ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?

 ทางภาระจำยอมยังใช้ได้อยู่แต่ไม่ได้ใช้ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่? 

ในกรณีที่ที่ดินตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอมของที่ดินอีกแปลงหนึ่ง แต่ที่ดินสามยทรัพย์ที่มีสิทธิใช้ทางภาระจำยอมแต่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะทางอื่นแล้ว กรณีนี้มีคำถามว่าทางภาระจำยอมหมดความจำเป็นในการใช้ทางภาระจำยอมหรือไม่ คำตอบก็์คือ ในเรื่องภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามกฎหมาย มีความหมายว่าไม่สามารถใช้ภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์ได้อีกต่อไป แต่ถ้าทางภาระจำยอมยังใช้ได้อยู่แต่ไม่ได้ใช้นั้น ยังฟังไม่ได้ว่าทางภาระจำยอมหมดประโยชน์แล้ว และมีผลทำให้ภาระจำยอมสิ้นไปไม่

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3262/2548

    คดีก่อน บ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินของโจทก์คนก่อนกับพวกฟ้อง ข. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินคนก่อนของจำเลยทั้งสองให้ขนย้ายและรื้อถอนสิ่งกีดกั้นที่ ข. เป็นผู้กระทำขึ้นออกจากทางพิพาท กับจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์ในคดีนั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสองกระทำขึ้นใหม่ภายหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว กับจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ดังนั้น เหตุที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างในคดีนี้จึงเป็นคนละเหตุกับที่ บ. กับพวกฟ้อง ข. ในคดีก่อน โจทก์ไม่อาจมีคำขอให้บังคับจำเลยในคดีก่อนได้ ทั้งคดีก่อน บ. กับพวกก็มิได้ดำเนินการบังคับคดีให้มีการจดทะเบียนภาระจำยอมจนพ้นกำหนดเวลาบังคับคดีไปแล้วแม้โจทก์จะเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินจาก บ. โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องได้ ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

          คดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 โดยอายุความ อันเป็นทรัพยสิทธิที่ติดไปกับตัวทรัพย์ กรณีหาใช่เป็นภาระจำยอมโดยนิติกรรมซึ่งยังมิได้จดทะเบียนอันเป็นบุคคลสิทธิไม่ จำเลยทั้งสองหาอาจอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เป็นภารยทรัพย์โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ได้ไม่เพราะสิทธิตามความหมายในบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นสิทธิในประเภทเดียวกันแต่ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ ส่วนกรรสิทธิ์เป็นสิทธิในประเภทได้สิทธิเป็นสิทธิคนละประเภทกัน ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความในคดีก่อน คำว่าพิพากษาศาลฎีกาคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสอง

คำว่าภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามมาตรา 1400 วรรคหนึ่ง หมายความว่าไม่สามารถใช้ภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์ได้อีกต่อไป หากภารยทรัพย์ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่แม้ไม่มีการใช้ภารยทรัพย์นั้นก็หาใช่ภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามความหมายของบทบัญญัติดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของโจทก์อันเป็นสามยทรัพย์จะมีทางออกทางอื่นสู่ทางสาธารณะและโจทก์ใช้ทางดังกล่าวนี้เป็นหลัก แต่เมื่อทางพิพาทยังมีสภาพเป็นทางเดินคงเดิม ทางภาระจำยอมจึงยังไม่หมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ ภาระจำยอมยังไม่สิ้นไปตามมาตรา 1400 วรรคหนึ่ง

          การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

          โจทก์ฟ้องว่า เดิมที่ดินของโจทก์และของจำเลยทั้งสองเป็นของสิบตรีเพิ่ม เขียนบรรจง สิบตรีเพิ่มได้แบ่งกันที่ดินดังกล่าวด้านทิศเหนือกว้าง 2 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินไว้เป็นทางเดินออกสู่ซอยวัดยางสุทธารามซึ่งเป็นทางสาธารณะ ก่อนถึงแก่ความตายสิบตรีเพิ่มได้ขายที่ดินในส่วนของโจทก์ให้นายบุญชัย จิวาลัย และเมื่อสิบตรีเพิ่มถึงแก่ความตาย นางเข็ม เที่ยงสกุล ผู้รับมรดกได้ปิดกั้นทางเดิน นายบุญชัยได้ฟ้องนางเข็มให้เปิดทางและจดทะเบียนภาระจำยอม ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้นางเข็มจดทะเบียนภาระจำยอม แต่นายบุญชัยมิได้ดำเนินการบังคับคดี และได้จดทะเบียนยกที่ดินของตนให้นางสุพีร์ นนทแก้ว ต่อมานางสุพีร์ได้ขายให้โจทก์ ส่วนที่ดินของนางเข็มก็ได้โอนกรรมสิทธิ์กันเรื่อยมาจนตกเป็นขอจำเลยทั้งสอง หลังจากโจทก์ซื้อที่ดินแล้วโจทก์ใช้ทางภาระจำยอมดังกล่าวเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะสืบต่อจากเจ้าของที่ดินเดิมเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า 30 ปีแล้ว จำเลยทั้งสองร่วมกันปิดกั้นทางเดินดังกล่าวโดยใช้ไม้และสังกะสีตีปิดกั้นและก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในทางภาระจำยอมทำให้โจทก์และบริวารไม่สามารถเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนสิ่งกีดขวางและสิ่งปลูกสร้างออกจากทางพิพาทและจดทะเบียนให้ทางพิพาทกว้าง 2 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 5340 ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ของโจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองและให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนสิ่งกีดขวาง โดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

          จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินของจำเลยทั้งสองไม่เคยตกเป็นภาระจำยอม นายบุญชัยกับนางสุพีร์ใช้ทางเดินอื่นออกสู่ถนนสาธารณะซึ่งสะดวกกว่าทางภาระจำยอมจึงไม่มีความจำเป็นและหมดประโยชน์แล้ว และมิได้ใช้ทางภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปี ทำให้ทางภาระจำยอมสิ้นไป ทั้งการที่นายบุญชัยกับนางสุพีร์มิได้บังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาตั้งแต่ปี 2524 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี คดีจึงมีอายุความบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 และการที่โจทก์นำคดีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาสิ้นสุดไปแล้วมาฟ้องอีก ย่อมเป็นฟ้องซ้ำ ขอให้ยกฟ้อง และพิพากษาว่าภาระจำยอมในทางพิพาทตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2524 สิ้นไป

          โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องแย้ง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอม ให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5340 ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ของโจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง และให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอมดังกล่าว คำขออื่นนอกจากนี้ของโจทก์ให้ยก และยกฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสอง

          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 5340 ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร บริเวณด้านทิศเหนือกว้าง 2 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินของจำเลยทั้งสอง ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินส่วนดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          จำเลยทั้งสองฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 5340 ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลยทั้งสองมีอาณาเขตติดต่อกัน โดยที่ดินของโจทก์อยู่ทางทิศตะวันตกของที่ดินของจำเลยทั้งสอง ทางพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลยทั้งสองด้านทิศเหนือกว้าง 2 เมตร ยาวตลอดแนวเขตที่ดิน เดิมนายบุญชัยเจ้าของที่ดินของโจทก์คนก่อนกับพวกได้ฟ้องนางเข็มเจ้าของที่ดินของจำเลยทั้งสองคนก่อนให้ขนย้ายและรื้อถอนสิ่งกีดกั้นออกจากทางพิพาทกับจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์ในคดีนั้น ต่อมาปี 2538 โจทก์ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงดังกล่าว และจำเลยทั้งสองก็ได้ก่อสร้างอาคารบนที่ดินโฉนดเลขที่ 4314 ตำบลบ้านช่างหล่อ (บางเสาธง) อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ของจำเลยซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 5340 และได้ปิดกั้นทางพิพาท ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อแรกมีว่า ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนหรือไม่ เห็นว่า คดีก่อนนายบุญชัยกับพวกได้ฟ้องนางเข็มให้ขนย้ายและรื้อถอนสิ่งกีดกั้นออกจากทางพิพาท กับจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาให้บังคับตามคำขอของโจทก์ในคดีนั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสองกระทำขึ้นใหม่ภายหลังจากมีคำพิพากษาคดีก่อนแล้ว กับจดทะเบียนทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 ดังนั้น เหตุที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างในคดีนี้จึงเป็นคนละเหตุกับที่นายบุญชัยกับพวกฟ้องนางเข็มในคดีก่อน โจทก์ไม่อาจมีคำขอให้บังคับจำเลยในคดีก่อนได้ ทั้งคดีก่อนนายบุญชัยกับพวกก็มิได้ดำเนินการบังคับคดีให้มีการจดทะเบียนภาระจำยอมจนพ้นกำหนดเวลาบังคับคดีไปแล้ว แม้โจทก์จะเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 จากนายบุญชัย โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องได้ ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อต่อไปมีว่า คำพิพากษาศาลฎีกาคดีก่อนมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า คดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 โดยอายุความอันเป็นทรัพย์สิทธิที่ติดไปกับตัวทรัพย์ กรณีหาใช่เป็นภาระจำยอมโดยนิติกรรมซึ่งยังมิได้จดทะเบียนอันเป็นบุคคลสิทธิดังจำเลยทั้งสองฎีกาไม่ จำเลยทั้งสองหาอาจอ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5340 โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริต จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง ได้ไม่ เพราะสิทธิตามความหมายในบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นสิทธิในประเภทเดียวกัน แต่ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ ส่วนกรรมสิทธิ์เป็นสิทธิในประเภทได้สิทธิ เป็นสิทธิคนละประเภทกันทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความในคดีก่อน คำพิพากษาศาลฎีกาคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสอง

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อต่อไปมีว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่ สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 คำพิพากษาศาลฎีกาคดีก่อนมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสอง จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีดังกล่าวว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 โดยอายุความส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 นั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ตามทางนำสืบของโจทก์ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้นำสืบหักล้างว่า เดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 นายบุญชัยเจ้าของที่ดินคนก่อนได้แบ่งแยกเพื่อใช้เป็นทางออกสู่ซอยวัดยางสุทธารามตามข้อตกลงที่ทำกับสิบตรีเพิ่ม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 จึงยอมฟังได้ว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 ด้วยเช่นกัน ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ทางพิพาทเกิดจากข้อตกลงระหว่างสิบตรีเพิ่มกับนายบุญชัย จึงไม่อาจตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความได้นั้น เห็นว่า แม้ทางพิพาทจะเกิดจากข้อตกลงระหว่างสิบตรีเพิ่มกับนายบุญชัยที่ตกลงให้กันที่ดินของแต่ละฝ่ายไว้เพื่อใช้เป็นทางออกสู่ซอยวัดยางสุทธาราม แต่เมื่อนายบุญชัยและผู้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 จากนายบุญชัยตลอดมาจนถึงโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินออกสู่ซอยวัดยางสุทธารามโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาจะให้สิทธิภาระจำยอมติดต่อกันมาเกินกว่า 10 ปี ก็ย่อมได้ภาระจำยอมโดยอายุความได้เช่นกัน คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยทั้งสองอ้างข้อเท็จจริงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงคดีนี้

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อต่อไปมีว่า ทางภาระจำยอมสิ้นผลเพราะโจทก์ไม่ได้ใช้ทางพิพาทติดต่อกันเกินกว่า 10 ปีหรือไม่ โจทก์มีนางสุพีร์  ผู้ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 ให้แก่โจทก์เป็นพยานเบิกความว่า พยานปลูกบ้านพักอาศัยอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 15764 และใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ซอยวัดยางสุทธารามตลอดมา หลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้วพยานก็ยังคงใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ซอยวัดยางสุทธารามเช่นเดิมจนกระทั่งขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 และ 15764 ให้แก่โจทก์ และรื้อบ้านออกไปเมื่อปี 2538 ซึ่งโจทก์เบิกความถึงเหตุการณ์ต่อมาว่า หลังจากซื้อที่ดินจากนางสุพีร์แล้วโจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกไปซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคตลอดมา นอกจากนี้โจทก์ยังมีนายสุริยนต์ พุทธาวัฒน์ จ่าเอกวิทย์ สกุลวัฒนะ นางเกศนี แจ่มใส และนางถาวร แซ่เหลียง เบิกความสนับสนุนถึงการใช้ทางพิพาทดังกล่าว เห็นว่า นางเข็มเจ้าของที่ดินของจำเลยคนก่อนเคยปิดกั้นทางพิพาท นายบุญชัยกับนางสุพีร์ได้ยื่นฟ้องต่อศาลขอให้รื้อถอนสิ่งปิดกั้นอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอม แสดงว่านายบุญชัยกับนางสุพีร์ประสงค์จะใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ซอยวัดยางสุทธาราม จึงน่าเชื่อว่าหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวแล้ว นางสุพีร์ยังคงใช้ทางพิพาทเป็นทางออกตลอดมา พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน่าเชื่อ จำเลยทั้งสองมีตัวจำเลยที่ 1 กับนายสมชัย ชีวินศิริรัตน์ เบิกความทำนองเดียวกันว่า หลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวแล้วมีเพียงครอบครัวนางเข็มเท่านั้นที่ใช้ทางพิพาท เห็นว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้นำนางเข็มหรือบุคคลในครอบครัวนางเข็มซึ่งจำเลยทั้งสองอ้างว่าเป็นผู้ใช้ทางพิพาทมาเบิกความสนับสนุน กลับปรากฏว่านางเกศนีซึ่งเป็นบุตรนางเข็มได้มาเบิกความเป็นพยานโจทก์ยืนยันว่า นางสุพีร์และโจทก์ใช้ทางพิพาทตลอดมา พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองยังเลื่อนลอย ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นปิดกั้นทางพิพาทแสดงว่าไม่มีการใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินนั้น เห็นว่า ทางพิพาทเป็นเพียงทางคนเดินมิใช่สำหรับรถยนต์แล่น ต้นไม้ดังกล่าวมิได้ปิดกั้นทางพิพาทจนไม่สามารถเดินผ่านไปได้ การที่มีต้นไม้ดังกล่าวจึงมิได้แสดงว่าไม่มีการใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินแต่อย่างใด พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสอง ข้อเท็จจริงฟังว่าทางภาระจำยอมมิได้สิ้นผล เพราะโจทก์ไม่ได้ใช้ติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อต่อไปมีว่า ภาระจำยอมสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 วรรคหนึ่ง หรือไม่ จำเลยทั้งสองฎีกาปัญหาข้อนี้ว่า ที่ดินของโจทก์มีทางออกสู่ถนนพรานนกซึ่งเป็นทางสาธารณะแล้ว ความจำเป็นที่จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์จึงหมดไป เห็นว่า คำว่าภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 วรรคหนึ่ง หมายความว่าไม่สามารถใช้ภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่สามยทรัพย์ได้อีกต่อไป หากภารยทรัพย์ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อยู่แม้ไม่มีการใช้ภารยทรัพย์นั้นก็หาใช่ภาระจำยอมหมดประโยชน์ตามความหมายของบทกฎหมายดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินของโจทก์อันเป็นสามยทรัพย์จะมีทางออกทางอื่นสู่ทางสาธารณะและโจทก์ใช้ทางดังกล่าวนี้เป็นหลัก แต่เมื่อทางพิพาทยังมีสภาพเป็นทางเดินคงเดิม ทางภาระจำยอมจึงยังไม่หมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ -ภาระจำยอมยังไม่สิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 วรรคหนึ่ง

ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อต่อไปมีว่า การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือไม่ ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะเป็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ จำเลยทั้งสองย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก เห็นว่า แม้โจทก์จะปลูกสร้างอาคารในที่ดินโฉนดเลขที่ 5342 ซึ่งเป็นที่ดินส่วนที่นายบุญชัยกันไว้เป็นทางออกสู่ซอยวัดยางสุทธารามตามที่ตกลงกับสิบตรีเพิ่ม แต่ที่ดินแปลงนี้อยู่ด้านในไม่เป็นประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองที่จะออกสู่ซอยวัดยางสุทธาราม ที่สิบตรีเพิ่มทำข้อตกลงกับนายบุญชัยให้นายบุญชัยกันที่ดินของนายบุญชัยดังกล่าวก็เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของสิบตรีเพิ่มแปลงอื่นซึ่งอยู่ด้านในเท่านั้น การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยทั้งสองขอถือเอาคำฟ้องแย้งเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกข้อตกลงเรื่องกันที่ดินเป็นทางออก และฎีกาขอให้ทางพิพาทพ้นจากภาระจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 วรรคสอง นั้น เห็นว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิบอกเลิกข้อตกลงและมีสิทธิขอให้ที่พิพาทพ้นจากภาระจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสองทุกข้อฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษายืน

 หมายเหตุ 

 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 บัญญัติว่า คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความรายเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน...

           จากบทบัญญัติดังกล่าวกรณีที่จะเป็นฟ้องซ้ำนั้นจะต้องเป็นคู่ความรายเดียวกันซึ่งก็คือโจทก์หรือจำเลยในคดีก่อนนำคดีมาฟ้องกันอีก และคดีที่ฟ้องนั้นจะต้องเป็นประเด็นเดียวกับคดีก่อน

  จากข้อเท็จจริงในคดีที่หมายเหตุนี้ คู่ความในคดีก่อนคือ นายบุญชัยกับพวกเป็นโจทก์ นางเข็มเป็นจำเลย ส่วนคู่ความในคดีหลังเป็นคนละคนกับคู่ความในคดีก่อนดังนี้จะถือว่าเป็นคู่ความต่างรายกันหรือไม่ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยวางแนวตลอดมาว่าแม้คู่ความต่างรายกัน แต่ถ้าหากเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความในคดีก่อน ก็ถือว่าเป็นคู่ความรายเดียวกัน เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2545 เป็นต้น รวมทั้งคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ด้วย

           ส่วนประเด็นที่วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นในคดีนี้เป็นประเด็นเดียวกันว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ ตามหลักกฎหมายดังกล่าวแล้วน่าจะเป็นฟ้องซ้ำ แต่เหตุที่ฟ้องเป็นเหตุที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ภายหลังจากที่โจทก์และจำเลยได้รับโอนที่ดินมาจากเจ้าของเดิมแล้ว ดังนั้น ที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นคนละเหตุกันและให้จำเลยรื้อถอนสิ่งกีดขวางกับสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอมจึงชอบแล้ว แต่การที่นายบุญชัยกับพวกซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนไม่บังคับคดีให้นางเข็มจำเลยในคดีก่อนจดทะเบียนทางภาระจำยอมจนพ้นกำหนดเวลาบังคับคดีไปแล้ว โจทก์ในฐานะผู้สืบสิทธิจากนายบุญชัยจะมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยในฐานะผู้สืบสิทธิจากนางเข็มให้จดทะเบียนภาระจำยอมได้อีกหรือไม่ เมื่อพิจารณาตามหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้นแล้วเห็นได้ว่าการบังคับให้จดทะเบียนภาระจำยอมมิใช่ประเด็นแห่งคดีโดยตรง แต่เป็นผลสืบเนื่องจากการที่จำเลยปิดกั้นทางเดินภาระจำยอมขึ้นใหม่จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำดังที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้แต่ถ้าหากจำเลยิได้เข้าไปขัดขวางการใช้ทางภาระจำยอมเช่นนี้ หากโจทก์มาฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนภาระจำยอม ก็ไม่สามารถกระทำได้เพราะคำพิพากษาศาลฎีกายังผูกพันอยู่ (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาษาที่ 949/2496)

           มีข้อน่าพิจารณาว่าโจทก์จะมีสิทธิบังคับคดีให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้หรือไม่ (ฟ้องซ้ำหรือไม่กับการบังคับคดีได้หรือไม่ เป็นคนละกรณีกัน) เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าโจทก์เป็นผู้สืบสิทธิจากนายบุญชัย เมื่อนายบุญชัยไม่บังคับคดีภายในกำหนด โจทก์จึงไม่น่าจะมีสิทธิบังคับคดีเอากับจำเลยที่เป็นผู้สืบสิทธิจากนางเข็มได้ อย่างไรก็ตามศาลฎีกาคงเห็นว่าการที่มิได้จดทะเบียนภาระจำยอมไว้จะก่อให้เกิดปัญหาได้เมื่อมีการโอนที่ดิน ทำให้ผู้ที่รับโอนไม่ทราบว่ามีทางภาระจำยอมอยู่จะเกิดมีการกระทบกระทั่งกันเหมือนกับกรณีนี้อีกก็เป็นได้ จึงยอมให้บังคับคดีได้
                    
          ศิริชัย วัฒนโยธิน

         




ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

รับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต article
ตกลงยินยอมให้ใช้ทางเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน article
การครอบครองปรปักษ์กับการนับเวลาการครอบครองต่อเนื่องต่อจากเจ้าของเดิม
ผู้ขายสละการครอบครอง ผู้ซื้ออ้างครอบครองปรปักษ์ได้
ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก
เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้ที่ดินมีแนวเขตติดต่อวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าได้
ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นแต่ระหว่างพิจารณาคดีได้สิทธิภาระจำยอมแปลงอื่น
กรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง
ครอบครองอาศัยสิทธิไม่บอกเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ
ภาระจำยอมคืออะไร การใช้ทางโดยไม่มีใครห้ามและไม่ต้องรับอนุญาต
ได้กรรมสิทธิ์ปรปักษ์แล้วไม่ได้จดทะเบียนการได้มา
ต่อสู้คดีอ้างครอบครองปรปักษ์แต่ขาดเจตนาเป็นเจ้าของ10 ปี
การใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านโดยถือวิสาสะไม่ได้ภาระจำยอม
อำนาจฟ้องคดี ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองไม่ได้
ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่
นับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้
ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คลองสาธารณะไม่ได้ใช้สัญจรไม่ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะได้
การโอนกรรมสิทธิ์ในระยะที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์กระทบสิทธิครอบครอง
อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้วจะขอเรียกคืน
ทายาททำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางไม่ได้สิทธิภาระจำยอม
ได้กรรมสิทธิ์ตาม มาตรา 1382 เพราะเจ้าของสละแล้ว
ความแตกต่างของทางจำเป็นกับภาระจำยอม
ทางออกมีที่ดินสูงชันขวางอยู่ขอให้เปิดทางจำเป็นได้
ค่าทดแทนการใช้ทางเดือนละเท่าไหร่เหมาะสม
ฟ้องขอให้เปิดทางจำแต่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นตกลงจดภาระจำยอมให้
เจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ก ออกเอกสารสิทธิทับที่ดินมีโฉนดอ้างครอบครองปรปักษ์
ใช้ทางโดยสำคัญผิดว่าทางนั้นอยู่ในที่ดินของตนกว่า10 ปีได้ภาระจำยอม
การใช้สิทธิวางท่อน้ำ,สายไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น
ครอบครองโดยสำคัญผิดได้กรรมสิทธิ์โดยปรปักษ์หรือไม่?
ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า
จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
ตกเป็นภาระจำยอมแล้วจึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
เพิกถอนโฉนดที่ดินออกทับที่ดินของผู้มีสิทธิครอบครอง
ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ
ครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ซื้อมาไม่จดทะเบียน
ตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 3-(ต่อ)
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2-(ต่อ)
เหตุตามกฎหมายทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ให้จดภาระจำยอม
มีทางออกสู่ทางสาธารณะอื่นทางจำเป็นที่สิ้นความจำเป็นแล้ว
การยึดถืออย่างสิทธิครอบครอง กับครอบครองเจตนาเป็นเจ้าของ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 4-(ต่อ)
ทางที่ประชาชนเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม
ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง
แม้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมไม่บริบูรณ์แต่มีสิทธิได้โดยอายุความ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม
ยกเลิกภาระจำยอมได้ไหม?
ที่ดินตาบอดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ขอเปิดทางจำเป็น
การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ-การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์-การครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ
ที่ดินแบ่งแยกเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกให้เปิดทางจำเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฉ้อฉล
ปรปักษ์ใช้ยันผู้ได้สิทธิมาโดยจ่ายค่าซื้อที่ดินและจดทะเบียนโอนแล้วไม่ได้