ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ผู้อาศัยสิทธินำที่ดินไปขายผู้รับโอนไม่มีสิทธิ

ผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้โอนแม้รับซื้อไว้โดยสุจริต

โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในนามของจำเลยที่ 1 ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะโอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ได้แล้ว จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตามจำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท

ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่ได้ฟ้องในฐานะส่วนตัวจึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1562

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2539

ฎีกาจำเลยที่1ที่ว่าโจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน1ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้นจำเลยที่1ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249 วรรคหนึ่ง 

ฎีกาจำเลยทั้งสองว่าจำเลยที่ 2รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตมีค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง การที่จำเลยที่ 1ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในนามของจำเลยที่ 1 ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยที่ 1ไม่มีสิทธิที่จะโอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ได้แล้ว จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562 เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตนจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัดดังนั้น แม้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่ได้ฟ้องในฐานะส่วนตัวจึงไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้นายชูชัย สะอาดดี หรือรัสเซลทิดด์ ฟ้องและดำเนินคดีแทน โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 92 เนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ 1 งาน ต่อมาเมื่อปี 2519 โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในนามของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กลับไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ในนามของตนเอง โจทก์โต้แย้งคัดค้านให้จดทะเบียนแก้ไขหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้เป็นชื่อโจทก์แต่จำเลยที่ 1 ขอผัดเรื่อยมาในที่สุด เมื่อวันที่15 มิถุนายน 2535 จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนขายที่ดินของโจทก์แปลงนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 ในราคา 300,000 บาท โดยจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าเป็นที่ดินของโจทก์และโจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังรับซื้อไว้ และได้เข้าแย่งการครอบครองที่ดินจากโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้พิพากษาว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 102 ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล และให้จำเลยที่ 2 กับบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ ให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับลงวันที่ 15 มิถุนายน 2535 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนแก้ไขหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวให้เป็นชื่อโจทก์พร้อมกับส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์แก่โจทก์หากจำเลยที่ 2 ไม่ปฎิบัติตามก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทน

จำเลยทั้งสองให้การเป็นทำนองเดียวกันว่า เมื่อประมาณปี 2514 โจทก์ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ครั้นเมื่อปี 2519 จำเลยที่ 1 ได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในนามของจำเลยที่ 1โดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2535 จำเลยที่ 1ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งรับซื้อไว้โดยสุจริตและได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน โดยสุจริตและถูกต้องตามกฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ให้จำเลยที่ 2 กับบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน

จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้น เห็นว่าข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตมีค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง การที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในนามของจำเลยที่ 1 ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะโอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ได้แล้ว จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตามจำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท

ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาข้อสุดท้ายว่า นายชูชัย สะอาดดี ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุพการีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 เห็นว่าปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562 เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตนจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด ดังนั้น แม้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่ได้ฟ้องส่วนตัว จึงไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น

 ผู้อาศัยสิทธินำที่ดินไปขายผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้โอน

จำเลยซื้อที่ดิน แต่ผู้ขายมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน เป็นแต่เพียงผู้อาศัยสิทธิของโจทก์อยู่ ผู้ขายจึงไม่มีสิทธินำที่ดินไปขาย แม้ได้ความว่าจำเลยได้ซื้อที่ดินมา จึงเป็นกรณีผู้รับโอนที่ไม่มีสิทธิดีกว่าผู้ขายซึ่งเป็นผู้โอน จำเลยคงมีสิทธิเท่าที่ผู้ขายหรือผู้โอนมีอยู่ กล่าวคือเท่ากับจำเลยอยู่ในที่ดินโดยอาศัยสิทธิของโจทก์เท่านั้น

การแย่งการครอบครองมีอายุความหนึ่งปี โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง โจทก์มีสิทธิฟ้องเอาคืนที่ดินจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1375 แม้จำเลยอ้างว่าได้ซื้อที่ดินจากผู้อื่นและเข้าครอบครองที่ดินแล้วก็ตาม แต่จำเลยซื้อที่ดินจากผู้ที่ไม่มีสิทธิ จำเลยก็ไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินเช่นกัน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2533

          แม้จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากผู้ขายและเข้าอยู่ในที่ดินพิพาทแล้วก็ตาม เมื่อปรากฏว่าผู้ขายไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เป็นแต่เพียงผู้อาศัยสิทธิของโจทก์อยู่ในที่พิพาท จำเลยย่อมไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาท เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้โอน จำเลยคงมีสิทธิเท่าที่ผู้ขายมีอยู่ จึงเท่ากับอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์เช่นกัน ดังนั้น จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง เว้นแต่จะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381

          จำเลยเพิ่งโต้แย้งสิทธิโจทก์ซึ่งถือว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท ซึ่งนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 1 ปี โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเอาคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375

           โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 259/35 ตำบลดงบังอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย จากนายสิงห์ มะณีกรรณ์ เมื่อ พ.ศ.2511 แล้วให้นายสิงห์กับนางเสี้ยน ศรีทอง ภรรยานายสิงห์และบริวารอาศัยอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวตลอดมา ต่อมาจำเลยและบริวารได้ปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้จำเลยรื้อบ้านออกจากที่ดินของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ต่อไป

           จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินตามฟ้องจากนายสิงห์แต่ได้ยืมที่ดินของนายสิงห์ไปประกันเงินกู้ของโจทก์ โดยโจทก์กับนายสิงห์ทำเป็นสัญญาซื้อขายกัน การซื้อขายระหว่างโจทก์กับนายสิงห์จึงเป็นนิติกรรมอำพรางจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้อง โดยซื้อมาจากนายสิงห์เมื่อ พ.ศ.2517 ในราคา10,000 บาท แต่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ นายสิงห์ก็ถึงแก่กรรมเสียก่อน จำเลยครอบครองที่ดินดังกล่าวด้วยความสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของ ไม่มีผู้ใดรบกวนติดต่อมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว จึงได้สิทธิครอบครองและกรรมสิทธิ์ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
           โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาท ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทต่อไป

 จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้จะฟังได้ว่าจำเลยได้ซื้อที่ดินพิพาทจากนายสิงห์ นางเสี้ยนก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่านายสิงห์ นางเสี้ยน มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เป็นแต่เพียงผู้อาศัยสิทธิของโจทก์อยู่ในที่ดินพิพาท นายสิงห์ นางเสี้ยนจึงไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขายให้จำเลยแต่ประการใด ฉะนั้นถึงแม้ได้ความว่าจำเลยได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากนายสิงห์นางเสี้ยน และเข้าอยู่ในที่ดินพิพาทแล้วก็ตาม แต่จำเลยก็มิได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้โอน จำเลยคงมีสิทธิเท่าที่นายสิงห์ นางเสี้ยน มีอยู่ กล่าวคือเท่ากับจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์เท่านั้น ฉะนั้นจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์นานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครองเว้นแต่จำเลยจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ผู้ครอบครองที่ดินพิพาทว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ แต่จะยึดถือเพื่อตนต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 และตามข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยนำสืบรับฟังได้ว่า จำเลยเพิ่งโต้แย้งสิทธิโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตน ไม่ยึดถือไว้แทนโจทก์ต่อไป เมื่อเดือนพฤษภาคม 2528 ที่บ้านนายสีกำนันตำบลดงบัง โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8สิงหาคม 2528 จึงยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง โจทก์มีสิทธิฟ้องเอาคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1375 ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น

           พิพากษายืน.

        มาตรา 1367 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครอง

        มาตรา 1375 ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วย กฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะได้คืนซึ่งการครอบครองเว้นแต่อีก ฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่าซึ่งจะเป็นเหตุให้เรียกคืนจากผู้ครอบครอง ได้

       การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปี หนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง

       มาตรา 1381 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครอง บุคคลนั้นจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือได้ ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังผู้ครอบ ครองว่าไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไป หรือตนเองเป็นผู้ ครอบครองโดยสุจริต อาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก

       ข้อสังเกต* แม้มาตรา 453 จะบัญญัติถึงแต่เรื่องโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่ซื้อขาย แต่ก็รวมถึงสิทธิครอบครองในกรณีซื้อขายที่ดินมือเปล่าซึ่งผู้เป็นเจ้าของทรัพย์มีได้ แต่เพียงสิทธิครอบครองเท่านั้นด้วย

ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาฎีกาที่ 814/2554

ช.ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทแก่ อ. เมื่อ ช. ตายที่ดินพิพาทตกเป็นของ อ. ต่อมา อ.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งห้า เมื่อ อ.ตาย ที่ดินพิพาทตกเป็นของโจทก์ทั้งห้า แม้ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. จำเลยที่ 1 ก็เพียงแต่มีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกของ ช. แทนทายาททุกคนเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคน ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทที่ตกเป็นของโจทก์ทั้งห้าไปขายโดยทายาทผู้ได้รับมรดกไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งห้า แม้จำเลยที่ 2 แม้จะซื้อที่ดินโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ทั้งห้าย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทคืนอันเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 กรณีไม่ใช่เรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 เพราะการจะเป็นเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลได้ จำเลยที่ 1 ผู้โอนต้องมีสิทธิโอนอยู่แล้ว และการโอนทำให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ




สิทธิครอบครอง

ขอออกหนังสือ น.ส. 3ก-ทับที่ดินของผู้อื่น
สิทธิครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
สิทธิครอบครองตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย, ยึดถือที่ดินเพื่อตน
มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือครอบครองแทน
ที่ดินของรัฐยังไม่ได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
ได้สิทธิอาศัยโรงเรือนกับเจ้าของเดิมเมื่อรื้อถอนโรงเรือนสิทธิอาศัยย่อมสิ้นลง
อยู่ในที่ดินโดยอาศัยสิทธิการเช่าของผู้อื่น