ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน

 หน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน

โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าได้ออกมาโดยถูกต้อง เมื่อโฉนดที่ดินมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันย่อมสันนิษฐานได้ว่าจำเลยกับพี่น้องมีส่วนเป็นเจ้าของเท่ากัน การที่จำเลยอ้างว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งมากกว่าพี่น้องคนอื่น จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2115/2551

          โฉนดที่ดินและสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนที่รัฐออกให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าได้ออกมาโดยถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 เมื่อโฉนดที่ดินดังกล่าวมีชื่อจำเลยกับพี่น้องเป็นเจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันย่อมสันนิษฐานได้ว่าจำเลยกับพี่น้องมีส่วนเป็นเจ้าของเท่ากัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 การที่จำเลยอ้างว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งมากกว่าพี่น้องคนอื่น จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว

          โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องว่า โจทก์ทั้งเจ็ดมอบอำนาจให้นายอเนกฟ้องและดำเนินคดีแทน โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 4378 ตำบลบางอ้อ อำเภอบางกอกน้อย (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยร่วมกันยื่นคำร้องขอรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมดังกล่าวเป็นของแต่ละคนโดยให้โจทก์ทั้งเจ็ดได้รับที่ดินส่วนที่แบ่งแยกออกมาคนละส่วน ที่ดินส่วนที่เหลือจากการแบ่งแยกตกเป็นของจำเลย ตามที่โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยร่วมกันนำชี้เขตให้เจ้าหน้าที่ปักหลักเขต เมื่อทำการรังวัดเสร็จแล้ว เจ้าพนักงานนักให้โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยมารับรองการรังวัด แต่จำเลยไม่ยอมลงชื่อรับรอง จึงไม่สามารถแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมได้ ต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยทำบันทึกขอเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมเป็นขอรังวัดสอบเขตรอบแปลงเพื่อทราบเนื้อที่ดินที่แท้จริงก่อนที่จะขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมต่อไปแต่จำเลยไม่มาติดต่อเพื่อทำการรังวัดให้เสร็จสิ้น โจทก์ทั้งเจ็ดพยายามติดต่อให้จำเลยไปดำเนินการรังวัดต่อให้เสร็จ แต่จำเลยเพิกเฉยทั้งยังร่วมกับบริวารพยายามรุกล้ำเข้าครอบครองกรรมสิทธิ์เกินส่วนของตนขอให้บังคับจำเลยร่วมกับโจทก์ทั้งเจ็ดไปจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดเลขที่ 4378 ตำบลบางอ้อ อำเภอบางกอกน้อย (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร ออกเป็น 7 แปลง โดยให้รังวัดสอบเนื้อที่ดินที่แท้จริงก่อน หากมีจำนวนเนื้อที่ดินเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปจากเนื้อที่ดินตามโฉนดก็ให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมเฉลี่ยไปตามส่วนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทุกคนตามรูปแผนที่เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 19 ที่ยื่นเข้ามาใหม่ตามคำร้องขอแก้ไขฟ้องลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2538 โดยเสียค่าธรรมเนียมคนละเท่าๆ กัน ให้โจทก์ที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งแปลงหมายเลข 1 โจทก์ที่ 2 ได้รับส่วนแบ่งแปลงหมายเลข 3 โจทก์ที่ 3 รับส่วนแบ่งแปลงหมายเลข 4 โจทก์ที่ 4 ได้รับส่วนแบ่งแปลงหมายเลข 5 โจทก์ที่ 5 ได้รับส่วนแบ่งแปลงหมายเลข 7 โจทก์ที่ 6 ได้รับส่วนแบ่งแปลงหมายเลข 8 โจทก์ที่ 7 ได้รับส่วนแบ่งแปลงหมายเลข 6 และจำเลยได้รับส่วนแบ่งแปลงหมายเลข 2 ที่เหลือ หากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย

          จำเลยให้การว่า เดิมจำเลย นางชุบ นายวัฒนา และนายอุดม เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินพิพาทโดยตกลงแบ่งแยกการครอบครองเป็นสัดส่วนตลอดมาเป็นเวลากว่า 40 ปี นางชุบ และนายอุดมไม่เคยมายุ่งเกี่ยวกับที่ดินส่วนที่จำเลยครอบครอง ต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดซื้อที่ดินพิพาทจากนางชุบ นายวัฒนา และนายอุดม โจทก์ทั้งเจ็ดย่อมได้สิทธิในที่ดินตามที่นางชุบ นายวัฒนา และนายอุดมครอบครอง โจทก์ทั้งเจ็ดจะเข้ามายุ่งเกี่ยวในที่ดินที่จำเลยครอบครองไม่ได้ เหตุที่จำเลยไม่รับรองการรังวัดของเจ้าพนักงานเพราะรังวัดไม่ตรงกับแนวเขตที่ดินที่จำเลยได้ครอบครองตามที่จำเลยนำชี้ จำเลยไม่เคยตกลงว่าจะทำการรังวัดต่อไปจนเสร็จแต่มีความประสงค์ขอให้รังวัดสอบแนวเขตใหม่ แต่เจ้าพนักงานไม่ยอมออกไปทำการรังวัด จำเลยจึงไม่ติดใจขอรังวัดสอบเขต จำเลยและบริวารไม่ได้รุกล้ำหรือพยายามรุกล้ำเข้าครอบครองกรรมสิทธิ์เกินส่วนของจำเลย ขอให้ยกฟ้อง

          ระหว่างพิจารณาโจทก์ที่ 6 ถึงแก่ความตาย นางนิดาทายาทและผู้จัดการมรดกของโจทก์ที่ 6 ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลชั้นต้นอนุญาต

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดเลขที่ 4378 ตำบลบางอ้อ อำเภอบางกอกน้อย (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร กับโจทก์ทั้งเจ็ดให้เป็นไปตามแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.3 โดยให้โจทก์ที่ 1 ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ 1 และแปลงที่ 7 ส่วนที่ติดกับแปลงที่ 6 รวมเนื้อที่ 136  ตารางวา โจทก์ที่ 2 ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ 3 และที่ 4 โจทก์ที่ 3 ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ 5 โจทก์ที่ 4 ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ 6 โจทก์ที่ 5 ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ 8 โจทก์ที่ 6 ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ 9 โจทก์ที่ 7 ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ 7 ส่วนที่ติดกับแปลงที่ 8 เนื้อที่ 36  ตารางวา และให้จำเลยได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ 2 หากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย การแบ่งกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ที่ 1 และที่ 7 หากตกลงกันไม่ได้ ให้เอาที่ดินส่วนที่โจทก์ที่ 1 และที่ 7 ได้รับออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาแบ่งกันตามส่วน ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งเจ็ด โดยกำหนดค่าทนายความรวม 3,000 บาท คำขออื่นให้ยก

          จำเลยอุทธรณ์
          ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยถึงแก่ความตายนางสาวบุญนำทายาทของจำเลยยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลอุทธรณ์อนุญาต

          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          จำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติโดยคู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่า โจทก์ทั้งเจ็ดมอบอำนาจให้นายอเนกฟ้องและดำเนินคดีแทน โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 4378 ตำบลบางอ้อ อำเภอบางกอกน้อย (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา แต่ภายหลังเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินได้จัดทำแผนที่พิพาทตามเอกสารหมาย จ.3 สามารถรังวัดเนื้อที่ดินได้เพียง 3 ไร่ 50 ตารางวา โดยจำเลยมีกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ 2 เนื้อที่ 2 งาน 75  ตารางวา...

          พิเคราะห์แล้ว คงมีปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า ที่ดินแปลงที่ 3 ตามแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.3 เป็นของจำเลยด้วยหรือไม่ได้ความจากสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินเลขที่ 4378 ตำบลบางอ้อ อำเภอบางกอกน้อย (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร ซึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยมีกรรมสิทธิ์รวมว่า เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2493 นางชุบ นายวัฒนา นางสาวสำอาง ซึ่งเป็นชื่อของจำเลยในขณะนั้น และเด็กชายอุดม ได้รับโอนมรดกมาจากนางบาง โดยมิได้ระบุจำนวนสัดส่วนที่แต่ละคนได้รับจำเลยและผู้ได้รับมรดกดังกล่าวต่างเป็นบุตรของนางบาง จึงเป็นทายาทในลำดับเดียวกันย่อมต้องได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของนางบางเท่ากัน ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1633 บัญญัติไว้ หากจำเลยได้รับมรดกที่ดินมากกว่าพี่น้องคนอื่นดังที่จำเลยกล่าวอ้างจริง ก็น่าจะแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดบันทึกไว้ในสารบัญจดทะเบียนด้วย แต่ก็หาได้มีการจดแจ้งดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานไม่ โฉนดที่ดินและสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินเลขที่ 4378 เป็นเอกสารมหาชนที่รัฐออกให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าได้ออกมาโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 เมื่อโฉนดที่ดินดังกล่าวมีชื่อนางชุบนายวัฒนา และจำเลยเป็นเจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันย่อมสันนิษฐานได้ว่าจำเลยกับพี่น้องมีส่วนเป็นเจ้าของเท่ากัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 การที่จำเลยอ้างว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งมากกว่าพี่น้องคนอื่น จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว ที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินแปลงที่ 3 ด้วย โดยมีนางวนิดา และนางชุบมาเบิกความสนับสนุนนั้น แม้จะรับฟังว่าจำเลยครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินแปลงที่ 3 จริง แต่คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยครอบครองที่ดินแปลงที่ 3 ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของหรือไม่ ดังนั้นแม้จำเลยจะครอบครองมานานเพียงใด จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงที่ 3 โดยการครอบครองปรปักษ์ นอกจากนี้ข้อนำสืบของจำเลยก็ไม่ได้ความชัดแจ้งว่า จำเลยได้รับมรดกที่ดินมาเป็นจำนวนเนื้อที่ดินเท่าไร พยานหลักฐานของจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวได้ ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มากกว่าพี่น้องคนอื่น จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกเพียง 1 ใน 4 และได้ความว่าที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 4378 ที่มีเนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา สิทธิ 1 ใน 4 ของจำเลยย่อมเท่ากับ 340 ตารางวา ส่วนนางชุบ นายวัฒนา และนายอุดมมีสิทธิในที่ดินรวมกัน 1,020 ตารางวา หรือ 2 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา แต่นางชุบ นายวัฒนา และนายอุดม ได้ขายที่ดินในส่วนของตนและโอนกรรมสิทธิ์เปลี่ยนเจ้าของต่อๆ มา จนกระทั่งโอนมายังโจทก์ทั้งเจ็ด โจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินรวมกัน 2 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา ตามสิทธิที่นางชุบ นายวัฒนา และนายอุดมมีอยู่นอกจากนั้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2509 จำเลยยังโอนกรรมสิทธิ์ส่วนของตนตามคำสั่งศาลให้แก่นายถาวร 40 ใน 300 ส่วนแล้วนายถาวรขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นและโอนขายต่อๆ มายังโจทก์ที่ 7 โจทก์ที่ 7 จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนของจำเลยที่ขายให้แก่นายถาวรด้วย แต่ไม่ปรากฏจากทางพิจารณาว่า 300 ส่วนนั้น มีความหมายอย่างไรแต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่ดินที่จำเลยได้รับโอนมรดกจากนางบางมีเพียง 1 ใน 4 หรือ 340 ตารางวา คำว่า 300 ส่วนย่อมต้องหมายถึงที่ดิน 340 ตารางวาด้วย เมื่อจำเลยโอนให้นายถาวรไปแล้ว 40 ส่วน จำเลยจึงเหลือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพียง 260 ส่วน หรือเท่ากับ 294  ตารางวา ส่วนนายถาวรได้รับกรรมสิทธิ์ 45  ตารางวา ภายหลังโจทก์ทั้งเจ็ดได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว เมื่อนำมารวมกับที่ดินจำนวน 2 ไร่ 2 งาน ตารางวา ที่โจทก์ทั้งเจ็ดถือกรรมสิทธิ์อยู่แล้ว โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 4378 รวมกันทั้งสิ้น 2 ไร่ 2 งาน 65  ตารางวา แต่ปรากฏว่าเมื่อเจ้าพนักงานรังวัดที่ดินดังกล่าวเพื่อจัดทำแผนที่พิพาทสามารถรังวัดเนื้อที่ดินได้เพียง 3 ไร่ 50 ตารางวา มีเนื้อที่ดินหายไป 110 ตารางวา โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยย่อมต้องได้รับเนื้อที่ดินน้อยลงเฉลี่ยกันไปตามอัตราส่วนของการถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งเมื่อคำนวณทางคณิตศาสตร์แล้ว โจทก์ทั้งเจ็ดจะได้รับเนื้อที่ดินน้อยลง 86  ตารางวา คงเหลือเนื้อที่ดินตามความเป็นจริง 2 ไร่ 1 งาน 79  ตารางวา ส่วนจำเลยจะได้รับเนื้อที่ดินน้อยลง 23  ตารางวา คงเหลือเนื้อที่ดินตามความเป็นจริง 270  ตารางวา จำนวนเนื้อที่ดินจำเลยคงเหลืออยู่ใกล้เคียงกับจำนวนเนื้อที่ดินแปลงที่ 2 ตามแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.3 ย่อมแสดงว่าจำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงที่ 3 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาในประเด็นอื่นของจำเลย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นชอบแล้ว”

   พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 มาตรา 127 เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือ รับรองหรือสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารนั้น และเอกสารเอกชน ที่มีคำพิพากษาแสดงว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องนั้น ให้สันนิษฐาน ไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร

 




เกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่ง

ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอ article
คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์มีทุนทรัพย์
รับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนกฎหมาย
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
หน้าที่ในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ขาดนัดยื่นคำให้การ-สิทธิถามค้าน การพิจารณาผิดระเบียบ
โจทก์ร่วมไม่จำต้องจัดทำคำให้การใหม่เพื่อแก้คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย
วันนัดชี้สองสถาน
ห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
คำร้องสอด
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิในฐานะผู้รับจำนอง -ขอรับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
การบรรยายคำฟ้องที่มิได้ระบุวัน เวลาที่แน่ชัดว่าเป็นวันที่เท่าใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทแต่ได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี
การยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยไม่ครบหน้าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คู่ความจะนำคดีเรื่องที่เคยพิพาทมาฟ้องกันใหม่อีกไม่ได้
การยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 1 เดือน
ฟ้องขับไล่- แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลา 8 วัน
เพิกถอนการขายทอดตลาดหากเป็นประวิงให้ชักช้าต้องรับผิดชดค่าสินไหมทดแทน
ผู้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพิกถอนการขายทอดตลาด
ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้น-ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
ในคดีเดิมเป็นเพียงคู่ความตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อเท่านั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำ
พิพากษาที่เกินคำขอและขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1548 อันเป็นการไม่ชอบ
การยื่นและการส่งคำคู่ความในคดีฟอกเงิน
ให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
สัญญาประนีประนอมยอมความตกลงยุติคดี-ฟ้องซ้ำ
ค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ที่แบ่งแยกเป็นส่วนแต่ละคน
เจ้าหนี้ผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดิน
การมีอยู่ขององค์กรสาธารณประโยชน์ที่ได้รับรองแล้ว
กระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษา-ฟ้องซ้ำ
ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดีอาญา
อายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้ว
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ มิได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี
คำสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนของผู้รับจำนอง
ฟ้องซ้ำ คดีถึงที่สุดห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก
โจทก์และจำเลยต่างมีสภาพเป็น"เจ้าหนี้" และ "ลูกหนี้" ตามคำพิพากษา
จำเลยไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับ
ไม่เกินห้าหมื่นบาทห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
การร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึดต้องอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์
เงื่อนเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดให้สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้
นำใบแต่งทนายความซึ่งปลอมลายมือชื่อไปทำสัญญายอม
อำนาจว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของทนายความในศาล
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ค่าเสียหายตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทน
ผู้ร้องสอดต้องมีส่วนได้เสียกับคู่ความเดิมถือเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม
แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยเป็นข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 180
ยื่นเอกสารฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่อาจรับฟังเป็นพยานได้(ยื่นชั้นอุทธรณ์ฎีกา)
จำเลยฟ้องแย้ง-โจทก์ทิ้งฟ้อง ไม่มีผลให้ฟ้องแย้งตกไป
อำนาจปกครองบุตร-มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลใด?
ดุลพินิจสั่งค่าฤชาธรรมเนียมคำนึงความสุจริตของคู่ความ
ฟ้องแย้งของจำเลยแตกต่างกันกับคำฟ้องเดิม
พินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?ไม่มีประเด็นข้อพิพาท
มีเส้นทางอื่นออกไม่ตัดสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229
ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วคดีอยู่ในอำนาจศาลอุทธรณ์
คำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย
ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การส่งหมายนัดไต่สวน-สำเนาคำร้องไม่ชอบ
คำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้อง
เพิกถอนการขายทอดตลาด
คำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์
คณะบุคคลไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้
มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดสิทธิฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนระบุชื่อศาลผิด
อำนาจฟ้องที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ
เข้าเป็นโจทก์ร่วมต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย
ใครมีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
การถอนการบังคับคดี | คำพิพากษาถูกกลับชั้นที่สุด
ยังไม่ผิดสัญญายังไม่มีเหตุขอออกหมายบังคับคดีได้
แจ้งคำสั่งขายทอดตลาดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย คู่สมรสไม่มีชื่อในโฉนดที่ดิน
คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบ
ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีของศาล มีพยานหลักฐานใหม่
ผู้เสียหายฐานละเมิดอำนาจศาล
ค่าสินไหมทดแทนที่จำนวนเงินไม่แน่นอนต้องนำสืบพยาน
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
ฟ้องปลูกสร้างผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร