ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องขับไล่- แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน

 ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดี-ฟ้องขับไล่

ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่กำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วันนั้น กำหนดเวลา 8 วันนับแต่วันปิดประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเริ่มนับแต่วันที่มีการปิดประกาศโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา 15 วัน ไปเสียก่อน และมิได้บัญญัติบังคับไว้เด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วันแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลาดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2542

  ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่กำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) นั้น ไม่ใช่เอกสารที่จะต้องส่งให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 67 และไม่ใช่บรรดาคำฟ้อง หมายเรียก และหมายอื่น ๆ คำสั่งคำบังคับของศาลตามมาตรา 70 ที่จะต้องส่งให้แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฉะนั้น กำหนดที่ให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วันนับแต่วันปิดประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเริ่มนับแต่วันที่มีการปิดประกาศโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลา 15 วัน ไปเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) มิได้บัญญัติบังคับไว้เด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลาดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด ดังนั้น แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้ ดังนั้น แม้ว่าบ้านและที่ดินจะเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยก็ตามแต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยบ้านและที่ดินยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นสามีของจำเลยเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย ไม่อาจร้องขอให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้

          คดีสืบเนื่องจากโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและอาคารสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านเรือนของโจทก์จำเลยทราบคำบังคับแล้วไม่ยอมปฏิบัติตามคำและศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า จำเลยและบริวารยังไม่ออกไปตามคำพิพากษาของศาล เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาล เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2541นายสุชาติ เสถียรพักตร์ ผู้ร้องยื่นคำร้องลงวันที่ 3 เมษายน 2541 ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและผู้ร้อง จำเลยจดทะเบียนโอนขายให้โจทก์โดยผู้ร้องไม่ทราบและมิได้ให้ความยินยอม สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่สมบูรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นงดการบังคับคดีแก่ผู้ร้องและบริวารของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในแปดวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องล่วงเลยกำหนดระยะฯ ที่กฎหมายกำหนด จึงให้ยกคำร้อง

 ผู้ร้องอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน

  ผู้ร้องฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ผู้ร้องฎีกาว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 เป็นบทบัญญัติในเรื่องการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่นให้แก่บุคคลซึ่งเป็นคู่ความในคดี ส่วนการปิดประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ผู้มีอำนาจพิเศษได้ทราบและยื่นคำร้องเพื่อแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดแปดวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) นั้น เป็นบทบัญญัติพิเศษในเรื่องการบังคับคดี ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศให้ผู้มีอำนาจพิเศษที่ไม่ตกอยู่ภายใต้คำบังคับของคดีนั้นอันเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ทราบและใช้สิทธิของตนได้ ไม่ใช่การส่งคำคู่ความหรือเอกสารตามมาตรา 79 วรรคสอง เป็นข้อวินิจฉัยที่ไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพราะบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) อยู่ในภาค 4 ลักษณะ 2 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงต้องนำบทบัญญัติในภาค 1 อันเป็นบททั่วไปมาใช้บังคับด้วยเมื่อมาตรา 79 วรรคสอง ได้บัญญัติกำหนดว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีอื่นแทนนั้น ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วตั้งแต่เวลาที่คำคู่ความหรือเอกสารหรือประกาศการมอบหมายนั้นได้ปิดไว้หรือการโฆษณาหรือวิธีอื่นใดตามที่ศาลสั่งนั้นได้ทำหรือได้ตั้งต้นแล้ว ดังนั้น การปิดประกาศให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศ จึงมีผลใช้ได้ต่อเมื่อเวลาล่วงพ้นไปสิบห้าวันแล้ว เห็นว่าประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่กำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันตามมาตรา 296 จัตวา(3) นั้น ไม่ใช่เอกสารที่จะต้องส่งให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 67 และไม่ใช่บรรดาคำฟ้อง หมายเรียกและหมายอื่น ๆ คำสั่งคำบังคับของศาลตามมาตรา 70 ที่จะต้องส่งให้แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่อย่างใด เพราะบรรดาเอกสารคำฟ้องหมายเรียก และหมายอื่น ๆ คำสั่ง คำบังคับของศาลตามมาตรา 67 และมาตรา 70 ดังกล่าว เป็นเอกสารที่ศาลกำหนดให้ส่งแก่คู่ความและผู้ที่เกี่ยวข้องกับคู่ความโดยตรงในคดี ส่วนประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามมาตรา 296 จัตวา(3) ไม่ใช่เอกสารที่ศาลกำหนดให้ส่งแก่คู่ความหรือผู้ที่เกี่ยวข้องแต่เป็นประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ปิดประกาศให้ผู้ที่มีอำนาจพิเศษเหนือทรัพย์ที่ถูกบังคับคดียื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษของตน อันเป็นมาตรการส่วนหนึ่งในการบังคับคดีให้ดำเนินไปโดยรวดเร็วและถูกต้องและเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่ความเลยใช้สิทธิของตนเหนือทรัพย์สินที่กำลังถูกบังคับคดีอยู่ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายจึงต้องบังคับโดยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อมิให้การบังคับคดีต้องล่าช้าอันอาจเป็นผลเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ เพราะฉะนั้นตามบทบัญญัติมาตรา 296 จัตวา(3) ที่กำหนดให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเริ่มนับแต่วันที่มีการปิดประกาศโดยไม่ต้องรอให้พ้นระยะเวลาสิบห้าวันไปเสียก่อน ดังที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้าง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยกคำร้องของผู้ร้องจึงชอบแล้ว ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาข้อต่อมาว่า หากได้พิจารณาตอนท้ายของมาตรา 296 จัตวา(3) ที่บัญญัติว่า "ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา" แสดงว่าระยะเวลาการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษไม่บังคับตายตัวอาจยื่นภายหลังพ้นแปดวันแล้วก็ได้นั้น ข้อนี้เห็นว่าแม้เป็นฎีกาในข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจการยื่นคำร้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในปัญหาดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง และศาลฎีกาเห็นด้วยกับข้ออ้างตามฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) กฎหมายมิได้บัญญัติบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า ถ้าผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงนบังคับคดีปิดประกาศแล้วผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว เพราะระยะเวลา 8 วันดังกล่าว เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาแต่อย่างใด แม้ล่วงเลยกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศแล้วผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษได้ ฎีกาข้อนี้ของผู้ร้องฟังขึ้น แต่อย่างไรก็ตามที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและผู้ร้อง จำเลยจดทะเบียนโอนขายให้โจทก์โดยผู้ร้องไม่ทราบและมิได้ให้ความยินยอม สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่สมบูรณ์นั้นดังนี้ แม้จะถือว่าบ้านและที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยก็ตาม แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายบ้านและที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยบ้านและที่ดินยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย จึงไม่อาจจะร้องให้ยกคำขอบังคับคดีของโจทก์ได้ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องมานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น"

   พิพากษายืน

 ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง, 296 จัตวา

 มาตรา 79 ถ้าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นไม่สามารถจะทำได้ ดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตราก่อนศาลอาจสั่งให้ส่งโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือปิดคำคู่ความหรือเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของคู่ความหรือบุคคลผู้มีชื่อระบุไว้ในคำคู่ควา หรือเอกสารหรือมอบหมายคำคู่ความหรือเอกสารไว้แก่เจ้าพนักงาน ฝ่ายปกครองในท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานตำรวจ แล้วปิดประกาศ แสดงการที่ได้มอบหมายดั่งกล่าวแล้วนั้นไว้ดั่งกล่าวมาข้างต้น หรือลงโฆษณาหรือทำวิธีอื่นใดตามที่ศาลเห็นสมควร

การส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยวิธีอื่นแทนนั้น ให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อ กำหนดเวลาสิบห้าวัน หรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควร กำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับตั้งแต่เวลาที่คำคู่ความหรือเอกสารหรือ ประกาศแสดงการมอบหมายนั้นได้ปิดไว้ หรือการโฆษณาหรือวิธี อื่นใดตามที่ศาลสั่งนั้นได้ทำหรือได้ตั้งต้นแล้ว

มาตรา 296จัตวา ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแจ้งต่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารยังไม่ออกไปตามคำ บังคับของศาล ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) รายงานต่อศาลเพื่อมีคำสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตาม คำพิพากษาหรือบริวารดังกล่าวนั้น และศาลมีอำนาจสั่งจับกุมและ กักขังได้ทันที ในกรณีนี้ให้นำ มาตรา 300 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2) เมื่อศาลมีคำสั่งให้จับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบริวารตาม (1) แล้ว หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวาร หลบหนี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการ มาตรา 296ตรี โดยอนุโลม
(3) ปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ ตามคำพิพากษา ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด เวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศ ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดเวลา ดังกล่าว ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

บุคคลที่เข้ามาอยู่อาศัยในทรัพย์นั้นในระหว่างที่เจ้าพนักงานบังคับ คดี จัดการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครอง ให้ถือว่าเป็น บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

 ผู้ที่ไม่ใช่บริวารของลูกหนี้แสดงอำนาจพิเศษภายในเวลา 8 วันไม่ใช่ระยะเวลาสิ้นสุด

 บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.แพ่ง ที่กำหนดให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วันนับแต่วันปิดประกาศนั้น มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าถ้าไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารจะต้องเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาสถานเดียว เพียงแต่กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ที่ไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นบริวารเท่านั้น แต่หากผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวาร มีหลักฐานแสดงว่าตนไม่ใช่บริวารแล้ว ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของตนได้ว่าตนไม่ใช่บริวาร แม้จะล่วงเลยเวลา 8 วันแล้วก็ตาม ทเพราะกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายเท่านั้นมิใช่ระยะเวลาสิ้นสุด 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3270/2553

          คดีก่อนที่จำเลยฟ้องขับไล่ให้ ช. และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทนั้น จำเลยฟ้อง ช. คนเดียวมิได้ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องเข้ามาต่อสู้คดีแต่อย่างใด คดีดังกล่าวมีประเด็นตามฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือ ช. ปรากฏว่า ช. ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยให้ขับไล่ ช. และบริวาร แต่คดีนี้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่ความในคดีเดิมยื่นฟ้องจำเลยว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์และห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ ขอให้ยกฟ้องประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีนี้จึงมีว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับประเด็นในคดีเดิม เมื่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าการครอบครองของโจทก์เข้าหลักเกณฑ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ก็ชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้ ไม่เป็นการขัดกับคำพิพากษาในคดีเดิมแต่อย่างใดเพราะแม้จะฟังตามคำพิพากษาในคดีเดิมว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมิใช่ของ ช. แต่จำเลยก็อาจจะเสียสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการได้ทรัพยสิทธิโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมได้

          บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ที่กำหนดให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศนั้น มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าถ้าโจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. ไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. จะต้องเป็นบริวารของ ช. สถานเดียว เพียงแต่กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ที่ไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นบริวารของ ช. เท่านั้น แต่หากโจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. มีหลักฐานแสดงว่าตนไม่ใช่บริวารของ ช. แล้ว ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของตนได้ว่าตนไม่ใช่บริวารของ ช. แม้จะล่วงเลยเวลาแปดวันแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพราะกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้นมิใช่ระยะเวลาสิ้นสุด เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจะทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะฟ้องร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายหลังเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ช. เสียภายในแปดวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของ ช. ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลจึงมิใช่ข้อบ่งชี้ว่าโจทก์ต้องเป็นบริวารของ ช. หรือโจทก์ไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทดังที่จำเลยฎีกา

          โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 287 ตำบลเขาน้อย (ปัจจุบันตำบลหนองตาแต้ม) อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื้อที่ 24 ไร่ 13 ตารางวา เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง และขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินโดยการเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินเป็นชื่อโจทก์หากจำเลยไม่ดำเนินการขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

          จำเลยให้การ ขอให้การฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเนื้อที่ 24 ไร่ 13 ตารางวา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 287 ตำบลเขาน้อย (ที่ถูก ปัจจุบันตำบลหนองตาแต้ม) อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 2,000 บาท แทนโจทก์

          จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 24 ไร่ 13 ตารางวา เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดเลขที่ 287 ตำบลเขาน้อย (ปัจจุบันเป็นตำบลหนองตาแต้ม) อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื้อที่ 676 ไร่ 1 งาน 30 ตารางวา ในสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 737/2535 ของศาลชั้นต้นซึ่งมีจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เดิมนางแช่ม ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้วขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ น.ส.3 เลขที่ 164 ในปี 2521 แต่ต่อมาปี 2526 ทางอำเภอปราณบุรีได้แจ้งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวตามคำขอร้องเรียนของจำเลย ปี 2535 หลังจากจำเลยซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 287 มาจากบริษัทอุตสาหกรรมเพชรบุรี จำกัด ในปี 2509 แล้ว จำเลยได้ยื่นฟ้องขับไล่นางแช่มออกไปจากที่ดินพิพาทนางแช่มขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ผลคดีศาลพิพากษาให้นางแช่มและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท คดีถึงที่สุดตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 737/2535 ของศาลชั้นต้น นอกจากนั้นในปีเดียวกันจำเลยยังยื่นฟ้องขับไล่นางวิเชียรผู้ครอบครองที่ดินในเขตโฉนดเลขที่ 287 เป็นเนื้อที่ 19 ไร่ 1 งาน 3 ตารางวา ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 165 ซึ่งอยู่ใกล้กับที่ดินที่นางแช่มครอบครองออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 287 ด้วย หนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าว ก็มีคำสั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ให้เพิกถอนเช่นเดียวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 164 แต่ศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า นางวิเชียรได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ คดีถึงที่สุดในชั้นอุทธรณ์ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 34/2538 ของศาลชั้นต้น มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่าสำหรับที่ดินพิพาทคดีนี้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ โดยจำเลยฎีกาสรุปเป็นข้อแรกได้ว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือว่าโจทก์จะรับโอนที่ดินพิพาทมาจากนางวิเชียรเมื่อปี 2525 เพราะในปีดังกล่าวโจทก์ยังมีอายุเพียง 13 ปี และไม่น่าเชื่อว่านางแช่มเจ้าของที่ดินเดิมจะขายที่ดินพิพาทให้แก่นางวิเชียรเพราะตามใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่ระบุชื่อนางแช่มเป็นผู้ชำระ สำหรับปัญหาว่าโจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาจากนางวิเชียรหรือไม่นั้น โจทก์มีตัวโจทก์และนายชัชชัยกับน้องชายโจทก์เป็นพยานเบิกความยืนยันว่า นางวิเชียรได้ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์เมื่อปี 2525 โจทก์ได้ใช้ที่ดินดังกล่าวปลูกสับประรดและเผือกโดยสงบและเจตนาเป็นเจ้าของนายชัชชัยก็ยังร่วมทำประโยชน์กับโจทก์โดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งสิทธิ และโจทก์มีนายสำเริงกับนางสมสมร มาเบิกความสนับสนุนว่า นายสำเริงและนายเสรีสามีของนางสมสมรเคยเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ทำไร่ โดยนายสำเริงเบิกความว่าเช่าตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปี 2540 ในราคาไร่ละ 500 บาท ส่วนนายเสรีเช่าเมื่อปี 2545 ในอัตราค่าเช่าปีละ 15,000 บาท ระหว่างที่นายสำเริงเช่าทำประโยชน์นั้นไม่มีผู้ใดคัดค้าน แต่ในปีที่นายเสรีเช่ามีนายสมานพนักงานของบริษัทจำเลยมาบอกว่าบริษัทจำเลยชนะคดีแต่นางสมสมรก็บอกว่าได้เช่าที่ดินพิพาทมาจากโจทก์ นอกจากนั้นโจทก์ยังมีนายบุญมาผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 ตำบลหนองตาแต้ม ซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งของที่ดินพิพาทมาเบิกความอีกว่า พยานเห็นโจทก์ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงทราบว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ส่วนจำเลยมีนางสมานผู้ดูแลไร่ของจำเลยเป็นพยานปากเดียวเบิกความเพียงว่าจำเลยได้ฟ้องขับไล่นางแช่มออกจากที่ดินพิพาทและมีการบังคับคดีแล้วเท่านั้น โดยมิได้นำสืบโต้แย้งคัดค้านข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับโอนที่ดินพิพาทของโจทก์มาจากมารดาแต่อย่างใด ทั้งทนายจำเลยก็มิได้ถามค้านพยานโจทก์ที่โจทก์นำเข้าสืบในประเด็นดังกล่าวให้ฟังข้อเท็จจริงได้เป็นอย่างอื่น พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ รับฟังได้ว่าโจทก์ได้รับโอนการครอบครองที่ดินพิพาทมาจากนางวิเชียรจริง แม้ขณะรับโอนโจทก์จะมีอายุ 13 ปี ดังที่จำเลยฎีกาก็ตามเพราะการครอบครองทำประโยชน์มิได้จำกัดว่าโจทก์ต้องลงไปทำด้วยตนเองเสมอไป อาจจะมีผู้อื่นช่วยจัดการหรือดำเนินการแทนก็ได้ ส่วนปัญหาว่านางแช่มเจ้าของเดิมขายที่ดินพิพาทให้แก่นางวิเชียรหรือไม่นั้น เห็นว่า จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่านางแช่มไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่นางวิเชียร การฎีกาว่าพยานโจทก์ไม่น่าเชื่อว่ามีการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างนางแช่มกับนางวิเชียรจึงเป็นการอ้างข้อเท็จจริงซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาต่อไปว่า ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีทั้งๆ ที่จำเลยเคยฟ้องขับไล่นางแช่มเจ้าของที่ดินเดิมและบริวารออกจากที่ดินพิพาทซึ่งศาลพิพากษาให้จำเลยชนะคดีและคดีจึงที่สุดไปแล้วนั้นเป็นการชอบหรือไม่ โดยจำเลยฎีกา จำเลยฟ้องนางแช่มเมื่อปี 2535 หากโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจริง โจทก์ก็ต้องเข้ามาต่อสู้คดี และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องมาคัดค้านภายในแปดวันก็ไม่มีผู้ใดมาคัดค้าน เห็นว่า คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 534/2535 หมายเลขแดงที่ 737/2535 ที่จำเลยฟ้องขับไล่ให้นางแช่มและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทนั้น จำเลยฟ้องนางแช่มคนเดียวมิได้ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องเข้ามาต่อสู้คดีแต่อย่างใด คดีดังกล่าวมีประเด็นตามฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือของนางแช่ม ปรากฏว่านางแช่มขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยให้ขับไล่น่างแช่มและบริวาร แต่คดีนี้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่ความในคดีเดิมยื่นฟ้องจำเลยว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์และห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ขอให้ยกฟ้อง ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีนี้จึงมีว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับประเด็นในคดีเดิม เมื่อศาลล่างทั้งสองเห็นว่าการครอบครองของโจทก์เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ก็ชอบที่จะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีได้ ไม่เป็นการขัดกับคำพิพากษาในคดีเดิมแต่อย่างใดเพราะแม้จะฟังตามคำพิพากษาในคดีเดิมว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมิใช่ของนางแช่ม แต่จำเลยก็อาจจะเสียสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการได้ทรัพยสิทธิโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมได้ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของนางแช่มยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่นางแช่มก็ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านนั้น เห็นว่าบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) ที่กำหนดให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศนั้น มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าถ้าโจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของนางแช่มไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของนางแช่มจะต้องเป็นบริวารของนางแช่มสถานเดียว เพียงแต่กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ที่ไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นบริวารของนางแช่มเท่านั้น แต่หากโจทก์หรือผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของนางแช่มมีหลักฐานแสดงว่าตนไม่ใช่บริวารของนางแช่มแล้ว ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของตนได้ว่าตนไม่ใช่บริวารของนางแช่ม แม้จะล่วงเลยเวลาแปดวันแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพราะกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้นมิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดเพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่งจะทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะฟ้องร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายหลังเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลานั้นแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่นางแช่มเสียภายในแปดวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของนางแช่มยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาล จึงมิใช่ข้อบ่งชี้ว่าโจทก์ต้องเป็นบริวารของนางแช่มหรือโจทก์ไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทดังที่จำเลยฎีกา ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์มานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น”

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

ผู้มีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ขอออกหมายบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8897/2550

การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะใช้สิทธิตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 228 ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีการบังคับคดียึดทรัพย์สินที่อ้างว่าเป็นของลูกหนี้เพื่อขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น แต่สำหรับคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย ระหว่างพิจารณา โจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม มิใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ และต้องนำทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาด จึงหาอาจนำบทบัญญัติ มาตรา 288 มาใช้บังคับไม่ได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ถอนหรือปล่อยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิอย่างไรก็ชอบที่จะยื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหาก และตามคำร้องของผู้ร้องมีประเด็นพิจารณาเพียงว่า ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ถอนการยึดหรือปล่อยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องหรือไม่ จึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องหรือไม่

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ ต่อมาโจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องโจทก์ กับยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษา

ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนผู้ร้อง ขอให้ถอนการยึดทรัพย์หรือปล่อยทรัพย์

โจทก์ยื่นคำคัดค้านว่า ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องเป็นของโจทก์โดยโจทก์ซื้อทรัพย์ดังกล่าวมาจากการขายทอดตลาด ผู้ร้องมิได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ก่อนการขายทอดตลาดทรัพย์ ทั้งกรณีเป็นเรื่องเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จำเลยออกไปจากทรัพย์สินพิพาท ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขัดทรัพย์ได้ ขอให้ยกคำร้อง

 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง

 ผู้ร้องอุทธรณ์

 ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน

 ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นตันที่ให้ยกคำร้องโดยไม่มีการไต่สวนพยานก่อนเป็นการชอบหรือไม่ ข้อเท็จจริงได้ความว่าภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม จำเลยและบริวารไม่ยอมออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี และนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปปิดประกาศให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลความว่า ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไว้แทนผู้ร้อง ขอให้ถอนการยึดหรือปล่อยทรัพย์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยไม่ได้ใต่สวนพยานก่อน เห็นว่า การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะใช้สิทธิตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่มีการบังคับคดียึดทรัพย์สินที่อ้างว่าเป็นของลูกหนี้เพื่อขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น แต่สำหรับคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม จึงมิใช่กรณีที่ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ และต้องมีการนำทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาด จึงหาอาจนำบทบัญญัติมาตรา 288 มาใช้บังคับไม่ได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ถอนหรือปล่อยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิอย่างไรก็ชอบที่จะยื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีต่างหาก ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาในทำนองว่า ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นเรื่องของการขอแสดงอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) นั้น เห็นว่า ตามคำร้องของผู้ร้องมีประเด็นเพียงว่า ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ถอนการยึดหรือปล่อยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องหรือไม่ กรณีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นไต่สวนก่อนจึงชอบแล้ว ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่ง

คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์มีทุนทรัพย์
รับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมาย
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หน้าที่ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิถามค้าน การพิจารณาผิดระเบียบ
โจทก์ร่วมไม่จำต้องจัดทำคำให้การใหม่เพื่อแก้คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย
วันนัดชี้สองสถาน
ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
คำร้องสอด
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิในฐานะผู้รับจำนอง -ขอรับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
การบรรยายคำฟ้องที่มิได้ระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าเป็นวันที่เท่าใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทแต่ได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี
การยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ครบหน้าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือน
เพิกถอนการขายทอดตลาดหากเป็นประวิงให้ชักช้าต้องรับผิดชดค่าสินไหมทดแทน
ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพิกถอนการขายทอดตลาด
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น-ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
ในคดีเดิมเป็นเพียงคู่ความตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อเท่านั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำ
พิพากษาที่เกินคำขอและขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1548 อันเป็นการไม่ชอบ
การยื่นและการส่งคำคู่ความในคดีฟอกเงิน
ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
สัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยุติคดี-ฟ้องซ้ำ
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน
เจ้าหนี้ผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
การมีอยู่ขององค์กรสาธารณประโยชน์ที่ได้รับรองแล้ว
กระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษา-ฟ้องซ้ำ
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญา
อายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้ว
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ มิได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี
คำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนของผู้รับจำนอง
ฟ้องซ้ำ คดีถึงที่สุดห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก
โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็น"เจ้าหนี้" และ "ลูกหนี้" ตามคำพิพากษา
จำเลยไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับ
ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดต้องอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์
เงื่อนเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดให้สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้
นำใบแต่งทนายความซึ่งปลอมลายมือชื่อไปทำสัญญายอม
อำนาจว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในศาล
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน
ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียกับคู่ความเดิมถือเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเป็นข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180
ยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่อาจรับฟังเป็นพยานได้(ยื่นชั้นอุทธรณ์ฎีกา)
จำเลยฟ้องแย้ง-โจทก์ทิ้งฟ้อง ไม่มีผลให้ฟ้องแย้งตกไป
อำนาจปกครองบุตร-มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด?
ดุลพินิจสั่งค่าฤชาธรรมเนียมคำนึงความสุจริตของคู่ความ
ฟ้องแย้งของจำเลยแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม
พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?ไม่มีประเด็นข้อพิพาท
มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229
ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วคดีอยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์
คำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การส่งหมายนัดไต่สวน-สำเนาคำร้องไม่ชอบ
คำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้อง
เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
คณะบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้
มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน
อำนาจฟ้องที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ
เข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย
ใครมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
การถอนการบังคับคดี | คำพิพากษาถูกกลับชั้นที่สุด
ยังไม่ผิดสัญญายังไม่มีเหตุขอออกหมายบังคับคดีได้
แจ้งคำสั่งขายทอดตลาดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย คู่สมรสไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน
คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบ
ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีของศาล มีพยานหลักฐานใหม่
ผู้เสียหายฐานละเมิดอำนาจศาล
ค่าสินไหมทดแทนที่จำนวนเงินไม่แน่นอนต้องนำสืบพยาน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ฟ้องปลูกสร้างผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร