ่งกรณีใดที่มาถึงก่อนแก่โจทก์ โดยให้คิดคำนวณสำหรับบุตรเป็นรายบุคคลไป ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 
 
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 138  ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องนั้น และข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความเหล่านั้นไว้ แล้วพิพากษาไปตามนั้น
ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้
(1) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล
(2) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(3) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอมความ




ประนีประนอมยอมความ

สัญญาประนีประนอมยอมความที่ขัดต่อกฎหมาย
หนี้สินอันเกิดจากมูลละเมิดระงับสิ้นไป
สัญญามีข้อสงสัยต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่ายซึ่งจะต้องเป็นผู้เสียหายในมูลหนี้
สิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของผู้เยาว์
ขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้
พิพากษาตามสัญญายอมความอาจเกินคำขอได้
ตกลงยอมความกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดี
ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบด้วยกฎหมาย